ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
QMT4102 การควบคุมระบบคุณภาพ Quality System Control
อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ
2
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของการควบคุมคุณภาพ
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของการควบคุมคุณภาพ
3
ประวัติความเป็นมาของการควบคุมคุณภาพ
ยุคเริ่มต้น (ยุคก่อนปี พ.ศ. 2483) 2. ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนปี พ.ศ. 2485) 3. ยุคระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ ) 4. ยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2503-ปัจจุบัน)
4
1. ยุคเริ่มต้น (ยุคก่อนปี พ.ศ. 2483)
ยุคก่อนปี พ.ศ ในยุคนั้นภาพพจน์ของประเทศญี่ปุ่นก็คือเป็นผู้ผลิตสินค้าชั้นเลว แต่ปัจจุบันนี้สินค้าที่ออกจากญี่ปุ่นกลับกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนนิยมในความยอดเยี่ยมในเรื่องคุณภาพ จึงมีผู้อยากรู้กันว่า อะไรกันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือขึ้นได้ สาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เนื่องมาจากการที่นายพล ดักลาส แม็คอาเธอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯที่มาประจำการในญี่ปุ่นตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเงินของประเทศให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นเอง ยิ่งกว่านั้น แม็คอาเธอร์ยังรู้ดีว่าการที่ญี่ปุ่นขาดแคลนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ญี่ปุ่นต้องติดต่อค้าขายกับต่างชาติ และยังรู้อีกว่า ภาพพจน์ของชาวญี่ปุ่นที่ว่า ชอบผลิตสินค้าชั้นเลว จะทำให้มีผู้ซื้อสินค้าญี่ปุ่นไม่กี่ราย
5
ความพยายามของแม็คอาเธอร์ได้รับความร่วมมืออย่างดี จากผู้นำรัฐบาลและนักธุรกิจและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น นอกจากนั้นแม็คอาเธอร์ยังได้รับความช่วยเหลือจากชาวอเมริกันหลายท่านทีเดียว เพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่นในการเพิ่มคุณภาพของสินค้า ซึ่งในบรรดานี้ก็มีคนๆหนึ่งชื่อ ดร.เอ็ดเวิร์ด ดับบริว เดมมิ่ง ผู้ริเริ่มระบบ คิว.ซี.ทางสถิติ (SQC) สำหรับชาวญี่ปุ่น ได้มาช่วยสอนวิชาการควบคุมคุณภาพ โดยเน้นในการใช้สถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ (SQC) และผลที่ได้รับก็คือ ชาวญี่ปุ่นยินยอมรับรู้และเรียนเทคนิคนี้อย่างตั้งอกตั้งใจ
6
แนวคิดในการบริหารคุณภาพของเดมมิง (Deming)
เดมมิงได้รับเกียรติให้เป็นบิดาแห่งการควบคุมคุณภาพในประเทศญี่ปุ่น และได้สรุปความสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพโดยชี้ให้เห็นถึงปฏิกิริยาลูกโซ่ 5 ขั้นตอน ที่จะเกิดขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงคุณภาพ โดยลดการทำงานซ้ำซ้อน ลดข้อผิดพลาดต่างๆ ลดความล่าช้าลง ให้มีการใช้เวลาและวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเพราะสินค้ามีคุณภาพและราคาเหมาะสม องค์กรมีผลกำไรสูงและอยู่รอดในธุรกิจได้ ปริมาณงานเพิ่มขึ้น เดมมิงสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาให้เป็นระบบ (problem solving) และภายหลังพัฒนาเป็น วงจร PDCA (PDCA Cycle)
7
วงจรเดมมิง (The Deming Cycle หรือ The Deming Wheel) หรือ วงจรชิวฮาร์ท (The Shewhart Cycle) สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการ 4 ขั้นตอน
8
2. ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนปี พ.ศ. 2485)
2. ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนปี พ.ศ. 2485) - ในปี พ.ศ ดร.ชิวฮาร์ด(Dr. W.A. Schewhart ) จากบริษัท Bell Laboratories ได้ตีพิมพ์บทความเรื่องราวการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ โดยอาศัยหลักการของแผนภูมิการควบคุม (control chart) แล้วนำมาประยุกต์ใช้เฉพาะในสายการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจนได้ผลดี ซึ่งได้รับการยอมรับและนิยมใช้อย่างแพร่หลายตราบเท่าทุกวันนี้
9
-ในปี พ. ศ. 2468 เช่นเดียวกัน ดร. ดอดจ์ (H. F
-ในปี พ.ศ.2468 เช่นเดียวกัน ดร.ดอดจ์ (H.F. Dodge) ได้เสนอหลักการชักตัวอย่าง เพื่อการยอมรับสินค้าหรือชิ้นงาน และวิธีการสร้างแผนชักตัวอย่าง โดยกำหนดค่าความเสี่ยงของผู้บริโภคและความเสี่ยงของผู้ผลิต -ในปี พ.ศ.2485 ได้มีกลุ่มผู้สนใจในงานการควบคุมคุณภาพรวมตัวกันเพื่อการจัดตั้งกลุ่มวิจัยทางสถิติ (The statistical Research Group) ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลุ่มวิจัยนี้ได้ร่วมกันทำงานวิจัยด้านการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ โดยมีผลงานที่สำคัญๆ ประกอบด้วย -ในปีพ.ศ.2488 การวิเคราะห์เชิงลำดับสำหรับข้อมูลทางสถิติการประยุกต์ (sequential analysis of statistical data applications) - ในปีพ.ศ.2490 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ (techniques of statistical analysis) - ในปีพ.ศ.2491 การตรวจสอบโดยวิธีชักตัวอย่าง (sampling inspection) ซึ่งผลงานเรื่องการตรวจสอบโดยวิธีชักตัวอย่าง ต่อมาได้รับการปรับปรุงและใช้เป็นมาตรฐานการตรวจสอบที่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
10
3. ยุคระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2485-2503)
3. ยุคระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ ) ในประเทศอเมริกา ในปี พ.ศ.2489 สมาคมและกลุ่มผู้ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น สมาคมแห่งอเมริกาเพื่อการควบคุมคุณภาพ(American Society for Quality Control) สมาคมแห่งนี้ได้รับมีบทบาทอย่างสำคัญต่อการพัฒนาหลักการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมมาจวบจนยุคปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่น เดือนมีนาคม พ.ศ.2493 ได้มีการกำหนด มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JIS : Japanese Industrial Standards) ขึ้นภายใต้กฎหมายมาตรฐานอุตสาหรรมของประเทศญี่ปุ่น และได้เริ่มต้นปฏิบัติตามระบบ JIS ด้วยการตรวจสอบการควบคุมคุณภาพตามบริษัทต่างๆ ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2493 ดร.เดมมิ่ง ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันในเรื่อง SQC ได้รับเชิญจากสหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น( Japanese Union of Scientists and Engineers หรือ JUSE) ให้ไปบรรยายเรื่องวิธีการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (SQC หรือ Statistical Quality Control) ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น หลักสูตรการบรรยาย 8 วันที่ดร.เดมิ่งได้ไปบรรยายไปนั้น โดยญี่ปุ่นได้รับมาใช้อย่างจริงจัง และได้กลายเป็นพื้นฐานอย่างสำคัญต่อการพัฒนาทางอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน
