ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSuzanna Pieters ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
สุขอนามัยงานผสมเทียมและโรคที่สำคัญในโคและ กระบือ โดย นายสัตวแพทย์สุพจน์ หนูปัทยา กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร โทร ส
2
องค์ประกอบการผสมเทียม
1.เจ้าหน้าที่ผสมเทียมที่มีความรู้ความสามารถ เน้นเทคนิคถูกต้องและสะอาด 2.สัตว์เพศเมียที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ดี อยู่ในระหว่างเป็นสัด 3.น้ำเชื้อคุณภาพดีจากสัตว์พ่อพันธุ์ที่ผ่านการตรวจโรคต้องห้ามทั้งหลาย และผ่านกระบวนการผลิตเป็นน้ำเชื้อเพื่อการผสมเทียมตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์ 4.เจ้าของสัตว์ที่ต้องสังเกตอาการเป็นสัด ได้อย่างถูกต้อง เป็นสัดต้องยืนนิ่งจริงๆ
3
สุขอนามัยงานผสมเทียม
สุขอนามัยงานผสมเทียม คือ การที่เจ้าหน้าที่ผสมเทียมจัดการดูแลงานผสมเทียมได้อย่างเหมาะสม ถูกหลักวิชา กล่าวคือ ผสมเทียมด้วยเทคนิคที่ถูกต้องและ สะอาด เป็นผลให้งานประสบผลสำเร็จ คือ นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ปล่อยที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วไม่มีผลแทรกซ้อนที่ก่อความเสียหายให้กับสัตว์แม่พันธุ์ หากสัตว์เพศเมียมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี จะเกิดการตั้งท้องและให้ลูกได้ในที่สุด
4
สุขอนามัยและโรคในระบบสืบพันธุ์ของโค
เนื้อหาวิชา -โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ -การควบคุมคุณภาพและป้องกันโรคติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง -การดูแลป้องกันโรคติดต่ออื่นๆในการปฏิบัติงาน -ปัญหาการผสมติดยาก -โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงานผสมเทียมและการป้องกัน
5
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) -เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ บรูเซลลา (Brucella spp.) -โรคระบาดในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร และติดต่อในคน -เชื้อบรูเซลลาอะบอตัส(Brucella abortus)พบในโค กระบือ -เชื้อบรูเซลลา เมนลิเทนซิส(Brucella melitensis)พบในแพะ แกะ
6
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) -เชื้อบรูเซลลา ซูส(Brucella suis)พบในแพะ แกะ -จะเกิดปัญหาผสมติดยาก เป็นหมัน -แท้งลูกในช่วงกลางและช่วงท้ายของการตั้งท้อง -ลูกที่คลอดออกมาไม่แข็งแรง
7
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) การติดต่อ -โดยการผสมพันธุ์ -สัมผัสสิ่งขับออกมาทางช่องคลอดของตัวเมีย -น้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ -การกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปน -การรีดนม -เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปตามกระแสเลือดแล้วไปที่ต่อมน้ำเหลือง แล้วจึงกระจายไปที่เต้านม อวัยวะสืบพันธุ์
8
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) อาการ -แม่โคที่ตั้งท้องจะแท้งลูกในเดือนที่ 4 –7 -การแท้งมักจะเกิดในท้องแรกหรือท้องที่สองหลังจากนั้นแม่โคจะปรับตัวได้อาจจะไม่พบการแท้งในท้องต่อไป แต่ลูกที่เกิดมักจะอ่อนแอ น้ำหนักแรกคลอดน้อย หากเลี้ยงรอดจะเป็นตัวแพร่โรคในฝูง
