งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การออกแบบแฟชั่นและการตัดเย็บ 3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การออกแบบแฟชั่นและการตัดเย็บ 3"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การออกแบบแฟชั่นและการตัดเย็บ 3
FAD 2213 การออกแบบแฟชั่นและการตัดเย็บ 3 อ. สุวิธธ์ สาดสังข์

2 ต้นกำเนิดของการคิดการสร้างสรรค์ลวดลายเพื่อนำมาประยุกต์ใช่ต่อการออกแบบ
การสร้างสรรค์ลวดลายจะต้องใช้องค์ประกอบหลาย ประการที่ทำให้นักออกแบบสามารถสร้างสรรค์งานขึ้นได้ ตามจุดประสงค์ที่ต้องการซึ่งมีต้นกำเนิดมาขากสิ่งต่าง ๆ 1. ธรรมชาติกับลวดลาย ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไว้มากมายเพื่อ ให้สรรพสิ่งในโลกได้มีดุลยภาพในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความช่างสังเกตของมนุษย์ที่สร้างสรรค์งานศิลปะ โดยอาศัยความงามที่ปรากฏจากธรรมชาติมาเป็น แรงบัดาลใจทำให้มนุษย์สร้างสรรค์ผลงานออกแบบมา ในรูปแบบที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม เช่น

3 1.1 ลวดลายจากพืชชนิดต่างๆ
เช่นจากการสังเกตถึงรูปแบบลวดลาย สีสันไม่ ว่าจะเป็นส่วนของลำต้น ใบไม้ เปลือกไม้ กิ่งก้าน ราก หรือแม้แต่ผลก็ตามล้วนต่างมีความน่าสนใจและสามารถ ทำการศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาความคิดและสร้างสรรค์ผล งานการออกแบบได้

4 1.2 ลวดลายจากสัตว์ต่างๆ เป็นการสังเกตถึงรูปแบบลวดลาย สีสันของสัตวัทั้ง สัตว์บกสัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือสัตว์ปีก ในส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ดังกล่าวซึ่งมักจะมีลวดลายที่สวยงาม พื้นผิวลักษณะ ที่แตกต่างกันออกไป

5 1.3 ลวดลายจากวัตถุธรรมชาติ
เป็นการสังเกตถึงรูปแบบลวดลาย สีสันของวัตถุธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย แร่ธาตุชนิดต่าง ๆซึ่งมีลวดลายที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้

6 1.4 ลวดลายจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
เป็นการสังเกตถึงรูปแบบลวดลาย สีสันของปรากฎการณ์ทาง ธรรมชาติบางอย่างอาจอยู่เป็นระยะเวลานาน เช่น ลักษณะการทับซ้อน ของโขดหิน แต่ปราฎการณ์บางอย่างอาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วเปลี่ยน รูปทรงไปเรื่อยๆ เช่น ลักษณะการก่อตัวของก้อนเมฆ หรือดวงดาวเป็นต้น ดังนั้นลวดลายเหล่านี้มนุษย์อาจสังเกตและนำมาดัดแปลงให้เกิดเป็น ลวดลายตามประสบการณ์และจิตนาการที่ตนมีอยู่

7 2. รูปทรงเลขาคณิตกับลวดลาย
มนุษย์สร้างรูปทรงเรขาคณิตขึ้นโดยอาศัยการสังเกต จากธรรมชาติแล้วตัดทอนให้มีลักษณะที่เรียบง่ายด้วยการใช้ เครื่องมือช่วยในการสร้างให้มีสัดส่วนที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อนำ ไปใช้งานด้านต่าง ๆ ได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งในส่วนของลวดลาย มีฐานกำเนิดมาจากรูปทรงเรขาคณิตมากมาย ทั้งวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ฯลฯ พอจำแนกได้ดังนี้

8 1.1 การสร้างลวดลายด้วยวงกลม
สามารถสร้างสรรค์รูปแบบได้มากมาย ทั้งวงกลม ครึ่งวงกลม

9 1.2 การสร้างลวดลายด้วยสามเหลี่ยม
สามารถสร้างสรรค์รูปแบบได้มากมาย เช่น

10 1.3 การสร้างลวดลายด้วยสี่เหลี่ยม
สามารถสร้างสรรค์รูปแบบได้มากมาย ทั้งสี่เหลี่ยม ผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส สีเหลี่ยมคางหมูเป็นต้น

11 1.4 การสร้างลวดลายด้วยการใช้รูปทรงเรขาคณิตหลายๆ
รูปทรงรวมกัน สามารถสร้างสรรค์รูปแบบได้มากมาย