11
ดร.เดมมิ่ง ได้ทำนายว่า หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมรับหลักการ SQC นี้แล้ว ชาติต่างๆในโลกก็มีหวังต้องกำหนดโควต้าสั่งสินค้าเข้า เพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าญี่ปุ่น ภายหลังระยะเวลา 5 ปีหลังจากนี้เท่านั้น เพราะสินค้าญี่ปุ่นมีผู้ต้องการซื้อมากขึ้น ในปี พ.ศ ได้มีการกำหนดรางวัลยอดเยี่ยมให้แก่โรงงานที่มีผลงานด้านการควบคุมคุณภาพในประเทศญี่ปุ่น โดยให้ตั้งชื่อว่า รางวัลเดมมิ่ง ( Deming prize ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. เดมิ่ง ในปี พ.ศ ดร.เจ.เอ็ม.จูแรน (Dr.J.M.Juran) ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายในการสัมมนาเรื่อง การจัดการงานควบคุมคุณภาพ (QC Management) ซึ่งจัดขึ้นโดย JUSE
12
ดร.เจ.เอ็ม.จูแรน ซึ่งก็เป็นอีกบุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการพัฒนาของการควบคุมคุณภาพในยุคปัจจุบัน ดร.จูแรน เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ผลงานของ ดร. จูแรน มีมากมายทั้งบทความและหนังสือ เขาได้เน้นเสมอว่าการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี จะต้องเกิดจากการตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพสินค้าของผู้บริหารระดับสูง การให้การศึกษาอบรมด้านคุณภาพสินค้าแก่คนงานทุกคนแม้ในระดับปฏิบัติการ และการให้ความสำคัญในด้านคุณภาพสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยตลาด การออกแบบสินค้า ความสัมพันธ์กับผู้ผลิต และจำหน่ายชิ้นส่วน การผลิต การจัดส่ง และอื่นๆ และ ดร. จูแรน ได้ให้ข้อสังเกตว่า การบริหารคุณภาพประกอบด้วย การวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และปรับปรุงคุณภาพ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีการดำเนินการทั้ง 3 ด้าน และมีการประกันคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจ
13
แนวคิดในการบริหารคุณภาพของจูแรน
จูแรนนับว่าเป็นผู้นำในการศึกษาด้านคุณภาพในประเทศญี่ปุ่น โดยคิดกระบวนการในการบ่งชี้และการบริหารกิจกรรมประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ การวางแผนคุณภาพ (Quality Planning, QP) การควบคุมคุณภาพ (Quality Control, QC) การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement, QI) โดยได้เรียกศาสตร์ในการบริหารคุณภาพดังกล่าวว่า “ไตรศาสตร์ด้านคุณภาพ” (The Quality Teilogy) หรือ “ไตรศาสตร์ของจูแรน” (The Juran Trilogy) และจุดประสงค์ด้านการบริหารคุณภาพขององค์กร คือ การประกันคุณภาพ (Quality Assurance, QA) ซึ่ง หมายถึง การสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดแก่ลูกค้า
14
ในประเทศญี่ปุ่นเองบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่ามีบทบาทอย่างสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นคือ ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาวา (Kaoru Ishikawa) ซึ่งเริ่มเรียนรู้หลักการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติในปี พ.ศ.2493 และได้พบกับ ดร.ชิวฮาร์ด ในปีพ.ศ.2501 เมื่อครั้งที่ไปเยือนเอทีแอนด์ที และห้องปฏิบัติการเบลล์ ดร.อิชิกาวา ได้เริ่มนำหลักการของแผนภูมิควบคุมมาสอนและประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ ดร.อิชิกาวา คือ แผนภูมิก้างปลาหรือแผนภูมิเหตุและผล เพื่อใช้ในการระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาด้านคุณภาพ
15
แนวคิดในการบริหารคุณภาพของอิชิกะวะ
แนวคิดของอิชิกาวะได้รับอิทธิพลมาจากเดมมิงและจูแรน เน้นเรื่องการนำการบริหารคุณภาพไปปฏิบัติ เขาได้รับเกียรติให้เป็นผู้บุกเบิกแนวคิด เรื่องวงจรคุณภาพ และเป็นผู้พัฒนาแผนภาพแสดงเหตุและผล
16
4. ยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2503-ปัจจุบัน)
นับแต่ทศวรรษที่ 2503 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมในโลกเสรีได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้เกิดสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่เข้มข้น ตลอดจนการเกิดของประเทศผู้นำทางอุตสาหกรรมใหม่ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นต้น ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพสินค้า การพัฒนาด้านเทคนิคและวิธีควบคุมคุณภาพให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทอย่างสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมคุณภาพคือ กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้พิมพ์เผยแพร่มาตรฐานการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ที่เรียกว่า มาตรฐานทางการทหาร(Military standard) สำหรับมาตรฐานทางการทหารส่วนใหญ่ จะได้รับการยอมรับให้กำหนดเป็นมาตรฐานANSI (American National Standard Institute) อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ยังคงดำเนินกิจกรรมด้านการควบคุมคุณภาพโดยประสานงานร่วมมือกับกลุ่มประเทศต่างๆ เช่น กลุ่ม ABCAที่ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต NATO
17
ในปัจจุบันหลักการและแนวคิดด้านการควบคุมคุณภาพ มิได้เน้นเฉพาะด้านเทคนิคหรือวิธีการควบคุมคุณภาพแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้เน้นถึงในด้านการประสานงาน และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกหน่วยในองค์การตลอดจนมีการเสริมสร้างทักษะและความเข้าใจด้านคุณภาพสินค้าให้แก่บุคคลากรทุกระดับ ซึ่งแนวความคิดนี้ เอ. วี.ไฟเจนบอม (A.V. Feigenbaum) จาก บริษัท General Electric ของอเมริกัน เสนอไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ชื่อว่า การควบคุมคุณภาพสมบูรณ์แบบ หรือ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control : TQC) ซึ่งแนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับ และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังในประเทศญี่ปุ่น จนทำให้สินค้าจากประเทศญี่ปุ่นมีคุณภาพดีจนสามารถแข่งขันได้ในโลกปัจจุบัน
18