9
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) อาการ -แม่โคหลังการคลอดลูกพบปัญหารกค้าง มีจุดเนื้อตายบนรก มดลูกอักเสบ -แม่โคพบปัญหาการผสมติดยาก -พ่อพันธุ์ลูกอัณฑะบวมอักเสบข้างใดข้างหนึ่ง ข้ออักเสบ เป็นหมัน
10
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) การวินิจฉัย -สังเกตจากอาการ -ตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ -คนที่ติดเชื้อโรคนี้จะมีอาการไข้ ขึ้นๆลงๆ เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ตัวเหลืองซีด
11
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) การป้องกันและการรักษา -มักไม่ได้ผลสังเกตจากอาการ -การป้องกันฉีดวัคซินบรูเซลโลซิสชนิด 19 (สเตรน 19) ในลูกโคเพศเมีย อายุ 3-8 เดือน ตัวละ 2 ซีซี ใต้ผิวหนัง คุ้มโรคได้ 6 ปี -ตรวจโรคโคทุกตัวทุก 6 เดือน -คัดทิ้งตัวที่เป็นโรค ทำลายลูกที่แท้ง พร้อมรก ถุงน้ำคร่ำ โดยการเผาหรือฝังแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
12
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) -ชื่อเดิม วิบริโอซิส (Vibriosis) -เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แคมไพโลแบคเตอร์ ฟีตัส (Campylobacter fetus var. venerealis) -ทำให้เกิดเป็นหมันชั่วคราวในโค -เกิดการแท้งประมาณ 10% ในระยะการตั้งท้อง 3-8 เดือน -พ่อโคเชื้อโรคจะอยู่บริเวณเยื่อบุลึงค์ ส่วนลึกของหนังหุ้มลึงค์ -เชื้อเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์ตัวเมียโดยการผสมพันธุ์กับพ่อโคที่เป็นโรค
13
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) -โคเพศเมียที่เป็นโรคจะทำให้พ่อพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคติดโรค -โคเพศเมียที่ติดเชื้อโรคนี้จะเกิดเยื่อบุมดลูกอักเสบ เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต -โคมีการกลับสัดหลังการผสมเพราะคัพภะตายโดยไม่มีอาการแท้งให้เห็น -โคตั้งท้องเชื้อจะทำลายตุ่มเกาะรกและเข้าไปอยู่ในตัวอ่อน -พ่อโคมักไม่แสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น น้ำเชื้อปกติ -ความสมบูรณ์พันธุ์ของแม่โคและโคสาวจะลดลง
14
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) -อัตราการผสมติอของฝูงจะต่ำกว่า 5% -วงจรการเป็นสัดจะผิดปกติมีระยะห่างกว่าปกติ -พบหนองออกมาจากช่องคลอดเพราะช่องคลอดอักเสบหรือมดลูกอักเสบ -อาจพบน้ำเมือกมีสีขุ่นๆ
15
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคแคมไพโลแบคเทอริโอซิส (Campylobacteriosis) การป้องกัน -หลีกเลี่ยงการนำสัตว์ใหม่เข้าฝูง -ตรวจสัตว์ก่อนที่จะนำเข้าฝูงทุกครั้ง -ฟาร์มที่เกิดโรคใช้การผสมเทียมแทนการผสมโดยพ่อพันธุ์อย่างน้อย 2 ปี -มีการจัดการฝูงที่ดี โคตัวเมียไม่เป็นโรคใช้พ่อพันธุ์ที่ผ่านการตรวจโรคแล้วคุมฝูง โคที่ติดเชื้อใช้น้ำเชื้อที่ปลอดโรคผสมเทียม แยกสองกลุ่มให้ห่างกัน โคที่เป็นโรคจะหายเองย่างช้าๆ เชื้อโรคจะอยู่ในมดลูกได้นาน -ตรวจสุขภาพสัตว์ว่าปลอดโรคนี้โดยเฉพาะพ่อพันธุ์
16
