ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ
หน่วยที่ 2 แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
แนวคิดของ ซิมป์ซัน (Simpson,1966) แนวคิดของบลูม (Bloom ,1956)
3
แนวคิดของ ซิมป์ซัน (Simpson,1966)
จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติจากง่ายไปซับซ้อนตามลำดับดังนี้ การรับรู้ (Perception) การเตรียมพร้อมปฏิบัติ (Set) การตอบสนองตามแนวทางที่ให้ (Guided Response) - การเร้าอวัยวะสัมผัส - การมองหาแนวทางปฏิบัติ - การแปลเป็นการปฏิบัติ - ความพร้อมทางสมอง - ความพร้อมทางกาย - ความพร้อมทางอารมณ์ - การเลียนแบบ - การลองผิดลองถูก
4
การตอบสนองที่ซับซ้อน (Complex Overt Response)
แนวคิดของ ซิมป์ซัน (Simpson,1966) (ต่อ) จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติจากง่ายไปซับซ้อนตามลำดับดังนี้ ขั้นกลไก (Mechanism) การตอบสนองที่ซับซ้อน (Complex Overt Response) มีการเรียนรู้การตอบสนองจนเป็นนิสัย มั่นใจในสิ่งที่ทำ ชำนาญและคล่องแคล่ว - การตัดสินใจกระทำอย่าง เด็ดเดี่ยว ไม่ลังเล - การตอบสนองแบบอัตโนมัติ
5
การปรับตัว (Adaptation) การริเริ่ม (Origination)
แนวคิดของ ซิมป์ซัน (Simpson,1966) (ต่อ) จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติจากง่ายไปซับซ้อนตามลำดับดังนี้ การปรับตัว (Adaptation) การริเริ่ม (Origination) การเปลี่ยนกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้เหมาะสมกับความต้องการหรือสถานการณ์ของปัญหา การริเริ่มรูปแบบการเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์หรือปัญหาเฉพาะเรื่อง เน้นการสร้างสรรค์บนพื้นฐานของทักษะขั้นสูง
6
แนวคิดของบลูม (Bloom ,1956)
ทักษะ พิสัยเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงาน 1. การรับรู้ (Imitation) รู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ 2. การกระทำตามแบบหรือเครื่องชี้แนะ (Manipulation) พยายมฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ 3. การหาความถูกต้อง (Precision) สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ 4. การกระทำอย่างต่อเนื่อง (Articulation) การกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว 5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ (Naturalization) การฝึกอย่างต่อเนื่อง คล่องแคล่วว่องไว โดยอัตโนมัติ
7
แนวคิดของ ซิมป์สัน (Simpson,1966)
1. การรับรู้ 2. การเตรียมพร้อมปฏิบัติ 3. การตอบสนองแนวทางที่ให้ 4. ขั้นกลไก 5. การตอบสนองที่ซับซ้อน 6. การปรับตัว 6. การริเริ่ม ค้นหาตัวตนของเด็กแต่ละคน และพัฒนาพฤติกรรม ให้มีระดับที่สูงขึ้น
8
แนวคิดของ บลูม (Bloom, 1956)
ค้นหาตัวตนของเด็กแต่ละคน และพัฒนาพฤติกรรม ให้มีระดับที่สูงขึ้น 1. การรับรู้ 2. การกระทำตามแบบหรือเครื่องชี้แนะ 3. การหาความถูกต้อง 4. การกระทำอย่างต่อเนื่อง 5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
9
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)
แนวคิดของ วิกกิ้นส์ (Wiggins ,2002)
10
แนวคิดของ วิกกิ้นส์ (Wiggins ,2002)
งานที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติในการประเมินภาคปฏิบัติ หรือการประเมินตามสภาพจริง ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ เกิดขึ้นในชีวิตจริง (Realistic) ต้องปฏิบัติ (Do the subject) ทำในสถานปฏิบัติงาน (Workplace) เป็นงานที่ซับซ้อน (Complex task) ผู้เรียนมีโอกาสปฏิบัติ (Appropriate opportunities) ได้รับการแนะนำ มีผลย้อนกลับเพื่อแก้ไขปรับปรุงผลงาน ต้องใช้การตัดสิน และ สร้างนวัตกรรม (Judge and innovation)
11
หลักการพื้นฐานการประเมินภาคปฏิบัติ
ตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ กำหนดงานให้มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัด ยุติธรรม กำหนดเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอย่างเป็นปรนัย พิจารณาตัดสินจากหลายองค์ประกอบ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.