งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
One Vision การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 One Identity One Community ชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ รองเลขาธิการ ก.พ. 14 กันยายน 2554

2 การเตรียมการของสำนักงาน ก.พ.

3 ปี 2524 ที่ประชุมอาเซียนได้ก่อตั้ง
ปี ที่ประชุมอาเซียนได้ก่อตั้ง “การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการราชการพลเรือน” (ASEAN Conference on Civil Service Matters : ACCSM ให้เป็นกลไกหนึ่งของสมาคมอาเซียน ประเทศ ASEAN Resource Center บรูไน Managing New Technologies ฟิลิปปินส์ Examination and Testing อินโดนีเซีย Information Exchange มาเลเซีย Case Studies เวียดนาม Civil Servants Management ลาว Civil Service Performance Management กัมพูชา Capacity Development of Civil Servants พม่า Training for Trainers สิงคโปร์ Management Innovations ไทย Leadership Development

4 “แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ.2552 - 2558”
Blueprint for The ASEAN Socio-Cultural Community A. การพัฒนามนุษย์ (Human Development) B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) C. ความยุติธรรมและสิทธิ (Social Justice and Rights) D. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability) E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building the ASEAN Identity) F. การลดช่องว่างการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)

5 A. การพัฒนามนุษย์ A 1. การให้ความสำคัญกับการศึกษา (21 มาตรการ) A 2. การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8 มาตรการ) A 3. การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม (4 มาตรการ) A 4. การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ (6 มาตรการ) A 5. การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเชิงประยุกต์ (8 มาตรการ) A 6. การเสริมสร้างทักษะการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (3 มาตรการ) A 7. การพัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ (8 มาตรการ)

6 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ข้อ A 7 พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ
แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ข้อ A การพัฒนามนุษย์ รัฐบาลไทยมอบหมายให้ สำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบ ข้อ A 7 พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ

7 A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์
เน้นการจัดตั้งระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความรับผิดชอบและมีความน่าเชื่อถือ โดยการเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในระบบราชการของอาเซียน และเพิ่มความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน

8 A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ มาตรการ
พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการด้านพลเรือน (ACCSM WORK PLAN ) โดยส่วนที่สำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบ เช่น การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ การพัฒนาภาวะผู้นำ ให้ ACCSM สนับสนุนการประสานงานในอาเซียนเพื่อให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณ มีธรรมาภิบาล รวมทั้งสนับสนุนการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านเหล่านี้ประจำทุกปี โดยให้เริ่มตั้งแต่ปี 2551

9 A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ มาตรการ
เสริมสร้างขีดความสามารถของ ASEAN Resource Center ภายใต้ ACCSM เพื่อพัฒนาและจัดฝึกอบรมเพื่อช่วยประเทศสมาชิกอาเซียน พัฒนาผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลในการฝึกอบรมและเสริมสร้างขีดความสามารถของราชการพลเรือน พัฒนาหลักสูตรอบรมให้เหมาะสมสำหรับเพศและการพัฒนา และหลักสูตรพัฒนาหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล สำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

10 A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ มาตรการ
จัดโครงการฝึกอบรมโดยเน้นการเสริมสร้างขีดความ สามารถเพื่อแลกเปลี่ยนกันในระบบราชการอาเซียนภายใต้การประชุม ACCSM กระชับความร่วมมือเพื่อบรรลุการพัฒนาราชการพลเรือนที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความสามารถ น่าเชื่อถือและตอบสนองต่อระบบราชการในอาเซียน โดยดำเนินกิจกรรมผ่าน ARC กรอบความร่วมมือรายสาขา และกิจกรรมระดับภูมิภาคที่สนับสนุนการดำเนินการของ ACCSM จัดทำนโยบายและโครงการพัฒนาราชการพลเรือนที่ยั่งยืน เพื่อให้ ACCSM WORK Plan บรรลุผลสำเร็จ เน้นความโปร่งใส ซื่อสัตย์ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ

11 การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. (การพัฒนาสมรรถภาพระบบราชการ)
การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. (การพัฒนาสมรรถภาพระบบราชการ) ระบบราชการไทย ระบบราชการ ประเทศสมาชิก พัฒนากฎหมาย ข้าราชการพลเรือน ให้ความร่วมมือภายใต้ ACCSM/ARC พัฒนากลไก/เครื่องมือ บริหารบุคคล พัฒนาข้าราชการ (ยุทธศาสตร์พัฒนา ฯ 52 – 55) โครงการเตรียมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน

12 การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. ปัจจุบัน
ในฐานะ ARC จัดอบรมหลักสูตรประจำปี ASEAN Middle Management and Leadership Development จัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ตามคำขอของประเทศสมาชิก เช่น หลักสูตร HR Strategic Management แก่ข้าราชการกัมพูชา จัดอบรมภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศสมาชิกอาเซียน 19 โครงการ ระหว่างปี 2553 – ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้าน HR Professional และด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ ดำเนินโครงการความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับสิงคโปร์ (การจัดอบรมร่วมกัน การแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อเพิ่มประสบการณ์การณ์ทำงาน การจัดทำหลักสูตรออนไลน์ร่วมกัน ฯ ล ฯ)

