งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบการเงินระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบการเงินระหว่างประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบการเงินระหว่างประเทศ
บทที่ 1 ระบบการเงินระหว่างประเทศ อ.พัทธนันท์ ชัยบุตร INB3202 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ

2 1.วิวัฒนาการของระบบการเงินระหว่างประเทศ

3 ความหมาย ระบบการเงินระหว่างประเทศ หมายถึงโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อันได้แก่ ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตลาดเงินทุนและตลาดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งระบบการเงินระหว่างประเทศนี้จะเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและยังช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตลอดจนการเคลื่อนไหวเงินทุนเป็นไปได้โดยเสรี

4 สรุป วิวัฒนาการของระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
1. ระบบมาตรฐานทองคำ 2. ช่วงระหว่างสงครามโลก 3. ระบบปริวรรตเงินตราแบบคงที่ 4. ระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศหลังปี ค.ศ. 1973

5 ระบบมาตรฐานทองคำ (The Gold Standard)
ระบบฐานทองคำหน่วยเงินตราประเทศที่อยู่บนมาตรฐานทองคำนี้แต่ละประเทศจะต้องเทียบค่าเงินตัวเองกับน้ำหนักทองคำ และมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราแต่ละสกุล โดยเทียบผ่านน้ำหนักทองคำซึ่งเรียกอัตราแลกเปลี่ยนนี้ว่า mint parity เช่นสหรัฐอเมริกากำหนด 1 ดอลล่าร์เท่ากับน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์ 23.22 เกรน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนนี้สามารถเคลื่อนไหวขึ้นลงได้ แต่ต้องไม่เกินไปกว่าค่าขนส่งทองคำระหว่างประเทศ 2 ประเทศที่เป็นเจ้าของเงินตรานั้น ระบบมาตรฐานทองคำจัดอยู่ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ อัตราแลกเปลี่ยนสามารถเคลื่อนไหวได้แต่ในช่วงสั้นๆ 

6 ข้อดีและข้อเสียของระบบมาตรฐานทองคำ
ข้อดี : 1. อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงของการแลกเปลี่ยน           2. ไม่มีการเก็งกำไรในทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะทุนสำรองระหว่างประเทศมีทองคำเพียงอย่างเดียว ข้อเสีย : 1. ปริมาณทองคำขาดความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากในบางครั้งปริมาณทองคำเพิ่มขึ้นไม่ทันกับการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ทำให้ปริมาณเงินซึ่งอิงกับทองคำไม่เพียงพอตอบสนองความต้องการของระบบเศรษฐกิจได้              2. ปริมาณเงินจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณทองคำ ถ้าปริมาณทองคำมีน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดภาวะเงินฝืดได้ หรือในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณทองคำมีมากก็จะเกิดภาวะเงินเฟ้อได้

7 ช่วงระหว่างสงครามโลก (The Inter-war Years: ค.ศ. 1914-1944)
ภาวะสงคราทําให้เกิดภาวะการขาดแคลนทองคําขึ้นในโลก ประเทศต่างๆ ไม่สามารถรักษาปริมาณทุนสํารอง ที่เป็นทองคํา ให้เพียงพอต่อ การรักษาเสถียรภาพเงินตราสกุลของตนได้ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้ระบบมาตรฐานทองคํา ไม่ได้รับความเชื่อถือเหมือนช่วงก่อนเกิดสงครามโลก มีการอนุญาตให้เงินตราสกุลต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหวขึ้นลงได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสงคราได้สร้างความไม่มีเสถียรภาพให้กับระบบปริวรรตเงินตรามากขึ้น ทาให้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ ลดลงมากและอย่างต่อเนื่อง จนเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ทั่วโลก

8 ระบบปริวรรตเงินตราแบบคงที่ (Fixed Exchange Rates: ค.ศ. 1945-1973)
1) ข้อตกลงเบรตตัน วูดส์ (The Bretton woods Agreement: ค.ศ. 1944) 2) วิกฤตการณ์ ค.ศ (The Crisis of 1971) 3) การตัดสินใจใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศแบบลอยตัว (Decision to Float: ค.ศ. 1973)

9 ระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศหลังปี ค.ศ. 1973
1) ข้อตกลงจาไมก้า (Jamaica Agreement: ค.ศ. 1976) 2) ข้อตกลงพลาซ่า (Plaza Agreement: ค.ศ. 1985) 3) ข้อตกลงลูฟร์ (Louvre Accords: ค.ศ. 1987)

10 2.การจัดกลุ่มระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศในปัจจุบัน
1. ระบบปริวรรตเงินตราที่พึ่งพาเงินสกุลต่างประเทศ(Exchange Arrangements with No Separate Legal Tender) 2. ระบบปริวรรตเงินตราที่ควบคุมโดยคณะกรรมการ(Currency Board Arrangements) 3. ระบบปริวรรตเงินตราที่ผูกค่าเงินสกุลท้องถิ่นไว้กับเงินสกุลอื่น(Other Conventional Fixed-Peg Arrangements) 4. ระบบปริวรรตเงินตราที่ผูกค่าเงินสกุลท้องถิ่นไว้กับเงินสกุลอื่นแบบยืดหยุ่น(Pegged Exchange Rate within Horizontal Bands) 5. ระบบปริวรรตเงินตราที่เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป(Crawling Pegs) 6. ระบบปริวรรตเงินตราที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Exchange Rates within Crawling Bands) 7. ระบบปริวรรตเงินตราลอยตัวแบบจัดการ (Managed Floating with No Preannounced Path for the Exchange Rate) 8. ระบบปริวรรตเงินตราลอยตัวแบบเสรี(Independent Floating)

11 นโยบายการเงิน 1. การกำหนดเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน
2. การกำหนดเป้าหมายปริมาณเงินรวมภานในประเทศ 3. การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 4. อื่นๆ

12 3. สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป
1. ความเป็นมาของระบบการเงินยุโรป 2. การพัฒนาไปสู่สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป 3. หลักเกณฑ์มาตรฐานร่วม 4. ธนาคารกลางแห่งยุโรป 5. การกำหนดมูลค่าเงินสกุลยูโร

13 ยูโรโซน (Euro Zone) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้เริ่มนำเงินยูโรมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม โดยเป็นการใช้เงินทางระบบบัญชี ตราสาร และการโอนเงินเท่านั้น ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของเงินยูโรได้เริ่มนำมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่เป็นสมาชิก EMU และร่วมใช้เงินยูโร 12 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมัน กรีซ สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส และฟินแลนด์

14 4. วิวัฒนาการของระบบปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ในประเทศไทย
1. ก่อนประกาศค่าเสมอภาค(พ.ศ – 2506) 2. ประกาศค่าเสมอภาค (พ.ศ ) 3. กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันร่วมกัน (พ.ศ ) 4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (พ.ศ ) 5.ระบบตะกร้าเงิน (พ.ศ – 2540) 6. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว (พ.ศ – ปัจจุบัน)

15 5.วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา 2. การบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำและการเกิดหนี้สูญ 3. การเก็งกำไรของกลุ่มวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนในสหรัฐอเมริกา


ดาวน์โหลด ppt ระบบการเงินระหว่างประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google