งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดการศัตรูพืช (ผษ101 เกษตรเพื่อชีวิต: บทที่ 6)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดการศัตรูพืช (ผษ101 เกษตรเพื่อชีวิต: บทที่ 6)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดการศัตรูพืช (ผษ101 เกษตรเพื่อชีวิต: บทที่ 6)
อ.ดร. ชัชวิจก์ ถนอมถิ่น อ.ดร. กมลเนตร ศรีธิ อาคารพืชศาสตร์ ชั้น 4

2 เค้าโครง (Outline) ความหมายของศัตรูพืช ความเสียหายจากศัตรูพืช
ประเภทของศัตรูพืช การจัดการศัตรูพืช หลักการจัดการศัตรูพืช วิธีการจัดการศัตรูพืช

3 ความหมาย ศัตรูพืช คือ เชื้อโรค พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบการผลิตทาง การเกษตรและป่าไม้

4 ศัตรูพืช 1. เชื้อโรค เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส 2. พืช วัชพืช กาฝาก
1. เชื้อโรค เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส 2. พืช วัชพืช กาฝาก 3. สัตว์ ไส้เดือนฝอย แมลง นก หนู หอย ค้างคาว ปูนา ฯลฯ

5 ความเสียหายที่เกิดจากศัตรูพืช
1. ความเสียหายโดยตรง 1.1 ความเสียหายเชิงปริมาณ - ผลผลิตลดลง - ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

6 ผลผลิตลดลง

7 ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

8 1.2 ความเสียหายเชิงคุณภาพ - คุณค่าทางอาหารลดลง
- ลักษณะรูปทรงเปลี่ยนไป - มีกลิ่นไม่พึงประสงค์

9 คุณค่าทางอาหารลดลง

10 ลักษณะรูปทรงเปลี่ยนไป

11 ลักษณะรูปทรงเปลี่ยนไป

12 มีกลิ่นไม่พึงประสงค์

13 2. ความเสียหายโดยอ้อม 2.1 เพิ่มการแข่งขันทางการค้า
2.2 สารตกค้างจากการใช้สารเคมี 2.3 ปัญหาสุขภาพจากการบริโภคผลผลิตที่เป็นโรค 2.4 ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง

14 ประเภทของศัตรูพืช 1. โรคพืช (Plant diseases)
2. แมลงศัตรูพืช (Insect pests) 3. วัชพืช (Weeds) 4. สัตว์ศัตรูพืช (Animal pests)

15 โรคพืช ความหมาย สภาพผิดปกติของเซลล์หรือเนื้อเยื่อของพืช อันเกิดจากการรบกวนอย่างต่อเนื่องของเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

16 สาเหตุของการเกิดโรคพืช
แบ่งได้เป็น 1. โรคติดเชื้อ (Parasitic diseases) 2. โรคไม่ติดเชื้อ (Non-parasitic diseases)

17 โรคไม่ติดเชื้อ สาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ - ปริมาณธาตุอาหารในดิน
- ความเป็นกรดด่างของดิน - ความชื้นในอากาศและในดิน - ปริมาณแสงแดดและอุณหภูมิ - ความเป็นพิษจากสารกำจัดวัชพืช

18 โรคติดเชื้อ สาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่
- สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเช่น รา แบคทีเรีย ไฟโตพลาสมา ไวรัส และไวรอยด์ - พืชเช่น กาฝาก ฝอยทอง และสาหร่าย - สัตว์ขนาดเล็กเช่น โปรโตซัว และไส้เดือนฝอย

19 ปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคพืช
1. พืชอาศัย (Host) 2. เชื้อสาเหตุ (Disease) 3. สภาพแวดล้อม (Environment)

20 สามเหลี่ยมโรคพืช (Disease triangle)

21 ความเสียหายอันเกิดจากโรคพืช
1. แย่งอาหารพืช 2. ขัดขวางกระบวนการ metabolism 3. ขัดขวางการลำเลียงน้ำและอาหาร 4. ดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช

22 เชื้อสาเหตุของโรคพืช
1. รา (Fungi) 2. แบคทีเรีย (Bacteria) 3. ไวรัส (Virus) 4. ไส้เดือนฝอย (Nematode)

23 เชื้อรา สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ไม่มีคลอโรฟิลล์ ส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นสายหรือเป็นเส้นใย เมื่อเจริญแตกกิ่งก้านสาขาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกไมซีเลียม (mycelium) ขยายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ (spore)

24 เชื้อรา

25 เชื้อรา

26 โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อรามากกว่า 8,000 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคพืชได้ เช่น