12 3. รูปทรงอิสระกับลวดลาย
ลักษณะของรูปทรงอิสระเป็นลักษณะที่ไม่มี รูปแบบแน่นอนตายตัว จึงมีนักออกแบบไม่น้อยที่นิยม ใช้รูปทรงอิสระมาสร้างสรรค์ลวดลายต่าง ๆ เพราะนอก จากมีความคิดเป็นอิสระในการสร้างสรรค์แล้ว ลักษณะ ของงานก็จะดูแลปกไปอีกแนวหนึ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ การสร้างรูปทรงอิสระด้วยลายเส้น

13 การสร้างสรรค์ถือเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่
จะนำเอาความรู้ประสบการณ์ และจิตนาการถ่ายทอดออกมา ให้เห็นเป็นผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน กระบวนการของการ สร้างสรรค์ สามารถสรุปได้ดังนี้

14 4. การรับรู้การสร้างสรรค์
จากองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดลวดลาย ทำให้ มนุษย์เกิดการรับรู้ ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่มนุษย์ได้นำเอาสิ่ง ที่ตนได้เห็น ได้สัมผัส หรือรู้สึกจากสิ่งเร้านั้น ๆ มาจัดระเบียบ เพื่อให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับประสาทสัมผัส ความจำ สภาพแวดล้อมและประสบการณ์เป็นสำคัญ 1.1 การรับรู้เกี่ยวกับหลักพื้นฐาน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีหลักพื้นฐานในการประกอบ ลักษณะ หรือที่เคยได้ศึกษาเรื่ององค์ประกอบศิลป์ต่าง ๆ นั้น คือ หลักของ เส้น จุด รูปร่างรูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก เป็นต้น 1.2 การรับรู้ส่วนของความรู้เฉพาะ หมายถึง ความรู้ที่นักออกแบบจะต้องมีความเข้าใจต่อส่วน สำคัญ 3 ส่วนดังนี้

15 วัสดุ ( Material ) นักออกแบบต้องศึกษาทำความเข้าใจกับวัสดุชนิด ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เมื่อต้องทำการออกแบบก็สามารถเลือกวัสดุ เหล่านั้นให้เข้ากับผลงานที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม เพราะวัสดุ แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป เช่น ถ้าต้องการออกแบบ ลวดลายบนกระจก ควรจะเลือกสีเพ้นท์กระจกโดยเฉพาะ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของการออกแบบนี้มีวัสดุที่ควรศึกษามากมาย เช่น กระดาษ สี ปากกา หรือวัสดุธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น สื่อตัวกลาง ( Mediem ) หมายถึง สารประกอบที่ช่วยให้วัตถุเกิดการ เปลี่ยนแปลงตามความประสงค์ของศิลปิน เช่น การเตรียมสีย้อมจากเปลือกไม้ในธรรมชาติมาย้อมผ้า เป็นต้น

16 เทคนิค ( Technique ) เป็นความรู้อีกระดับหนึ่งที่นักออกแบบจะต้องเรียนรู้ และฝึก ทักษะอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในการออกแบบมีเทคนิคมากมายที่จะต้องศึกษา เช่น เทคนิค การเพ้นท์ การสกีน การปัก การย้อม เป็นต้น

17 1.3 ประสบการณ์ เกิดจากการที่มนุษย์ได้รับรู้ สัมผัสโลกภายนอกใน จังหวะ และเวลาที่แตกต่างกัน ทำให้มนุษย์สามารถที่จะแปล ความหมายจากสิ่งที่ได้สัมผัสนั้นออกมาเป็นรูปธรรมอีกครั้งหนึ่ง จากประสบการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับบุคคลแต่ละบุคคลไม่ เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น - ความพร้อมของอวัยวะรับรู้ของมนุษย์ สภาพแวดล้อม หรือ ความเชื่อ เป็นต้น ก็มีส่วนทำให้ประสบการณ์ที่รับรู้แตก ต่างกัน เช่น คนไทยเชื่อว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ที่ไว้ใช้กราบไว้ ทางศาสนาและเป็นดอกไม้ที่ควรแก่การบูชา ทำให้ดอกบัวจึงสื่อ ความหมายและลักษณะส่วนใหญ่ออกมาในรูปแบบ รูปร่าง รูปทรง สีสัน ที่ดูอ่อนโยน บริสุทธิ์ น่าศรัทธา เป็นต้น

18 โดยทั่วไปประสบการณ์แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
ประสบการณ์ทางตรง หมายถึงประสบการณ์ที่เราได้สัมผัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วย ตัวของเราเอง เช่น เราได้ไปทัศนศึกษาที่ปราสาทหิน ทำให้เราได้ รับรู้และเห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ส่วนประกอบการสร้างและ การตกแต่ง ตลอดจนที่มาที่ไปประวัติและความเชื่อ ทางความคิด ในการสร้างประสาทหินนั้น ๆ เป็นต้น ประสบการณ์รอง หมายถึงประสบการณ์ที่เราได้รับการบอกเล่าหรือถ่าย ทอดมาจากผู้อื่นอีกทีหนึ่ง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากความเป็น จริงทั้งในทางที่ดีหรือแย่ลงก็ได้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายทอดอีก ทีหนึ่ง

