งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สุนทรียศาสตร์พื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สุนทรียศาสตร์พื้นฐาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สุนทรียศาสตร์พื้นฐาน
หน่วยที่ 1

2 การปลดปล่อยใจ หรือความรู้สึกให้เคลิ้มไปกับการรับรู้ความงามในบางช่วงเวลา
การได้รับรู้ผลงานศิลปะผ่านประสาทสัมผัส ซึ่งทำให้เรารู้สึกซาบซึ้ง สะเทือนใจ หรือหดหู่ จากการอ่านบทประพันธ์ หรือบทกวีที่ซาบซึ้งกินใจ ได้ฟังเพลงที่มีจังหวะลีลา ทำนองไพเราะ รวมถึงได้ชื่นชมการแสดงอันก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นเพราะ ประสบการณ์ทางการรับรู้

3

4 ประสบการณ์ทางการรับรู้ความงามเหล่านี้ ก่อให้เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกขึ้นในจิตใจแม้ในบางครั้งเราจะไม่สามารถอธิบายความรู้สึกและอารมณ์ที่มี ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ประสบการณ์เช่นนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับ ประสบการณ์ทางสุนทรียะ ซึ่งเป็นที่มาของการรับรู้ทางสัมผัส ที่เกี่ยวพันกับเรื่องความงามหรือ “สุนทรียศาสตร์”

5 บริบททางสุนทรียศาสตร์
วิชาสุนทรียศาสตร์ Aesthetics เป็นสาขาหนึ่งของอรรฆวิทยา เน้นการศึกษาด้านคุณค่า ทั้งทางจริยะ คือความดี และคุณค่าทางตรรกะ หรือคุณค่าทางความจริง ส่วนคุณค่าทางสุนทรียะ เป็นคุณค่าทางอารมณ์ ความรู้สึกว่าสิ่งใดงาม สิ่งใดไม่งาม การรับรู้และชื่นชมความงาม เป็นที่ทราบกันดีว่า สุนทรียภาพ เป็นเรื่องของจิตพิสัย ซึ่งแต่ละคนย่อมให้คุณค่าสุนทรียภาพแตกต่างกันไป

6 “ความงาม ความดี ความจริง เป็นสิ่งเดียวกัน”
มโนทัศน์ของสุนทรียศาสตร์ มุ่งเน้นการศึกษาที่เป็นความงามในธรรมชาติ หรือความงามทางศิลปะ ด้วยถือว่าความงามเป็นวิถีหนึ่งที่อาจเป็นพาหนะนำไปสู่ความดี และสุดท้ายก็นำเข้าสู่สภาวะความจริง “ความงาม ความดี ความจริง เป็นสิ่งเดียวกัน” – พระยาอนุมานราชธน –

7 ปัญหาที่สำคัญของสุนทรียศาสตร์ มาจากการแบ่งแยกโลกแห่งการรับรู้ของมนุษย์ คือปัญหาเกี่ยวกับความงาม และศิลปะ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการรับรู้ของมนุษย์

8 การศึกษาทางสุนทรียศาสตร์ จึงครอบคลุมวัตถุต่าง ๆ ทั้งศิลปะและความงามตามธรรมชาติ รวมถึงกระบวนการรับรู้ หรือประสบการณ์ทางสุนทรียะของมนุษย์ที่มีต่อวัตถุต่าง ๆ โดยมีระเบียบแบบแผนในการศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์

9 ความรู้สึกทางการรับรู้หรือ สัญชาน Perception จึงมีความเป็นส่วนตัวสูง ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล สัญชานจึงมีไม่เท่ากันในมนุษย์แต่ละคน ความรู้สึกทางความรู้สึก และชื่นชมความงาม เป็นสุนทรียภาพของอัตวิสัย ซึ่งแต่ละคนย่อมให้คุณค่าสุนทรียภาพแตกต่างกันออกไป

10 นิยามของคำว่าสุนทรียศาสตร์
“สุนทรียะ” แปลว่า “งาม” และ “ศาสตร์” แปลว่า “วิชา” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) Aesthetics เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ อเล็กซานเดอร์ เบามว์การ์เทน ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งแยกออกจากทฤษฏีความรู้หรือญาณวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์

11 ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์
1. ปัญหาเรื่องความงาม นักสุนทรียศึกษามีความเห็นว่า สุนทรียภาพอาจไม่ใช้ความสวยงามเพียงอย่างเดียว ความโศกเศร้า ความน่าเกลียด ความขบขัน และความน่าพิศวง ก็ทำให้เกิดอารมณ์สุนทรียะได้เช่นกัน

