ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประเภทของกล้องถ่ายภาพ
2
ชนิดของกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายรูปนับเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากกล้องออบสคูร่า (Obscura) ที่มีลักษณะเป็นกล้องมืด (Dark room) และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ เป็นต้นว่า ดาร์แก ทัลโบต บาร์แนก , ดันคัน อิสแมนต์ , แลนด์ และคนอื่น ๆ กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นเหมือนกล่องทึบแสง ทำหน้าที่รับแสงในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการสร้างภาพ กลไกและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของกล้องทำงานสัมพันธ์กันในการที่จะควบคุมปริมาณแสงไปยังหน่วยรับภาพอย่างถูกต้องแม่นยำ อีกทั้งยังควบคุมความคมชัดของภาพ ตลอดจนอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการบันทึกภาพ
3
ความหมายของการถ่ายภาพ
1. เชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำปฏิกิริยาระหว่างวัสดุไวแสงกับแสง 2. เชิงศิลปะ หมายถึง การวาดภาพด้วยแสงและเงารวมทั้งการผสมสีเพื่อถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ หรือทัศนคติ สรุป : การถ่ายภาพ คือ การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนคติ โดยใช้กระบวนการที่ปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนมาจากวัตถุผ่านเข้าไปกระทบกับวัตถุไวแสง แล้วจึงนำวัตถุไวแสงไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏ
4
ประเภทของกล้องถ่ายภาพ
5
1. กล้องบ๊อกซ์ (Box Camera)
เป็นกล้องที่ไม่มีกลไกสลับซับซ้อน มีขนาดรูรับแสงคงที่ อาจเป็น 8 หรือ 11 อันใดอันหนึ่ง และมีความเร็วชัดเตอร์เดียวปกติประมาณ 1/60 กล้องชนิดนี้ให้ระยะชัดตั้งแต่ 6 ฟุตขึ้นไปจนถึงไกลที่สุด ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มขนาด 120, 127 และ 620 บางชนิดอาจใช้ฟิล์มขนาด 126 ก็ได้
6
2. กล้องพับ (Folding Camera)
เป็นกล้องที่มีห้องมืดชนิดพับระหว่างตัวกล้องกับเลนส์สามารถพับเก็บ หรือยืดออกมาได้ นอกจากนั้นกล้องชนิดนี้ยังเพิ่มขนาดของรูรับแสง และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของชัตเตอร์ได้หลายระดับมากยิ่งขึ้น และอาจใช้กับไฟแวบอีกด้วยฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาดต่าง ๆ เช่น 120,127 และ 620 เป็นต้น
7
3. กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex Camera)
8
กล้องแบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)
กล้องชนิดนี้มีเลนส์ 2 ตัว เลนส์ตัวบนทำหน้าที่สะท้อนภาพเข้าสู่ช่องมองภาพซึ่งมีกระจกเป็นตัวสะท้อนทำให้ผู้ถ่ายรูปมองเห็นวัตถุที่จะถ่ายได้ ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับแสงเพื่อส่องผ่านไปยังฟิล์ม กล้องรีเฟล์กซ์เลนส์คู่รวมเอาข้อดี ของกล้องใหญ่ (View Camera) และกล้องเรนจ์ไฟเดอร์ (Range finder) เข้าด้วยกันโดยเฉพาะสามารถที่มองภาพ จากบ้างบนกล้องได้โดยลดกล้องให้ต่ำลงแล้วก็มองภาพจากช่องมองได้สะดวก
9
กล้องแบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)
กล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสีย คือ การใช้เลนส์ 2 ตัว ตั้งอยู่ในแนวดิ่งซึ่งกันและกัน
10
กล้องแบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)
