งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานครอบครัวอบอุ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานครอบครัวอบอุ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานครอบครัวอบอุ่น
โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานครอบครัวอบอุ่น   สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้รับผิดชอบโครงการ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร เลขาธิการสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย

2 ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 58 – เมษายน 60
ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 58 – เมษายน 60 (รวม 24 เดือน) จำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุน 24,933,400 บาท (ยี่สิบสี่ล้านเก้าแสนสามหมื่นสามพันสี่ร้อยบาทถ้วน)

3 ความเป็นมาของโครงการ
เป้าหมายของ สสส. “พัฒนาดัชนีครอบครัวอบอุ่นและผลักดันให้มีการกำหนดเป้าหมายระดับชาติ เพิ่มสัดส่วนครอบครัวอบอุ่นให้สูงขึ้นกว่าฐานในปี 2555 ” โดยมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ ครอบครัวมีสัมพันธภาพดีขึ้น (มีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น การใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น) ครอบครัวพึ่งพาตนเองได้ ( มีรายได้ มีภาระหนี้สินลดลง) ครอบครัวสามารถทำหน้าที่ในการดูแลสมาชิกในครอบครัวตามช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม

4 ความท้าทายต่อสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลต่อความอบอุ่นของครอบครัวไทย
อบายมุข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หวยใต้ดิน สลากกินแบ่งรัฐบาล และการพนัน อัตราการดื่มสุราของคนไทยไม่มีแนวโน้มลดลง มีผู้ดื่มสุราในครอบครัวอยู่ที่ร้อยละ 60 ต่อเนื่อง หนี้สิน พบว่า ครอบครัวที่ไม่มีหนี้สินขยับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 39.1 ส่วนครอบครัวที่มีหนี้สินมากอยู่ใกล้เคียงกับระดับเดิม ในสามปีที่ผ่านมาครอบครัวส่วนใหญ่สามารถจัดการหนี้สินของตนเองได้ หนี้สินส่วนใหญ่ใช้ในการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ ความรุนแรง ครอบครัวมีความขัดแย้งทะเลาะกันราวร้อยละ 19.4 และยังมีการทุบตีกันในครอบครัวเป็นประจำร้อยละ 8 ความรุนแรงในครอบครัวสัมพันธ์กับครอบครัวที่มีปัญหาเล่นการพนันและดื่มสุรา นอกจากนี้การศึกษายังชี้ให้เห็นภาพที่สำคัญว่ามีการทอดทิ้งผู้สูงอายุให้อยู่บ้านเป็นประจำ ร้อยละ 15.5 การนอกใจ ครอบครัวไทยร้อยละ 8 เชื่อว่าคนในครอบครัวตนไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สมรสของตน ร้อยละ 24 ไม่มั่นใจคิดว่าคู่สมรสมีพฤติกรรมที่โน้มเอียงจะมีความสัมพันธ์กับคนอื่น สร้างสุข ซึ่งประกอบด้วยการสื่อสาร ครอบครัวร้อยละ 90 ยังคงมีการปรึกษาหารือกันในครอบครัว มีครอบครัวเพียงร้อยละ 23.5 ที่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ครอบครัวร้อยละ 54.1 ที่ระบุว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวค่อนข้างดี ซึ่งสะท้อนถึงการเป็นที่พึ่งของครอบครัวให้กับสมาชิกในครอบครัว แม้จะเริ่มช่วยเหลือกันได้น้อยลง

5 บทเรียนการขับเคลื่อนงานครอบครัวที่ผ่านมา
ศึกษาสถานการณ์ครอบครัว เป็นการศึกษาตามตัวชี้วัด “หยุด 4 ทุกข์ – สร้าง 4 สุข” พัฒนาดัชนีวัดครอบครัวอบอุ่น โดยสร้างกรอบการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงถึงครอบครัวอบอุ่นที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ และได้นำไปทดสอบใช้ในระดับพื้นที่ การติดตามและประเมินกลไกครอบครัวในระดับจังหวัด กระบวนการจัดทำสมัชชาครอบครัวในพื้นที่นำร่อง งานพัฒนานวัตกรรมครอบครัวในชุมชนท้องถิ่น หน่วยจัดการเรียนรู้ครอบครัวศึกษา

6 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนให้เกิดศูนย์พัฒนาครอบครัวที่สามารถพัฒนาครอบครัวสู่ครอบครัวอบอุ่น เพื่อจัดการความรู้ กระบวนการในการทำงานเพื่อเพิ่มสัดส่วนครอบครัวอบอุ่น เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาครอบครัวให้มีองค์ความรู้ รวมไปถึงการหนุนเสริมให้นักพัฒนาครอบครัวสามารถขับเคลื่อนงานครอบครัวในระดับพื้นที่