12 ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์
ความหมายในสภาวะของความงาม ความสุนทรีย์ เกิดขึ้นในตัวบุคคลใดนั้น เป็นความรู้สึกที่บริสุทธิ์โดยไม่ประสงค์สิ่งใด เป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้น จากการสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะการสัมผัส งานศิลปะในห้วงเวลาหนึ่ง ลักษณะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะจำแนกออกได้ดังนี้ รู้สึกพอใจ // รู้สึกไม่พอใจ // รู้สึกเพลิดเพลินใจ // รู้สึกทุกข์ใจ // รู้สึกกินใจ อารมณ์ หรือ ความรู้สึกดังกล่าวนี้ จะพาให้เกิดอาการลืมตัว เคลิบเคลิ้ม คล้อยตามความรู้สึกนั้น

13 ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์
2. ปัญหาเรื่องประสบการณ์ทางสุนทรียะภาพ 3. ปัญหาเรื่องคุณสมบัติทางสุนทรียะ 4. ปัญหาเรื่องคุณค่า

14 ประสบการณ์สุนทรียะ มีลักษณะพิเศษต่างจากประสบการณ์ทั่ว ๆ ไป การรับรู้ประสบการณ์ทางสุนทรียะนั้นเกี่ยวพันกับสุนทรียเจตคติ ประสบการณ์สุนทรียะเป็นผลของการรับรู้ระดับสัญชาน เป็นลักษณะของการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ปราศจากความสนใจต่อผลประโยชน์

15 ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์
มิติสำคัญ ในประเด็นปัญหาเรื่องประสบการณ์ทางสุนทรียะ 1. มิติในเชิงประเมินคุณค่า พื้นฐานของประสบการณ์สุนทรียะนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า น่าพึงพอใจ และควรค่าแก่การได้มาหรือได้บรรลุถึงในประสบการณ์นั้น 2. มิติในเชิงปรากฏการณ์ ประสบการณ์ทางสุนทรียะเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน 3. มิติในเชิงความหมาย เป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความหมายมิใช่เพียงการรับรู้ด้านสัมผัส พลังด้านอารมณ์ความรู้สึกและความหมายของประสบการณ์ได้ร่วมกัน 4. มิติในเชิงนิยาม-แบ่งแยกขอบเขต ประสบการณ์ทางสุนทรียะเป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากประสบการณ์อื่น ๆ

16 เกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์
1. กลุ่มที่ใช้ตนเองเป็นตัวตัดสิน เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ จิตพิสัยหรืออัตวิสัย ” ( Subjectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า ความรู้ ความจริงและความดีงามทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีความจริงในตัวเอง หากแต่เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเท่านั้น 2. กลุ่มที่เชื่อว่า มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวที่จะใช้ตัดสินได้ เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ วัตถุพิสัยหรือปรวิสัย ” ( Objectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอนในทางศิลปะ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินผลงานได้ในทุกสมัย เกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกใครหรือศิลปินคนไหน กลุ่มนี้มีความเชื่ออีกว่า สุนทรียธาตุมีอยู่จริง

17 การตัดสินคุณค่าความงามสามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นเพียงขั้นแรก
3. กลุ่มที่เชื่อว่า หลักเกณฑ์ในการตัดสินสุนทรียศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อม เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “สัมพัทธพิสัย” (Relativism) เป็นกลุ่มที่มีแนวคิดคล้ายกับกลุ่มจิตพิสัย แต่ต่างกันตรงที่กลุ่มสัมพัทธพิสัยนั้นมีความเชื่อว่า กฎเกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม การตัดสินคุณค่าความงามสามแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นเพียงขั้นแรก ในการเข้าสู้ความซาบซึ้งของสุนทรียภาพในสิ่งแวดล้อมทั่วไปเท่านั้น ถ้าศึกษาต่อจะพบว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ที่แท้จริงนั้น คือการศึกษาเกี่ยวกับ ศิลปะ(Art) โดยทั่วไป

18 สุนทรียศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ด้าน
1. สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา เน้นอารมณ์ความรู้สึกจินตนาการ ประสบการณ์เชิงสุนทรียะ ที่เป็นการรับรู้ผ่านกระบวนการของอารมณ์ความรู้สึก 2. สุนทรียศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เน้นที่เหตุผล ตรรกะ แบบแผน สองขั้วซ้ายและขวาที่แตกต่างกัน มีระดับของความเชื่อ ระดับของการรับรู้และชื่นชมต่างกัน เราอาจรับรู้หรือมีจุดยืนตรงกลาง หรือโน้มเอียง จึงต้องอาศัยประสบการณ์เชิงตรรกะ


ดาวน์โหลด ppt สุนทรียศาสตร์พื้นฐาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google