ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 6 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
Electronic Auction: E-Auction 1/18/2019
2
Contents ความหมายของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อดี ข้อเสียของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ กลโกงของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนและการเจรจาต่อรอง
3
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction)
ความหมายของการประมูล การประมูล(Auction)หมายถึงการเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด การประมูลอิเล็กทรอนิกส์( E- Auction) การเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด
4
รูปแบบของการประมูล รูปแบบของการประมูล สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
รูปแบบของการประมูล สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท 1. การประมูลแบบดั้งเดิม(Traditional Auction) หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า “Offline” เห็นได้ในภาครัฐและเอกชนโดยผู้ซื้อและผู้ขายจะต้อมากันเพื่อเสนอราคาสินค้าแข่งขันกันจนกระทั่งผู้ชนะการประมูล ข้อจำกัดของการประมูลแบบดั้งเดิม ต้องเดินทางมาร่วมการประมูลทำให้ไม่สะดวกต่อผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด ให้เวลาแก่ผู้ซื้อน้อยเกินไปในการเสนอราคาเพื่อประมูลสินค้าทำให้ผู้ซื้อมีเวลาในการตัดสินใจน้อย เสียค่าใช้จ่ายสูงในการค่านายหน้า ค่าเช่าสถานที่การประมูล ค่าโฆษณา
5
รูปแบบของการประมูล 2. การประมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Auction) หรือเรียกอย่างว่าการประมูลแบบ Online เป็นการประมูลโดยอาศัยสื่อโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่จำกัดอาคารสถานที่ เช่น Internet ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องเดินทางมาพบกัน มีความโปร่งใส กล่าวคือสามารถทราบข้อมูลการแข่งขันได้ เสนอราคาได้หลายครั้ง(DynamicPricing) มีการยืดหยุ่นเนื่องจากมีการประมูลหลายรูปแบบ ลดต้นทุนในการทำเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนต้นทุนที่เกิดจากการเช่าสถานที่
6
การเสนอซื้อ/เสนอขายสินค้าแบบดั้งเดิม การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
กำหนดสินค้าที่ต้องการซื้อ/ขาย ร่าง RFQ/Quotation คัดเลือกผู้ซื้อ/ผู้ขายที่มีศักยภาพ เจรจาต่อรอง ตัดสินผู้ชนะ การเสนอซื้อ/เสนอขายสินค้าแบบดั้งเดิม จัดส่งสินค้า/ชำระเงิน ร่าง RFQ/Quotation กำหนดสินค้าที่ต้องการซื้อ/ขาย ตัดสินผู้ชนะ จัดส่งสินค้า/ชำระเงิน คัดเลือกผู้ซื้อ/ผู้ขายที่มีศักยภาพโดยการประมูลผ่านอินเทอร์เน็ต การประมูลอิเล็กทรอนิกส์
7
ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
การประมูลขาย(Forward Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ต้องการขายสินค้าโดยผู้ขายกำหนดความต้องการให้ผู้ซื้อราคาแข่งขันกันผู้ซื่อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสินค้าไป ตัวอย่าง บริษัท AAA ต้องการขายสินค้า จึงได้กำหนดความต้องการขายสินค้าและเปิดประมูลขึ้นเพื่อขายสินค้า และผู้ที่เข้าร่วมประมูลก็คือ นาย ก หากนาย ก สามารถเสนอซื้อสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้สูงกว่าผู้ซื้อรายอื่นๆ นาย ก ก็จะเป็นผู้ชนะและได้รับสินค้าไปในที่สุด
8
แสดงตัวอย่างการประมูลขาย
ชนะ ผู้ขาย ผู้ซื้อ ราคา แสดงตัวอย่างการประมูลขาย
9
ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. การประมูลซื้อ(Reverse Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ต้องการซื้อสินค้าโดยผู้ซื้อกำหนดความต้องการซื้อสินค้าให้ผู้ขายราคาแข่งขันกันผู้ขายที่เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ชนะการประมูลในครั้งนั้น ตัวอย่าง กระทรวงศึกษาธิการต้องการซื้อคอมพิวเตอร์จำนวนมาก จึงกำหนดความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์และเปิดประมูลขึ้น และผู้ที่เข้าร่วมประมูลก็คือผู้ขายคอมพิวเตอร์จากตัวแทนจำหน่ายหลายราย เข้ามาเสนอราคาแข่งขัน ผู้ขายที่เสนอได้ราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล และกระทรวงศึกษาธิการจะต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากผู้ขายรายนั้น
10
แสดงตัวอย่างการประมูลซื้อ
ราคา ผู้ซื้อ ผู้ขาย ชนะ แสดงตัวอย่างการประมูลซื้อ
11
ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
