งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)
วท 102 หัวข้อ 2 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)

2 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก ที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจยุคต่าง ๆ
ยุคสมัยของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกลาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปัจจุบัน

3 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจยุคต่าง ๆ
วิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่จนถึงสมัยปัจจุบัน ที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจในยุคต่าง ๆ ได้แก่ ยุคแห่งการเกษตร (Agriculture economy) ยุคอุตสาหกรรม (Industrial economy) ยุคสารสนเทศ (Information economy) ยุคแห่งโมเลกุล (Molecular economy)

4 พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจยุคต่าง ๆ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ 1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก 1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก 1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย

5 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก - ปรากฏเริ่มตั้งแต่ยุคหินใหม่เมื่อประมาณ 6,000 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นจุดเริ่มต้นยุคแห่งการเกษตร และการพัฒนารูปแบบการผลิต - มนุษย์เริ่มมีการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีการใช้โลหะหลอมซึ่งเรียกว่า ยุคสำริด (Bronze Age) โดยใช้ทองแดงผสมกับดีบุกเพื่อความแข็งแรง

6 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรกเริ่มมีการบันทึกเป็นภาษาเกิดขึ้นในอารยธรรมเริ่มแรกได้แก่ ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) ข. อารยธรรมอียิปต์ (Egyptian Civilization) ค. อารยธรรมในอเมริกากลาง (Central American Civilization) ง. อารยธรรมในเอเซีย (Asian Civilization)

7 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) - เป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) - "เมโสโปเตเมีย" เป็นภาษากรีก หมายถึง ดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำทั้งสอง ปัจจุบันคือ ประเทศอิรัก - ชนชาติต่าง ๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากมาย แต่ละชนชาติเหล่านั้นได้นำความเจริญมาสู่เมโสโปเตเมีย เช่น ชาวสุเมเรียนได้ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) และเริ่มมีการคิดค้นปฏิทินขึ้นใช้โดยกำหนด 1 เดือน มี 29.5 วัน 1 ปี มี 12 เดือน และถือหน่วย 60 ในการนับวินาทีและชั่วโมง เป็นต้น

8 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ก. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamian Civilization) - อักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ประดิษฐ์โดยชาวสุเมเรียน ซึ่งเกิดจาก การใช้กระดูกมีลักษณะเป็นรูปลิ่มกดบน ดินเหนียวในขณะอ่อนตัว เป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อแสดงความหมายที่ต้องการนับเป็น อักษรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

9 ชาวแคลเดียน (Chaldean) เป็นชนชาติหนึ่งที่เข้ามาอาศัยในเมโสโปเตเมีย และได้ทำให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์มีความเจริญและพัฒนามากขึ้น โดยมีความเชื่อว่าดาวเคราะห์มี 5 ดวง ประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ เมื่อรวมกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ก็คือ เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ 7 องค์ - อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เรื่องเวลา ที่ใช้ถึงทุกวันนี้ ได้แก่ 1 สัปดาห์มี 7 วัน การแบ่งหน้าปัดนาฬิกาเป็น 12 ช่อง ช่องละ 1 ชั่วโมง

10 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ข. อารยธรรมอียิปต์ (Egyptian Civilization) - ชนชาติอียิปต์โบราณตั้งถิ่นฐาน ในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

11 ชาวอียิปต์คิดค้นการทำมัมมี่ศพ
เพื่อรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยและสร้าง ที่บรรจุศพอย่างแข็งแรง คือ ปิระมิด ที่ต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและ ใช้หลักการด้านกลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถาปัตยกรรมที่ล้ำยุค

12 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ค. อารยธรรมในอเมริกากลาง (Central American Civilization) - แหล่งอารยธรรมสำคัญในทวีปอเมริกากลางบริเวณแหลมยูกาตัน (Yucatan) หรือบริเวณที่เป็นประเทศกัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว คอสตาริกา ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ชิลี และอาร์เจนตินาในปัจจุบัน - ในสมัยโบราณบริเวณนี้มีชนเผ่าต่าง ๆ เข้าไปอยู่อาศัย ได้แก่ มายา (Mayas) แอสแทค (Aztecs) และอินคา (Incas)

