ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDuygu Bilgi ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน Biology (40242)
2
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน
บทที่ 5 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน 5.1 อาหารและการย่อยอาหาร 5.1.1 การย่อยอาหารของจุลินทรีย์ 5.1.2 การย่อยอาหารของสัตว์ 5.1.3 การย่อยอาหารของคน 5.2 การสลายสารอาหารระดับเซลล์ 5.2.1 การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน 5.2.2 การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
3
การสลายสารอาหารระดับเซลล์ (Cellular respiration)
4
5.2 การสลายสารอาหารระดับเซลล์ (Cellular respiration)
5.2.1 การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) วิถีไกลโคลิซีส (glycolytic pathway) วัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle) ระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอน (electron transport system) 5.2.2 การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic respiration)
5
Kreb’s Cycle
6
Kreb’s Cycle ทำหน้าที่อะไร
Glycolysis ให้พลังงานน้อยกว่า 1 ใน 4 ของพลังงานเคมีที่สะสมไว้อยู่ในโมเลกุลของ glucose ในสภาวะที่มีออกซิเจน pyruvate จะเข้าไปใน mitochondrai ซึ่งเอนไซม์ของ krebs cycle จะทำหน้าที่ ออกซิไดซ์ต่ออย่างสมบูรณ์
8
เมื่อ pyruvate ซึ่งเกิดจาก glycolytic pathway ใน cytosol เข้าไปใน mitochondria จะถูกเปลี่ยนเป็น acetyl CoA โดยเอนไซม์ pyruvate dehydrogenase ขั้นตอนนี้เป็นรอยต่อระหว่าง glycolytic pathway และ krebs cycle และเป็นขั้นแรกในกระบวนการหายใจที่มี CO2 เกิดขึ้น
9
The Krebs Cycle #The%20Electron%20Transport%20Chain%20and%20Proton%20Pumping
10
การเปลี่ยน pyruvate เป็น acetyl coA
การเปลี่ยน pyruvate เป็น acetyl coA เกิดขึ้นใน mitochondria ในปฏิกิริยา 3 ขั้นตอน ขั้นแรก หมู่คาร์บอกซิลของ pyruvate จะหลุดออก กลายเป็นแก๊ส CO2 (เป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ที่มี CO2เกิดขึ้น) ขั้นที่ 2 ส่วนที่เหลือของ pyruvate ซึ่งมี 2 คาร์บอนอะตอม ถูกออกซิไดส์ด้วย NAD+ ได้เป็น acetrate (คือ acetic acid ที่ถูก ionized) และในปฏิกิริยานี้จะได้ NADH ซึ่งเป็นสารที่สะสมพลังงานเคมีไว้ในตัว ขั้นสุดท้าย coA จะถูกนำไปติดกับ acetrate ด้วยพันธะที่ไม่ค่อยอยู่ตัวได้เป็น acetyl coA ซึ่งจะทำให้ acetyl coA สามารถส่งหมู่ acetrate เข้าวัฏจักรเครบส์ (เพื่อถูกออกซิไดซ์ต่อ) ได้อย่างง่าย
12
ในแต่ละรอบของ krebs cycle จะมีคาร์บอน 2 อะตอมในรูปของหมู่ acetyl เข้ามา (ขั้นที่ 1) และ
มี 2 คาร์บอนอะตอม ออกไปในรูปของ CO2 (ขั้นที่ 3 และ 4) หมู่ acety ที่เข้ามาที่ krebs cycle จะมารวมกับ oxaloacetate เกิดเป็น citrate ทำปฏิกิริยาต่อๆ ไป รวม 8 ขั้นตอนจนครบรอบวัฏจักรได้เป็นสาร oxaloacetate กลับคืนมา ปฏิกิริยาส่วนใหญ่ใน krebs cycle เป็นออกซิเดชัน-รีดักชัน krebs cycle ถือว่าเป็นปลายทางของการสลายสารอินทรีย์ให้เป็น CO2 และเป็นขั้นตอนที่มีการเก็บเกี่ยวพลังงานจากสารอินทรีย์ (จากสารอาหาร) ไว้ในรูปของอิเล็กตรอนพลังงานสูง อาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำอิเล็กตรอนออกมาจาก acety coA และใช้อิเล็กตรอนนี้ในการสร้าง NADH และ FADH2 ซึ่งเป็นสารที่สะสมพลังงานเคมีไว้ในตัว และจะนำไปใช้ในการสร้าง ATP ต่อไปในกระบวนการ oxidative phosphorylation krebs cycle ประกอบไปด้วย 8 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนเร่งโดยเอนไซม์ที่จำเพาะของแต่ละปฏิกิริยาดังต่อไปนี้
