งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ครูวีรธรรม เทศประสิทธิ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ครูวีรธรรม เทศประสิทธิ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ครูวีรธรรม เทศประสิทธิ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
โครงสร้างภาษาซี Structure of C ครูวีรธรรม เทศประสิทธิ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ Structure of C

2 โครงสร้างภาษาซี  โครงสร้างโปรแกรม  โปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น
 โปรแกรมอินเทอร์แรคทีฟ Structure of C

3 โครงสร้างโปรแกรม ลักษณะโครงสร้างของภาษาซี แบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้
พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ (Preprocessor directives) ส่วนประกาศ (Global declarations) ส่วนฟังก์ชันหลัก (The main function) การสร้างฟังก์ชันและการใช้ฟังก์ชัน (Uses-defined function) ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program comments) Structure of C

4 พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ (Preprocessor directives)
ส่วนนี้ทุกโปรแกรมต้องมี ใช้สำหรับเรียกไฟล์ ที่โปรแกรมต้องการในการทำงานและกำหนดค่าต่างๆ โดยคอมไพล์เลอร์จะกระทำตามคำสั่งก่อนที่จะคอมไพล์โปรแกรม จะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย ไดเร็กทีฟ (Directives) # ตามด้วยชื่อโปรแกรมหรือชื่อตัวแปรที่ต้องการกำหนดค่า อาจเรียกส่วนนี้ว่า ส่วนหัวโปรแกรม (Header Part) Structure of C

5 พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ(Preprocessor directives)(ต่อ)
ไดเรกทีฟที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ #include แจ้งให้คอมไพเลอร์อ่านไฟล์อื่นเข้ามาคอมไพล์ร่วมด้วย รูปแบบ #include ชื่อไฟล์ Structure of C

6 พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ(Preprocessor directives)(ต่อ)
เช่น #include “stdio.h” หมายถึง อ่านไฟล์ stdio.h เข้ามาด้วย #include “Pro1.c” หมายถึง อ่านไฟล์ Pro1.c เข้ามาด้วย การกำหนดชื่อไฟล์ตามหลัง #include ใช้เครื่องหมาย <> แทนได้ เช่น #include<stdio.h> Structure of C

7 พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ(Preprocessor directives)(ต่อ)
#define เป็นการกำหนดค่านิพจน์ต่างๆ ให้กับชื่อตัวแปร มีรูปแบบดังนี้ รูปแบบ #define NAME VALUE Structure of C

8 พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ(Preprocessor directives)(ต่อ)
เช่น #define END 20; กำหนด END มีค่าเท่ากับ 20 #define A 5*6+3; กำหนด A มีค่า 5*6+3 Structure of C

9  ส่วนประกาศ (Global declarations)
ส่วนนี้ใช้ประกาศตัวแปรหรือฟังก์ชันที่ต้องใช้ในโปรแกรม โดยทุกส่วนของโปรแกรมสามารถเรียกใช้ข้อมูลในส่วนนี้ได้ ส่วนนี้บางโปรแกรมอาจไม่มีก็ได้ Structure of C

10  ส่วนฟังก์ชันหลัก (Main function)
ส่วนนี้ทุกโปรแกรมจะต้องมี ซึ่งประกอบด้วยประโยคคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงาน โดยนำคำสั่งต่างๆ มาเรียงต่อกัน และแต่ละประโยคคำสั่งจบด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน (Semicolon ;) ส่วนนี้เริ่มต้นด้วย main() ตามด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด { และจบด้วยปีกกาปิด } รูปแบบ main(){ } Structure of C

11  ส่วนกำหนดฟังก์ชันขึ้นใช้เอง (Uses-defined functions)
เป็นการเขียนคำสั่งและฟังก์ชันต่างๆ ขึ้นใช้ในโปรแกรม โดยต้องอยู่ในเครื่องหมาย { } และต้องสร้างฟังก์ชันหรือคำใหม่ที่ให้ทำงานตามที่เราต้องการ และสามารถเรียกใช้ได้ภายในโปรแกรม Structure of C

12 #include<stdio.h> main() {
เช่น #include<stdio.h> main() { function(); /* เรียกใช้ฟังก์ชันที่สร้างขึ้น */ } function() /* สร้างฟังก์ชันใหม่ โดยให้ชื่อว่า function */ return; /* คืนค่าที่เกิดจากการทำฟังก์ชัน */ Structure of C

13  ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program comments)
ส่วนนี้ใช้เขียนคอมเมนต์โปรแกรม เพื่ออธิบายการทำงานต่างๆ ทำให้ผู้ศึกษาโปรแกรมในภายหลังทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เมื่อคอมไพล์โปรแกรมส่วนนี้จะถูกข้ามไป Structure of C