13 - ชนเผ่าแอสเทคมีความรู้ด้านดาราศาสตร์มาก
- ชนเผ่าอื่น ๆ ก็มีร่องรอยของอารยธรรมที่เจริญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ปิรามิดของชาวมายัน

14 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยเริ่มแรก ง. อารยธรรมในเอเชีย (Asian Civilization) - แหล่งสำคัญอยู่ในประเทศอินเดียและจีน - อารยธรรมในประเทศอินเดียมีความเจริญสูงสุดเมื่อ 3, ,000 ปีก่อนคริสตศักราช แถบลุ่มแม่น้ำสินธุ - อารยธรรมในประเทศจีนมีความเจริญสูงสุดเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช แถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห

15 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก - ในอาณาบริเวณรอบทะเลเอเจียน (Aegean Sea) มีกลุ่มชนเฮลเลียน (Hellenes) อาศัยอยู่และเรียกชื่อประเทศว่าเฮลลาส (Hellas) แต่คนส่วนใหญ่เรียกชนกลุ่มนี้ว่า กรีก (Greeks) - กลุ่มชนกรีกมีการปกครองเป็นแคว้นเล็ก ๆ และมีการพัฒนาด้านปรัชญา กฎหมาย และวิทยาศาสตร์ อย่างสูงสุดซึ่งหลายสาขาวิชายังมีการใช้จนถึงปัจจุบัน

16 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก แคว้นในจักรวรรดิกรีกที่ได้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ได้แก่ แคว้นไอโอเนีย (Ionia) เป็นสถานที่ ที่วิทยาศาสตร์สมัยกรีกได้เริ่มเจริญรุ่งเรืองเป็นแห่งแรก - ชาวกรีกมีอักษรฟีนิเชียน (Phaenician) ใช้เพื่อบันทึกความรู้ต่าง ๆ ต่อมาได้พัฒนาเป็นอักษรละตินและอังกฤษ - นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ที่สำคัญ ได้แก่ เทลิสแห่งไมเลตุส (Thales of Milletus) เอมเพโดคลีส (Empedocles ) ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) อริสโตเติล (Aristotle) เป็นต้น

17 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกรีก - เทลิสแห่งไมเลตุส (Thales of Milletus) ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของกรีกและมนุษย์ชาติ ซึ่งให้ความรู้ด้านดาราศาสตร์และเรขาคณิต - เอมเพโดคลีส (Empedocles) ตั้งทฤษฎีธาตุสี่ (Theory of Four Humours) กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ - ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) บิดาแห่งการแพทย์ ลบล้างความเชื่อที่ว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากการกระทำของสิ่งเหนือธรรมชาติ - อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชาสัตววิทยา ธรรมชาติวิทยาและศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกมาก เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่สำคัญ

18 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย - เมื่อ 334 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้ายึดครองอียิปต์ เปอร์เซีย กรีก และได้จัดตั้งชุมชนเป็นศูนย์การค้าและวิทยาการที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ที่บริเวณปากแม่น้ำไนล์ - มีการส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มีการทดลองและบันทึกข้อมูลในม้วนกระดาษปาปิรัส และรวบรวมไว้ที่หอสมุดอเล็กซานเดรีย และเป็นแหล่งสะสมวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสมัยนั้น

19 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ - ยูคลิด (Euclid) บิดาแห่งเรขาคณิต - อาร์คีมิดีสแห่งไซราคิวส์ (Archimedes of Syracuse) นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของฟิสิกส์ด้านกลศาสตร์ และเป็นนักประดิษฐ์ที่ฉลาดล้ำยุคเป็นผู้ค้นพบ กฎของคานดีดคานงัด ค้นพบว่าน้ำหนักของวัตถุที่หายไปเมื่อชั่งในน้ำจะเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ (ยูเรกา!)

