งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวรุ่งรัตน์ จิณะเสน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวรุ่งรัตน์ จิณะเสน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวรุ่งรัตน์ จิณะเสน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดน่าน

2 ประวัติการศึกษา - พ.ศ. ๒๕๔๗ ปริญญาตรี (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - พ.ศ. ๒๕๕๐ ปริญญาโท (วท.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3 ประวัติการการทำงาน - พ.ศ. ๒๕๔๘ เจ้าหน้าที่สารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - พ.ศ. ๒๕๕๑ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักงานจังหวัดน่าน

4 ความเป็นมา ครม. มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ มี.ค.๔๗ เห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ โดยให้แต่ละกระทรวงตั้งคณะกรรมการการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๘

5 กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้ ทุกจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการ การบริหารและจัดหาระบบ คอมพิวเตอร์ระดับจังหวัด เพื่อ พิจารณาโครงการจัดหาระบบ คอมพิวเตอร์ของส่วนราชการใน สังกัดกระทรวงมหาดไทยระดับ จังหวัด รวมทั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ที่มีวงเงิน ไม่เกิน ๕ ล้านบาท โดยให้ คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรและ การใช้ซอฟต์แวร์กลางร่วมกัน

6 องค์ประกอบของ คกก.ฯ ระดับจังหวัด
องค์ประกอบของ คกก.ฯ ระดับจังหวัด คณะกรรมการการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ระดับจังหวัด มีองค์ประกอบ ดังนี้ ๑. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ประธาน ๒. รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น รองประธาน ๓. ผู้ทรงคุณวุฒิ (เชี่ยวชาญด้าน ICT) เป็น กรรมการ ๔. ผู้แทน หน.ส่วนราชการในสังกัด มท. เป็น กรรมการ ๕. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น กรรมการ ๖. หัวหน้า สนง.สถิติจังหวัด เป็น กรรมการ ๗. หัวหน้า สนง.จังหวัด เป็น กรรมการและ เลขานุการ ๘. หัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลฯ (สนง.จว.) เป็น กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ

7 มติประชุมคณะกรรมการการบริหารและจัดหาระบบ คอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของ กระทรวงมหาดไทย มอบให้คณะกรรมการการบริหารและ จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ ในระดับจังหวัด พิจารณาให้ ความเห็นชอบโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ภายใน วงเงินไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท โดยกำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์นี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

8 ผ่านอำเภอ ภาพรวมแนวปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์จังหวัดน่าน N o Yes
หน่วยงานเสนอโครงการ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ในแนวทางการปฏิบัติฯ ผ่านอำเภอ ภาพรวมแนวปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์จังหวัดน่าน หน่วยงานปรับแก้ ให้ถูกต้องตาม ข้อเสนอแนะของ คณะทำงาน กลั่นกรองฯ N o ฝ่ายเลขาฯ (สนจ.นน.) พิจารณาข้อมูลเบื้องต้น Yes * คณะทำงาน พิจารณา กลั่นกรองฯ ประชุม พิจารณา โครงการ No Yes คัดแยกโครงการที่ผ่านความเห็นชอบและโครงการที่ต้องร่วมพิจารณาโดยรายละเอียดในที่ประชุมคณะกรรมการการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ

9 ประชุม คณะกรรมการ บริหารและ จัดหาระบบ คอมพิวเตอร์ฯ จังหวัดน่าน
คัดแยกโครงการที่ผ่านความเห็นชอบและโครงการที่ต้องร่วมพิจารณาโดยรายละเอียดในที่ประชุมคณะกรรมการการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ ประชุม คณะกรรมการ บริหารและ จัดหาระบบ คอมพิวเตอร์ฯ จังหวัดน่าน * การประชุมของ คณะทำงาน พิจารณากลั่นกรองฯ ประชุม ๒ รอบ โดยรอบที่ ๑ จัด ประชุมประมาณ ๑๕ วันแรกของ ไตรมาส และรอบที่ ๒ จัดประชุมถัด จากการประชุมรอบ ที่ ๑ ประมาณ ๑๕ วัน No Yes แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการให้ ผวจ.ทราบ และ ให้ หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการในส่วน ที่เกี่ยวข้องต่อไป