13 การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. ปัจจุบัน
ในฐานะ ACCSM เป็นเจ้าภาพจัดประชุมประจำปี(ตามลำดับอักษร) เข้าร่วมประชุมประจำปี โดยนำเสนอ Country Paper, Technical Paper นำเสนอข้อคิดเห็นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการพลเรือน นำประสบการณ์การพัฒนาระบบราชการของประเทศสมาชิกมาปรับใช้กับราชการไทย ร่วมกำหนด ACCSM Blueprint – 2012 และปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ให้การสนับสนุนประเทศสมาชิกตามที่ร้องขอ เช่น สนับสนุนที่ปรึกษาระบบราชการ

14 การดำเนินงานของสำนักงาน ก. พ
การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ. (การเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน 2558) ดำเนินการในบทบาทของ ARC และ ACCSM อย่างต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2554 ปรับปรุง/สร้างหลักสูตรอบรมทั้งที่เป็นหลักสูตรเฉพาะและหลักสูตรพื้นฐาน เน้นการสร้างความตื่นตัว/ความตระหนัก ปรับเปลี่ยนทัศนคติ รับทราบ เข้าใจ ถึงที่มา แนวคิด เป้าหมาย และผลกระทบของอาเซียนและการมีประชาคมอาเซียน เปิดตัวแนวทางการเตรียมความพร้อมในเวทีต่าง ๆ สอดแทรกเรื่องประชาคมอาเซียนไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมหลัก ๆ บรรจุเรื่องการเตรียมความพร้อมข้าราชการ ฯ ไว้ในแผนบริหารราชการแผ่นดิน

15 การดำเนินงานของสำนักงาน ก. พ
การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ. (การเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน 2558) ปีงบประมาณ เป็นต้นไป ดำเนินการฝีกอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะ/สมรรถนะที่จำเป็น (ภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารการเปลี่ยนแปลง/บริหารความขัดแย้ง/บริหารความเสี่ยง การทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่าย การเจรจาระหว่างประเทศ การทำงานเชิงกลยุทธ ฯ ล ฯ โดยจัดเป็นหลักสูตรกลาง หรือแทรกไว้ในหลักสูตรอื่น ๆ สนับสนุนให้ส่วนราชการไปดำเนินการพัฒนา/อบรมตามมาตรฐานหลักสูตร จัดสรรทุนพัฒนานักบริหารระดับสูงไปรับการอบรมหาประสบการณ์การเตรียมความพร้อมในต่างประเทศเพื่อกลับมาขยายผลต่อไป ปีงบประมาณ เป็นต้นไป ส่งเสริมให้ข้าราชการสร้างเครือข่ายร่วมกันเป็นพลังผลักดันให้เกิดประชาคมอาเซียน

16 คุณลักษณะของบุคลากรภาครัฐที่พึงประสงค์ สู่การรวมตัวของประชาคมอาเซียน
มีความเป็นนานาชาติ มีความเป็นมืออาชีพ คิดบวกกับนานาชาติและอาเซียน มีทักษะระดับสากล มุ่งผลสัมฤทธิ์ ทำงานเป็นทีม มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน โปร่งใสและมีมาตรฐานการทำงาน มีความเป็นผู้สนับสนุน ภาวะผู้นำเชิงรุก บริการเป็นเลิศ

17 ความรู้ที่ข้าราชการต้องมี
ปรับทัศนคติ ความรู้เรื่องอาเซียน ความรู้เรื่องประเทศ สมาชิกอาเซียน ความเป็นมา/เป้าหมายของสมาคมอาเซียน กฎบัตรอาเซียน ความเป็นมา/เป้าหมายของประชาคมอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในแต่ละเสา ฯ ล ฯ ประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิก สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองของประเทศสมาชิก จุดเด่นของแต่ละประเทศ ฯ ล ฯ ความรู้เฉพาะเรื่อง ตามภารกิจ ของส่วนราชการ + นโยบายต่างประเทศ ของไทย

18 ทักษะที่ข้าราชการต้องมี
ทักษะทั่วไป ทักษะเฉพาะ ภาษาอังกฤษ(การฟัง เขียน พูด) การประชุมนานาชาติ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย การเจรจาต่อรอง การบริหารความเสี่ยง การติดต่อประสานงาน ฯ ล ฯ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน การวิเคราะห์การตลาด/คู่แข่ง การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การยกร่าง MOU สัญญาระหว่างประเทศ การบริหารแรงงานต่างด้าว ฯ ล ฯ

19 หลักสูตรการอบรมที่จะดำเนินการ
สาระ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา 1.โครงการสร้างการตระหนักรู้ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 1.การพัฒนามุมมองระดับสากล 2.ความรู้เรื่องอาเซียนและประชาคมอาเซียน 3.ยุทธศาสตร์ชาติกับอาเซียน ข้าราชการระดับปฏิบัติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 12 ชม. 2.โครงการผู้นำไทยในบริบทอาเซียน 1.ประเทศไทยในบริบทนานาชาติ 2.สถานการณ์อาเซียนปัจจุบันและอนาคต 3.ภาวะผู้นำในบริบทอาเซียน 4.การขับเคลื่อนนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ ข้าราชการระดับรองอธิบดีขึ้นไป 21 ชม. 3.โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับผู้บริหารระดับกลาง 2.ความรู้เรื่องอาเซียน/ประชาคมอาเซียน 3.ภาวะผู้นำในบริบทอาเซียนและบริบทนานาชาติ 4.การขับเคลื่อนนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ/ศึกษาดูงาน ข้าราชการระดับอำนวยการขึ้นไป ประมาณ 100 ชม.