จึงอาจกล่าวได้ว่ากิจการใดมีการบริหาร โดยยึดคุณภาพเป็นเป้าหมายรวม เป็นแกนกลาง เรียกว่ามีการบริหารระบบ TQC หรือการบริหารทั่วทั้งองค์การ ทั้งนี้เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่2 เริ่มแรกนั้นญี่ปุ่นใช้ SQC (Statistical Quality Control) แล้วก็เกิดกลุ่ม QCC (Quality Control Circle) ขึ้น ทั้ง SQC และ QCC ได้มีการพัฒนาตัวเองตลอดในช่วง 40 กว่าปีมานี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาต้องประสพกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย แต่ก็ได้แก้ไขเรื่อยมาจนกระทั่งพบว่า บทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จำเป็นต้องมีในกิจกรรม QC เป็นสิ่งสำคัญที่มักจะถูกมองข้าม จนทำให้เป็นอุปสรรคอันเป็นปัญหาของกิจกรรม QC ขึ้น และปัญหานี้ก็ได้เกิดขึ้นในญี่ปุ่นมาแล้ว หนทางแก้ไขก็คือ การเน้นบทบาทและเอาใจใส่ต่อกิจกรรมQC ของผู้บริหารระดับสูงให้มากขึ้น ซึ่งนี่ก็คือหนึ่งในที่มาของ TQC ในประเทศญี่ปุ่น อันเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของ QCC
19
TQC ของญี่ปุ่นนี้มีแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างจาก TQC ของ
ดร. ไฟเจนบอม คือ QC จะต้องดำเนินการโดยพนักงานทุกคนทั่วทั้งองค์การ ไม่ใช่แค่ผู้เชี่ยวชาญ QC เท่านั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ญี่ปุ่นจึงเรียก TQC แบบญี่ปุ่นว่า Company Wide Quality Control (CWQC)แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นต้นกำเนิดของ QC หรือ TQC แต่เมื่อเห็นว่าวิธีการของญี่ปุ่นใช้ได้ผลดี จึงพยายามนำแนวทาง TQC แบบญี่ปุ่นกลับมาใช้ในอเมริกา และตั้งชื่อใหม่ว่า Total Quality Management (TQM)( ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า คำว่า QC ในอดีตนั้นหมายถึง SQC แต่ปัจจุบันนี้ QC หมายถึง TQC CWQC และ TQM )
20
แนวคิดในการบริหารคุณภาพของไฟเจนบอม
ไฟเนบอมให้คำนิยามของคุณภาพไว้ว่า หมายถึง การสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนต่ำสุด (Customer satisfaction at the lowest cost) และเป็นผู้เสนอแนวคิด เรื่องการควบคุมคุณภาพทั้งองค์กร (Total Quality Control, TQC) ไฟเนบอม กล่าวว่า คุณภาพไม่ได้หมายถึงดีที่สุดเท่านั้น (quality does not mean “best”) หมายถึง ดีที่สุดสำหรับการใช้งานของลูกค้าและราคาขาย (best for the customer use and selling price) การควบคุมคุณภาพ ได้แก่เครื่องมือ สำหรับการจัดการ 4 ขั้นตอน คือ (4 steps of management tool) การกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพ ประเมินและปรับปรุงการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ปฏิบัติตามมาตรฐานที่ดี วางแผนและพัฒนาทุกกระบวนการที่มีผลต่อการนำไปสู่มาตรฐาน
21
บุคคลอีกท่านหนึ่งในยุคปัจจุบันที่ได้รับการยกย่องว่ามีบทบาทในการกระตุ้นให้องค์กรตระหนักในเรื่องคุณภาพสินค้าคือ ดร.ฟิล ครอสบี (Phil Crosby) อดีตรองประธานกรรมการและกรรมการด้านคุณภาพของบริษัท ไอทีที (ITT) แห่งสหรัฐอเมริกา จากประสบการณ์อันยาวนานกว่า 25 ปี ของ ดร.ครอสบี เขาได้เขียนหนังสือที่สำคัญไว้ 2 เล่มคือ Quality Is Free และ Quality Without Tears ในปี พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2528 ตามลำดับของ ดร.ครอสบี เน้นให้เห็นว่าคุณภาพ สินค้าที่ดี สามารถได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่ยากลำบากอะไรเลย ถ้าเพียงแต่ผู้บริหารทุกระดับจะเอาใจใส่และมีมาตรการในการควบคุมอย่างจริงจัง
22
แนวคิดในการบริหารคุณภาพของครอสบี
แนวคิดของครอสบีที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ การทำทุกอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม (Do it right first time) และต้องไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น (Zero Defect) กระบวนการพัฒนาคุณภาพของครอสบีจะอยู่บนพื้นฐาน 4 ข้อ (Four Absolutes of Quality Management) ได้แก่ คุณภาพ ได้แก่ การทำตามคำเรียกร้อง ไม่ใช่ทำดีหรือเด่นกว่า คุณภาพ ได้มาจากการป้องกัน ไม่ใช่การประเมิน มาตรฐานของการทำงาน คือต้องไม่มีความผิดพลาด ไม่ใช่เพียงแค่ใกล้เคียง คุณภาพ วัดได้จากสิ่งที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ ไม่ใช่เพียงแค่พิจารณาจากดัชนีบ่งชี้
23
สรุปได้ว่า ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะไม่มีประเทศอื่นใดเลยที่สนใจกันในเรื่องนี้ และด้วยความพยายามอย่างสูงของญี่ปุ่น ทุกวันนี้ชื่อเสียงในด้านคุณภาพสินค้าของญี่ปุ่น กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ พากันอิจฉาและยกย่องกันทั่วโลก ซึ่งมีหลายคนที่รู้สึกว่าญี่ปุ่นได้พิชิตความเป็นผู้นำด้านคุณภาพก่อนปี2523 เสียด้วยซ้ำ
24
กิจกรรมท้ายบท ให้นักศึกษาสรุปประวัติความเป็นมาของการควบคุมคุณภาพทั้ง 4 ยุค พร้อมทั้งสรุปว่าแต่ละยุคมีความโดดเด่นอย่างไร
25
ระบบการบริหารและควบคุมคุณภาพในงานการผลิต
27
“ของดี ราคาถูก” “ของดี” หมายถึง ? “ถูก” ราคาเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า “ถูก”
28
“ของดี” ผู้บริโภคหมายถึงอะไร
รูปทรงทันสมัย สวยงาม ทนทาน ใช้งานง่าย ปลอดภัย มีคุณค่า มีความสม่ำเสมอ ราคาถูก ส่งมอบตรงเวลา “คุณภาพ” จึงหมายถึงคุณสมบัติต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวสินค้านั้น
29
การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
คุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวสินค้า ทำให้คุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวสินค้าเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภคในระดับดี คำนึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภค อุตสาหกรรมการผลิต คำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ทำงาน จัดสภาวะการทำงานให้ผู้ทำงานมีความพึงพอใจ มีความปลอดภัย ไม่มีมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังต้องทำด้วยต้นทุนต่ำ ดังนั้น การควบคุมคุณภาพ หมายถึง “การกระทำซึ่งได้มาถึงคุณสมบัติของสินค้าอันพึงประสงค์เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ผู้ทำงาน มีความปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยต้นทุนที่ต่ำ”
30