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคบลูทัง (Blue tongue) -เกิดในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ แกะ โค แพะ กวาง แพะภูเขา และกวางแอนติโลบ -พาหะนำโรค ได้แก่ แมลงดูดเลือด เช่น ริ้นและยุง สาเหตุ -เกิดจากบลูทังไวรัส -รายงานครั้งแรกพบในแกะปี ค.ศ ในประเทศแอฟริกาใต้ แกะมีอาการลิ้นจุกปากสีม่วง และมีรอยโรคในปาก
17
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคบลูทัง (Blue tongue) กระบวนการเกิดโรค -บลูทังไวรัสเข้าสู่ตัวสัตว์ ไวรัสจะไปตามกระแสเลือด เข้าสู่เม็ดเลือดขาว ต่อมาเข้าสู่เม็ดเลือดแดงและอยู่นาน 6 สัปดาห์ -สัตว์ป่วยมีไข้สูง -แกะและสัตว์ป่าเคี้ยวเอื้องพบรอยโรคที่ปาก และ -รอยโรคพบน้อยมากในโค ผลต่อระบบสืบพันธุ์ -พ่อโคที่มีการติดเชื้อไม่แสดงอาการผิดปกติ -ไวรัสถูกขับออกมากับน้ำเชื้อได้ระยะหนึ่งระหว่าง 8-16 วัน -แม่โคที่ผสมด้วยน้ำเชื้อที่มีไวรัสปะปนจะไม่แสดงอาการป่วย -แม่โคที่ติดเชื้อตั้งท้องประมาณ 125 วัน สมองของลูกโคจะมีลักษณะผิดปกติ เช่น สมองบวมน้ำ
18
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคทริโคโมเนียซิส (Tricomoniasis) สาเหตุ -เชื้อโปรโตซัว ชื่อ ทริโคโมนาส ฟีตัส (Tricimonas fetus) การติดต่อ -เชื้ออาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของลึงค์และผนังหุ้มลึงค์ ส่วนปลายท่อปัสสาวะของพ่อโค -เชื้อจะเข้าสู่โคเพศเมียโดยการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ เชื้อจะเข้าสู่ช่องคลอดในระยะแรก หลังจากนั้นจะแบ่งตัวและแพร่เข้าสู่มดลูก ท่อนำไข่ ผลต่อระบบสืบพันธุ์ -โคเพศเมียเกิดมดลูกอักเสบ มดลูกเป็นหนอง คัพภะตายในระยะต้นๆของการตั้งท้อง แท้งลูกในระหว่าง เดือนแรก
19
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคทริโคโมเนียซิส (Tricomoniasis) -แม่โคจะมีการอักเสบของช่องคลอด อาจพบหนองข้นไหลออกมาจากช่องคลอด -พ่อโคไม่แสดงอาการให้เห็น -เชื้อนี้ไม่ขัดขวางต่อขบวนการปฏิสนธิ แต่เนื่องจากปีกมดลูกอักเสบทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้และเจริญต่อไปไม่ได้ -เชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 50 วันแต่แม่โคจะผสมไม่ติดนานถึง 2 – 6 เดือน -การติดเชื้ออาจจะมีการติดครั้งแรกคั้งเดียวหรือซ้ำหลายครั้งขึ้นกับการจัดการ -แม่โคสามารถสร้างภูมิต้านทานและขจัดเชื้อจากช่องสืบพันธุ์ได้เอง และผสมติดมีลูกได้ภายหลัง
20
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคทริโคโมเนียซิส (Tricomoniasis) การป้องกัน -ใช้วิธีการผสมเทียม -ตรวจหาโคตัวที่มีเชื้อเพื่อทำการรักษา -โคตัวเมียเป็นโรคงดผสมพันธุ์ -พ่อโคหนุ่มที่จะใช้ผสมธรรมชาติต้องตรวจโรคใช้ตัวที่มีสุขภาพดี -แม่โคที่มีปัญหาคัดทิ้ง
21
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคไอบีอาร์ (IBR) -เกิดจากเชื้อไอบีอาร์ไวรัส -โคที่ป่วยจะเป็นพาหะนำโรคไปตลอดชีวิต -พ่อโคที่ติดโรคจะตรวจพบเชื้อโรคได้ในน้ำเชื้อเมื่อได้รับการฉีดยากดภูมิต้านทาน หรือ ในขณะที่โคอยู่ในภาวะเครียด -พ่อโคหนุ่มที่จะใช้ผสมธรรมชาติหรือผลิตน้ำเชื้อต้องตรวจว่าปลอดโรคนี้ทุกๆ 6 เดือน -พ่อพันธุ์ตรวจพบภูมิคุ้มต่อไอบีอาร์ไวรัสต้องถูกคัดออก
22
