ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่2 การผลิต (Production)
2
การผลิต ( Production ) การผลิต หมายถึง การนำวัตถุดิบและทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตมาแปร สภาพ โดยผ่านกระบวนการผลิตตามลำดับขั้นตอนของการกระทำก่อนหลัง ออกมาเป็นผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการให้ได้ปริมาณและมี คุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด การผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้าน ปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา
3
องค์ประกอบของการผลิต
ปัจจัยการผลิต ( Input ) คือ วัตถุดิบหรือวัสดุต่างๆ ที่นำมาประกอบหรือผสมกันโดยผ่านการผลิตตามขั้นตอนแล้วออกมาเป็นสินค้า กระบวนการผลิต ( Process ) เป็นขั้นตอนการเคลื่อนย้ายหรือแปรสภาพวัตถุดิบ เพื่อให้เกิดเป็นสินค้า ผลผลิต ( Output ) คือ ผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายของการผลิต หลังจากออกมาเป็นรูปผลิตภัณฑ์แล้วผ่านขั้นตอนการตรวจสอบครั้งสุดท้าย
4
ปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งต่างๆที่นำเข้าที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตเพื่อให้ได้สินค้า หรือ บริการ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ - วัตถุ ( Material ) วัตถุดิบ หรือ เครื่องมือเครื่องจักร - ทรัพยากร ( Resource ) ที่ดิน เงินทุน แรงงาน พลังงาน - สภาพแวดล้อม ( Environment ) ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ กฎหมาย วัฒนธรรมและประเพณี
5
ปัจจัยคงที่และปัจจัยแปรผัน (Fixed Factor and Variable Factor)
ปัจจัยคงที่ หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนการผลิต กล่าวคือ ผลิตสินค้าจำนวนเท่าใดก็ตาม ปัจจัยการผลิตนี้จะใช้จำนวนคงที่เสมอ ปัจจัยคงที่จะเป็นปัจจัยการผลิตในระยะสั้นเท่านั้น เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ปัจจัยแปรผัน หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่เปลี่ยนแปลงจำนวนการใช้ตามจำนวนการผลิต ถ้าผลิตสินค้าจำนวนมากก็ต้องใช้ปัจจัยชนิดนี้มาก แต่ถ้าผลิตสินค้าจำนวนน้อยก็ใช้ปัจจัยนี้น้อยด้วย
6
กระบวนการผลิต / กระบวนการแปรสภาพ
กระบวนการผลิต / กระบวนการแปรสภาพ หมายถึงกระบวนการที่ทำให้ปัจจัยการผลิตมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ แบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ คือ - การแปรสภาพโดยการแยกออก - การแปรสภาพโดยการรวมตัว - การแปรสภาพด้วยวิธีทางกายภาพและทางเคมี - การแปรสภาพด้วยวิธีทางชีวภาพ - การแปรสภาพโดยการบริการ
7
ผลผลิต ผลผลิต (Output)
หมายถึง ผลผลิตที่ได้ออกมาจากกระบวนการผลิตอาจเป็นสินค้าและบริการที่นำไปบริโภคได้ทันที เราเรียกว่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (final product) หรืออาจจะเป็นสินค้าและบริการที่นำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตเพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการชนิดอื่นต่อไป เราเรียกว่า สินค้าและบริการขั้นกลาง (intermediate product)
8
การผลิตกับระยะเวลา ในทางเศรษฐศาสตร์ได้แบ่งระยะเวลาในการผลิตเป็น 2 ระยะด้วยกัน ระยะสั้น (short run period) หมายถึง ช่วงเวลาการผลิตที่ผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดหรือจำนวนปัจจัยการผลิตบางอย่างได้ ดังนั้นในระยะสั้นจะมี ปัจจัยการผลิตอยู่ 2 ชนิด คือ ปัจจัยคงที่ (fixed factor)และปัจจัยแปรผัน (variable factor) ระยะยาว (long run period) หมายถึง ช่วงเวลาที่ปัจจัยการผลิตทุกชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดหรือจำนวนได้ทั้งหมด ดังนั้นในระยะยาว ปัจจัยการผลิตทุกชนิด คือ ปัจจัยแปรผันดังนั้นในระยะยาว ปัจจัยการผลิตทุกชนิด คือ ปัจจัยแปรผัน
9
การบริหารการผลิต การบริหารการผลิต หมายถึง การจัดระบบการทำงานของหน่วยงานผลิตต่างๆ ให้ประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การบริหารการผลิต ต้องรับผิดชอบเรื่อง - การกำหนดและจัดเตรียมการผลิต - การวางแผนติดตั้งและควบคุมกระบวนการผลิต - การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