7

8 กระบวนการขับเคลื่อน คณะทำงานโครงการฯ ส่วนกลางอันประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนจากหน่วยสร้างการเรียนรู้ครอบครัวศึกษา โดยมีหน้าที่ในการวางยุทธศาสตร์การทำงานของโครงการ เพื่อให้ตอบตัวชี้วัดด้านครอบครัวอบอุ่นเพิ่มขึ้น รวมทั้งแลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานทั้งในระดับพื้นที่ และระดับส่วนกลาง ปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ หน่วยสร้างการเรียนรู้ครอบครัวศึกษา เป็นหน่วยในระดับจังหวัดที่จะคอยประสานภาคีเครือข่ายคนทำงานด้านครอบครัวในระดับพื้นที่ให้มีเป้าหมายเดียว เติมองค์ความรู้การทำงานด้านครอบครัวให้คนทำงานในระดับพื้นที่ รวมทั้งมีกระบวนการในการติดตามหนุนเสริมให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนสามารถดำเนินงานตามเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน หน่วยสร้างการเรียนรู้ครอบครัวศึกษาจะมีองค์ประกอบไปด้วย คณะทำงาน นักวิชาการ และผู้ประสานงานในพื้นที่ ได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ รวมทั้งมีองค์ประกอบในการทำงานได้ครบตามเป้าหมายของโครงการางไว้ ทั้งหมด 11 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง พะเยา น่าน เลย กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี สุรินทร์ สงขลา ตรัง สระบุรี และระยอง โดยองค์ความรู้ที่แต่ละแห่งต้องมีได้แก่ - กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (PL) -การคิดเชิงระบบ -ระบบการช่วยเหลือกลุ่มครอบครัวลักษณะเฉพาะ -เสริมองค์ความรู้เชิงประเด็นที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานในพื้นที่

9 ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค
ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เป็นกลไกสุดท้ายที่จะนำองค์ความรู้เข้าถึงครอบครัวโดยตรงทั้งในส่วนของครอบครัวลักษณะเฉพาะ และครอบครัวทั่วไป โดยศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อให้ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในพื้นที่ โดยต้องสามารถตอบชี้วัดการทำงานด้านครอบครัวในพื้นที่ได้ โดยตัวชี้วัดการทำงานจะประกอบด้วย วัดการเปลี่ยนแปลงที่ครอบครัว สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทยและ สสส.ได้พัฒนาเครื่องมือตัวชี้วัดครอบครัวอบอุ่น เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับครอบครัวในพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะเป็นถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับครอบครัว ว่ามีแนวโน้มดีขึ้นมากน้อยเพียงใด วัดกระบวนการทำงาน เพื่อให้มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านครอบครัวที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น การวัดกระบวนการทำงานของพื้นที่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของครอบครัว โดยมีประเด็นในการวัดดังนี้ - คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน - ฐานข้อมูลครอบครัวในชุมชน - การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10

11 ตัวชี้วัดโครงการ สามารถพัฒนาครอบครัวให้เกิดความอบอุ่นเพิ่มมากขึ้น ตามตัวชี้วัดครอบครัวอบอุ่น ที่เป็นเครื่องมือวัดผลในระดับพื้นที่ มีศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนไม่ต่ำกว่า แห่ง เกิดนักพัฒนาครอบครัวไม่น้อยกว่า 300 คน มีองค์ความรู้ และสามารถขับเคลื่อนงานครอบครัวในระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อสร้างการเรียนรู้นำไปสู่การเพิ่มสัดส่วนครอบครัวอบอุ่นเพิ่มมากขึ้น เกิดองค์ความรู้ รูปแบบในการพัฒนาและขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมเชิงระบบ: “กลไกพัฒนาครอบครัวอบอุ่นในชุมชน” ในท้องถิ่น นำไปสู่การขยายผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม หน่วยสร้างเรียนรู้ครอบครัวศึกษาขับเคลื่อนงานให้เกิดกิจกรรมการสร้างครอบครัวอบอุ่นผ่านศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่รับผิดชอบ เกิดองค์ความรู้ด้านครอบครัวอบอุ่นผ่านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมครอบครัว และสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ขับเคลื่อนงานครอบครัวบนฐานขององค์ความรู้


ดาวน์โหลด ppt โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานครอบครัวอบอุ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google