ดังนั้นภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบนอาจจะไม่เหมือนกันเลยที่เดียวกับภาพที่ถ่าย ซึ่งเรียกว่าเกิดอาการผิดเพี้ยน จากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ยิ่งเป็นการถ่ายรูปใกล้ ๆ บางส่วนของภาพ จะถูกตัดออกไปแม้ว่าเวลามอง ที่ช่องมองภาพนั้นเป็นภาพสมบูรณ์ก็ตาม อีกประการหนึ่งภาพที่เห็นที่ช่องมองภาพจะกลับซ้ายเป็นขวาเสมอ นอกจากนี้ กล้องชนิดนี้ส่วนมากจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ จึงเป็นข้อเสียเปรียบเช่นกัน ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาด 120, 220 หรือ 35 มม . ได้
11
กล้องแบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex)
กล้องแบบเลนส์เดี่ยว หรือเรียกว่า SLR ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมมาก เพราะสะดวกและง่ายต่อการประกอบภาพ นอกจากนั้นมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันได้มากมาย กล้องชนิดนี้สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และไม่มีอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนภาพ (Parallax) เลย ใช้เลนส์ตัวเดียวทำหน้าที่ทั้งมองภาพ หาระยะชัด และบันทึกภาพ
12
กล้องแบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex)
ระบบการทำงานของกล้องแบบนี้ คือ แสงสะท้อนจากวัตถุจะผ่านเลนส์เข้าไปยังกล้องซึ่งภายในมีกระจกสะท้อนภาพวางทำมุม 45o เพื่อสะท้อนภาพขึ้นสู่ปริซึม 5 เหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “Penta prism” ภาพที่เห็นในช่องมองภาพจะเป็นภาพที่ถูกต้อง เมื่อกดชัตเตอร์ถ่ายภาพ ระบบกลไกของกล้องจะทำให้กระจกสะท้อนภาพกระดกตัวขึ้นด้านบน พร้อมกับม่านชัตเตอร์ก็จะเปิดออกให้แสงผ่านแสงผ่านตรงเข้าไปยังฟิล์มที่อยู่ด้านหลังจากนั้นม่านชัตเตอร์ที่ติดตั้งอยู่หลังกระจกก็จะปิดเข้าสู่ตำแหน่งเดิม
13
กล้องแบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex)
14
กล้องแบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex)
ข้อเสีย ชำรุดได้ง่าย เพราะการกระดกขึ้นลง ของกระจก 45 องศา เมื่อกดชัตเตอร์จะมีเสียงดังมาก อาจทำให้เกิดการรบกวน ในที่ ๆ แสงมีน้อยอาจทำให้การมองภาพที่ช่องมองไม่ชัดเจนเพราะมีการสะท้อนหลายครั้งที่กระจก และปริซึ่มภายในตัวกล้องทำให้ความเข้ม ของแสงลดลงไปได้ ข้อดี กล้องรีเฟลกซ์เลนส์เดี่ยวส่วนมากใช้ระบบชัตเตอร์ม่านจึงทำให้ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงมาก การเปลี่ยนขนาดของรูรับแสง ก็มีมากฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีเบอร์ 135, 126, 120, 220 และ 110 ซึ่งสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มาก
15
กล้องคอมแพค (Compact Camera)
1. กล้องคอมแพค (Compact Camera) เป็นกล้องที่พัฒนามาจากกล้องขนาดเล็กที่เรียกว่า Miniature เป็นกล้องขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีกลไกอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมโดยอัตโนมัติเกือบทั้งหมด บางคนเรียกว่า กล้อง 35 มม . มาตรฐาน (35 mm. Standard Camera) เพราะใช้กับฟิล์มขนาดมาตรฐานคือ 35 มม . กล้องชนิดนี้เหมาะที่สุด สำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่น เพราะออกแบบเพื่อให้สะดวกสบายในการจับถือ มีทั้งชนิดที่ต้องปรับแต่ง และไม่ปรับแต่งความชัด ความเร็วชัดเตอร์และขนาด ของรูรับแสงกล้องชนิดนี้มีลักษณะกระทัดรัดใช้ง่าย ราคาไม่แพงนัก