3. One Knock Auction เป็นการประมูลที่ผู้ขายต้องการขายสินค้าอย่างเร่งด่วนกล่าวคือเมื่อผู้ขายเปิดประมูลเพื่อขายสินค้าหากผู้ซื้อที่เข้าร่วมการประมูลรายใดรายหนึ่งเสนอราคามา การประมูลจะสิ้นสุดลง 4. English Auction เป็นการประมูลขายชนิดหนึ่งโดยผู้ซื้อจะเริ่มต้นเสนอราคาซื้อที่เต็มใจจ่าย(ราคาดังกล่าวเรียกว่า “bids”) ที่ค่อนข้างต่ำและขยับราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่มีใครเสนอราคาสูงไปกว่าเดิมจนกว่าเวลาการประมูลหมดลงผู้เสนอราคาสูงสุดคนสุดท้ายจะเป็นผู้ชนะการประมูล
12
ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
5. Yankee Auction เป็นการประมูลสินค้าแบบสินค้าหลายชิ้น ในตอนเริ่มต้นจะกำหนดราคาเสนอราคาของสินค้าเริ่มต้นแต่ละชนิดต่อจำนวนชิ้นที่ต้องการเสนอขายผู้ซื้อที่เข้าร่วมประมูลจะเพิ่มราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าไม่มีผู้ใดสามารถสู้ราคาได้ ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล 6. Dutch Auction เป็นการที่เริ่มต้นด้วยผู้ขายเสนอราคาสินค้าที่สูงมากจากนั้นจะลดราคาลงเรื่อย ๆ จนเหลือระดับราคาที่ผู้ซื้อจ่ายในราคาระดับนั้นได้และผู้ซื่อที่ยอมรับในระดับดังกล่าวก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล
13
ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
การประมูลแบบ Dutch Auction ผู้ขายจะได้เปรียบผู้ซื้อ กล่าวคือ ผู้ซื้อไม่อาจรอให้ราคาลดระดับลงไปมาก เนื่องจากกลัวว่าสินค้าจะตกไปเป็นของผู้ซื้อรายอื่นไป ดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้านั้นจริง ผู้ซื้อก็จำเป็นต้องหยุดราคาประมูลไว้ให้เร็วกว่าผู้ซื้อรายอื่น ราคาสินค้าบางชนิดจึงอาจสูงกว่าที่ผู้ขายคาดการณ์ไว้ เนื่องจากการประมูลชนิดนี้เริ่มต้นด้วยราคาที่สูงมาก จึงค่อยๆ ลดราคาลงมา
14
ขั้นตอนในการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
การประมูลโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือประมูลขาย และประมูลซื้อ ซึ่งผู้ซื้อ/ขาย อาจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยสามารถเข้าร่วมการประมูลกับเว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป แต่หากจะประมูลกับภาครัฐจะต้องทำการลงทะเบียนที่เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ทีได้รับการคัดเลือกและประกาศให้เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นทางการเท่านั้น เช่น บริษัท พันธวณิช จำกัด (www,pantavanij.com) , บริษัท บิส ไดเมนชั่น จำกัด ( บริษัท ป็อบ เนทเวิร์ค จำกัด ( เป็นต้น
15
เว็บไชต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท บิส ไดเมนชั่น จำกัด (www
เว็บไชต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท บิส ไดเมนชั่น จำกัด (
16
เว็บไชต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท ป็อบ เนทเวิร์ค จำกัด (www
เว็บไชต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท ป็อบ เนทเวิร์ค จำกัด (
17
เว็บไชต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท ไอ ซี เอ็น ซิสเต็ม จำกัด (www
เว็บไชต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท ไอ ซี เอ็น ซิสเต็ม จำกัด (
18
แสดงตัวอย่างเว็บไซต์ตลาดกลางที่มีการสืบค้นข้อมูล
20
บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ร่วมประมูลในขั้นตอนต่าง ๆ ของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์มีรายละเอียดดังนี้ 1. กลไกการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) เช่น
21
แสดงตัวอย่างเว็บไซต์ที่มี Search Engine ไว้คอยบริการ
22
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดหมวดหมู่สินค้า
2. การจัดหมวดหมู่ของสินค้าที่ต้องการประมูล ช่วยให้ผู้เข้าร่วมประมูลมีขอบเขตในการค้นหาที่แคบลงทำให้การค้นหาได้เร็วขึ้นหรืออาจจะเป็น(E-Catalog)สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถตรวจสอบรายละเอียดของสินค้าได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดหมวดหมู่สินค้า
23
3. ประกาศข่าวการประมูล การประกาศข่าวการประมูลจะช่วยผู้เข้าร่วมการประมูลทราบความคืบหน้าได้เป็นอย่างดี เช่น ตัวอย่างการประกาศข่าวการประมูลของเว็บไซต์ตลาดกลาง
24
4. รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประมูลอิเล็คทรอนิกส์
25
บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างสาธิตการประมูล (Demo) Bid Watching เป็นเครื่องมือที่ช่วยรายงานสถานะการประมูลให้ผู้เข้าร่วมประมูลทราบตลอดเวลาตัวอย่างเว็บไซต็เช่น แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่ว่าแจ้งข่าวผู้ชนะการประมูล ข่าวเปิดประมูล ขอบคุณผู้เข้าร่วมประมูลเป็นต้น
26
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction)
ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ด้านของผู้ขาย (Sellers) ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ขาย สามารถกำหนดราคาได้ในระดับที่ช่วยให้ผู้ขายได้ผลกำไรที่เหมาะสม ช่วยกำจัดพ่อค้าคนกลางออกจากระบบทำให้ผู้ขายมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้ขายมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ขายสามารถระบายสินค้าจากสต็อกได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการโฆษณาสินค้า ช่วยให้มีเวลามากขึ้นในการวางกลยุทธ์ในการขาย สามารถลดงานและลดต้นทุนในด้านเอกสารบางอย่างได้ เช่นเอกสารจดหมายเวียนไปยังผู้ซื้อที่ต้องการเข้าร่วมประมูลเป็นต้น
27
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction)
ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ด้านของผู้ซื้อ (Buyers) สำหรับสินค้าสะสมหรือสินค้าที่หายากหากผู้เข้าร่วมประมูลอิเล็กทรอนิกส์แล้วผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าได้ง่ายขึ้น ผู้ซื้อมีโอกาสในการต่อรองราคาได้มากขึ้นเนื่องจากกลไกการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเสนอราคาได้หลายครั้งดังนั้นผู้ซื้อจะได้ราคาสินค้าที่พึงพอใจ มีความสะดวกสบายเนื่องจากผู้ซื้อสามารถเข้าร่วมประมูลได้ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม
28
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction)
ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ด้านผู้ดำเนินการประมูล(Auctioneer) มีโอกาสสร้างพันธมิตรทางการค้าได้มากขึ้นเนื่องจากผู้ขายและผู้ซื้ออาจฝากลิงค์ไว้ที่เว็บไซต์ตลาดกลางหรือที่บริษัทผู้ซื้อผู้ขายทำให้เชื่อมโยงได้ทันที เมื่อมีการประมูลมากขึ้นผู้ให้บริการตลาดกลางหรือผู้ดำเนินการประมูลจะได้รับค่าธรรมเนียมมากขึ้น และโฆษณาเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
29
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction)
ข้อเสียของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงสำหรับสินค้าที่หายาก เช่นโบราณวัตถุ หรืองานศิลปะต่าง ๆ นั้น ผู้ซื้อไม่สามารถเห็นชิ้นงานก่อนการประมูลได้ จำกัดกลุ่มผู้เข้าร่วมประมูลบางครั้งเป็นการส่งผ่านอีเมล์ในบางกลุ่มเท่านั้น เสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูล มีปริมาณการซื้อขายต่ำ ราคาที่ซื้อมาได้อาจไม่ต่ำเท่าที่ควรจะเป็น
30
กลโกงของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบของกลโกง การป้องกันกลโกง
31
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction)
รูปแบบของกลโกง หน้าม้าเสนอราคาหลอก นำเสนอรูปภาพสินค้าที่บิดเบือนความจริง จูงใจผู้ประมูลด้วยเกรดสินค้า ขายสินค้าปลอม ราคาประมูลต่ำแต่ค่าขนส่งแพง ผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ ผู้ซื้อต้องการสินค้าฟรี ผู้ซื้อต้องการได้สินค้าที่ดีกว่าเดิม
32
กลโกงของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
การป้องกันกลโกง การพิสูจน์ว่าเป็นสมาชิกตัวจริง การตรวจสอบว่าเป็นสินค้าของจริง จัดให้มีบริการคัดระดับคุณภาพสินค้า การแสดงความคิดเห็น บริการตรวจสอบการชำระเงินและจัดส่งสินค้า
33
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต และ M-Auction
แนวโน้มของการประมูลสินค้าในอนาคตจะเป็นการประมูลสินค้าบนโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น (Mobile Auction) เนื่องจากมีข้อดีคือ 1. สะดวก และมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนมาก การประมูลสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือจะมีความสะดวก เนื่องจากไม่ต้องเดินทางไปสถานที่ประมูล และยังพกพาสะดวก 2. มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 3. ใช้งานง่ายและทำงานเร็ว
34
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต และ M-Auction
ข้อจำกัดของการประมูลสินค้าบนโทรศัพท์มือถือ คุณภาพของการแสดงข้อมูลชนิดรูปภาพยังไม่ละเอียดมากพอ อีกทั้งจอภาพของเครื่องโทรศัพท์มีขนาดเล็ก ไม่สามารถแสดงรูปภาพสินค้าบางประเภทได้ ขนาดหน่วยความจำน้อย มาตรฐานของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับต่ำ ระยะเวลาการใช้งานค่อนข้างจำกัด
35
Summary ความหมายของการประมูล
รูปแบบของการประมูลมี 2 รูปแบบ คือ การประมูลแบบดั้งเดิม และการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของการประมูล เช่น การประมูลเพื่อขาย(forward auction), การประมูลเพื่อซื้อ(reverse auction), English auction , Yankee auction เป็นต้น ขั้นตอนของการประมูล 8 ขั้นตอน การแลกเปลี่ยนออนไลน์ และการเจรจาต่อรอง แนวโน้มของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ , Mobile Auction
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.