20 1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยโบราณ
1.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยอเล็กซานเดรีย นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ -โทเลอมี (Claudius Ptolemy) เขียนหนังสืออัลมาเจส (Almagest) ซึ่งกล่าวว่าโลกนี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรรอบโลก หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาดาราศาสตร์ถึง 1,500 ปีต่อมา - เกเลน (Galen of Pergamum) แพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ศึกษา กายวิภาคและสรีระวิทยาของคน โดยการผ่าตัดลิงและหมู จึงทำให้ข้อมูลผิดพลาด และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านการแพทย์เกือบ 1,200 ปีต่อมา

21 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยกลาง - วิทยาศาสตร์สมัยกลางเริ่มตั้งแต่ ค.ศ วิทยาศาสตร์ในยุคนี้เกี่ยวข้องกับวิชาปรัชญา - วิชาการต่าง ๆ ชะงักไปประกอบกับความเชื่อทางศาสนาจะบังคับให้ผู้สนใจค้นคว้าวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดความคิดและการค้นคว้าด้านต่าง ๆ - วิทยาศาสตร์สมัยกลางจึงแบ่งเป็นยุคมืด และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา - ยุคมืดนี้เกือบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเลย ส่วนมากเป็นการเก็บรวบรวมและแปลตำราที่มีอยู่เดิมจากอียิปต์โบราณและกรีกโบราณ โดยชนชาติอาหรับเป็นผู้แปลจากต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอาหรับ

22 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
- ดังนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาหรับจึงเป็นผู้นำด้านปรัชญา และวิทยาศาสตร์ ต่อมายุโรปจึงรับความรู้จากอาหรับในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และแปลตำราจากอาหรับกลับเป็นภาษาละติน และมีการใช้แพร่หลายในยุโรปจนถึงกลางศตวรรษที่ 14 จึงเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือศิลปวัฒนธรรม - กลางศตวรรษที่ 14 เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โดย โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน และทำให้มีการเผยแพร่วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น

23 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
เมื่อวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้มีการเผยแพร่วิชาการด้านวิทยาศาสตร์ได้กว้างขวางมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนี้ได้แก่ - ลีโอนาโด ดาวินซี (Leonardo da Vinci) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจกายวิภาค กลศาสตร์ และจลศาสตร์ของไหล นับเป็นผู้ริเริ่มนำวิทยาศาสตร์เข้าสู่ยุคใหม่

24 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในคริสต์ศตวรรษที่ มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่มีการค้นคว้าทดลองพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - นิโคลัส โคเพอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus) เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายโปแลนด์ ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นการปฏิวัติทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ เพราะเป็นการอ้างทฤษฎีที่ค้านกับความเชื่อเดิมเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเสนอโดยโทเลอมี

25 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - แอนเดรียส วีเซเลียส (Andreas Vesalius) นักกายวิภาคศาสตร์ผู้ศึกษาจากศพคนจริง ๆ และคัดค้านคำสอนของเกเลน ทำให้คำสั่งสอนของเกเลนซึ่งเชื่อกันมานานถึง 1,500 ปี ถูกล้มล้างไป การศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนจึงทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคปัจจุบันมากขึ้น - โยฮัน เคปเลอร์ (Johannes Kcpler) เป็นคนแรกที่วางรากฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของจักรวาล และอธิบายวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เรียกว่ากฎของเคปเลอร์ เขาสรุปว่า ดวงดาวต่าง ๆ โคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลม

26 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - กาลิเลโอ (Galileo Galilei) เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีความคิดเห็นก้าวหน้าล้ำยุคมาก และไม่เห็นด้วยกับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์โบราณของอริสโตเติล โทเลอมี และเกเลน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ยาวนานกว่าพันปีทั้งสิ้น ดังนั้น กาลิเลโอจึงประสบปัญหาในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก เพราะขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาอีกด้วยเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์เขาค้นพบของแรงดึงดูดของวัตถุของโลกในชั้นแรก และเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดูดาว ที่สามารถส่องดูการเคลื่อนไหวของดาวได้เป็นคนแรก

27 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) บิดาแห่งวิชาเคมีและเป็นคนแรกที่ผลักดันให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีการศึกษาทดลองประกอบกับการตั้งทฤษฎีโดยโจมตีแนวคิดของอริสโตเติลที่กล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด แต่บอยล์กลับกล่าวว่าสสารประดอบด้วยธาตุมากกว่านั้นมากมาย - จอห์น เรย์ (John Ray) เป็นผู้เริ่มงานด้านชีววิทยา จำแนกพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่และตั้งชื่อไว้ด้วย เขาจำแนกพืชต่าง ๆ กว่า 1,186,000 ชนิด ไว้เป็นหมวดหมู่ จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งวิชาพฤษศาสตร์

28 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยกลาง
ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - เอนตัน แวน เลเวนฮุก (Anton Van Leuwenhoek) ได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ นำไปส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆ แล้วสามารถได้รายละเอียดของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นั้นได้ กล้องจุลทรรศน์ของเขาสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งโลกจุลชีวัน - เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) พบกฎแห่งความโน้มถ่วงซึ่งเป็นกฎสากลอันดับแรก จึงได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเป็นผู้ศึกษาเรื่องแสง โดยเจาะช่องเล็ก ๆ ให้แสงส่องเข้าไปในห้องมืด เมื่อเอาแท่งแก้วปริซึมวางไว้ให้แสงแดดส่งผ่าน แสงสีขาวจะกระจายเป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดรุ้งกินน้ำ และ สรุปแรงดึงดูดของโลก จากการสังเกตลูกแอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน ไม่ลอยไปในอากาศ โดยเรียกกฎนี้ว่า " กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน "

29 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
- เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ เป็นต้นมา ได้เข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม - มีการค้นพบทฤษฎีการสันดาปโดยลาวัวซิเอ ความก้าวหน้าด้านเคมีสาขาต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับความก้าวหน้าด้านฟิสิกส์และกลศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม - มีการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ทุกสาขาเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยมีการพัฒนาใน 3 ช่วง สำคัญได้แก่ 1.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม 2.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก วิทยาศาสตร์ และ 3. เทคโนโลยีหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ตามลำดับ

30 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - เริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ แนวความคิดปรัชญาวิทยาศาสตร์โบราณมาเชื่อถือปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ และได้นำวิธีการวิทยาศาสตร์มาใช้ทำให้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว - มีการใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์มาจำลองศึกษาธรรมชาติ ทำให้เกิดการค้นพบ และการตั้งทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย

31 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประสาทความรู้ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมัยนี้ได้แก่ - เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ค้นพบว่าไฟฟ้าเป็นของไหล ซึ่งเป็นรากฐานทำให้ค้นพบอิเล็กตรอนในเวลาต่อมา เขาค้นพบไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า และแนะนำวิธีการป้องกันฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะว่าอาการเกิดสารพิษจากตะกั่ว มักจะเกิดกับบุคคลที่ทำงานในโรงพิมพ์

32 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - เจมส์ วัตต์ (James Watt) เป็นผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำของนิวโคเมน และประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ โดยแก้ไขจุดบกพร่องจากแบบของนิวโคเมน และได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำที่ทำงานระบบ "ดับเบิลแอกชัน" ทำให้ลูกล้อหมุนไปได้ซึ่งเป็นแนวทางในการประดิษฐ์รถยนต์และรถไฟในเวลาต่อมา และเป็นผู้กำหนดกำลังเครื่องจักรเป็น "แรงม้า"