16
กล้องคอมแพค (Compact Camera)
17
กล้องนักสืบหรือกล้องเล็กพิเศษ ( Ultra-Miniature Camera / Pocket Camera)
เป็นกล้องที่มีน้ำหนักเบามาก กระทัดรัด มีขนาดเล็ก สามารถพกติดตัวไปได้สะดวกสบาย และสามารถแอบซ่อนเพื่อบันทึกภาพ ในกรณีที่ไม่ให้ผู้ถูกถ่ายรูปสังเกตได้กล้องชนิดนี้ ปรับหน้ากล้องโดยอัตโนมัติ มีไฟแวบ(แฟลช) พร้อมในตัวกล้องใช้ฟิล์ม 16 มม . และกลักเบอร์ 110
18
( Ultra-Miniature Camera / Pocket Camera)
19
กล้องหนังสือพิมพ์ (Press Camera)
กล้องที่ออกแบบใช้กับงานด้านหนังสือพิมพ์ ตัวกล้องมีขนาดใหญ่ ส่วนประกอบของกล้องคล้ายคลึงกับกล้องพับคือมีเบลโล (Bellow) สามารถปรับยืดย่นย่อได้ตามต้องการ ปกติกล้องชนิดนี้ ใช้กับฟิล์ม 120 หรือ ฟิล์มแผ่นขนาด 2 1/4 X 3 1/4 นิ้ว และ 4 X 5 เนื่องจากกล้องมีน้ำหนักมาก ดังนั้นนักข่าวหนังสือพิมพ์ และนิตยสารจึงหันมาใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวแทนกล้องหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน
20
กล้องหนังสือพิมพ์ (Press Camera)
21
กล้อง Medium format ช่างภาพอาชีพที่รับจ้างถ่าย เช่นถ่ายภาพแฟชั่น ถ่ายภาพโฆษณา ฯลฯ ที่ต้องการคุณภาพของภาพสูงมากเพื่อไปใช้ในทางพาณิชย์ เช่น ลงตีพิมพ์ในหนังสือ โปสเตอร์ขนาดใหญ่ๆ ภาพต้องคมชัดมาก การขยายภาพก็ต้องใช้ฟิล์มขนาดใหญ่ ซึ่งก็มีกล้อง Medium format นี่แหละที่รองรับได้อย่างเหมาะเจาะ
22
กล้อง Medium format กล้อง Medium format ส่วนใหญ่ก็จะเป็น system camera คือชิ้นส่วนต่างๆสามารถแยกส่วนและมีอุปกรณ์หลากหลาย ที่เปลี่ยนใช้ทดแทนกันได้อย่างสะดวก เช่นเลนส์ระยะต่างๆ , camera back (magazine) สำหรับใส่ฟิล์ม ที่ต้องมีหลายอัน เพราะฟิลม์มีหลายประเภท ทั้งฟิล์มสี ขาวดำ และสไลด์ (แล้วแต่การใช้งาน ไม่เหมือนกล้องดิจิตอล ถ่ายมันอย่างเดียว แล้วไปปรับเปลี่ยนในคอมฯ) เวลาถ่ายไม่หมดม้วน ก็สามารถถอดเปลี่ยนใช้ได้ทันที , มีหัวกระโหลก view finder แบบต่างๆ เป็นต้น
23
กล้อง Medium format
24
กล้อง Medium format มักจะเป็นกล้องระบบ manual ขณะที่กล้องเล็กๆ แบบกล้อง compact มีระบบ autofocus มาตั้งแต่ปี 1977 แต่ medium format เพิ่งจะมีใช้กันเมื่อปี 1990 คงเพราะตลาด หรือผู้ใช้ที่เป็นมืออาชีพไม่ต้องการให้กล้องถ่ายภาพทำงานให้แทน เพราะภาพที่ต้องการความสวยงามหรือศิลปชั้นสูงนั้น ต้องมีความพิถีพิถันในการปรับค่าต่างๆ ที่ระบบ autofocus มันไม่ยืดหยุ่นดีพอนั่นเอง
25
กล้อง Medium format
26
กล้อง Medium format ฟิล์มมาตรฐานของกล้อง medium format คือ 120 (คือขนาด 6 x 6 ซม.) ซึ่งเป็น format จตุรัส แต่ก็ยังมีขนาด 220 และ 645 (6x 4.5) ที่เล็กลงและเป็น format ผืนผ้า ข้อเสียของกล้อง medium format เมื่อใช้ฟิล์ม 120 ก็จะถ่ายได้ 12 ภาพ ทำให้ต้องเปลี่ยนฟิล์มบ่อยๆ ทำให้ยุ่งยากและเสียเวลามาก ต่างกับกล้อง 35 มม.ที่ถ่ายได้ 36 ภาพ กล้อง medium format จึงมี magazine ใส่ฟิลม์ที่แยกส่วนได้ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น
27
กล้อง Medium format
28
กล้องใหญ่ (Studio Camera)
กล้องวิว (View Camera) เป็นกล้องที่นิยมใช้ตามร้าน ถ่ายรูปเพื่อธุรกิจการค้า กล้องชนิดนี้มีขนาดใหญ่โตมีน้ำหนักมากจึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งานภายนอกห้องถ่ายรูปและในการใช้กล้องจำเป็นต้องมีขาตั้ง (Tripod) รองรับตัวกล้อง ตัวกล้องยังเป็นการทำงานแบบโบราณ อาศัยหลักการและส่วนประกอบแบบโบราณเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดคือตัว “กระโปรง” ที่ทำหน้าที่เป็นห้องมืด การทำงานอาศัยกลไกทั้งหมดอยู่ที่เลนส์ตัวหน้า ด้านหลังเป็นกระจกฝ้ารับภาพเพื่อจัด composition และ focus
