ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
เภสัชจลนศาสตร์ : การเปลี่ยนแปลงยา Pharmacokinetics : Drug metabolism ผลึกพล ตาบทิพย์วรรณ
2
การเปลี่ยนแปลงยา (Drug metabolism)
เภสัชวิทยา (Pharmacology) การเปลี่ยนแปลงยา (Drug metabolism)
3
การเปลี่ยนแปลงยา (Drug metabolism)
เภสัชวิทยา (Pharmacology) การเปลี่ยนแปลงยา (Drug metabolism) หลังจากที่ยาได้รับการดูดซึมทางกระแสเลือดแล้ว จะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาโดยอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่นี้คือ ตัว (Liver)
4
เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีเลือดมาเลี้ยงเป็นปริมาณมาก
เภสัชวิทยา (Pharmacology) ตับ (Liver) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีเลือดมาเลี้ยงเป็นปริมาณมาก มีความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงและขจัดยากับสารพิษต่างๆให้ออกจากร่างกาย ยา สมุนไพร หรือสารเคมีบางชนิดทำให้เกิดพิษต่อตับ (Hepatotoxicity) เช่น paracentamol barakol
5
คำสำคัญที่จำเป็นต้องเข้าใจ
เภสัชวิทยา (Pharmacology) คำสำคัญที่จำเป็นต้องเข้าใจ Prodrug คือสารตั้งต้นที่ยังไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลงยาเป็นสารที่ออกฤทธิ์ Metabolite คือสารที่ได้หลังจากที่ยาถูกเปลี่ยนแปลง Active metabolite คือสารที่เปลี่ยนแปลงแล้ว มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา Inactive metabolite คือสารที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
6
วัตถุประสงค์สำคัญของการเปลี่ยนแปลงยา
เภสัชวิทยา (Pharmacology) วัตถุประสงค์สำคัญของการเปลี่ยนแปลงยา ทำให้ยาหมดฤทธิ์ไป (Active Inactive) ลดความเป็นพิษจากยาหรือสารนั้นๆ ทำให้เกิดเป็นสารที่ออกฤทธิ์ (Prodrug Active) ขจัดออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น โดยส่วนใหญ่ทำให้ละลายน้ำได้มากขึ้น จึงขจัดออกทางไตได้ดี
7
ขั้นตอนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงยา
เภสัชวิทยา (Pharmacology) ขั้นตอนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงยา ประกอบด้วย 2 ระยะที่สำคัญ ระยะที่ 1 (Phase I) ระยะที่ 2 (PhaseII) จะผ่านแค่ phase เดียว หรือ 2 phase ก็ได้
8
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ระยะที่ 1 (Phase I) อาศัยปฏิกิริยาทางเคมี เช่น oxidation, reduction, hydrolysis เป็นต้น ระยะนี้จะเป็นระยะที่มีการเติมกลุ่มสาร (functional group) เช่น OH, -COOH, -SH, -O-, หรือ NH2 group เพื่อให้ละลายน้ำได้มากขึ้น ส่วนใหญ่จะทำให้สารนั้นหมดฤทธิ์ (Active Inactive) อาศัยเอนไซม์ที่สำคัญมากคือ Cytochrome P450
9
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
Cytochrome P450 system Cytochrome P450 ย่อได้ว่า CYP ปัจจุบันค้นพบว่าประกอบไปด้วยมากกว่า 50 isoforms จัดกลุ่มได้เป็น 10 family (CYP1-10) และแบ่งย่อยเป็น subfamily ได้ เช่น CYP3A4, CYP2D6 3 คือ Family, A คือ subfamily, 4 คือ ชนิดเอนไซม์ ในคน CYP ที่สำคัญอยู่ใน family CYP1, CYP2 และ CYP3
10
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
Cytochrome P450 system
11
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ความสำคัญของ CYP มีความแตกต่างไปในแต่ละบุคคลและเชื้อชาติ ทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interaction) Inducer คือ ยาหรือสารที่สามารถกระตุ้น enzyme ให้ทำงานได้มากขึ้น Inhibitor คือยาหรือสารที่สามารถยับยั้งการทำงานของ enzyme ได้ Substrate คือยาหรือสารที่เป็นถูกกระทำ
12
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ความสำคัญของ CYP Inducer Enzyme ออกฤทธิ์ Substrate Inhibitor Enzyme ออกฤทธิ์
13
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ความสำคัญของ CYP
14
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ระยะที่ 2 Phase II ระยะนี้จะเกิดการสังเคราะห์หรือการรวมตัว เรียกว่า Conjugation Conjugation สามารถเกิดได้ไม่ว่าสารจะผ่าน phase I หรือไม่ผ่านก็ตาม Conjugation นี้จะเกิดขึ้นกับ glucuronic acid หรือ sulfuric acid ซึ่งเป็นสารที่มีขั้วมากขึ้น ระยะจะทำให้ยาละลายน้ำได้มากขึ้นและขจัดออกทางไตได้มากขึ้น
15
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ระยะที่ 2 Phase II
16
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ระยะที่ 2 Phase II
17
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ระยะที่ 2 Phase II
18
Enterohepatic circulation
เภสัชวิทยา (Pharmacology) Enterohepatic circulation ยาบางชนิด หลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงยาแล้ว จะมีการขับออกทางน้ำดีเข้าสู่ทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารมายังตับอีกครั้ง ยาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะถูกขจัดออกจากร่างกายได้ช้า ตัวอย่างยาเช่น digitalis, NSAIDs
19
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
First pass metabolism การเปลี่ยนแปลงยาที่เกิดขึ้นก่อนที่ยาจะเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด หลีกเลี่ยงได้โดยการบริหารยาวิธีฉีด ทวารหนักและอมใต้ลิ้น
20
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
สรุปประเด็นสำคัญ Metabolism หรือการเปลี่ยนแปลงยาที่ตับ ส่วนใหญ่ทำให้ยาหมดฤทธิ์และขจัดง่ายขึ้น มี 2 phase CYP เป็น enzyme สำคัญใน phase I มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา Inducer, inhibitor, substrate Enterohepatic circulation First pass metabolism
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.