ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยFelisa Castillo Salinas ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สาระการเรียนรู้ ความหมายของสถิติ ประเภทของสถิติ ระดับของการวัด ตัวแปร ประโยชน์ของสถิติ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แนวทางการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะประจำหน่วย แสดงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ แสดงความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และแนวทางการเลือกใช้โปร-แกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับสถิติและโปรแกรมสำเร็จรูป ทางสถิติ บอกความหมายของสถิติได้ แยกแยะประเภทของสถิติได้ อธิบายระดับการวัดได้ บอกความหมายและชนิดของตัวแปรได้ บอกประโยชน์ของสถิติได้ อธิบายโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติได้ เลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติอย่างเหมาะสมได้ กิจกรรมเตรียมความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียน ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการนำสถิติมาใช้ในการพัฒนาประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่เห็นได้ชัดเจน 6
2
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1. ความหมายของสถิติ สถิติ หมายถึง การเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ และนำเอาข้อมูลมาประมวลผลและอ่านค่าเพื่อแปลความหมายออกมาให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงมากขึ้น 7
3
1 2. ประเภทของสถิติ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นๆได้ 2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการ 10
4
1 2.1 สถิติแบบใช้พารามิเตอร์ คือ สถิติที่ต้องเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น 3 ประการ 1) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับช่วง (Interval Scale) 2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่าง ต้องมีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) 3) กลุ่มประชากรแต่ละกลุ่มที่ศึกษาต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน สถิติ ประเภทนี้ ได้แก่ T-test, F-test, ANOVA และ Regression Analysis 2.2 สถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ คือ สถิติที่ไม่อยู่ในข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 3 ประการ สถิติประเภทนี้ ได้แก่ Chi-square, Goodness of Fit Test, Median Test และ Sign Test 11
5
1 3. ระดับของการวัด 1. ระดับที่ 1 ระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นระดับที่ใช้แยก ความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม 2. ระดับที่ 2 ระดับอันดับ (Ordinal Scale) เป็นระดับที่ใช้สำหรับจัด อันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งของที่ต้องการวัด 3. ระดับที่ 3 ระดับอันตรภาค (Interval Scale) เป็นระดับที่สามารถ กำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่าๆ กัน แต่ไม่มี 0 (ศูนย์) แท้ มีแต่ 0 (ศูนย์) สมมติ 4. ระดับที่ 4 ระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับที่สามารถ กำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มี 0 (ศูนย์) แท้ 11
6
1 4. ตัวแปร ตัวแปร (Variables) หมายถึง คุณสมบัติ คุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆ ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาหาความจริง ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ชนิดของตัวแปร 1) ตัวแปรเชิงคุณภาพ เป็นตัวแปรที่ข้อมูลไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็นข้อมูลที่มี ลักษณะเป็นการแบ่งประเภทให้เห็นถึงความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม 2) ตัวแปรเชิงปริมาณ เป็นตัวแปรที่ถูกวัดค่าเป็นตัวเลข 10
7
1 ประเภทของตัวแปร 1) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นสาเหตุทำให้ เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา ซึ่งเรียกว่า ตัวแปรตาม 2) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลหรือขึ้นอยู่ กับอิทธิพลของตัวแปรอิสระ 3) ตัวแปรควบคุม (Control Variables) หมายถึง ตัวแปรที่ตั้งไว้เพื่อเป็นตัว ควบคุมความแตกต่างของกลุ่มที่กำลังศึกษากับกลุ่มควบคุม เพื่อลดความแตกต่างของ ผลที่ได้จากสองกลุ่มนี้ 13
8
6. โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
1 6. โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1. โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) 2. โปรแกรมสำเร็จรูป SAS (Statistical Analysis System) 3. โปรแกรมสำเร็จรูป STATA 4. โปรแกรมสำเร็จรูป Minitab 5. โปรแกรมสำเร็จรูป Excel (Microsoft Office Excel) 14
9
7. แนวทางการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
1 7. แนวทางการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 1. ขนาดของข้อมูลที่จะเอื้ออำนวยให้ประมวลผลได้ 2. สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ 3. ลิขสิทธิ์ของโปรแกรม 4. จำนวนผู้ใช้ 5. ความเป็นมาตรฐานของโปรแกรม 6. งบประมาณ 7. ความสามารถของโปรแกรม 15
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.