29
กล้องใหญ่ (Studio Camera)
ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้เป็นฟิล์มแผ่นมีขนาดต่าง ๆ เช่น 2 X 3 นิ้ว 5 X 7 นิ้ว 8 X 10 นิ้ว และ 11 X 14 นิ้ว เมื่อถ่ายรูปเสร็จสามารถถอดฟิล์มออกได้ทันที ข้อดีของกล้องชนิดนี้คือจะไม่เกิด อาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) และยังสามารถมองเห็นภาพที่ช่องมองได้อย่างดี เพราะที่มองมีขนาดใหญ่ ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพที่จะบันทึกนั้นได้ดีเนื่องจากมีกระจกขยายอันเป็นส่วนประกอบในช่องมองภาพ นอกจากนั้นยังสามารถปรับมุมของภาพได้ตามต้องการอย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบคือ ภาพที่เกิดขึ้นที่ช่องมองภาพนั้นจะมีลักษณะหัวกลับและกลับซ้ายขวา อีกทั้งภาพจะไม่ชัดเจนดังนั้นผู้ถ่ายรูปต้องใช้ผ้าสีดำ คลุมข้างหลังกล้องบนช่องมองภาพ และคลุมศีรษะผู้ใช้ให้สามารถมองภาพได้ชัดเจน ในขณะปรับความคมชัด
30
กล้องใหญ่ (Studio Camera)
31
กล้องใหญ่ (Studio Camera)
32
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
เป็นกล้องที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับถ่ายภาพเฉพาะอย่างตามลักษณะของงาน ได้แก่ กล้องโพลาลอยด์ (Polaroid camera) เป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพแล้วอัดภาพลงกระดาษออกมาได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์มและอัดขยายภาพ สร้างภาพภายในเวลาเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ภาพที่จะเป็นภาพโฟสิติฟ (Positive) กล้องชนิดนี้เหมาะในการใช้งานที่ต้องการความรวดเร็วรีบด่วน และเพื่องานบางอย่างเท่านั้น ข้อเสียก็คือ ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูงและภาพที่ได้ไม่มีความคงทนเก็บไว้ได้ไม่นาน เหมือนขบวนการถ่ายรูปทั่ว ๆ ไป
33
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
34
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องพาโนรามา (Panoramic camera) เป็นกล้องที่สามารถหมุนตามแนวนอน แสงหักเหจากเลนส์ผ่านช่องแคบๆ ซึ่งหมุนตามเลนส์ไปตกลงบนฟิล์มซึ่งวางในแผงโค้งตลอดแนวด้านหลังกล้อง สามารถถ่ายภาพมุมกว้างถึง 140๐
35
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องถ่ายภาพใต้น้ำ(Underwater camera) เป็นกล้องที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ถ่ายภาพใต้น้ำ จึงต้องบรรจุในกล่องที่แข็งแรงและสามารถป้องกันน้ำเข้าได้ ทนทานต่อแรงกดดัน รวมทั้งต้องมีระบบกลไกควบคุมกล้องจากภายนอกในการปรับโฟกัส เลื่อนฟิล์ม และการกดชัตเตอร์ เช่น กล้อง Nikonos
36
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศ์ (Microscope camera) เป็นกล้องที่ติดตั้งบนกล้องจุลทรรศ์เพื่อถ่ายภาพที่ขยายมาจากกล้องจุลทรรศ์
37
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องถ่ายรูปแบบสเตอริโอ (Stereo Camera) หรือเรียกว่ากล้องถ่ายรูปสามมิติ (Three Dimension Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบ มาเพื่อถ่ายรูปสามมิติ ในตัวกล้องจะมีเลนส์ 2 ตัวเมื่อถ่ายรูปจะได้ 2 ภาพ ซึ่งภาพแรกเป็นภาพที่ตาข้างขวามองเห็น และภาพที่ 2 เป็นภาพที่ตาข้างซ้ายมองเห็น ดังนั้นภาพทั้งสองจึงมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเวลาที่ดูภาพลักษณะนี้ ต้องใช้เครื่องดูภาพพิเศษจึงจะทำให้เห็นภาพ 3 มิติได้อย่างชัดเจน