19 1.4 จินตนาการ เกิดจากผลการรับรู้ตามประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของ มนุษย์ เมื่อรู้มากเห็นมากก็ทำให้เกิดความคิดมาก มีจิตนาการ ในสิ่งต่าง ๆ มากมาย กล่าวได้ว่าจิตนาการเกิดจากการสั่งสม ของการรับรู้ทั้งมวล ซึ่งจิตนาการเกิดได้ทั้งสองทางคือ เกิด จากการรับรู้จากวัตถุจริง ๆ และจากความคิดทางใจ นักออกแบบส่วนใหญ่นอกเหนือจากการมีความรู้ มี ประสบการณ์แล้วจำเป็นต้องมีจิตนาการในเชิงสร้างสรรค์ด้วย ผลงานถึงจะมีความน่าสนใจและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน

20

21 Haute Couture (โอต์ กูตูร์)

22 กูตูร์ (Couture) คือผลงานแฟชั่นชั้นสูง ที่รังสรรค์ขึ้นด้วยฝีมืออันประณีตและเทคนิคการตัดเย็บขั้นสูง โดยช่างฝีมือที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ประกอบกับความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ทั้งการเลือกใช้เนื้อผ้าและวัสดุชั้นเลิศ และการควบคุม การเย็บปัก และการประดับ เพื่อถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของดีไซเนอร์ ออกมา เป็นชิ้นงานที่งดงามเป็นเอกลักษณ์

23 โอต์ กูตูร์ (Haute Couture) เป็นภาษาฝรั่งเศส ที่หมายถึง ศิลปะการตัดเย็บขั้นสูง ถือเป็นสุดยอดแห่งการสร้างสรรค์ผลงานแฟชั่น ที่มีต้นกำเนิดมาจากชนชั้นสูง การก้าวขึ้นสู่การเป็นห้องเสื้อระดับ โอต์ กูตูร์ ขนานแท้นั้นจะต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาพันธ์ห้องเสื้อชั้นสูงของฝรั่งเศส (La Chambre Syndicale de la Haute Couture Française) โดยมีดีไซเนอร์ หรือที่เรียกว่า กูตูร์ริเย่ร์ เป็นผู้ออกแบบ และห้องเสื้อจะต้องตัดเย็บเสื้อผ้าเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละคน โดยต้องมีการวัดตัวตัดและลองอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และห้องเสื้อจะต้องตั้งอยู่ในฝรั่งเศส มีพนักงานประจำทั้งหมด 15 คน รวมถึงช่างฝีมือประจำอีกไม่น้อยกว่า 20 คน และยังต้องสร้างสรรค์คอลเลคชั่นเพื่อแสดงบนเวที ปารีส โอต์ กูตูร์ แฟชั่นวีค ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 35 ชุด ซึ่งในปัจจุบันมีแบรนด์ระดับโลกเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่ได้ครองตำแหน่งสุดยอด ห้องเสื้อระดับโอต์ กูตูร์ ได้แก่

24 ชาร์ลส์ เฟรเดอริกดิ์ เวิรธ์ (Charles Frederick Worth)
หากถามว่าใครคือบิดาของโอต์กูตูร์ เขาบอกกันมาว่าคือ ชาร์ลส์ เฟรเดอริกดิ์ เวิรธ์ (Charles Frederick Worth) เอง มีเงินแค่ 500 บาทและใช้ภรรยาของตนเองที่นามว่า Marie Vernet ใส่ชุดไปอวดใครๆประมาณเป็นนางแบบให้เสื้อของตน ท่านกูตูร์ริเย่ร์ (Couturier) ได้รับความอุปถัมภ์จากจักรพรรดินี เออเชนี แห่งปารีสจึงทำให้แฟชั่นเขาของโด่งดังมาก ร้าน House of Worth ของเขาพลิกกลับมาอีกครั้งตอนปี 2012 มี Giovanni Bedin เป็นคนออกแบบ ปัจจุบันเกร็ดบนเว็บอีกอันที่เขาให้เครดิต ท่านเวิร์ธก็คือ "ห่วง" (Hoop) หรือ กรงกางกระโปรง (Cage Crinoline) ให้มันกว้างๆ ตอนออกไปลีลาศโบราณ เขาก็บอกว่าเป็นฝีมือท่านอีก แม้มันมีมาก่อนเพราะกล่าวว่า ท่านเป็นวิศวกรเรื่องแฟชั่น ทำชุด 10 in 1

25

26

27 THE END

28

29

30

31

32

33


ดาวน์โหลด ppt การออกแบบแฟชั่นและการตัดเย็บ 3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google