14 โปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น
ภาษา C เป็นภาษาที่การเขียนโปรแกรมเป็นแบบโครงสร้างโมดูล โดยจะเขียนโมดูลต่างๆ เก็บไว้ใช้ แต่ละโมดูลสามารถเรียกมาใช้ในภายหลังได้ Structure of C

15 ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมขั้นต้นเป็นดังนี้
#include<stdio.h> main() { } ส่วนหัว ส่วนฟังก์ชันหลัก Structure of C

16 จากตัวอย่างโปรแกรมประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
ส่วนหัว หรือส่วนเรียกโมดูลอื่นๆ เข้ามาแปรความหมายร่วม โดยเป็นส่วนของพรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ ซึ่งอาจเป็นโมดูลที่มีอยู่แล้วในภาษาซีหรือโมดูลที่สร้างขึ้นมาเอง ส่วนฟังก์ชันหลัก ซึ่งเป็นส่วนคำสั่งหรือสเตทเมนท์ (Statement) เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงาน โดยเริ่มต้นด้วยปีกกาเปิด { และจบด้วยปีกกาปิด } ส่วนนี้มีมากกว่าหนึ่งฟังก์ชันก็ได้ แต่ทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชัน main ซึ่งเป็นฟังก์ชันหลักของโปรแกรม Structure of C

17 เมื่อสั่ง Run โปรแกรมจะพิมพ์ COMPUTER ออกมา
ตัวอย่างโปรแกรม #include<stdio.h> main() { printf(“COMPUTER”); } เมื่อสั่ง Run โปรแกรมจะพิมพ์ COMPUTER ออกมา Structure of C

18 จากโปรแกรม printf() จะทำหน้าที่พิมพ์ข้อความที่อยู่ภายในเครื่องหมายคำพูดออกทางหน้าจอ โดยจะเก็บฟังก์ชันนี้ไว้ใน stdio.h (standard input output) ซึ่งจะเก็บชุดคำสั่งเกี่ยวกับการส่งข้อมูลเข้าออกเอาไว้ จึงต้องเรียก stdio.h ขึ้นมา #include เรียกว่า ไดเร็กทีฟ (directive) และ stdio.h เรียกว่า ไฟล์ส่วนหัว (header file) Structure of C

19 ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมที่ 1
/* PROGRAM BY weratham teacher #include<stdio.h> main() { printf(“COMPUTER”); printf(“PROGRAMMING”); } ผลการรัน COMPUTERPROGRAMMING Structure of C

20 ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมที่ 2
/* PROGRAM BY weratham teacher #include<stdio.h> Main() { printf(“COMPUTER \n”); printf(“PROGRAMMING \n”); } ผลการรัน COMPUTER PROGRAMMING Structure of C

21 จากตัวอย่างโปรแกรมที่ 2 จะมีเครื่องหมายแบ็คสแลต (Backslash) ตามด้วย n (\n) ซึ่งเป็นตัวบอกว่าเมื่อพิมพ์ COMPUTER แล้วให้ขึ้นบรรทัดใหม่ Structure of C

22 โปรแกรมอินเทอร์แรคทีฟ (Interactive Program)
Structure of C

23 ตัวอย่างโปรแกรมแปลงหน่วยฟุตเป็นหน่วยนิ้ว
#include<stdio.h> Main() { int feet, inches; printf(“Enter number of feet ”); scanf(“%d”,&feet); inches = feet * 12; printf(“ %d inches ”,inches); } วิธีคำนวณ นิ้ว = ฟุต * 12 Structure of C

24 ผลการรันโปรแกรม Enter number of feet_
เมื่อใส่ข้อมูลเข้าไป เครื่องจะคำนวณค่าในหน่วยนิ้วออกมา โปรแกรมลักษณะนี้จะต้องมีการใช้คำสั่งสำหรับให้ผู้ใช้ติดต่อกับเครื่อง ในโปรแกรมนี้จะใช้คำสั่ง Scanf เพื่อรับค่าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ Structure of C

25 ตัวอย่างโปรแกรมรับเลขจำนวนเต็มทางแป้นพิมพ์จำนวนสองค่า จากนั้นโปรแกรมแสดงผลบวกทางจอภาพ
#include<stdio.h> #include<conio.h> main(){ int num1, num2, SUM; clrscr(); printf(“Enter Number 1 ”); scanf(“%d”,&num1); printf(“Enter Number 2 ”); scanf(“%d”,&num2); SUM = num1+num2; printf(“sum = %d\n”,SUM); } คำนวณผลบวก Structure of C

26 ตัวอย่างโปรแกรมรับเลขค่ารัศมีและหาค่าพื้นที่วงกลม
#include<stdio.h> #define twopi ( * 2.0) main(){ float radius, circum; printf(“Enter radius ”); scanf(“%f”,&radius); circum = twopi * radius; printf(“Circumference : %.2f\n”,circum); } Structure of C


ดาวน์โหลด ppt ครูวีรธรรม เทศประสิทธิ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google