38
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
39
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
40
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
41
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องถ่ายรูปทางอากาศ (Aerial Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาใช้งานเฉพาะ การถ่ายรูปทางอากาศเท่านั้น มีน้ำหนักมาก ใช้ติดตั้งกับเครื่องบิน หรือยานอวกาศเพื่อการถ่ายรูปสำรวจ หรือทำแผนที่ต่าง ๆ ส่วนประกอบของกล้องชนิดนี้ถูกออกแบบพิเศษมาเพื่อใช้งานเฉพาะจึงไม่สามารถที่จะนำมาใช้ในงานทั่ว ๆ ไปได้
42
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
43
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
44
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องรีโปร (Repro-Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบเพื่อใช้กับงานการพิมพ์ เพื่อถ่ายรูปลายเส้น ภาพแยกสีและพวกฮาลัฟโทน ต่าง ๆ ซึ่งวัสดุต้นแบบอาจเป็น พวกภาพถ่าย หรือภาพวาดก็ได้หากแต่ต้องมีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ
45
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องถ่ายรูปความไวสูง (High Speed Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานถ่ายรูปนิ่งที่ต้องการถ่ายวัตถุที่เคลื่อนที่อย่างเร็วมาก ซึ่งกล้องธรรมดาไม่สามารถถ่ายได้ กล้องชนิดนี้มีความไวของชัตเตอร์สูงมาก อาจใช้ถ่ายรูปลูกปืน หรือลูกธนูที่กำลังเข้าหาเป้าได้
46
กล้องถ่ายภาพเพื่อผลพิเศษเฉพาะอย่าง
กล้องถ่ายรูปสำหรับผลิตภาพขนาดเล็ก (Microphotogra-phic Camera) เป็นกล้องถ่ายรูปที่ออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายรูปขนาดไม่เล็กกว่า 1/10 ของวัตถุต้นฉบับ ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำมาถ่ายรูปวาดวงจรอิเล็กโทรนิคและวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ
47
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิตอล Digital Single Lens Reflex
กล้องดิจิตอล SLR มีต้นกำเนิดมาจากกล้องฟิล์ม SLR และสามารถจัดการกับความต้องการด้านการถ่ายภาพที่แตกต่างกันออกไปได้ด้วยการใช้เลนส์แบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ในทางกลับกัน กล้องดิจิตอลคอมแพคใช้เลนส์ซึ่งไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ดังนั้น ไม่ว่าเลนส์ซูมจะมีพลังมากแค่ไหน ก็เทียบไม่ได้กับเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้สำหรับกล้อง DSLR ที่มีให้เลือกมากมาย
48
1. เทคโนโลยีกระจกสะท้อนภาพแบบโปร่งแสง Translucent Mirror
เป็นการนำกระจกสะท้อนภาพแบบใหม่ซึ่งมีความโปร่งแสงมาใช้แทนชุดกระจกสะท้อนภาพแบบเดิมๆที่ใช้ในกล้อง DSLR ทั่วไป จุดเด่นของกระจกโปร่งแสงก็คือ แสงที่ผ่านจากเลนส์สามารถทะลุตัวกระจกผ่านไปยังเซ็นเซอร์ที่อยู่ด้านใต้ได้เลย ในขณะที่แสงบางส่วนก็จะถูกสะท้อนกลับขึ้นไปยังเซ็นเซอร์โฟกัสภาพ ทำให้ชุดกระจกแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการยกตัวขึ้นในขณะถ่ายภาพเหมือนกล้อง DSLR ทั่วๆไป ช่วยให้สามารถใช้ระบบโฟกัสภาพแบบ Phase Detection ในขณะถ่ายภาพผ่าน Live View และวิดีโอได้ (กล้องสามารถแสดงภาพในโหมด Live View ได้พร้อมๆกับจบโฟกัสแบบ Phase Detection ได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องมีจังหวะที่จอดับเหมือนค่ายอื่นๆ)