10
การกำหนดและจัดเตรียมระบบการผลิต
การเลือกที่ตั้งโรงงาน ( plant Location ) การออกแบบสินค้า ( Product Design ) การวางแผนกระบวนการผลิต ( Process Planning ) การวางแผนโรงงาน ( Plant Layout ) การวิเคราะห์วิธีการทำงาน ( Method Analysis ) การตั้งมาตรฐานการผลิต ( Product Standard ) การกำหนดค่าจ้างแรงงาน ( wage Administration ) การออกแบบงาน ( Job Design )
11
การวางแผนติดตั้งและควบคุมกระบวนการผลิต
การวางแผนการผลิต ( Production Planning ) การควบคุมสินค้าคงคลัง ( Inventory Control ) การกำหนดเวลาตารางทำงาน ( Scheduling ) การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control ) การควบคุมค่าใช้จ่าย ( Cost Control ) การบำรุงรักษา ( Maintenance )
12
การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
งานการผลิตต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น การเงิน การบุคคล การจำหน่าย เป็นต้น การเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสาร และการปฏิบัติงาน
13
ประเภทของการผลิต จำแนกตามคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์
- การผลิตตามคำสั่งซื้อ - การผลิตเพื่อรอจำหน่าย จำแนกตามปริมาณการจำหน่าย - การผลิตแบบเป็นครั้งคราว หรือ แบบโครงการ - การผลิตแบบต่อเนื่อง - การผลิตแบบช่วงหรือเว้นระยะ
14
แนวความคิดของการเพิ่มผลผลิต
การปรับปรุงที่ตัวคน การปรับปรุงหน่วยงาน การปรับปรุงตัวงาน การปรับปรุงเทคโนโลยี
15
การปรับปรุงที่ตัวคน การปรับปรุงที่ตัวคน หมายถึง การพยายามที่จะกระตุ้น จูงใจ และเพิ่มพูนความรู้ให้พนักงาน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและเต็มใจที่จะทำงาน นิยมใช้ 3 วิธี คือ 1. คัดเลือกบุคคลที่มีผลผลิตสูง ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ - มีบุคลิกที่เหมาะสมกับงาน - มีความสนใจงานที่ทำ - มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า - เป็นคนตื่นตัว มีพลังและขยันขันแข็ง
16
- วิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม - สร้างทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2. ฝึกอบรม มีโครงการทำ แนวทางคือ - รู้ทิศทางขยายงาน - วิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม - สร้างทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม - มีการติดตามผลและจูงใจหลังการฝึกอบรม
17
- รู้ถึงความต้องการของลูกน้อง - ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน
3. จูงใจ มีข้อพิจารณาดังนี้ - รู้ถึงความต้องการของลูกน้อง - ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน - มอบหมายงานที่ตรงกับบุคลิก ความสนใจและความถนัด - ขึ้นเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง ให้รางวัลอย่างเป็นธรรม - ให้โอกาสได้ทำงานสำคัญ หรือท้าทายบ้าง - ช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้ลูกน้อง - ปรับโครงสร้างเงินเดือนให้เหมาะสม
18
การปรับปรุงหน่วยงาน ปรับโครงสร้าง
- ลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซับซ้อนลงไป - แบ่งปริมาณงานและกำลังคนให้พอเหมาะ - จัดสายบังคับบัญชาให้กะทัดรัดและคล่องตัว สร้างบรรยากาศการทำงาน - จัดกิจกรรมอย่างไม่ไปเป็นทางการเพื่อสร้างความสนิทสนม - กระตุ้นและเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้เสนอความคิด - ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม - ช่วยขจัดข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลในหน่วยงาน
19
ใช้เทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วม
- เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมในการบริหาร - จัดกิจกรรมกลุ่ม หรือการมีตัวแทนของพนักงาน - ในเขามีส่วนรับรู้ความเป็นไปของหน่วยงาน
20
การปรับปรุงตัวงาน ปรับปรุงวิธีการทำงาน