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคไอบีอาร์ (IBR) -ป้องกันพ่อพันธุ์ไม่ให้ติดโรคต้องแยกเลี้ยงขังเดี่ยว -พ่อโคอาจไม่มีอาการผิดปกติ -แม่โคที่ได้รับการผสมพันธุ์กับพ่อโคที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการขึ้นกับปริมาณไวรัสในน้ำเชื้อ หรือสภาวะภูมิคุ้มโรคของแม่โค -แม่โคอาจแสดงอาการ ช่องคลอดอักเสบ มดลุกอักเสบ ผสมไม่ติด รอบการเป็นสัดสั้นลง อาการและความรุนแรงของโรคไม่แน่นอน
23
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคบีวีดี (BVD) -เกิดจากกเชื้อบีวีดีไวรัส -เป็นโรคที่เกิดแบบเฉียบพลันอาการคล้ายโรครินเดอร์เปสต์ -ตอนแรกโคป่วยจะมีไข้สูง(105 –108 องศาฟาเรนไฮท์) -มีแผลเลือดออกตลอดเยื่อบุทางเดินอาหาร -พบแผลที่ปาก จมูก ลิ้น -น้ำตาไหลและป่วยเรื้อรัง
24
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคบีวีดี (BVD) -โรคนี้ปัจจุบันมีการระบาดทั่วโรคทำให้เกิดอาการหลายชนิด -อาการป่วยมักไม่ชัดเจนเหมือนการระบาดแบบเฉียบพลัน -โคป่วยอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการให้เห็น -โคที่ไวต่อการติดเชื้อได้แก่โครุ่นสาวเพราะภูมิคุ้มกันจากการกินนมน้ำเหลืองจากแม่จะลดลง -ปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ เช่น การผสมติดยากเพราะตัวอ่อนตายในระยะต้นๆ แท้งลูก เป็นลูกกรอก
25
โรคติดเชื้อที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์
โรคบีวีดี (BVD) -เชื้อไวรัสบีวีดีสามารถแพร่ผ่านรกได้ ทำให้มีผลต่อการตั้งท้อง เช่น ลูกอาจตายและแท้งออกมาเมื่อติดเชื้อในระยะการตั้งตั้ง 3 เดือนแรก -เกิดความผิดปกติของสมองหรือเกิดมาไม่แข้งแรงถ้ามีการติดเชื้อในระยะ 3 – 6 เดือนของการตั้งท้อง
26
การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง
-พ่อพันธุ์รีดเก็บน้ำเชื้อต้องเป็นพ่อพันธุ์ดี รูปร่างลักษณะดี ปลอดโรคที่ปนเปื้อนทางน้ำเชื้อ -กระบวนการรีดเก็บน้ำต้องถูกต้องตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ -อุปกรณ์ที่รีดน้ำเชื้อต้องทำความสะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อก่อนและหลังการใช้งาน -อุปกรณ์ที่รีดน้ำเชื้อใช้เฉพาะพ่อโคแต่ละตัว -ผู้รีดน้ำเชื้อต้องใส่ถุงมือยางและเปลี่ยนทุกครั้ง -ห้องปฏิบัติการน้ำเชื้อต้องแยกเป็นสัดส่วน สะอาดและปกปิดมิดชิด
27
การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง
-พ่อโคที่เป็นตัวยืนล่อต้องผ่านการตรวจโรค -พ่อโคที่จะนำเข้ามาใหม่ต้องกักตรวจโรคอย่างน้อย 30 วัน -การควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคอื่นๆ เช่น Mycoplasma Ureaplasma Hemophilus somnus Campylobacter ให้เติมยาปฏิชีวนะ เช่น เจนตามัยซิน ไทโลซิน ลินโคมัยซิน สเปคโตมัยซิน ลงในสารละลายเจือจางน้ำเชื้อ
28
การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง
โรคที่สำคัญในพ่อโคที่เป็นพ่อพันธุ์ต้องปลอดจากโรค ดังนี้ วัณโรค ผลลบอย่างน้อย 60 วันโดยวิธีฉีดน้ำยาทดสอบที่โคนหาง โรคแท้งติดต่อ ผลลบอย่างน้อย 30 วัน โดยวิธีทดสอบเลือด โรคเลปโตสไปโรซีส ผลลบอย่างน้อย 60 วัน โดยวิธีทดสอบระดับภูมิคุ้มกัน
29
การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง
โรคที่สำคัญในพ่อโคที่เป็นพ่อพันธุ์ต้องปลอดจากโรค ดังนี้ 4. โรคบีวีดี ผลลบอย่างน้อย 30 วัน โดยวิธีเพาะเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง 5. โรคแคมไพโรแบคเตอร์ ผลลบจากการเพาะเชื้อแบคทีเรียจากตัวอย่างผนังหุ้มลึงคืพ่อโค ตรวจทุก 1 ปี 6. โรคไอบีอาร์ ตรวจทุก 1 ปี ตรวจจากเลือดหรือหาเชื้อไวรัสจากน้ำเชื้อ