49
เทคโนโลยีกระจกสะท้อนภาพแบบโปร่งแสง Translucent Mirror
ระบบ Phase Detection นี้จะทำงานได้รวดเร็ว และแม่นยำกว่าระบบโฟกัสแบบ Contrast Detection ซึ่งเป็นระบบหลักที่ใช้เวลาถ่ายภาพในโหมด Live View และวิดีโอในกล้อง DSLR ทุกรุ่น เทคโนโลยีกระจกโปร่งแสงนี้ทำให้กล้อง DSLR ของโซนี่สามารถโฟกัสภาพได้รวดเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในการถ่ายภาพนิ่งใน Live View และการถ่ายวิดีโอ เทคโนโลยีกระจกสะท้อนภาพแบบโปร่งแสงนี้ยังทำให้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็วขึ้นถึงกว่า 10 เฟรมต่อวินาที เนื่องจากไม่ต้องมีการขยับชุดกระจกสะท้อนภาพ ขึ้น-ลง เหมือนในกล้องยี่ห้ออื่นๆ และยังทำให้ตัวกล้องมีขนาดเล็กลงอีกด้วย
50
เทคโนโลยีกระจกสะท้อนภาพแบบโปร่งแสง Translucent Mirror
ปัจจุบัน DSLR ของโซนี่รุ่นใหม่ๆจะถูกแทนที่ด้วยชื่อ SLT ซึ่งย่อมาจาก Single Lens Translucent นั่นเอง
51
เทคโนโลยีจอภาพทัชสกรีน (Touch Screen)
แคนนอนถือเป็นค่ายแรกที่มีการนำเทคโนโลยีทัชสกรีนมาใส่ในกล้อง DSLR นั่นก็คือกล้องรุ่น EOS 650D ซึ่ง มีจอภาพ Vari-angle (หมุนได้) พร้อมระบบสัมผัส ข้อดีของการนำจอทัชสกรีนมาใช้กับกล้อง DSLR ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ช่วยให้การควบคุมกล้องทำได้สะดวกมากขึ้นการปรับค่าต่างๆ สามารถที่จะแตะคำสั่งบนหน้าจอได้เลยโดยไม่ต้องกดปุ่มใดๆ โดยเฉพาะการโฟกัส ช่างภาพก็สามารถใช้นิ้วแตะไปบนจอภาพเพื่อเลือกจุดโฟกัส หรือจะสั่งให้กล้องโฟกัสแล้วถ่ายภาพเลย (Touch Shutter) ทันทีโดยไม่ต้องแตะปุ่มชัตเตอร์ก็ได้ จอทัชสกรีนของกล้อง EOS 650D เป็นแบบ Capacitive ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ใช้ในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรุ่นในปัจจุบัน จึงทำให้การตอบสนองมีความไวและลื่นไหลเช่นเดียวกัน
52
เทคโนโลยีจอภาพทัชสกรีน (Touch Screen)
53
Built-in Wi-Fi และ GPS แคนนอน EOS 6D ถือว่าเป็นกล้องตัวแรกที่มีระบบภายในตัว ข้อดีของ GPS หลายๆคนคงรู้อยู่แล้วว่าใช้สำหรับบันทึกตำแหน่งที่เราถ่ายลงไปในภาพ ทำให้เราสามารถดูได้เลยว่าภาพที่ถ่ายมาถูกถ่าย ณ สถานที่ใด สำหรับกล้องที่ไม่มี GPS ติดตั้งมาให้หากอยากบันทึกพิกัดที่ถ่ายลงไปในภาพบ้าง ก็ต้องไปหาซื้ออุปกรณ์เสริมมาใช้ ซึ่งก็มาราคาที่ค่อนข้างแพง (เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ) ส่วนระบบ Wi-Fi นอกจากจะช่วยให้เราสามรถส่งภาพถ่ายจากกล้องไปยังคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่มีตัวรับส่งสัญญาณ Wi-Fi เหมือนกันแล้ว เรายังสามารถที่จะใช้อุปกรณ์มือถือทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ในการควบคุมกล้องแบบไร้สาย เช่น การเปิดดูภาพในกล้อง การเล็งภาพในช่องมองภาพผ่านทางหน้าจอแท็บเล็ต พร้อมทั้งสั่งลั่นชัตเตอร์ได้เลย ซึ่งก็มีประโยชน์สำหรับบางงาน เช่น ในงานถ่ายภาพในสตูดิโอหรืองานลักษณะแอบถ่ายโดยไม่ให้แบบรู้ตัว เป็นต้น (เช่น การถ่ายภาพสัตว์ป่า)
54
Built-in Wi-Fi และ GPS
55