33 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม - บรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่เอื้ออำนวยให้มีการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนในทุกวิถีทางที่จะทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ - อังกฤษเชื่อว่าจะทำให้ชาติเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมืองได้โดยการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้น และหลักประกันสิ่งประดิษฐ์ ดำเนินการจัดหาแหล่งทรัพยากรและตลาดการค้าการ สนับสนุนการลงทุน รวมทั้งเผยแพร่ความคิดเห็นในทางอุตสาหกรรม

34 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลของยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - มีการตื่นตัวขึ้นในสังคม และแผ่ขยายอิทธิพลความคิดไปสู่นานาประเทศ ดังนั้นกระบวนการผลิตสินค้าจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนจากการทำในครัวเรือนไปเป็นโรงงานขนาดใหญ่ - มีการทำงานโดยใช้ระบบแบ่งแรงงานให้แต่ละคนทำงานเฉพาะส่วน - มีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยในกระบวนการประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมด้านต่างๆ เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

35 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลของยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม - คนอพยพเข้ามารวมกันทำงานในเมืองอุตสาหกรรมเกิดความแออัด ชนชั้นกรรมกรถูกกดขี่ และทารุณจนเกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้นขึ้น - นายทุนเริ่มมีอำนาจ ก็แสวงหาอาณานิคมเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากร หรือเป็นตลาด

36 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก - มนุษย์ได้พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนกลวิธีทำลายข้าศึก ตัวอย่างเช่น วิวัฒนาการของเครื่องบินรบ ทั้งในแง่ของความเร็วและสมรรถนะที่ใช้ในสงครามโลก - สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจัดได้ว่าเป็นสงครามเคมี เพราะมีการทำลายล้างด้วยระเบิดชนิดต่าง ๆ และแก๊ส - สงครามโลกครั้งที่สองนำระเบิดปรมาณูทำลายล้างชีวิตมนุษย์ - สร้างอาวุธร้ายแรงขึ้นหลายชนิดเช่น ระเบิดไฮโดรเจน ระเบิดนิวตรอน สารพิษ และเชื้อโรค เป็นต้น

37 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก ผลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสมัยสงครามโลก - ผลจากสงครามทำให้เกิด การกระตุ้นเตือนนักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์คิดค้นให้เพิ่มความรับ- ผิดชอบและระมัดระวังในผลงานของ ตนยิ่งขึ้น มีการผนึกตัวขึ้นต่อต้าน การทำสงครามด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเรียกร้องให้ลดกำลังอาวุธ

38 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.2 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยสงครามโลก นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากที่สุดในสมัยนี้คือ - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็น ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพอันนำ ไปสู่การสร้างระเบิดปรมาณู และ คิดค้นทฤษฎีใหม่ ซึ่งนำไปสู่การ สำรวจอวกาศ

39 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม - ช่วงต่อจากสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม - มีผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้น ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์สุขสบายความเป็นอยู่ดีขึ้นและปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ

40 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - ลาวัวซิเอ (Antoine Laurent Lavoisier) เป็นผู้สนใจทางด้านเคมี ได้ตั้งทฤษฎีการสันดาป เขาได้ตั้งชื่อก๊าซที่ทำให้ลุกไหม้ว่า "ก๊าซออกซิเจน" และตั้งกฎทรงแห่งมวลสาร ซึ่งมีใจความว่า "มวลของสารก่อนทำปฏิกิริยาย่อมเท่ากับมวลของสารหลังการทำ ปฏิกิริยา"

41 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - วอลตา (Alessandro A. Volta) ได้ทดลองใช้แผ่นสังกะสีและทองแดงตัดให้กลมคล้ายเหรียญบาทประกบสลับกัน แล้วนำปลายข้างหนึ่งจุ่มลงในอ่างน้ำที่มีเกลือและชิ้นส่วนของหนังสัตว์ปนอยู่ด้วย ปรากฏว่าเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า "โวลทาอิกไฟล์" และเมื่อเชื่อมโวลทาอิกไฟล์หลายอันเข้าด้วยกันพบว่าเกิดประแสมากขึ้นซึ่งเป็นหลักของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน

42 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - ลามาร์ก (Jean Baptise - Chevalier de Lamark) เขาได้สนใจเรื่องความแตกต่างและความเหมือนกันของสิ่งมีชีวิต จึงได้จัดแบ่งสัตว์เป็นหมวดหมู่และได้ตั้งกฎการใช้และไม่ใช้ ที่อธิบายว่าลักษณะด้อยจะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน และลักษณะที่ไม่จำเป็นจะค่อยๆ เสื่อมสลายไป

43 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์ (Edmund Halley) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษศึกษาค้นคว้าหาตำแหน่งดาวฤกษ์ต่าง ๆ เขาได้บันทึกการเคลื่อนที่ของดาวหางดาวหนึ่งและได้พยากรณ์ว่าดาวหางดวงนั้นจะปรากฏให้เห็นในทุก 76 ปี และก็เป็นดังที่เขาทำนาย เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาดาวหางดวงนั้นจึงชื่อว่า "ดาวหางฮัลลีย์" - เอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ ( Edward Jenner) เป็นผู้ค้นพบวิธีปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษ

44 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy) ได้ค้นพบก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นยาสลบได้ - แอมแปร์ (Andre- Marie Ampere) เป็นผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าว่า "แอมแปร์"เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา - ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) เป็นผู้ค้นพบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พบหลักการของหม้อแปลง พบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าซึ่งยังใช้กันในปัจจุบัน

45 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edisson) เป็นนักประดิษฐ์ที่สำคัญคนหนึ่งของโลกได้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกของโลก หลอดไฟฟ้าเครื่องฉายภาพยนตร์ มีสิ่งประดิษฐ์ที่จดลิขสิทธิ์ 1,328 ชิ้น และที่ไม่ได้จดลิขสิทธิ์อีกมากมาย - ชาร์ลส โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Dawin) เป็นผู้ค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

46 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล (Gregoe Johann Mendel) เขาได้ศึกษาทดลองเกี่ยวกับการผสมพันธุ์พืช และได้สรุปเป็นกฎเรียกว่า "กฎทางพันธุ์กรรมของเมนเดล" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งพันธุกรรม - ลูเธอร์ เบอร์แบงค์ (Luther Burbank) เขาได้ทดลองผสมพันธุ์ไม้ดอกและไม้ผล และทดลองผสมข้ามพันธุ์และเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดไว้ จนได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีมากมายเขาได้สมญานามว่า "ผู้วิเศษแห่งต้นไม้"

47 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยใหม่
3.3 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยหลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สมัยนี้ได้แก่ - หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) เป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ และวางรากฐานทฤษฎีแบคทีเรีย ใช้วิธีการพาสเจอร์ไรเซชั่น (Pasteurization) ในการกำจัดแบคทีเรียในอาหาร โดยการทำให้อาหารอุ่น แล้วทำให้เย็นลงโดยเร็ว และยังค้นพบวิธีการทำเซรุ่มแก้พิษสนัขบ้า และผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า - ลอร์ด โจเซฟ ลิสเตอร์ (Lord Joseph Lister) เป็นศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ เขาคิดว่าการเกิดหนองหลังจากการผ่าตัด อาจจะเกิดจากเชื้อโรคในจึงทดลองใช้กรดคาร์บอลิกเจือจาง ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการผ่าตัด และทำความสะอาดเครื่องมือ ใช้ผ้าเช็ดมือที่สะอาดขณะที่มีการผ่าตัด และได้ทดลองผ่าตัดคนไข้คนหนึ่ง ปรากฏว่าไม่มีหนอง และการอักเสบเกิดขึ้นอีกเลย


ดาวน์โหลด ppt พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (1)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google