13
ขั้นตอนที่ 1 คาร์บอน 2 อะตอมของ acetyl coA เข้ามาในวัฏจักรโดยเกิดการรวมของหมู่ acetyl กับ oxaloacetate โดยใช้เอนไซม์ citrate synthase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้ผลผลิตเป็น citrate และ CoA
14
ขั้นตอนที่ 2 ซิเตรตเปลี่ยนไปเป็น isomer ของมันคือ isocitrate โดยใช้เอนไซม์ aconitase เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยานี้เกิดเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นแรก เป็นปฏิกิริยาเอาน้ำออกไป 1 โมเลกุล กลายเป็น cis-aconitate ก่อน (ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นในเวลาสั้นมาก) จากนั้น ซิสอะโคนิเตตจึงรวมตัวกับน้ำ 1 โมเลกุล เกิดเป็น isocitrate
15
ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนที่เกิดปฏิกิริยา decarboxylation คือให้แก๊ส CO2 โดย isocitrate จะถูกออกซิไดซ์ไปเป็น α-ketoglutarate และให้ CO2 ออกมา โดยใช้เอนไซม์ isocitrate dehydrogenase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และขั้นตอนนี้มีการให้อิเล็กตรอนกับ NAD+ กลายเป็น NADH
16
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนนี้จะมีการให้ CO2 ออกมาอีก 1 โมเลกุล คือ α-ketoglutarate ถูกออกซิไดซ์ ปล่อยหมู่ CO2 ออกมา และในขณะเดียวกัน Coenzyme A เข้าไปแทนที่ตรงตำแหน่งที่ CO2 หลุดออกไปเกิดเป็น succinyl CoA โดยใช้เอนไซม์ α-ketoglutarate dehydrogenase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ขั้นตอนนี้มีการให้อิเล็กตรอนกับ NAD+ กลายเป็น NADH
17
ขั้นตอนที่ 5 หมู่ CoA ของ succinyl CoA จะถูกแทนที่โดยหมู่ฟอสเฟต (Pi) ซึ่งพันธะนี้จะไม่อยู่ตัวจะส่งหมู่ฟอสเฟตต่อให้ GDP เกิดเป็น GTP และ succinyl CoA เปลี่ยนเป็น succinate เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยานี้ คือ succinyl CoA synthetase
18
ขั้นตอนที่ 6 เอนไซม์ succinate dehydrogenase จะเปลี่ยน succinate ไปเป็น fumarate ในปฏิกิริยารีดักชันนี้ succinate จะให้ไฮโดรเจนแก่ FAD เกิดเป็น FADH2 ซึ่งเป็นตัวสะสมพลังงานเคมีไว้ในตัว
19
ขั้นตอนที่ 7 เป็นปฏิกิริยาเติมน้ำ 1 โมเลกุล ได้แก่ fumarate ให้เปลี่ยนไปเป็น malate โดยใช้เอนไซม์ fumarase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
20
ขั้นตอนที่ 8 เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะครบ 1 รอบของวัฏจักร คือ เป็นการสร้าง oxaloacetate กลับคืนมาใหม่ malate จะถูกออกซิไดซ์ให้เป็น oxaloacetate ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่จะไปรวมกับ acetyl coA ตัวใหม่ เพื่อเข้ารอบใหม่ของ krebs cycle ต่อไป ในขั้นตอนของการออกซิเดชันนี้ NAD+ จะถูกรีดิวซ์ให้เป็น NADH (เก็บพลังงานเคมีสะสมไว้ในตัว) ปฏิกิริยานี้เร่ง โดยเอนไซม์ malate dehydrogenase
21
The Kreb’s Cycle #The%20Electron%20Transport%20Chain%20and%20Proton%20Pumping
22
รวมปฏิกิริยาใน Krebs Cycle
Acetyl-CoA + 3NAD+ + FAD + GDP + Pi + 2H2O 3NADH + FADH2 + GTP + 2CO2 + 3H+ + CoA
23
ผลผลิตจาก Krebs Cycle
24
สรุป Krebs Cycle krebs cycle มีจุดสำคัญ ที่สรุปได้ดังนี้