กล้อง Mirrorless กล้อง Mirrorless ก็คือกล้องที่มีการผสมผสานข้อดีระหว่างกล้อง 2 แพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน นั่นก็คือมีเซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ ให้คุณภาพสูงเหมือนกล้อง DSLR แต่ในขณะเดียวกันก็มีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาง่ายเหมือนกล้องคอมแพ็ค กล้อง Mirrorless นั้นมีความแตกต่างจากกล้องคอมแพ็คอย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือ สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้เหมือนกล้อง DSLR นั่นเอง
56
กล้อง Mirrorless ความแตกต่างของกล้อง Mirrorless
กล้อง Mirrorless แตกต่างจากกล้อง DSLR คือ กล้อง Mirrorless จะไม่มีชุดกระจกสะท้อนภาพแบบในกล้อง DSLR (เป็นที่มาของคำว่า Mirrorless นั่นเอง) ทำให้สามารถออกแบบตัวกล้องให้มีขนาดที่เล็กลงได้มาก และเมื่อไม่มีชุดกระจกสะท้อนภาพ ช่องมองภาพของกล้อง Mirrorless จึงเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์คือใช้จอ LCD ขนาดเล็ก ติดตั้งไว้ในช่องมองภาพ แต่กล้องหลายๆรุ่นก็ไม่มีช่องมองภาพมาให้จึงต้องเล็งภาพผ่านทางจอ LCD ด้านหลังแทน
57
กล้อง Mirrorless ข้อดี-ข้อเสียของกล้อง Mirrorless ข้อดี
- มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก - ให้คุณภาพสูงพอๆ กับกล้อง DSLR - มีการออกแบบรูปทรงและหน้าตาที่สวยงามทันสมัย มีหลายสีให้เลือก
58
กล้อง Mirrorless ข้อเสีย
- เนื่องจากช่องมองภาพเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์และในบางรุ่นก็ไม่มีช่องมองภาพมาให้ ทำให้ต้องเล็งภาพผ่านจอ LCD ตลอดเวลา จึงเป็นการสิ้นเปลืองแบตเตอร์รี่ - การตอบสนองของกล้องยังช้ากว่ากล้อง DSLR - คุณภาพของไฟล์แม้ว่าจะเทียบเท่ากับกล้อง DSLR แต่ก็ยังมีจุดรบกวนมากกว่า - อุปกรณ์เสริมหลายๆอย่างยังมีจำกัด โดยเฉพาะเลนส์ซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกับกล้อง DSLR ได้โดยตรง ต้องซื้ออแดปเตอร์แปลงเลนส์มาต่อจึงจะสามารถนำเลนส์มาใช้ร่วมกันได้
59
กล้อง Mirrorless
60
กล้อง Mirrorless
61
กล้อง Mirrorless
62
การแบ่งระดับกล้อง DSLR
กล้องระดับเริ่มต้น (Entry Level) เป็นกล้องสำหรับกลุ่มผู้ใช้มือใหม่ทั่วๆไป ที่เพิ่งจะเริ่มหันมาจับกล้อง DSLR มีจุดเด่นตรงที่มีราคาถูก น้ำหนักเบา มีฟังก์ชั่นการใช้งานครอบคุลมการถ่ายภาพพื้นฐานทั่วๆไป มีโหมดอัตโนมัติให้เลือกใช้งานครบครัน บางรุ่นสามารถถ่ายวิดีโอได้ ส่วนที่เป็นรองกล้องในกลุ่มอื่นๆ คือเรื่องของวัสดุที่ดูบอบบางกว่า (โครงสร้างเป็นสแตนเลส) ความเร็วในการทำงานที่ช้ากว่า เช่น การถ่ายต่อเนื่องหรือการโฟกัส ขนาดที่เล็กกว่า โดยรวมแล้วกล้องกลุ่มนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่อชอบการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก แต่ไม่ได้คิดจริงจังเป็นอาชีพ หรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR
63
การแบ่งระดับกล้อง DSLR
กล้องระดับกึ่งมืออาชีพ (Semi-pro Level) กล้องในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพการทำงานในด้านต่างๆสูงกว่ากล้องในระดับต้น ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง (โครงสร้างเป็นแม็กนีเซียมอัลลอย) มีการซีลกับฝุ่นและละอองน้ำ มีขนาดและน้ำหนักที่มากกว่า ความเร็วในการทำงานที่เร็วขึ้นระบบการทำงานหลายๆส่วนจะมีมาให้เหมือนกับในกล้องรุ่นโปร แต่ก็ยังมีโหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติอยู่ กล้องในกลุ่มนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับการใช้งานกล้อง DSLR มาบ้างแล้วหรือผู้ที่จริงจังกับการถ่ายภาพ