10 แบบฟอร์มและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดน่าน แบบรายงานการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ - มูลค่าไม่เกิน ๕ ล้านบาท - มูลค่าเกิน ๕ ล้านบาท แต่ไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท - มูลค่าเกิน ๑๐ ล้านบาท แบบ คกก.มท.๐๑, แบบ คกก.มท.๐๒ และแบบ คกก.มท.๐๓ เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ (มีผลบังคับใช้ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐) สามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่เว็บไซต์จังหวัดน่าน หัวข้อ “การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ มท.”

11 สรุปเอกสารที่ใช้ในการเสนอโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ
หน่วยงานเสนอโครงการ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ในแนวทางการปฏิบัติฯ แบบรายงานการจัดหา คอมฯ มูลค่า ไม่ เกิน 5 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 10 ล้านบาท และแบบ คกก.มท. 01 (ต้นฉบับ) จำนวน 1 ชุด ฝ่ายเลขาฯ (สนจ.นน.) พิจารณาข้อมูลเบื้องต้น แบบรายงานการจัดหา คอมฯ มูลค่า ไม่ เกิน 5 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 10 ล้านบาท และแบบ คกก.มท. 01 (ต้นฉบับ) จำนวน 1 ชุด สำเนา 9 ชุด แจ้งหน่วยงานปรับแก้ โครงการและส่งเอกสาร มายังฝ่ายเลขาฯ (สนจ.นน.) สรุปเอกสารที่ใช้ในการเสนอโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ คณะทำงานพิจารณา กลั่นกรองฯ ประชุม พิจารณาโครงการและ ให้ความเห็นชอบ โครงการ

12 แจ้งหน่วยงานปรับแก้ โครงการและส่งเอกสาร มายังฝ่ายเลขาฯ (สนจ.นน.)
แจ้งหน่วยงานปรับแก้ โครงการและส่งเอกสาร มายังฝ่ายเลขาฯ (สนจ.นน.) 1. แบบรายงานการจัดหา คอมฯ มูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 10 ล้านบาท และแบบ คกก.มท. 01 (ต้นฉบับ) จำนวน 1 ชุด 2. แบบ คกก.มท.01 จำนวน 18 ชุด 3. แบบ คกก.มท. 02 จำนวน 2 ชุด ประชุมคณะกรรมการ บริหารและจัดหาระบบ คอมพิวเตอร์ฯ จังหวัดน่าน กรณีมีการปรับแก้ ส่งแบบรายงานการจัดหา คอมฯ มูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือ ไม่เกิน 10 ล้านบาท แบบ คก ก.มท. 01 และแบบ คก ก.มท.02 ต้นฉบับ จำนวน 1 ชุด แจ้งหน่วยงานปรับแก้ โครงการส่งเอกสาร มายังฝ่ายเลขาฯ (สนจ.นน.) เพื่อรวบรวม รายงานกระทรวง แจ้งผลการพิจารณา ของ คกก. ให้ ผวจ. และหน่วยงานเจ้าของ โครงการ เพื่อ ดำเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้อง เมื่อจัดหาเรียบร้อย แล้ว ส่งแบบ คกก.มท. 03 ต้นฉบับ จำนวน 1 ชุด

13 การปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทยและการพิจารณาเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาโครงการเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดหาสื่อการเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนการสอนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย - ยกเลิกเกณฑ์ราคากลางฯ ของกระทรวงมหาดไทย - ปรับปรุงแบบรายงาน ใช้แบบ คกก.มท.๐๑, คกก.มท.๐๒ และ คกก.มท.๐๓ - รายงานเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาโครงการจัดหา สื่อการเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนการสอน - ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาตรวจสอบสื่อการเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ของ อปท. ให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดการศึกษาท้องถิ่นและมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และต้องผ่านการพิจารณาของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนนำเข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะกรมการระดับกระทรวง

14 * การประชุมโครงการเร่งด่วน
กำหนดการจัดประชุมพิจารณาการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยจังหวัดน่าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ การประชุม กำหนดการส่งเอกสาร รอบที่ ๑ (แบบรายงานการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ) กำหนดการส่งเอกสาร รอบที่ ๒ (แบบรายงานการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ) วันที่จัดประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ ภายในวันที่ ๑๕ ต.ค. ๕๙ ภายในวันที่ ๓ พ.ย. ๕๙ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ พ.ย. ๕๙ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ ภายในวันที่ ๑๓ ม.ค. ๖๐ ภายในวันที่ ๓ ก.พ. ๖๐ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ ก.พ. ๖๐ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ ภายในวันที่ ๑๘ เม.ย. ๖๐ ภายในวันที่ ๒ พ.ค. ๖๐ วันอังคาร ที่ ๑๖ พ.ค. ๖๐ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ ภายในวันที่ ๑๔ ก.ค. ๖๐ ภายในวันที่ ๓ ส.ค. ๖๐ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ ส.ค. ๖๐ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ วันพฤหัสบดี ที่ ๕ ต.ค. ๖๐ วันศุกร์ ที่ ๑๓ ต.ค. ๖๐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ จังหวัดขอให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะเสนอโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ ที่จัดหาในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เสนอโครงการให้คณะกรรมการฯ พิจารณาในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ ซึ่งกำหนดจัดประชุมในวันศุกร์ ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ และให้หน่วยงานส่งเอกสารโครงการภายในวันพฤหัสบดี ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ * การประชุมโครงการเร่งด่วน

15 การปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทย
การประชุมคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๙เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๙ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์นี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ดังนี้ “การจัดหาที่หน่วยงานสามารถดำเนินการได้เอง (มูลค่าไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท) โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและจังหวัด ดังนี้ (๑) เป็นการจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำนักงานพื้นฐาน ตามคุณสมบัติและราคามาตรฐานที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ชื่อเดิม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) กำหนดภายใต้เงื่อนไขในการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เกิน ๑ เครื่อง/คน โดยเฉลี่ย ตามความเหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงาน (๒) เป็นการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทดแทนระบบที่ใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี (จัดหาได้ในวงเงินไม่มากกว่าเดิม และให้วงเงินที่ขอครอบคลุมถึงการถ่ายโอนข้อมูลด้วย) (๓) เป็นการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบ ตามงาน/แผนงาน/โครงการเดิม โดยระบบงานดังกล่าวไม่มีความซ้ำซ้อน/เชื่อมโยง/สัมพันธ์กับงานในภารกิจของหน่วยงานอื่น (๔) รัฐวิสาหกิจสามารถจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ชื่อเดิม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)”

16 แนวทางปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ
๑. ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ๑. การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณกลุ่มจังหวัดภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ดำเนินการดังนี้ ๑.๑ คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทย พิจารณาให้ความเห็นชอบจัดหาระบบคอมพิวเตอร์/ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทขึ้นไป ๑.๒ คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยระดับจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบจัดหาระบบคอมพิวเตอร์/กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่มีมูลค่าไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท โดยให้สำนักงานจังหวัด ซึ่งเป็นเลขานุการ จัดประชุมคณะกรรมการฯ โดยด่วน