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) หมายถึง กระบวนการในการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการของลูกค้าและพยายามดูแลแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดโดยมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม เป็นการเฝ้าพินิจผลจากกระบวนการเพื่อเปรียบเทียบกับความคาดหวังของลูกค้า หากพบว่าผลการดำเนินการตามกระบวนการไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังที่ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจแล้วจะต้องค้นหาสาเหตุของความไม่พอใจ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง การตรวจสอบและรักษาไว้ซึ่งระดับคุณภาพของสินค้าหรือกระบวนการผลิต โดยมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและมีการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อรักษาระดับความต้องการของลูกค้า
31
ภารกิจของการควบคุมคุณภาพแบบทั่วองค์กร
32
ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์
ลักษณะเฉพาะหรือมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการเชื่อมโยงให้ผู้ออกแบบ ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความเข้าใจตรงกันถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และเป็นตัวบ่งบอกถึงระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กัน ความต้องการของผู้บริโภค คุณภาพที่ต้องการ ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น 2 ด้าน 1. ลักษณะเฉพาะทางด้านสมรรถนะ ผลิตภัณฑ์มีของเขตของการทำงานเป็นอย่างไร เช่น เครื่องชั่งไฟฟ้าบอกค่าเป็นตัวเลข ซึ่งถูกต้องถึงทศนิยม 4 ตำแหน่ง 2. ลักษณะเฉพาะทางด้านแบบ แผนผัง และคำอธิบายที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์มีรูปร่างและขนาดอย่างไร ทำด้วยวัสดุอย่างไร
33
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
1. สมรรถนะ เป็นการประเมินระดับสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ ว่า สามารถทำงานได้ในระดับที่ถูกใจผู้บริโภคต้องการมากน้อยเพียงใด สำเร็จถูกต้องและแม่นยำและเรียบร้อย 2. ความมั่นใจได้ ผลิตภัณฑ์ที่จะออกสู่ตลาด ควรผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค 3. ซ่อมแซมได้ง่าย ซ่อมแล้วสามารถใช้งานได้ดีเหมือนเดิม เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก 4. ความประทับใจเมื่อได้เป็นเจ้าของ สะดุดตา ประทับใจเมื่อเห็น ใช้งานสะดวก คล่องแคล้ว เพิ่มความเชื่อถือและอยากเป็นเจ้าของ เช่น รูปร่าง วัสดุ สี เนื้อผิว ใช้งานง่าย 5. ความปลอดภัย คำนึงถึงความปลอดภัย รับผิดชอบในความปลอดภัยของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ บอกวิธีการป้องกันและแก้ไข 7. ความทันสมัย จะประสบผลสำเร็จจะต้องมีจุดอ่อนน้อยที่สุด และออกสู่ตลาดได้ในเวลาที่เหมาะสม ทำให้ผู้ใช้รู้สึกโก้ และทันสมัย 6. ค่าใช้จ่าย เป็นปัจจัยสำคัญมาก ค่าใช้จ่ายนี้ไม่เพียงของผู้บริโภค แต่รวมถึงค่าใช้จ่ายผู้ผลิตในการผลิตสินค้าด้วย 8. การผลิตได้ง่าย ผลิตได้ง่าย ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ออกแบบให้มีชิ้นส่วนน้อยที่สุด
34
การควบคุมคุณภาพในระบบการผลิต
ระบบการผลิต คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่าขึ้นมาโดยการใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ คน วัตถุดิบ พลังงาน เครื่องจักร วิธีการ โดยผู้บริหารทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการผลิต แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน วัตถุดิบ กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ข้อมูล ข้อมูล ข้อมูล การควบคุมคุณภาพ
35
มาตรฐานของการควบคุม กำหนดมาตรฐานของคุณภาพ ได้แก่ มาตรฐานของวัตถุดิบแต่ละชนิด ขั้นตอน กระบวนการผลิต ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร กำหนดมาตรฐานของการตรวจสอบ ได้แก่ วิธีการตรวจสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปว่าต้องทำอย่างไร เครื่องมือวัด การสอบเทียบหรือรับรองคุณภาพมาตรฐานที่กำหนด นำไปวัดหรือทดสอบ กำหนดมาตรฐานของวิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการตรวจ 100% หรือการสุ่มตัวอย่าง ต้องมีการกำหนดจุดสุ่มตัวอย่าง ขนาดของตัวอย่าง การยอมรับหรือปฏิเสธ สิ่งที่ตรวจเมื่อไร อย่างไร นั่นคือต้องมีแผนการสุ่มตัวอย่าง
36
มาตรการในการควบคุมคุณภาพ
มาตรการที่ทำเป็นประจำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามที่ต้องการ คุณสมบัติสม่ำเสมอ โดยมีของเสียน้อยที่สุด 1) การควบคุมวัตถุดิบ โดยทำการสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบมาตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ 2) การควบคุมกระบวนการผลิต ควบคุมขั้นตอนการผลิตให้ตรงตามมาตรฐาน ตรวจสอบผลผลิตที่ผ่านมาในแต่ละขั้นว่ามีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ ก่อนส่งไปยังขั้นตอนการผลิตที่อยู่ถัดไป 3) การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วัตถุดิบได้ผ่านการแปรรูปออกมาจนเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ทุกขั้นตอนผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ก็น่าที่จะได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน เพื่อความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
37
มาตรการในการควบคุมคุณภาพ (ต่อ)
ข) มาตรการเพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนา เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ให้มีของเสียหรือลดปริมาณของเสีย 1) การจัดเก็บสถิติการผลิต เก็บข้อมูลปัญหา เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เป็นข้อมูลไว้ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา 2) การวิเคราะห์หาต้นเหตุของปัญหา นำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาต้นเหตุของปัญหา เช่น ความล่าช้า ปัญหาความเสียหาย เป็นต้น 3) การกำหนดวิธีการแก้ไขและป้องกัน เมื่อวิเคราะห์จนทราบต้นเหตุของปัญหา จะได้กำหนดวิธีการแก้ไขและวิธีการป้องกันต่อไป จุดที่ทำการตรวจสอบ ขั้นการเก็บหรือพัก (Storage) เพราะสะดวกในการตรวจสอบ ตรวจก่อนที่จะถึงขั้นทำให้เกิดการเสียหายแก่ชิ้นส่วนและเครื่องจักร ตรวจตรงจุดที่มีการตั้งเครื่องใหม่หรือเริ่มเดินเครื่องใหม่
38
ความสัมพันธ์ของมาตรการต่างๆ ในการควบคุมคุณภาพ
39
ลักษณะการตรวจสอบ การตรวจสอบตามตัวแปร