27 โรคใบจุด (Leaf spot)

28 โรคใบไหม้ (Leaf blight)

29 โรคราสนิม (Rust)

30 โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

31 โรคราแป้ง (Powdery mildew)

32 โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

33 โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

34 โรคเน่าคอดิน (Damping off)

35 โรครากและโคนเน่า (Root and stalk rot)

36 แบคทีเรีย (Bacteria) คือ สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเซลล์เดียวขนาดเล็ก มีรูปร่างเป็นแท่งสั้น ๆ บางชนิดมีหางช่วยในการเคลื่อนที่

37 เชื้อแบคทีเรีย

38 เชื้อแบคทีเรีย

39 โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุโรคพืช มีประมาณ 200 ชนิด ซึ่งพืชจะแสดงลักษณะอาการของโรค 5 ลักษณะได้แก่

40 โรคเหี่ยว

41 โรคเน่าเละ

42 โรคแผลเป็นจุด

43 โรคไหม้

44 โรคปุ่มปม

45 ไวรัส (Virus) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยโปรตีนห่อหุ้มและกรดนิวคลีอิค มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนที่มีกำลังขยายสูงมาก ๆเท่านั้น

46 เชื้อไวรัส

47 เชื้อไวรัส

48 โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคพืช มีมากกว่า 600 ชนิด โดยแบ่งอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่

49 กลุ่ม 1 อาการสีผิดปกติ โรคใบด่างลาย

50 โรคใบด่างกระ

51 โรคเส้นใบใส

52 โรคใบด่างวงแหวน

53 กลุ่ม 2 อาการรูปร่างผิดปกติ โรคใบหงิก

54 โรคใบลีบ

55 โรคแคระแกร็น

56 กลุ่ม 3 อาการไหม้ตาย โรคไหม้เป็นจุด

57 โรคไหม้จากยอด

58 ไส้เดือนฝอย (Nematode)
เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กรูปร่างคล้ายเส้นด้าย มีผิวหนังหยาบ ตัวเมียบางชนิดมีรูปร่างคล้ายผลฝรั่ง ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

59 ไส้เดือนฝอย

60 ไส้เดือนฝอย

61 โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย
ไส้เดือนฝอยจัดเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีมากกว่า100 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคพืช เช่น

62 โรครากปม

63 โรครากเป็นแผล

64 โรครากกุด

65 แมลงศัตรูพืช ความหมาย
คือสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มี 6 ขา เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ หัว อก และท้อง สร้างความเสียหายให้แก่ ผลผลิตโดยการกัดกินและดูดน้ำเลี้ยงของต้นพืช

66 แมลง (insect)

67 ประโยชน์และโทษของแมลง
- อาหาร - ผสมเกสร - กำจัดซากพืชและสัตว์ - ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

68 โทษ - ทำลายพืชหลัก - ทำลายบ้านเรือน - กัด ต่อย - พาหะนำโรค

69 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ
แบ่งตามลักษณะการเข้าทำลายพืช 1. แมลงปากกัด กัดกินส่วนต่างๆของพืช คือ กัดกินใบ ราก ผล เจาะลำต้น ยอด ได้แก่ หนอนผีเสื้อต่างๆ ด้วง ตั๊กแตน

70 หนอนใยผัก

71 หนอนกระทู้ผัก

72 หนอนเจาะสมอฝ้าย

73 หนอนกออ้อย

74 ด้วงหมัดผักกาด

75 ด้วงกุหลาบ

76 หนอนแมลงนูนหลวง

77 ด้วงหนวดยาวอ้อย

78 ตั๊กแตน

79 2. แมลงปากดูด ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆของพืช ทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉา เกิดปุ่มปม เป็นพาหะนำโรค ได้แก่ พวกมวนและเพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว

80 แมลงปากดูด

81 เพลี้ยอ่อน

82 มวนเขียวข้าว

83 มวนลำไย

84 มวนลำไย

85 มวนถั่วเหลือง

86 ความเสียหายที่เกิดจากมวนถั่วเหลือง

87 แมลงหวี่ขาว

88 เพลี้ยไฟ

89 เพลี้ยไฟ

90 ความเสียหายที่เกิดจากเพลี้ยไฟ

91 ความเสียหายที่เกิดจากเพลี้ยไฟ

92 ความเสียหายที่เกิดจากเพลี้ยไฟ

93 เพลี้ยจักจั่น

94 เพลี้ยหอยส้ม

95 เพลี้ยหอยส้ม

96 วัชพืช ความหมาย คือพืชที่ขึ้นในแปลงปลูกพืช แล้วไปแก่งแย่งปัจจัยการผลิตของพืชหลัก มีผลทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชหลักลดลง

97 ประเภทของวัชพืช 1. จำแนกตามอายุ 1.1 วัชพืชล้มลุก (annual)
1.2 วัชพืชข้ามปี (biennial) 1.3 วัชพืชยืนต้น (perennial)

98 วัชพืชล้มลุก หญ้าตีนนก

99 วัชพืชข้ามปี ผักบุ้ง

100 วัชพืชยืนต้น ไมยราบยักษ์

101 2. จำแนกตามที่อยู่อาศัย
2.1 วัชพืชบก (terrestrial) 2.2 วัชพืชน้ำ (aquatic) 2.3 วัชพืชอากาศ (epiphytic)

102 วัชพืชบก ผักโขม

103 3.2.1 วัชพืชใต้น้ำ (submerged weeds)
วัชพืชน้ำ 3.2.1 วัชพืชใต้น้ำ (submerged weeds) ดีปลีน้ำ

104 3.2.2 วัชพืชโผล่เหนือน้ำ (merged weeds)
วัชพืชน้ำ 3.2.2 วัชพืชโผล่เหนือน้ำ (merged weeds) เทียนนา

105 3.2.3 วัชพืชลอยน้ำ (floating weeds)
วัชพืชน้ำ 3.2.3 วัชพืชลอยน้ำ (floating weeds) จอก

106 3.2.4 วัชพืชชายน้ำ (marginal weeds)
วัชพืชน้ำ 3.2.4 วัชพืชชายน้ำ (marginal weeds) ธูปฤาษี

107 วัชพืชอากาศ ฝอยทอง

108 3. จำแนกตามลักษณะ 3.1 วัชพืชใบแคบ (grass)
3.2 วัชพืชใบกว้าง (broadleaf) 3.3 กก (sedge)

109 วัชพืชใบแคบ หญ้าขน

110 วัชพืชใบแคบ หญ้าคา

111 วัชพืชใบกว้าง ผักยาง

112 วัชพืชใบกว้าง ตาลปัตรฤาษี

113 กก กกทราย กกขนาก

114 ประโยชน์และโทษของวัชพืช
1. ปลูกเป็นพืชคลุมดิน 2. ทำเป็นปุ๋ย 3. ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องใช้ 4. เป็นอาหารของคนและสัตว์ 5. ตกแต่งสวน

115 ปลูกคลุมดิน

116 ปุ๋ย

117 วัตถุดิบในการทำเครื่องใช้

118 ผักแขยง

119 ผักบุ้ง

120 กกอียิปต์

121 โทษ 1. ลดผลผลิต 2. เพิ่มต้นทุนการผลิต 3. แหล่งอาศัยของศัตรูพืช
4. อุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยว 5. ขัดขวางระบบชลประทาน

122 วัชพืชร้ายแรงที่สำคัญ
ผักตบชวา

123 หญ้านกสีชมพู

124 หญ้าแพรก

125 หญ้าตีนกา

126 หญ้าข้าวนก

127 หญ้าคา

128 แห้วหมู

129 สัตว์ศัตรูพืช ความหมาย
คือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง ที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตร

130 สัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญ
1. สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เช่น หนูนา ค้างคาว นก 2. สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปู หอย

131 หนูนาใหญ่

132 ค้างคาว

133

134 นกพิราบ

135

136 ปูนา

137 หอยเชอรี่

138 การจัดการศัตรูพืช ความหมาย
วิธีการใด ๆที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดหรือยับยั้งความเสียหายอันเกิดจากศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ต่ำจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจกับพืชที่ปลูก

139 หลักการจัดการศัตรูพืช
ประกอบด้วย 4 ประการ 1. การหลีกเลี่ยง (Avoidance) 2. การกำจัดให้หมดสิ้น (Eradication) 3. การป้องกัน (Protection) 4. การรักษา (Therapy)

140 การหลีกเลี่ยง 1. การไม่ปลูกพืชในแหล่งที่มีศัตรูพืชนั้นๆ ระบาด
2. การจัดระบบปลูกพืชหมุนเวียน 3. การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากศัตรูพืช 4. การใช้กฎหมายกักกันพืช

141 การกำจัดให้หมดสิ้น 1. การเผาทำลายพืชที่เป็นโรค 2. การเผาทำลายวัชพืช
3. การไถพรวนตากดินไว้ก่อนปลูก 4. การทำลายแมลงในโรงเก็บพืชผล