1. คาร์บอน 2 อะตอม (จาก acetyl CoA) เข้ามาในวัฏจักร และคาร์บอน 2 อะตอมออกไปในรูปของ CO2 2. ไฮโดรเจนอะตอม 4 คู่ ออกไปจากวัฏจักรในปฏิกิริยาออกซิเดชัน 4 ปฏิกิริยา NAD+ 2 โมเลกุลถูกรีดิวซ์ได้เป็น NADH ในปฏิกิริยา oxidative decarboxylation (ออกซิเดชัน และเอา CO2 ออก) จำนวน 2 ปฏิกิริยา FAD 1 โมเลกุลถูกรีดิวซ์ได้เป็น FADH2 ในปฏิกิริยาออกซิเดชันของ succinate NAD+ อีก 1 โมเลกุล ถูกรีดิวซ์ได้เป็น NADH ในปฏิกิริยาออกซิเดชันของ malate 3. ได้สารพลังงานสูง GTP 1 โมเลกุล ซึ่งเกิดจากแตกของพันธะ thioester ของ succinyl CoA GTP นี้จะถูกนำไปสร้างต่อเป็น ATP โดยการให้หมู่ฟอสเฟตโดยตรงแก่ ADP ให้เป็น ATP วิธีการนี้เรียกว่า substrate-level phosphorylation
25
http://mil. citrus. cc. ca
26
สารอะไรบ้างที่เข้าสู่ krebs cycle ได้
27
สารอาหารทุกประเภท คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน สามารถเข้าสู่ glycolytic pathway และ krebs cycle เพื่อให้พลังงานได้หลายจุด
28
TOTAL 36 or 38 ATPs per Glucose
30
Electron transport system
31
http://mil. citrus. cc. ca
32
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกี่ยวข้องกับการสร้าง ATP อย่างไร
กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน เกิดขึ้นในเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องจากวัฏจักรเครบส์ แหล่งของอิเล็กตรอนคือ NADH และ FADH2 ซึ่งเมื่อถูกออกซิไดซ์ อิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นจะถูกส่งต่อเป็นทอดๆ ผ่านตัวนำอิเล็กตรอนหลายตัวไปจนถึงปลายสุดของระบบ อิเล็กตรอนจะไปรีดิวซ์ O2 ให้เป็น H2O กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในการหายใจ (respiration) นี้คล้ายกับที่เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชในขั้นตอนของปฏิกิริยาที่ใช้แสง ระหว่างการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเป็นช่วงๆ จะเกิดพลังงานอิสระซึ่งจะนำไปใช้ในการสร้าง ATP ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า oxidative phosphorylation การสร้าง ATP ในกระบวนการนี้ไม่ใช่การสร้าง ATP โดยตรงแบบ substrate-level phosphorylation (ย้ายหมู่ฟอสเฟตของซับสเตรตซึ่งเป็นสารพลังงานสูงให้ ADP) เหมือนที่สร้างจากวิถีไกลโคลิซีสและวัฏจักรเครบส์ แต่จะเป็นการสร้างแบบที่ต้องมีการเชื่อมโยงกับการออกซิเดชันในระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอน ซึ่งทำให้เกิดการปั๊มของโปรตอนผ่านเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย
33
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนจะเกิดขึ้นเป็นทอดๆ ผ่านตัวนำอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นกลุ่มของโปรตีน (ซึ่งหลายตัวเป็นเอนไซม์) และมี coenzyme และ cofactor หลายตัวรวมอยู่ด้วยกัน กลุ่มโปรตีนเหล่านี้ ได้แก่ complex I, II, III และ IV
34
องค์ประกอบของระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอน คือ complex I, II, III และ IV ฝังตัวอยู่บนเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย นอกจากกลุ่มโปรตีน 4 กลุ่มนี้ ยังมีโคเอนไซม์ Q และ cytochrome c ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้เพื่อช่วยในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนระหว่างกลุ่มโปรตีน ดังกล่าว
35
Structure of mitochondria
36
ATP ถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร ?