64
การแบ่งระดับกล้อง DSLR
กล้องระดับมืออาชีพ (Pro Level) เป็นกล้อง DSLR ระดับสูงสุดของค่าย กล้องในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่ากล้องระดับอื่นในทุกๆด้าน เริ่มตั้งแต่บอดี้ภายนอกที่ดูบึกบึน มีขนาดใหญ่ มีโครงสร้างที่แข็งแรง ซีลรอยต่อต่างๆเป็นอย่างดี ทนทานต่อทุกสภาพการใช้งาน สำหรับคุณภาพของภาพไม่ต้องพูดถึง เรียกได้ว่าสูงมาก เนื่องจากใช้เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับฟิล์ม 35 มม. (Full-frame) ถ่ายภาพต่อเนื่องได้รวดเร็ว ระบบวัดแสงที่ทำงานได้แม่นยำกว่า จุดโฟกัสที่มีมากกว่า ฯลฯ กล้องในระดับนี้จึงเหมาะสำหรับช่างภาพมืออาชีพอย่างแท้จริง และแน่นอนว่าเป็นกล้อง DSLR ที่มีราคาแพงที่สุดในกลุ่มด้วย
65
แนะนำกล้อง DSLR ที่น่าสนใจ
รุ่น 6D D5200 650D เซ็นเซอร์และความละเอียด ชนิด CMOS ขนาด 36.0x24.0 มม. 20.2 ล้านพิกเซล ชนิด CMOS ขนาด 23.5x15.6 มม. 24.1 ล้านพิกเซล ชนิด CMOS ขนาด 22.3x14.9 มม. 18.0 ล้านพิกเซล ชิปประมวลผล DIGIC 5+ EXPEED 3 DIGIC 5 ระบบ Live View มี จุดโฟกัส 11 จุด จุดกลางเป็นแบบกากบาท 39 จุด เป็นกากบาท 9 จุด 9 จุด แบบกากบาททุกจุด ถ่ายต่อเนื่อง สูงสุด 4.5 ภาพ ต่อวินาที สูงสุด 5 ภาพ ต่อวินาที ระบบวัดแสง แบบแบ่งพื้นที่ (Evaluativel), เฉพาะส่วน (Partial), เฉลี่ยหนักกลาง (Center-Weighted), เฉพาะจุด (Spot) แบบระบบวัดแสงเฉลี่ย 3 มิติ (3D color matrix), เฉลี่ยหนักกลาง (Center-Weighted), เฉลี่ย (Average), เฉพาะจุด (Spot) ความไวแสง (ขยายได้สูงสุดถึง ) (ขยายได้สูงสุดถึง 25600) (ขยายได้สูงสุดถึง 25600) ถ่ายวิดีโอ ได้ระดับ Full HD แฟลชในตัว ไม่มี มีไกด์นัมเบอร์ 12 (ISO 100/เมตร) มีไกด์นัมเบอร์ 13 (ISO 100/เมตร) จอ LCD กว้าง 3 นิ้ว 1,040,000 พิกเซล กว้าง 3 นิ้ว 921,000 พิกเซล แบบพับหมุนได้ กว้าง 3 นิ้ว 1,040,000 พิกเซล พับหมุนได้เพราะระบบสัมผัส หน่วยความจำที่ใช้ SD/SDHC/SDXC
66
รุ่น D800 D600 5D MK III เซ็นเซอร์และความละเอียด ชนิด CMOS ขนาด 35.9x24.0 มม. 36.3 ล้านพิกเซล ชนิด CMOS ขนาด 35.9x24 มม. 24.3 ล้านพิกเซล ชนิด CMOS ขนาด 36.0x24.0 มม. 22.3 ล้านพิกเซล ชิปประมวลผล EXPEED 3 DIGIC 5+ ระบบ Live View มี จุดโฟกัส 51 จุด เป็นกากบาท 15 จุด 39 จุด เป็นกากบาท 9 จุด 61 จุด เป็นกากบาท 41 จุด ถ่ายต่อเนื่อง สูงสุด 4 ภาพ ต่อวินาที สูงสุด 5.5 ภาพ ต่อวินาที สูงสุด 6 ภาพ ต่อวินาที ระบบวัดแสง แบบระบบวัดแสงเฉลี่ย 3 มิติ (3D color matrix), เฉลี่ยหนักกลาง (Center-Weighted), เฉลี่ย (Average), เฉพาะจุด (Spot) แบบแบ่งพื้นที่ (Evaluativel), เฉพาะส่วน (Partial), เฉลี่ยหนักกลาง (Center-Weighted), เฉพาะจุด (Spot) ความไวแสง (ขยายได้สูงสุดถึง 25600) (ขยายได้สูงสุดถึง ) ถ่ายวิดีโอ ได้ระดับ Full HD แฟลชในตัว มีไกด์นัมเบอร์ 12 (ISO 100/เมตร) ไม่มี จอ LCD กว้าง 3.2 นิ้ว 921,000 พิกเซล กว้าง 3.2 นิ้ว 1,040,000 พิกเซล หน่วยความจำที่ใช้ Compact Flash (Type I) SD/SDHC/SDXC SD/SDHC/SDXC ช่องคู่
67
การเรียนหัวข้อที่ 3 เซนเซอร์ของกล้อง อัตราส่วนการครอปภาพ ค่าตัวคูณ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.