20 หลักสูตรการอบรมที่จะดำเนินการ
สาระ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา 4.โครงการ OCSC Talent Scholarship in ASEAN การให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทเพื่อไปศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน บุคคลทั่วไป 5.โครงการ ASEAN Partnership Program ฝึกงานในประเทศสมาชิกอาเซียน/ในสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ผู้ที่ผ่านหลักสูตร 1 และ 6 3 – 6 เดือน 6.โครงการ Mr. and Mrs. ASEAN 1.ประเทศไทยในบริบทนานาชาติ 2.ความรู้เรื่องอาเซียน/ประชาคมอาเซียน 3.การทำงานแบบมืออาชีพในบริบทอาเซียนและบริบทนานาชาติ 4. การขับเคลื่อนนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ/ศึกษาดูงาน ผู้ที่ผ่านหลักสูตรที่ 1 และรับผิดชอบงานเกี่ยวกับอาเซียน ประมาณ 100 ชม.

21 ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐที่ควรปรับปรุง
Recruitment/Selection OCSC talent scholarship ASEAN internship program Specific selection/track Basic/ Functional Skill/ knowledge Learning Development Executive Program Middle level Program ASEAN Specialist Program General staff Performance Management Performance evaluation Competency – based management Others Laws/regulations Adjustment ASEAN Unit etc

22 สรุปข้อเสนอแนะ สำหรับส่วนราชการ/ข้าราชการ
สร้างความตระหนักและรับรู้เข้าใจถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของอาเซียนและประชาคมอาเซียน เรียนรู้ว่าอาเซียนและประชาคมอาเซียนประกอบด้วยกลไกอะไรบ้าง หน่วยงานของตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลไกในอาเซียนและประชาคมอาเซียน(เสาใดเสาหนึ่ง)อะไรบ้าง หน่วยงานของตนเข้าไปรับผิดชอบในแผนงานอะไรบ้างของอาเซียนและเสาของประชาคมอาเซียน กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงาน/โครงการ ในการดำเนินการใด ๆ (ข้อ 3 และข้อ 4) รวมทั้งมอบหมายหน่วยงานภายในรับผิดชอบ ดำเนินการตามข้อ 5 พร้อมทั้งมีระบบการติดตามและประเมินผล

23 สรุป(ต่อ) จัดให้มีหน่วยงาน/บุคลากรรับผิดชอบส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินการตามข้อ 5 เพื่อรายงานความคืบหน้าต่อรัฐบาล หน่วยงานต้องพัฒนาทักษะพื้นฐาน (ภาษาอังกฤษ การประชุมในเวทีระหว่างประเทศ การเจรจาต่อรอง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฯ ล ฯ) อย่างต่อเนื่องทั้งโดยสำนักงาน ก.พ. หรือจัดขึ้นเอง หน่วยงานต้องบริหารจัดการภารกิจของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ได้มาตรฐาน มีเครือข่าย ดำเนินงานทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องแม้หลังปี 2558

24 มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน รับทราบข้อเสนอของคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน) ที่เสนอให้หน่วยราชการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน

25 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน รับทราบข้อเสนอของคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน) ที่เสนอให้หน่วยราชการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ให้การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี เป็นวาระแห่งชาติ ให้ทุกหน่วยราชการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ หากหน่วยราชการใดจำเป็นจะของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อรองรับโครงการต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อม ให้แจ้งคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติทราบเพื่อช่วยของบประมาณเพิ่มเติมให้ ให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหน่วยราชการต่างๆ และในสังคมไทยโดยรวม โดยอาจมีหลักสูตรในแต่ละหน่วยราชการเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องประชาคมอาเซียน

26 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน รับทราบข้อเสนอของคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน) ที่เสนอให้หน่วยราชการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เห็นชอบในหลักการที่อาจต้องปรับโครงสร้างส่วนราชการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนระหว่างหน่วยงานของไทย รวมทั้งเพื่อรักษาบทบาทนำในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนของไทยและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของไทยในเวทีอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศ ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนการดำเนินงานสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนปี ในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ โดยจัดทำเป็นแผนปี 2554 – แล้วส่งให้กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้รวบรวมและประมวลเป็นแผนการดำเนินงานในระดับ ประเทศไทยเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ภาพเดียวกันและร่วมกันผลักดันประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดาวน์โหลด ppt การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google