ระหว่างการถ่ายทอดอิเล็กตรอน โปรตอน ( H+) ถูกปั๊มจากแมทริกซ์ ผ่าน เยื่อหุ้มชั้นในออกไปด้านนอกที่ติดกับไซโตซอล ความแตกต่างของโปรตอน ( proton gradient) ใน 2 ด้านของเยื่อหุ้มชั้นในหรือที่บางครั้ง เรียกว่า แรงขับเคลื่อนโปรตอน (proton-motive force) จะถูกนำมาใช้ในการสร้าง ATP โดยกระบวนการออกซิเดทีฟ ฟอสโฟริเลชัน
37
oxidative phosphorylation และการสร้าง ATP ซึ่งเชื่อมโยงกันด้วยการไหลของโปรตอนผ่านเยื่อหุ้มชั้นใน
38
ระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอนไม่ได้เป็นตัวสร้าง ATP โดยตรง หน้าที่ของมัน คือ นำอิเล็กตรอนที่ได้จากสารอาหาร (ในรูปของ NADH และ FADH2) ไปยัง O2 ระหว่างการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในแต่ละช่วงจะเกิดพลังงานอิสระในปริมาณมากพอที่จะนำไปสร้าง ATP
39
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแต่ละขั้นตอนที่เกิดต่อกันเป็นทอดๆ ตลอดระบบจาก complex I - IV
40
Also each FADH2 can pump 4 H+s
Also each FADH2 can pump 4 H+s. Therefore each FADH2 can cause 2ATP to be made #The%20Electron%20Transport%20Chain%20and%20Proton%20Pumping
41
กลไกการถ่ายทอดอิเล็กตรอน
ระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอนไม่ได้เป็นตัวสร้าง ATP โดยตรง หน้าที่ของมันคือ นำอิเล็กตรอนที่ได้จากสารอาหาร (ในรูปของ NADH และ FADH2) ไปยัง O2 ระหว่างการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในแต่ละช่วงจะเกิดพลังงานอิสระในปริมาณมากพอที่จะนำไปสร้าง ATP
42
กลไกการถ่ายทอดอิเล็กตรอน อาจแบ่งได้เป็น 4 ช่วง
1) NADH ส่งอิเล็กตรอนให้ complex I NADH + Q + 5 H+matrix N AD+ + QH H+cytosol 2) FADH2 ส่งอิเล็กตรอนให้ complex II 3) อิเล็กตรอนถูกถ่ายทอดจากโคเอนไซม์ Q ผ่าน complex III ไปยังไซโตโครม c QH Cyt ox + 2 H+matrix Q + 2 Cyt c red + 4 H+cytosol 4) อิเล็กตรอนถูกส่งจากไซโตโครม c ไปยัง O2 ผ่าน complex IV 4 Cyt c red + 8 H+matrix + O 2 4 Cyt c ox + 2 H 2O + 4 H+cytosol
43
oxidative phosphorylation
การถ่ายทอด 2 อิเล็กตรอนจาก NADH หรือ FADH2 ไปยังโมเลกุลของ O2 ทำให้เกิดพลังงานอิสระ = -53 และ -36 kcal /mol ตามลำดับ กระบวนการออกซิเดทีฟ ฟอสโฟริเลชัน จะจับพลังงานนี้ไว้ในรูปของฟอสเฟตพลังงานสูงของ ATP NADH + O 2 + H+ ↔ H2O + NAD+ G ํ = -53 kcal/mol
44
proton gradient หรือ proton-motive force
45
The Electron Transport Chain and Proton Pumping
#The%20Electron%20Transport%20Chain%20and%20Proton%20Pumping
46
The Electron Transport Chain and Proton Pumping
#The%20Electron%20Transport%20Chain%20and%20Proton%20Pumping
47
electrochemical gradient หรือ แรงขับเคลื่อนโปรตอนผ่านเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย มาจากแรง 2 ชนิด คือ ความต่างศักย์ที่เยื่อหุ้ม ( V) และความแตกต่างของความเข้มข้นของ H+ ( pH) แรงทั้ง 2 อย่างนี้ จะรวมกันเกิดเป็นแรงขับเคลื่อนโปรตอน เพื่อนำ H+ ผ่านเยื่อหุ้มชั้นในกลับไปยังแมทริกซ์ เพื่อให้เกิดการสร้าง ATP โดย ATP synthase
48
โครงสร้างของ ATP synthase
ATP synthase ประกอบไปด้วย 2 ส่วน มีชื่อเรียกว่า Fo และ F1 โดยที่ส่วน Fo ที่ทำหน้าที่ ลำเลียงโปรตอน (จากด้านนอกของเยื่อหุ้มชั้นในเข้ามาในแมทริกซ์ขณะที่มีการสร้าง ATP) ส่วน F1 ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาสร้าง ATP (catalytic unit)
49
http://mil. citrus. cc. ca
50
การทำงานของเอนไซม์ ATPase ตามทฤษฎีของ Paual Boyer ด้วยกลไก binding – change การหมุนของโปรตีน γ (เนื่องจากมี H+ ไหลผ่าน) ทำให้หน่วย β ทั้ง 3 หน่วย เปลี่ยนโครงสร้าง สามมิติกลับไปมาใน 3 รูปแบบ คือแบบ T ที่มี ATP ที่สร้างใหม่ แต่ปล่อยออกไม่ได้ จะเปลี่ยนเป็นแบบ Oซึ่งปล่อย ATP ออกไป และจับ ADP , Pi ตัวใหม่ และเปลี่ยนเป็นแบบ L เพื่อที่จะจับกับ ADP, Pi ให้แน่นขึ้นเพื่อจะเริ่มการสร้าง ATP ในรอบใหม่
51
http://mil. citrus. cc. ca
52
Reference http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/respiration.htm
53
Thank you Miss Lampoei Puangmalai Major of biology
Department of science St. Louis College Chachoengsao
54
Structure of mitochondria
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.