เพื่อควบคุมลักษณะของชิ้นส่วน ซึ่งผันแปรได้ให้อยู่ในของเขตอันหนึ่ง (Control of variable) ได้แก่ การวัดความยาวหรือน้ำหนักของชิ้นส่วนว่าอยู่ในช่วงที่กำหนดหรือไม่ หรือคุณลักษณะอื่นๆ ที่วัดได้ เช่น ความแข็ง ความเร็ว เป็นต้น 2. การตรวจว่าดีหรือเสีย เพื่อควบคุมจำนวนชิ้นส่วนที่เสีย (Control of defectives) เช่น การตรวจหลอดไฟฟ้าว่าติดหรือการตรวจขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นส่วนว่าลอดผ่านรูกลมได้หรือไม่ ถ้าไม่ลอดถือว่าใหญ่เกินไปเป็นของเสียหรือของที่ไม่ต้องการ เช่น การร่อนทราย เป็นต้น 3. การตรวจตามจำนวนตำหนิ เพื่อควบคุมจำนวนตำหนิบนชิ้นส่วนให้อยู่ในขอบเขต (Control of defects) เช่น จำนวนตำหนิบนเฟอร์นิเจอร์ จำนวนตำหนิบนผืนผ้า จำนวนฟองอากาศในแผ่นแก้ว เป้าหมายของการตรวจสอบ คือ พยายามรักษาคุณภาพให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้ หรือพยายามควบคุมคุณภาพให้ผันแปรอยู่ในขอบเขตอันหนึ่งที่พอจะยอมรับได้
40
ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) ISO 9001:2015
41
ประโยชน์ที่ได้รับจากการบริหารและควบคุมคุณภาพ
ก. ลดค่าใช้จ่ายภายในโรงงาน 1. ทำให้เกิดความเสียหายน้อยลง เป็นการลดค่าความเสียหาย 2. ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องทำงานซ่อม ทำให้ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน 3. ไม่ต้องลดเกรดของสินค้า จึงขายได้ในราคาที่ตั้งไว้ ทำให้ไม่ขาดรายได้ 4. ลดค่าใช้จ่ายในการแยกผลิตภัณฑ์ 5. ไม่ต้องหยุดการผลิต ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียค่าแรงงานและค่าเครื่องจักรไปโดยเปล่า ประโยชน์ ข. ลดค่าใช้จ่ายภายนอกโรงงาน 1. ลดการถูกต่อว่า และเปลี่ยนสินค้าจากผู้บริโภค ทำให้ไม่เสียชื่อเสียง ไม่เสียค่าสินค้าที่ถูกเปลี่ยน 2. ทำให้ชื่อเสียงองค์กรดีขึ้น ทำให้ยี่ห้อหรือตราสินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ สินค้าจึงขายง่ายขึ้น 3. ทำให้ขายสินค้าได้ตามราคาที่กำหนด จึงได้กำไรตามที่วางเป้าหมายไว้
42
การควบคุม (Controlling)
Ricky W. Griffin กล่าวว่า การควบคุมเป็นประบวนการของกิจกรรมในองค์การ เพื่อให้องค์ประกอบของการปฏิบัติงานและเป้าหมาย ให้คงอยู่ในข้อกำหนดที่ตกลงไว้ และเป็นที่ยอมรับ Flippo การควบคุม หมายถึง การบังคับให้กิจกรรมต่างๆ เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ Koontz and Other การควบคุม หมายถึง กระบวนการวัดและแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ Henri Fayol กล่าวว่า การควบคุมคือ การตรวจสอบดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามแผน ตามคำสั่ง และตามหลักฐานที่ได้จัดทำไว้หรือไม่ มิได้มีผลคลาดเคลื่อนไปจากวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สรุป การควบคุม คือ ความพยายามอย่างมีระบบ เพื่อกำหนดมาตรฐานของการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงกับมาตรฐานที่กำหนดไว้
43
ขั้นตอนของกระบวนการควบคุม
การกำหนดมาตรฐานและวิธีการวัดผลการปฏิบัติงาน การประเมินหรือการวัดผลงาน การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน การปรับปรุงแก้ไข ไม่ต้องปรับปรุงแก้ไข NO YES
44
ขั้นตอนของกระบวนการควบคุม (ต่อ)
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดมาตรฐานและวิธีการวัดผลการปฏิบัติงาน เป็นเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นสำหรับการปฏิบัติงาน ซึ่งผู้บริหารใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เช่นกำหนดมาตรฐานการเย็บเสื้อวันละ 10 ตัว ขั้นตอนที่ 2 การประเมินหรือการวัดผล เป็นกระบวนการของผู้บริหารที่ใช้ เพื่อกำหนดการวัดผลการปฏิบัติงาน เมื่อมีมาตรฐานผู้บริหารต้องกำหนดกระบวนการในการวัดผลการปฏิบัติงาน เช่น รายงานผลการปฏิบัติงาน ในเชิงปริมาณ หรือในรูปของรายงานเอกสาร
45
ขั้นตอนของกระบวนการควบคุม (ต่อ)
ขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน เมื่อได้กำหนดกระบวนการในการวัดผลงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องนำผลของการปฏิบัติงานจริงมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อหาสาเหตุของความแตกต่างและนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่ 4 ต่อไป ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไข หลังจากเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน ผู้บริหารจะนำผลแตกต่างมาปรับปรุงแก้ไข โดยอาจจะแก้ไขเป้าหมายหรือปรับแผนหรือการแก้ไขปรับปรุงในประเด็นของโครงสร้าง หรือทรัพยากรขององค์การ เป็นต้น
46
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความต้องการ ด้านการควบคุม
1. การเปลี่ยนแปลง (Change) 2. การมอบหมายงาน (Delegation) 3. ความสลับซับซ้อน (Complexity) 4. ความผิดพลาด (Mistakes)
47
ลักษณะของการควบคุมองค์การให้มีประสิทธิภาพ
การควบคุมองค์การที่มีประสิทธิภาพ 1. ต้องประหยัด 7. ต้องสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานยอมรับได้ 2.ต้องเป็นการมองเหตุการณ์ล่วงหน้า 8. ต้องมีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์การต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ขององค์การเพื่อการแข่งขันและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 3. ต้องปรับให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติ 9. ต้องมีกระบวนการควบคุม การกำหนดมาตรฐาน การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจริง เปรียบเทียบระหว่างผลงานจริงกับมาตรฐาน ผู้บริหารต้องจัดให้มีการควบคุมทุกขั้นตอน 4. ต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนของกิจกรรมทันที 10. ระบบการควบคุมที่ถูกต้องควรมีความเบี่ยงเบนน้อยที่สุด และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ปฏิบัติอย่างมีเหตุมีผล 5. สามารถชี้ให้เห็นถึงความสำคัญการควบคุมในระดับที่แตกต่างกัน 11. ต้องทันเวลา และทันเหตุการณ์ 6. มีลักษณะที่สามารถยืดหยุ่นได้
48
มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุม
1. ด้านปริมาณ (Quantity) การควบคุมที่ใช้วัดผลในเชิงปริมาณ หรือตัวเลข เพื่อจะได้ทราบว่าการปฏิบัติงานต่างๆ สามารถปฏิบัติได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ 2. ด้านคุณภาพ (Quality) เพื่อให้ได้ผลผลิต หรือสินค้าหรือบริการตามความต้องการของลูกค้า และให้เกิดความมั่นใจว่า ผลผลิต หรือสินค้าหรือบริการ มีคุณภาพตามที่ได้กำหนดไว้ 3. ด้านเวลา (Time) เพื่อให้การปฏิบัติงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกำหนดเวลาที่วางไว้ เช่น การกำหนดตารางเวลาในการปฏิบัติงาน หรือการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้เป็นไปตามเวลากำหนด 4. ด้านต้นทุน (Cost) ต้องไม่เกินกว่าต้นทุนมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งต้องไปเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกระบวนการผลิตหรือบริการให้เกิดความประหยัด และส่งผลให้สามารถควบคุมต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ
49
ประโยชน์ของการควบคุม
1. ใช้ในการควบคุมงานเพื่อเป็นสัญญาณเตือนภัยทางการบริหาร 2. ใช้ในการควบคุมงานเพื่อการป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น 3. ช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด 4. การควบคุมช่วยให้ผลงานมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริหารและลูกค้า 5. การควบคุมสามารถวัดประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบผลงานระหว่างฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องได้ และนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป 6. การควบคุมสามารถช่วยรักษามาตรฐานคุณภาพของผลผลิต และบริการได้ดี
50
เทคนิคที่ใช้ในการควบคุม
1. เทคนิคการควบคุมโดยงบประมาณ 2.เทคนิคการควบคุมที่ไม่ใช้วิธีการทางงบประมาณ
51
เทคนิคที่ใช้ในการควบคุม (ต่อ)
งบประมาณ (Budget) การวางแผนการใช้จ่ายและรายได้ขององค์การในอนาคตอยู่ในรูปของรายละเอียดรายได้และกิจกรรมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนหรือโครงการที่กำหนดไว้ 1. งบประมาณรายจ่าย การคาดการณ์การใช้จ่ายและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง 2. งบประมาณรายได้ การคาดการณ์งบประมาณรายได้และรายได้ที่เกิดขึ้นจริงขององค์การ 3. งบประมาณเงินสด ประมาณการกระแสเงินสดไหลเข้าและกระแสเงินสดไหลออกจากองค์การในแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ แต่ละเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าองค์การมีเงินสดเพียงพอต่อการดำเนินการ 4. งบประมาณการลงทุน งบประมาณที่วางแผนและรายงานการลงทุนในทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน เครื่องจักร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก 1. เทคนิคการควบคุมโดยงบประมาณ
52
เทคนิคที่ใช้ในการควบคุม (ต่อ)
1. โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติจากประสบการณ์ในอดีต หรือข้อมูลจากการคาดการณ์ในอนาคตล่วงหน้ามาวิเคราะห์เพื่อควบคุมงาน 2. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เป็นการจัดแสดงให้เห็นรายรับรายจ่ายอยู่ในสภาพสมดุลกัน เครื่องมือเหมาะสำหรับสภาวการณ์ที่คงที่และระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น 3. การตรวจสอบภายใน หรือการตรวจสอบการดำเนินงาน เป็นเทคนิคการตรวจสอบ (Audit Technique) ผู้ตรวจสอบเลือกใช้ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้หลักฐานที่ดีและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ตรวจสอบให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผน 4. เทคนิคการควบคุมโดยวิธีของ Henry L. Gantt ที่เรียกว่า Gantt Chart หรือ Bar Chart วิธีการนี้พัฒนาวิธีการเขียนผังในรูปที่มีระบบ แสดงให้ทราบถึงระยะเวลาของการทำกิจกรรมต่างๆ เท่านั้น 5. การวิเคราะห์ข่ายงานที่เน้นเรื่องกาลเวลาและเหตุการณ์ ได้แก่ PERT (Pert Program Evaluation and Review Technique) และ CPM (Critical Path Method) 2. เทคนิคการควบคุมที่ไม่ใช้วิธีการทางงบประมาณ
53
เทคนิคการควบคุม เทคนิคการควบคุมโดยวิธีของ Henry L. Gantt ที่เรียกว่า Gantt Chart หรือ Bar Chart วิธีการนี้พัฒนาวิธีการเขียนผังในรูปที่มีระบบ แสดงให้ทราบถึงระยะเวลาของการทำกิจกรรมต่างๆ เท่านั้น การวิเคราะห์ข่ายงานที่เน้นเรื่องกาลเวลาและเหตุการณ์ ได้แก่ PERT (Pert Program Evaluation and Review Technique) และ CPM (Critical Path Method)
54
Gantt Chart หรือ Bar Chart
วิธีการวิเคราะห์ข่ายงานที่มีผู้นิยมนำมาใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลายมีอยู่กัน 2 วิธีคือ วิธี CPM (Critical Path Method) และวิธี PERT (Project Evaluation Review Technique) เป็นวิธีง่ายๆ และมีประโยชน์ในการวางแผนและควบคุมโครงการ ในปัจจุบันผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบการวางแผนส่วนใหญ่ยังคงใช้แผนภูมิแกนต์ในการวางแผนงาน และถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญของการจัดการอย่างหนึ่ง
55
Gantt Chart หรือ Bar Chart
56
PERT (Pert Program Evaluation and Review Technique)
เป็นข่ายงานที่แสดงการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานโดยอาศัยลูกศรเป็นเครื่องเชื่อมโยงแสดงทิศทาง และระยะเวลาของงานที่จะต้องปฏิบัติ โดยถือว่าการปฏิบัติงานนั้นจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม กิจกรรมหนึ่งๆ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วจะเป็นจุดเริ่มของกิจกรรมต่อๆ ไปจนกระทั่งสิ้นสุดการปฏิบัติงาน
57
CPM (Critical Path Method)
เป็นสายงานใน PERT เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสายวิกฤติที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องให้ความสำคัญ เพราะเหตุว่าถ้ามีการผิดพลาดเกิดขึ้นจะกระทบต่อการปฏิบัติงานทั้งโครงการ การใช้เทคนิค PERT ช่วยให้โครงการดำเนินการแล้วเสร็จเร็วกว่ากำหนด จุดเด่นที่สำคัญของ PERT คือ การควบคุมให้โครงการต่างๆ สามารถเสร็จทันภายในกำหนดเวลา
58
กระบวนการสำคัญของ PERT
ต้องระบุกิจกรรมทั้งหมดของโครงการให้ชัดเจน จัดลำดับและความต่อเนื่องของแต่ละกิจกรรมของโครงการ จัดแสดงความสัมพันธ์ลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมเป็นรูปข่ายงาน ประมาณเวลาที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมของแต่ละกิจกรรม ประเมินข่ายงานของโครงการเพื่อหาเส้นทางวิกฤต ใช้ผลของการประเมินข่ายงานเป็นแนวทางในการวางแผนและควบคุมโครงการ
59
พื้นฐานของ CPM และ PERT ได้มาจากการเอางานแต่ละงานในแผนภูมิแกนต์ออกมาเขียนใหม่ โดยใช้ลูกศรแทน งานหรือกิจกรรม และวงกลม (Node, Event) แสดงตำแหน่งเวลาเริ่มต้นหรือเสร็จสิ้นงานของงานๆ หนึ่งหรือเหตุการณ์หนึ่งๆ ในปัจจุบัน CPM และ PERT มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างก็ใช้เทคนิคอย่างเดียวกัน คือ ใช้วิธีหาสายวิกฤติ แต่ก็มีสิ่งปลีกย่อยที่แตกต่างกันพอแยกออกให้เห็นได้ดังนี้ คือ
60
ความแตกต่างกันของ CPM และ PERT ดังนี้ คือ
1. ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผน (Planning) การกำหนดเวลาทำงาน (Scheduling) และการควบคุมติดตามผลงาน (Controlling) ของโครงการ ผู้วางแผนมีประสบการณ์ในงานเป็นอย่างดี จุดประสงค์เน้นที่งานย่อย ทราบเวลาที่ใช้ทั้งหมดของโครงการแล้ว ยังทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรต่างๆที่ต้องใช้และค่าใช้จ่ายของแต่ละงาน 1. ใช้ในการปรับปรุงวิธีการวางแผนงานและการประเมินผลงานของโครงการวิจัยใหม่ๆ ผู้วางแผนไม่เคยมีประสบการณ์ในงานนั้นๆ มาก่อน ระหว่างการปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของโครงการย่อยๆ จุดประสงค์เน้นความสำคัญที่จุดของเหตุการณ์ไม่ใช่งาน เนื่องจากเหตุการณ์ไม่ใช่งานจึงไม่มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ และไม่มีค่าใช้จ่าย 2. เวลาที่ใช้ในการทำงานของแต่ละงานในโครงข่าย จะมีเวลาที่ต้องใช้ในการทำงานที่แน่นอน ผู้วางแผนจะกำหนดเวลาที่ใช้โดยอาศัยสถิติเก่าๆ ของงานชนิดเดียวกัน บางครั้งอาจใช้มาตรฐาน (Standard Time) 2. เวลาที่ใช้ไม่แน่นอนและต้องอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นในการคำนวณเวลาด้วย เพราะส่วนใหญ่ PERT ใช้ในการวางแผนโครงการใหม่ ในปัจจุบัน PERT ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นระบบ PERT/COST สามารถประมาณเวลาแน่นอนได้ เช่นเดียวกับ CPM และยังทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรและค่าใช้จ่ายของแต่ละงานหรือของทั้งโครงการ ในระยะหลังระบบของ PERT จะเป็นระบบ PERT/COST สรุปว่าทั้ง PERT และ COST ปัจจุบันไม่มีอะไรแตกต่างกัน มักเรียกว่า ระบบโครงข่าย CMP/COST
61
พื้นฐานทั่วไปในการทำ CPM และPERT
1. การวางแผนโครงการ (Planning) 2. การกำหนดเวลาโครงการ (Scheduling) 3. การควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ (Controlling)
62
คำจำกัดความ CPM และ PERT
งานหรือกิจกรรม (Activity) งานหรือกิจกรรมจำนวนหนึ่งที่ต้องการในโครงการ กิจกรรมสมมติ (Dummy Activity) กิจกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้การสร้างความสัมพันธ์ของงานในโครงการในรูปแบบของ AOA มีความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเป็นงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากร เหตุการณ์ (Event) เป็นจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด หรือเสาหลักที่ทำงานได้สำเร็จภายในโครงการ งานหนึ่งงานจะเริ่มและจบได้ด้วยเหตุการณ์ ช่วงเวลาของงาน (Activity Duration) ใน CPM หมายถึง เวลาที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำให้งานหนึ่งงานแล้วเสร็จ สำหรับ PERT เป็นการประมาณค่าโดยเฉลี่ยที่งานหนึ่งงานจะเสร็จ สายงาน (Path) คือ งานภายในโครงข่ายของโครงการที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่นับจากงานแรกของโครงการ จนถึงงานสุดท้ายของโครงการ ในโครงข่ายหนึ่งโครงข่ายจะมีสายงานได้หลายสายงาน สายงานวิกฤติ (Critical Path) เป็นสายงานที่ยาวที่สุดภายในโครงข่าย และเป็นสายงานที่บอกระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการ สายวิกฤติอาจมีมากกว่าหนึ่งสายภายในหนึ่งโครงข่าย และงานทุกงานที่อยู่ภายในสายงานวิกฤติ เรียกว่า งานวิกฤติ หากงานวิกฤติเกิดความล่าช้า จะส่งผลต่อความล่าช้าของโครงการด้วย
63
คำจำกัดความ CPM และ PERT (ต่อ)
เวลาเริ่มเร็วสุด (Earliest Start) หมายถึง เวลาที่งานแต่ละงานจะเริ่มต้นได้เร็วที่สุดนับจากเวลาเริ่มต้นโครงการ เวลาเสร็จเร็วสุด (Earliest Finish) หมายถึง เวลาที่งานแต่ละงานจะแล้วเสร็จได้เร็วที่สุดนับจากเวลาเริ่มต้นโครงการ เวลาเริ่มช้าสุด (Latest Start) หมายถึง เวลาที่งานแต่ละงานจะเริ่มต้นได้ช้าสุด นับจากเวลาเริ่มต้นโครงการ โดยไม่ทำให้โครงการเกิดความล่าช้า เวลาเสร็จช้าสุด (Latest Finish) หมายถึง เวลาที่งานแต่ละงานจะเสร็จได้ช้าที่สุด นับตั้งแต่เวลาเริ่มโครงการ โดยไม่กระทบต่อเวลาแล้วเสร็จของโครงการ ความยืดหยุ่น (Float) หมายถึง เวลาที่งานแต่ละงานจะสามารถล่าช้าออกไปโดยไม่กระทบต่อเวลาแล้วเสร็จโครงการ สำหรับงานวิกฤติจะมีค่าความยืดหยุ่นเป็นศูนย์
64
การสร้างโครงข่ายของโครงการ
แผนภาพของโครงการที่จัดทำขึ้นมาในรูปของโครงข่าย (Network) จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ก่อนหลัง (Precedence Relationships) ระหว่างกิจกรรมภายในโครงการ โครงข่ายของโครงการ คือ โครงข่ายที่เขียนขึ้นมาแทนความสัมพันธ์ก่อนหลังของงานภายในโครงการนับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนสิ้นสุดโครงการ การสร้างโครงข่ายของโครงการมีวิธีที่สามารถใช้ในการสร้าง 2 วิธี คือ 1. กิจกรรมบนลูกศร (Activity on Arc-AOA) เรียกสั้นๆ ว่า AOA วิธีนี้ใช้ลูกศร (Arc) แทนความหมายของกิจกรรมหรืองาน และโนด (Node) ใช้แทนความหมายของเหตุการณ์ หมายถึง จุดซึ่งเป็นการสิ้นสุดของงานหนึ่งงานหรือหลายๆ งาน และเป็นจุดเริ่มต้นของงานหนึ่งหรือหลายๆ งานภายในโครงข่าย เหตุการณ์เป็นเพียงจุดเชื่อมต่อของกิจกรรมไม่ใช่เป็นกิจกรรม AOA เน้นจุดเชื่อมต่อกิจกรรมหรือเป็นวิธีเขียนโครงข่ายเชิงเหตุการณ์ (Event Oriented)
65
องค์ประกอบของ AOA โนด (Node) แทนความหมายของเหตุการณ์ อาจเป็นรูปเหตุการณ์ที่แสดงถึงจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของงาน หมายเลขภายในโนดเป็นเพียงหมายเลขอ้างอิง แต่เมื่ออยู่ภายในโครงข่ายควรให้หมายเลขเรียงตามลำดับของเหตุการณ์จากมากไปหาน้อย 9 เส้นลูกศรในโครงข่าย ใช้แทนความหมายของงาน 1 งาน พร้อมทั้งแสดงความสัมพันธ์ก่อนหลังของงานโครงการ โดยหมายเลขบนเส้นลูกศร หมายถึง ปริมาณการใช้ทรัพยากรที่ต้องการหลายชนิด แต่ในที่นี้หมายถึง เวลาที่ต้องใช้เพียงอย่างเดียว และตัวอักษรบนเส้นลูกศร ใช้แทนชื่อของงาน โดยความยาวของลูกศรไม่มีความหมายด้านเวลา 5 A เส้นประลูกศร ใช้แทนงานสมมติ (Dummy Activity) เพื่อช่วยแสดงความสัมพันธ์ของงานต่างๆ ในโครงข่ายให้มีความถูกต้องตามความเป็นจริง ในกรณีที่การใช้โนดและลูกศรธรรมดาไม่เพียงพอที่จะแสดงความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง โดยงานสมมติจะไม่มีการใช้ทรัพยากร ดังนั้น เวลางานจึงเท่ากับศูนย์
66
การสร้างโครงข่ายของโครงการ (ต่อ)