142 การป้องกัน 1. การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
2. การกำจัดพาหะของศัตรูพืช 3. การใช้การควบคุมทางชีววิธี 4. การใช้พันธุ์ต้านทาน

143 การรักษา เป็นการบรรเทาความเสียหายภายหลังการแพร่ระบาดของศัตรูพืช แต่ยังไม่ถึงระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ หลักการนี้มักใช้กับศัตรูพืชจำพวกโรคพืชมากกว่าศัตรูพืชพวกอื่น และใช้กับไม้ผลมากกว่าพืชล้มลุก

144 วิธีการจัดการศัตรูพืช
1. วิธีกล (Mechanical method) เป็นการใช้เครื่องมืออย่างง่าย ๆ เช่น การเก็บ จับ เผา ถอน ใช้ตาข่าย มักใช้กับเกษตรกรรมขนาดเล็กและมีแรงงานมาก

145 2. วิธีทางกายภาพ (Physical method)
เป็นการใช้คลื่นความร้อน เสียง อุณหภูมิ รังสี หรือไฟฟ้า ในการควบคุม และป้องกันศัตรูพืชจำพวก แมลง นก หนู ค้างคาว ตั๊กแตน

146 3. วิธีทางเขตกรรม (Cultural method)
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของศัตรูพืชโดยอาศัยวิธีต่าง ๆทางเขตกรรม ได้แก่

147 3.1 การจัดการดิน เช่น การไถดะ
เป็นการไถตากหน้าดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้แสงแดดและความร้อนทำลายโรค แมลง และวัชพืช ให้ลดน้อยลง

148 3.2 การจัดการน้ำ เป็นการปล่อยน้ำเข้าแปลงก่อนการเตรียมดิน ให้แมลง หนู และวัชพืชถูกน้ำท่วมขังตายไปก่อน

149 3.3 การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และวัชพืช นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันการสะสมของโรคพืชอีกด้วย

150 3.4 การไถพรวนหลังการเก็บเกี่ยว
เป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของหนู ปูและวัชพืช ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งอาศัยและสะสมของแมลงและโรคพืช

151 3.6 การปลูกพืชในเวลาที่เหมาะสม
3.5 การเลือกพื้นที่ปลูก ควรเป็นพื้นที่ที่ไม่ปรากฏการระบาดของแมลงหรือโรคพืชมาก่อน 3.6 การปลูกพืชในเวลาที่เหมาะสม เป็นการหลีกเลี่ยงการระบาดของศัตรูพืช

152 3.7 การใส่ปุ๋ย เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช ทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อโรคและแมลง

153 3.8 การตัดแต่งกิ่ง เป็นการเพิ่มปริมาณแสงให้กับพืชช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น

154 3.9 การใช้พันธุ์ต้านทาน เป็นการคัดเลือกหรือผสมพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่แข็งแรงและต้านทานต่อศัตรูพืชเช่น ข้าวพันธุ์ กข.6 และ กข.27 ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 ต้านทานโรคราน้ำค้าง

155

156

157 4. การควบคุมทางชีววิธี (Biological control)
เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตหรือศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช มักใช้กับการควบคุมแมลงและวัชพืชบางชนิดที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ตัวห้ำ ตัวเบียน เชื้อโรค ไส้เดือนฝอย ไร กบ ปลา และเป็ด เป็นต้น

158 ตัวห้ำ (ด้วงเต่าตัวห้ำ)

159 แมลงช้างปีกใส

160 Trichoderma vs. Rhizoctonia
เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma vs. Rhizoctonia

161

162

163 5. วิธีทางกฎหมาย (Legal control)
เป็นการใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการนำเข้าพืชหรือวัสดุทางการเกษตรจากต่างประเทศ จะต้องผ่านด่านกักกันพืช เช่น พระราชบัญญัติกักกันพืช

164

165

166

167 6. วิธีการใช้สารเคมี (Chemical method)
เป็นการใช้สารสังเคราะห์หรือสารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติทางเคมีในการควบคุมป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช

168 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แบ่งตามชนิดของการใช้
1. สารกำจัดแมลง (Insecticide) 2. สารกำจัดโรคพืช (Fungicide, Bactericide) 3. สารกำจัดวัชพืช (Herbicide) 4. สารกำจัดไส้เดือนฝอย (Nematicide) 5. สารกำจัดหอย (Molluscicide) 6. สารกำจัดหนู (Rodenticide)


ดาวน์โหลด ppt การจัดการศัตรูพืช (ผษ101 เกษตรเพื่อชีวิต: บทที่ 6)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google