- กำหนดการทำงานให้เป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมงาน - งานที่ซับซ้อนในหลายส่วนงานให้นำเข้ามารวมกัน - ให้ผู้ปฏิบัติได้ทำงานที่หลากหลายมากขึ้น แยกงาน - กระจายงานให้เดินงานได้สะดวกและคล่องตัว เพิ่มความรับผิดชอบและอำอาจตัดสินใจ - กำหนดตำแหน่งงานใหม่ เพื่อไม่ให้งานล่าช้า
21
การปรับปรุงเทคโนโลยี
ใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม ติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
22
องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
คุณภาพ ( Quality ) การลดต้นทุน ( Cost ) การส่งมอบ ( Delivery ) ความปลอดภัย ( Safety ) ขวัญและกำลังใจ ( Morale ) สิ่งแวดล้อม ( Environment ) จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ( Business Ethics )
23
คุณภาพ ( Quality ) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกับการเพิ่มผลผลิต
การสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายดังนี้ - การป้องกันความบกพร่อง - การประเมินผล - ความสูญเสียของงานที่บกพร่อง - การรับประกัน และการซ่อมแซม
24
การลดต้นทุน ( cost ) วัตถุดิบ
- เลือกวัตถุดิบที่มีราคาถูก หาง่าย มีคุณสมบัติดี - ขจัดการสูญเสียของวัตถุดิบ จัดระบบการจัดเก็บและควบคุมวัสดุ การทำงานของเครื่องจักร - ทำความสะอาดและบำรุงรักษา - ควบคุมการใช้ให้ถูกวิธี - ไม่เดินเครื่องโดยไม่ทำการผลิต
25
การส่งมอบ ( Delivery ) ค่าจ้างพนักงาน
- ฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะการทำงานอย่างถูกต้อง - ปรับปรุงวิธีการทำงาน - ฝึกพนักงานให้ทำงานได้หลายด้าน การส่งมอบ ( Delivery ) หมายถึง การส่งงานจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง จนกระทั่งถึงมือลูกค้า ควรจัดการส่งมอบให้ตรงเวลา ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป ออกแบบให้ระบบการผลิตมีการไหลอย่างต่อเนื่อง
26
ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง การสูญเสียจากอุบัติเหตุ การป้องกันไม้ให้เกิดอุบัติเหตุและดำเนินการให้สูญเสียน้อยที่สุด ประโยชน์ของความปลอดภัย - ผลผลิตเพิ่มขึ้น - ต้นทุนการผลิตลดลง - กำไรมากขึ้น - เป็นปัจจัยในการจูงใจ - สงวนทรัพยากรมนุษย์ของชาติ
27
ขวัญและกำลังใจ ( Morale )
ขวัญ คือ สิ่งที่ไม่มีตัวตนที่เป็นสิริมงคล กำลังใจ คือ สภาพจิตใจที่มีความเชื่อมั่น ลักษณะของขวัญและกำลังใจ พิจารณาได้ดังนี้ - สภาพจิตใจ ทัศนคติ อารมณ์ และความรู้สึก - ผลกระทบต่องาน ความร่วมมือ ความกระตือรือร้น วินัย - ความมุ่งมั่น ความเต็มใจในการทำงาน - ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับหัวหน้างาน
28
สิ่งแวดล้อม ( Environment )
การยกระดับขวัญและกำลังใจ - ควบคุมดูแลปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจ - ตรวจสอบขวัญและกำลังใจ - ปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่อง สิ่งแวดล้อม ( Environment ) การดำเนินกระบวนการผลิตแบบให้เกิดของเสียมากที่สุด - การลดแหล่งกำเนิดของเสีย - การใช้หมุนเวียน การนำมาใช้ใหม่ การสกัดสิ่งมีค่า การปรับเปลี่ยน
29
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ( Business Ethics )
กระแสอุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม - ส่งผลให้เกิดการยอมรับจากสังคม จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ( Business Ethics ) เว้นจากการเบียดเบียนลูกค้า เช่น กักตุนสินค้า ขายสินค้าไม่มีคุณภาพ เว้นจากการเบียดเบียนผู้จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบ เช่น กดราคา ไม่จ่ายเงิน เว้นจากการเบียดเบียนผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ เช่น ไม่จ่ายเงินปันผล ปิดบังข้อมูล เว้นจากการเบียดเบียนพนักงาน เช่น กดค่าแรง ไม่ให้สวัสดิการ เว้นจากการเบียดเบียนราชการ เช่น หลบเลี่ยงภาษี เว้นจากการเบียดเบียนคู่แข่ง เช่น ปล่อยข่าวลือ เว้นจากการเบียดเบียนสังคม เช่น โฆษณาหลอกลวง บรรทุกเกินกำหนด เว้นจากการเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม เช่น ปล่อยสารพิษ ส่งเสียงรบกวน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.