30
การควบคุมคุณภาพและป้องกันการติดเชื้อในน้ำเชื้อแช่แข็ง
โรคที่สำคัญในพ่อโคที่เป็นพ่อพันธุ์ต้องปลอดจากโรค ดังนี้ 7. โรคทริโคโมเนียซีส ผลลบจากการเพาะเลี้ยงโปรโตซัว เก็บตัวอย่างจากผนังหุ้มลึงค์ ตรวจทุก 1 ปี 8. โรควัณโรคเทียมหรือพาราทูเบอร์คิวโลซิส ตรวจทุก 1 ปี โดยตรวจจากเลือดหรือเพาะเชื้อจากมูลโค 9. โรคบลูทัง ตรวจจากเลือด
31
การดูแลป้องกันโรคติดต่ออื่นๆที่สำคัญในการปฏิบัติงาน
โรคติดต่อที่สำคัญในโค โรคปากและเท้าเปื่อย โรคคอบวม โรคไข้เห็บ โรคอะนาพลาสโมซิส การเป็นพิษจากยูเรีย
32
ปัญหาการผสมติดยาก สาเหตุการผสมไม่ติด
การไม่แสดงอาการเป็นสัด เช่น รังไข่ไม่ทำงาน แม่โคได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการติดเชื้อของมดลูกหลังคลอดและการสูญเสียตัวอ่อนในระยะต้นจากโรคติดเชื้อ ความไม่สมบูรณ์ของแม่โคจากการเลี้ยงดูด้านอาหารและการจัดการ ปัญหาด้านน้ำเชื้อ
33
ปัญหาการผสมติดยาก การไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ หรือไม่แสดงอาการเป็นสัด เป็นโคฟรีมาตินหรือแฝดผู้เมีย โคมักไม่มีมดลูกหรือรังไข่ ลักษณะภายนอกปกติแต่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์โคจะไม่เป็นสัด ตรวจพบโดยการล้วงตรวจอวัยะสืบพันธุ์และตรวจโครโมโซม โคสาวได้รับอาหารไม่สมบูรณ์ หรือแม่โคหลังการคลอดไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล เกิดปัญหารังไข่ไม่ทำงาน ไม่สร้างฟอลลิเคิล คอร์ปัสลูเตียม ความผิดปกติของรังไข่ เช่น การเกิดพยาธิถุงน้ำที่รังไข่
34
ปัญหาการผสมติดยาก การไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ หรือไม่แสดงอาการเป็นสัด การเกิดพยาธิถุงน้ำที่รังไข่ โคจะแสดงอาการ 2 ลักษณะ คือ บางตัวแสดงอาการเป็นสัดบ่อยครั้งทำให้รอบการเป็นสัดสั้นลง หรือ บางตัวไม่แสดงอาการเป็นสัด อาจพบแม่โคมีอวัยวะเพศบวมขยายใหญ่ โคนหางยกสูงสาเหตุโน้มนำได้แก่ กรรมพันธุ์ การขาดอาหาร ต้องดูบันทึกการผสมเทียมจะพบรอบการเป็นสัดผิดปกติ แจ้งนายสัตวแพทย์ตรวจวินิจฉัยเพราะบางรายแก้ไขได้ แต่บางรายไม่สามารถแก้ไขได้
35
ปัญหาการผสมติดยาก แม่โคได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม
ปัญหานี้ต้องแก้ไขโดยการวางงานเป็นระบบ เช่น กำหนดเวลาการรับแจ้งผสมเทียม บันทึกการผสมเทียมทุกครั้ง วางแผนการออกบริการผสมเทียม ไม่ผสมในช่วงที่เร็วเกินไป หรือช้าเกินไป
36
ปัญหาการผสมติดยาก ปัญหาการติดเชื้อของมดลูกหลังการคลอดและสูญเสียตัวอ่อนในระยะต้นจากการติดเชื้อ เข้มงวดด้านสุขอนามัย เครื่องมืออุปกรณ์ต้องสะอาดเก็บรักษาอย่างดี ป้องกันฝุ่นละออง การจับพลาสติกชีท หรือแซนนิทารีชีทต้องไม่จับบริเวณปลายที่จะต้องสอดเข้าคอมดลูก การใช้แซนิทารีชีทจะช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนเชื้อยูเรียพลาสมา และแบคทีเรียอื่นๆได้ การติดเชื้อมดลูกหลังคลอดจะมีเมือกขุ่นข้นหรือเป้นหนองออกมาจากช่องคลอดรีบแจ้งนายสัตวแพทย์รักษา
37
ปัญหาการผสมติดยาก ความไม่สมบูรณ์ของแม่โค สังเกตความสมบูรณืของร่างกายโค