2. กิจกรรมบนโนด (Activity On Node – AON) คือ โนดจะถูกใช้แทนความหมายของกิจกรรมหรืองาน ส่วนลูกศรใช้แสดงความสัมพันธ์ก่อนหลังของงานในโครงข่ายบนกิจกรรมบนโนด หากมีหลายๆ กิจกรรมเป็นงานเริ่มต้นของโครงการ (ไม่มีกิจกรรมก่อนหน้า) โดยทั่วไปกิจกรรมเหล่านี้พุ่งออกมาจากโนดร่วม (Common Node) ที่เรียกว่า โนดเริ่มต้น (Start Node) ถ้ามีหลายๆ กิจกรรมเป็นกิจกรรมสุดท้ายของโครงการ (ไม่มีกิจกรรมต่อ) จะแสดงโนดเหล่านี้เชื่อมต่อกับโนดสิ้นสุด (Finish) สำหรับโครงข่ายแบบ AON มีองค์ประกอบ A 9 โนด (Node) มีความหมายแทนงาน 1 งาน ตัวอักษรภายในโนด หมายถึง ชื่องาน ส่วนถ้ามีตัวเลขบนโนด หมายถึง ปริมาณทรัพยากรที่ใช้ ซึ่งที่นี้ หมายถึง เวลาที่ใช้ในการทำงาน เส้นลูกศร ในโครงข่ายแบบ AON ใช้แสดงความสัมพันธ์ก่อนหลังของงานในโครงการ โดยความยาวของลูกศรไม่มีความหมายด้านเวลา
67
รูปแบบความสัมพันธ์ของงานต่างๆ ภายในโครงข่ายแบบ AOA และ AON
68
รูปแบบความสัมพันธ์ของงานต่างๆ ภายในโครงข่ายแบบ AOA และ AON
69
ระบบคุณภาพ ระบบคุณภาพ (Quality System) มีจุดมุ่งหมายที่เป็นองค์ประกอบทั้งหมดที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ระบบคุณภาพ (Quality System) หมายถึง “โครงสร้างองค์กร ความรับผิดชอบ วิธีการ กระบวนการ กิจกรรมเหตุการณ์ แผนการและทรัพยากรที่จะนำมาปฏิบัติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าหรือบริการที่ผลิตออกมาจะมีคุณภาพสอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้า และให้มีผลตอบแทนตามเป้าหมายการลงทุน (Return on Investment) ของกิจการ ระบบคุณภาพ (Quality System) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย โครงสร้างขององค์กร หน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีดำเนินการ กระบวนการและทรัพยากร เพื่อนำนโยบายการบริหารงานคุณ ภาพ ไปปฏิบัติ การดำเนินการดัง กล่าวจำเป็นต้องจัดทำ เป็นเอกสาร เพื่อสามารถ ดำเนินการรักษาระบบคุณภาพได้อย่างเหมาะสม และสามารถ นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
70
ระบบการบริหารคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) หมายถึง การนำวิธีการ เทคนิค หือ กิจกรรมต่างๆ ในทางปฏิบัติการทั้งหมด เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดคุณภาพตามที่ได้กำหนดไว้ในภาคผลิต เน้นการตรวจสอบ การวัดและการทดสอบโดยเน้นการควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการและขจัดข้อบกพร่องจากการดำเนินการทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าสินค้าได้รับการตรวจสอบและทดสอบ การควบคุมคุณภาพจึงหมายถึง การตรวจสอบปัจจัยนำเข้า (Input Factors) กระบวนการผลิต (Product Processing) และขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ปัจจุบันเน้น ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) เน้นการคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน) การประกันคุณภาพ (Quality Assurance : QA) หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการตามระบบหรือตามแผนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้คุณค่าตามต้องการของลูกค้า เน้นกระบวนการการผลิตที่มีการควบคุมอย่างถูกต้อง เคร่งครัดและเป็นระบบ การประกันคุณภาพ ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ (QC) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing : QA) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment : Qas)
71
Quality Improvement : QI
การบริหารคุณภาพ (Quality Management : QM) หมายถึง การบริหารหรือการจัดการทุกเรื่องเพื่อสนองนโยบายคุณภาพ เช่น การบริหารการเงิน การบริหารการตลาด การบริหารพัสดุ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และนโยบายคุณภาพ การบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม -ทบทวนกิจกรรมวางแผนเป็นระยะๆ -ปรับปรุงวิธีการทำงาน การแก้ปัญหาในการทำงาน -ปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ เพื่อรักษาลูกค้าไว้ -การลดความสูญเสียในกระบวนงานหรือลดความสูญเสียของสินค้า/บริการ 3. การปรับปรุงคุณภาพ Quality Improvement : QI -การกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย -สำรวจความต้องการ กำหนดลักษณะคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าและบริการ -ออกแบบสินค้าหรือบริการและวิธีการผลิตสินค้าหรือบริการ -กำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการ -เก็บตัวอย่างสินค้าที่ผลิต การสุ่มตรวจการบริการ -วัดคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าและบริการ 2. การควบคุมคุณภาพ Quality Control : QC 1. การวางแผนคุณภาพ Quality Planning : QP
72
ปัจจัยกำหนดคุณภาพ ปัจจัยหรือสาเหตุพื้นฐานสำคัญในการนำสู่ระบบคุณภาพ ประกอบด้วย - ระบบ 5 ส. เปรียบเสมือนเป็นรากแก้วของต้นไม้ -ถือเป็นพื้นฐานของการก้าวไปสู่ระบบคุณภาพ -เป็นกิจกรรม กลุ่มระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน เรียก “กลุ่มสร้างคุณภาพ” การค้นหาปัญหา การแก้ปัญหา การปรับปรุงคุณภาพ การเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง -ระบบบริหารปรับรื้อ เป็นกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เน้นการทำงานตามเป้าหมาย ต้องเขียนผังกระบวนการ ด้วยการระดมสมอง เลียบแบบ สัมภาษณ์ ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ -เป็นการบริหารคุณภาพระดับมาตรฐานสากล เป็นระบบบริหารที่มีการนำไปใช้มากที่สุดในโลก เน้นทุกคนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแบบ QCC ทำกิจกรรมทั่วทั้งองค์การ
73
ต้นไม้คุณภาพ (Quality Tree)
TQC/TQM ISO 9000 RE-ENGINEERING QCC SM PM 5S การบำรุงรักษาด้วยตนเอง Self Maintenance : SM งานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance : PM
74
ระบบคุณภาพที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล
ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 :2015 • ระบบบริหารงานที่มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างเป็นระบบ กลุ่มเป้าหมาย : โรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่างๆ องค์กรทั่วไป
75
ลักษณะพื้นฐานของระบบคุณภาพที่เหมือนกัน
76
คำถามท้ายบท ความหมายของการควบคุม กระบวนการของการควบคุมมีอะไรบ้าง
จงอธิบายถึงมาตรฐานที่นิยมใช้สำหรับการควบคุมว่ามีอะไรบ้าง เทคนิคที่เรานำมาใช้ในการควบคุมที่ท่านทราบมีอะไรบ้าง ประโยชน์ของการควบคุม จงอธิบายความแตกต่างของ PERT และ CPM จงอธิบายและวาดรูปประกอบเกี่ยวกับ ต้นไม้คุณภาพ (Quality Tree)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.