ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยTeguh Wibowo ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
การสุ่มตัวอย่าง สส. 6003 ระเบียบวิจัยการสื่อสาร สื่อสารประยุกต์ ภาคพิเศษ
รุ่นที่4 กลุ่ม 1 เฉี่ยง แจม โอ๋ อิน อ้อง รีฟ
2
หัวข้อ ทำไมเราจึงต้องสุ่มตัวอย่าง ? คำและนิยามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุของการสุ่มตัวอย่าง คำและนิยามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง วิธีกำหนดขนาดของกุล่มตัวอย่าง หลักและประเภทการสุ่มตัวอย่าง
3
ทำไมเราต้องสุ่มตัวอย่าง ?
ในการตอบปัญหาการวิจัย ต้องมีการรวบรวมข้อมูลมายืนยันสมมุติฐานและคำตอบของปัญหาการ วิจัยที่ตั้งไว้ “การสุ่มตัวอย่าง” จำเป็นต่อการวิจัยที่ครอบคลุมประชากรจำนวนมาก นักวิจัยจะใช้การสุ่มตัวแทนมาศึกษาและนำผลไปสรุปอ้างอิงค่าของประชากร ไม่นิยมศึกษาจากประชากรทั้งหมด เพราะสิ้นเปลืองเกินจำเป็น
4
เหตุผลที่เราต้องสุ่มตัวอย่าง
ประหยัดค่าใช้จ่าย แรงงาน เวลาในการทำวิจัย ขอบเขตแคบลง สะดวกในการปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง การเก็บข้อมูลทำได้ละเอียดกว่า เพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงาน สรุปผลการวิจัยได้รวดเร็ว ลดจำนวนบุคลากร ผู้ชำนาญการวิจัย สามารถตรวจสอบเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดได้ดีกว่า
5
ประชากร “ประชากร” หมายถึง “จำนวนสมาชิกทั้งหมดของบุคคลเหตุการณ์ หรือสิ่งของที่ให้ข้อมูลวิจัย” หรือ “กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่นักวิจัยต้องศึกษา” เป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้
6
ประเภทของประชากร สามารถระบุจำนวนได้ครบถ้วน
ประชากรที่มีจำนวนจำกัด (Finite population) 2. ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด (Infinite population) สามารถระบุจำนวนได้ครบถ้วน สามารถระบุตำแหน่งแหล่งที่มาได้ชัดเจน ไม่สามารถระบุจำนวนได้ครบ หรือมากจนไม่อาจนับได้ ไม่สามารถระบุตำแหน่งหรือแหล่งได้อย่างชัดเจน การวิจัยกลุ่มของสิ่งต่างๆ อาจเป็นสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ มักเรียกว่า “กลุ่มประชากรเป้าหมาย” (target population)
7
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับประชากร
ต้องระบุให้แน่ชัดและให้นิยามที่ชัดเจนว่าประชากร นั้นรวมใครบ้างไม่รวมใครบ้างในการวิจัยครั้งนี้ ประชากรในการวิจัยครั้งหนึ่งๆไม่จำเป็นต้อง ประกอบด้วย “คน” เสมอไป อาจเป็นสิ่งของก็ได้ ในบางกรณีประชากรอาจหมายถึง หน่วยที่รวมกัน เป็นองค์กร เช่น หน่วยการปกครอง โรงพยาบาล โรงเรียน สถานีตำรวจ ตำบล หมู่บ้าน เป็นต้น
8
เกณฑ์ในการกำหนดประชากรเป้าหมาย
ความเป็นจริงเราอาจพบว่า การระบุประชากรเป้าหมายในการวิจัยให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ผู้วิจัยจำเป็นต้องอาศัย “กรอบสำหรับการสุ่มตัวอย่าง” (Sampling Frame) เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดประชากรในการวิจัย
9
กลุ่มตัวอย่าง “กลุ่มตัวอย่าง” หมายถึง จำนวนสมาชิกของบุคคล เหตุการณ์หรือสิ่งของที่ให้ข้อมูลบางส่วนที่ได้รับคัดเลือกมา เพื่อให้เป็น ตัวแทนในการวิจัย
10
คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง
1.มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับประชากร 2.มีความครอบคลุมประชากรทั้งหมด 3.ทุกหน่วยของประชากรมีโอกาสในการถูกเลือกเท่ากัน 4.มีขนาดของกลุ่มตัวอย่างเหมาะสม
11
การสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง คือ กรอบการสุ่มตัวอย่าง
12
การสุ่มตัวอย่าง “การสุ่มตัวอย่าง” คือ กระบวนการเลือก กลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นตัวแทน ของประชากรในการให้ข้อมูล
13
“กรอบการสุ่มตัวอย่าง” (sampling frame)
กรอบการสุ่มตัวอย่าง หมายถึง ขอบเขตทั้งหมดของประชากร ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องการวิจัย อาจเป็นเอกสารหรือบัญชีรายชื่อ หรือแผนที่แสดงอาณาเขต กรอบการสุ่มตัวอย่างที่ดี ต้องไม่มีการนับซ้ำ (Duplication) ไม่ตกหล่น (Omission)
14
การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง - การใช้สูตรทางสถิติ - ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม
15
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญมากในการวิจัย เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีความเหมาะสม ข้อมูลที่ได้จากกลุ่ม ตัวอย่างมีมากพอ ก็จะทำให้ผลงานวิจัยนั้นมีคุณค่า ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่าไรจึงจะเหมาะสมกับการวิจัย ขึ้นอยู่กับการวิจัยว่าจะยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนมากน้อยเพียงใดจึงจะยอมรับได้
16
วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
การกำหนดขนาดตัวอย่าง นักวิจัยอาจนำวิธีคำนวณทางสถิติมาใช้ เช่น การใช้สัดส่วนร้อยละของประชากร การใช้สูตรทางสถิติ การใช้สัดส่วนร้อยละของประชากร ขนาดประชากร(จำนวน) : ขนาดตัวอย่าง(เปอร์เซ็นต์) หลักร้อย : 25% หลักพัน : 10% หลักหมื่น : 5% หลักแสน : 1% การใช้สูตรทางสถิติ ซึ่งมีสูตรให้เลือกใช้ตามประเภทการวิจัย (เชิงพรรณนา เชิงทดลอง เชิงสำรวจ), จำนวนประชากร (ทราบหรือไม่ทราบ)
17
การใช้สูตรทางสถิติ(ยามาเน่) (1)
สูตรของยามาเน่ : n = N 1+Ne2 เมื่อ n = จำนวนกลุ่มตัวอย่าง N = จำนวนประชากร e = ขนาดของความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 1%, 2%,…,5% เป็นสูตรสำหรับการหาขนาดของตัวอย่างการวิจัยเชิงสำรวจ ในกรณีที่ทราบจำนวนประชากร
18
การใช้สูตรทางสถิติ(ยามาเน่) (2)
ตัวอย่าง : ประชากรครัวเรือนของกรุงเทพมหานคร มี 1,840,000 ครัวเรือน ผู้วิจัยต้องการสุ่มตัวอย่างให้มีความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มร้อยละ 5 (0.05) ขนาดของครัวเรือนในกรุงเทพมหานครที่ควรสุ่มคือ N = ,840,000 1+1,840,000(.05)2 = ,840,000 461 = ,991.3 ขนาดของครัวเรือนที่ควรสุ่มคือ 3,991 ครัวเรือน
19
ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม ในมุมมอง ศ.ดร.สุชาติ
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในมุมมอง ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (๒๕๔๐) คือ “การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” **ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ ท่านเป็นประธานอำนวยการศูนย์อบรมการวิจัยนานาชาติ (ไอ อาร์ ที ซี) ประธานที่ปรึกษาโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการพัฒนาการบริหาร มหาวิทยาลัยปทุมธานี และยังเป็นเจ้าของผลงานทางวิชาการด้านการวิจัยจำนวนมาก**
20
ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม ในมุมมอง ศ.ดร.สุชาติ (2)
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงสำรวจขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1.ความแปรปรวนของประชากรที่สุ่ม 2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3.เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล 4.งบประมาณการวิจัย
21
หลักและประเภทการสุ่มตัวอย่าง
หลักในการสุ่มตัวอย่าง - โดยอาศัยความน่าจะเป็น - โดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น ประเภทของการสุ่มตัวอย่าง
22
หลักในการสุ่มตัวอย่าง
หลักในการสุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (probability random sampling) การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (nonprobability random sampling)
23
ประเภทของการสุ่มตัวอย่าง (1)
โดยอาศัยความน่าจะเป็น 1. การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) 2. การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) 3. การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) 4. การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) 5. การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multi-stage Sampling)
24
ประเภทของการสุ่มตัวอย่าง (2)
โดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น 1. การสุ่มตัวอย่างโดยอิงความสะดวก 2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักอาสาสมัคร 3. การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 4. การสุ่มตัวอย่างแบบจัดสัดส่วน 5. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักเครือข่าย
25
Thank you
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.