โคที่ผอมจนมองกระดูกเชิงกรานชัดมักจะมีปัญหาการผสมซ้ำ การขาดแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายส่งผลถึงความสมบูรณ์พันธุ์ แนะนำให้เกษตรกรแก้ไขด้านการจัดการ
38
ปัญหาการผสมติดยาก ปัญหาด้านน้ำเชื้อ เก็บรักษาน้ำเชื้อให้ถูกวิธี
วางแผนการนำน้ำเชื้อไปใช้ผสมเทียม การละลายน้ำเชื้อถูกวิธี การหยิบน้ำเชื้อถูกวิธี
39
โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน
โรคยูเรียพลาสโมซิส (Ureapasmosis) เกิดจากเชื้อยูเรียพลาสมา ไดเวอซุม พบเชื้อที่บริเวณปากช่องคลอดและแอ่งคลิตอริส เชื้อเข้ามดลูก ทำให้มดลูกอักเสบ ผสมไม่ติด ตัวอ่อนตายในระยะต้น โรคแบ่งเป็น 2 ชนิด ชนิดเฉียบพลัน พบพนองเหนียว เปรอะเปื้อนที่หาง และขนบริเวณปากช่องคลอดหลังการผสมเทียม 3 – 6 วัน หนองจะไหลติดต่อกัน 3 – 10 วัน เยื่อบุช่องคลอดบวมแดง มีเม็ดตุ่มใส กระจายอยู่รอบๆแอ่งคลิตอริสหรือกระจายไปทั่วปากช่องคลอดด้านบน
40
โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน
โรคยูเรียพลาสโมซิส (Ureapasmosis) ชนิดเรื้อรัง เป็นการติดเชื้อนาน จะไม่พบหนองไหล เยื่อบุช่องคลอดจะบวม มีน้ำหล่อลื่นคล้ายเมือกอาจพบตุ่มซีสเป็นกลุ่มบริเวณผนังปากช่องคลอด การป้องกันโรคโดยการใช้แซนนิทารีชีทสวมทับด้านนอกปีนฉีดน้ำเชื้อ
41
โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน
โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) เกิดจากเชื้อโบวายลิวโคซิสไวรัส มีผลทำให้เม็ดเลือดขาวเปลี่ยนไปและเกิดเป็นมะเร็งของระบบน้ำเหลือง อาการผิดปกติจะตรวจคลำพบว่าต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ การขยายของต่อมน้ำเหลืองที่กระเพาะและลำไส้จะขัดขวางการเคลื่อนตัวของอาหาร ทำให้เกิดการอุดตัน โคจะผอมลงก่อนตาย
42
โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน
โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) มี 4 แบบ แบบที่ 1 เกิดในโคอายุมากกว่า 3 ปี สภาพจะทรุดโทรม น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองตามตัวขยายใหญ่ แบบที่ 2 พบได้ไม่บ่อยจะเกิดในโคอายุ 1 –2 ปี มีการบวมขยายใหญ่ของคอ แบบที่ 3 พบบ่อยในโคอายุเฉลี่ย 6 เดือน(แรกเกิดถึง 2 ปี) จะพบการขยายใหญ่ของต่อมน้ำเหลืองทั่วตัว แบบที่ 4 พบในโคอายุ 1.5 – 3 ปี พบน้อยมาก ผิวหนังจะมีลักษณะคล้ายหูด
43
โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน
โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) การติดต่อของโรค แมลงดูดเลือด ได้แก่ เหลือบ ดูดเลือดโคป่วยแล้วไปดูดโคไม่ป่วยแพร่ไวรัสซึ่งอยู่ในเม็ดเลือดขาวไปสู่โคตัวอื่นได้ เลือด จากการศึกษาพบว่าน้ำลายและน้ำมูกไม่เป็นสื่อในการติดโรค การตัดเขาหรือการฉีดวัคซีน การฉีดยา เกิดจากการใช้เครื่องมือ ผลการล้วงคลำจะเกิดชอกช้ำของผนังทวารหนักและมีเลือดออกในบางราย การใช้ถุงมือล้วงอันเดียวล้วงโคซ้ำหลายๆตัว อาจทำให้โรคแพร่จากโคป่วยไปโคตัวอื่นได้
44
โรคที่แพร่กระจายโดยพนักงาน ผสมเทียมและการป้องกัน
โรคลิวโคซีส (Bovine leucosis) การติดโรคผ่านรกในโคขณะตั้งท้อง การกินนมไม่ควรนำนมจากแม่โคที่เป็นเต้านมอักเสบไปเลี้ยงลูกโคเพราะมีเม็ดเลือดขาวมาก ผลต่อระบบสืบพันธุ์ พ่อโคที่ติดเชื้อไม่มีความผิดปกติของน้ำเชื้อและตัวอสุจิ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.