17 ๑.๓ การจัดหาที่หน่วยงานสามารถดำเนินการได้เอง (มูลค่าไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท) โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยระดับจังหวัด ดังนี้ (๑) เป็นการจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำนักงานพื้นฐาน ตามคุณสมบัติและราคามาตรฐานที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด ภายใต้เงื่อนไขในการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เกิน ๑ เครื่อง/คน โดยเฉลี่ย ตามความเหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงาน (๒) เป็นการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทดแทนระบบที่ใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี (จัดหาได้ในวงเงินไม่มากกว่าเดิม และให้วงเงินที่ขอครอบคลุมถึงการถ่ายโอนข้อมูลด้วย) (๓) เป็นการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบตามงาน/แผนงาน/โครงการเดิม โดยระบบดังกล่าวไม่มีความซ้ำซ้อน/เชื่อมโยง/สัมพันธ์กับงานในภารกิจของหน่วยงานอื่น ๒. การจัดหาของส่วนราชการอื่นๆ ในจังหวัดซึ่งใช้งบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด ให้เสนอผ่านขั้นตอนการขอความเห็นชอบของแต่ละกระทรวง ๓. หากจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดใดมีการขอใช้งบประมาณแผ่นดินเกิน ๑๐๐ ล้านบาท จะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐก่อน ** ทั้งนี้จังหวัดน่านได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแนวทางและถือปฏิบัติแล้ว

18 ๒. ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
๑. ให้ยกเลิกหนังสือหรือคำแนะนำอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับหนังสือนี้ ให้ใช้หนังสือฉบับนี้แทน ๒. การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ตามโครงการที่เป็นงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะต้องเสนอคณะกรรมการ ดังนี้ ๒.๑ คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยระดับจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะวงเงินส่วนที่เป็นระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์/ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่มีมูลค่าไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท ตัวอย่างเช่น วงเงินรวมทั้งโครงการ ๑๕ ล้านบาท แต่มีส่วนที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์/ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ๙ ล้านบาท โครงการนี้จะอยู่ในอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ๒.๒ คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทย พิจารณาให้ความเห็นชอบจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทขึ้นไป โดยต้องผ่านการเห็นชอบเบื้องต้น จากคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดก่อน

19 กรณีโครงการที่มีมูลค่าเกิน ๑๐๐ ล้านบาทขึ้นไป คณะกรรมการฯ ของกระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการเบื้องต้นก่อนนำเสนอคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐต่อไป ๓. คณะกรรมการฯ ของกระทรวงมหาดไทย จะพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ ๓.๑ โครงการเฉพาะส่วนที่เป็นระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์ (เช่น จอภาพแสดงผล อุปกรณ์กระจายสัญญาณ) และระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ (เช่น กล้องโทรทัศน์วงจรปิด อุปกรณ์บันทึกภาพ) โดยไม่พิจารณาในส่วนที่เป็นอุปกรณ์อื่นๆ (เช่น เสาติดตั้งกล้อง สาย Fiber Optic) แต่หน่วยงานต้องนำเสนอภาพรวมทั้งโครงการ ๓.๒ การพิจารณาความเหมาะสมของราคาและคุณลักษณะเฉพาะของระบบคอมพิวเตอร์/ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) คณะกรรมการฯ ของกระทรวงมหาดไทย จะพิจารณาตามเกณฑ์ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนดเป็นหลัก กรณีที่จำเป็นต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์/ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่นอกเหนือไปจากที่มีกำหนดไว้ข้างต้น ให้ระบุเหตุผลความจำเป็นให้ชัดเจน ๓.๓ กรณีไม่มีเกณฑ์ตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ คณะกรรมการฯ ของกระทรวงมหาดไทย จะพิจารณาความเหมาะสมของราคาและคุณลักษณะเฉพาะที่ สืบราคา จากท้องตลาดรวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ และ/หรือแสดงรายละเอียดการคำนวณราคาอ้างอิง ตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

20 ๔. คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด สามารถใช้แนวทางดังกล่าวข้างต้นในการพิจารณาโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์/ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ได้ ๕. จังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่มีโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์/ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทขึ้นไป ให้แจ้งความประสงค์ทางโทรสาร ๐ ๒๒๘๑ ๑๕๖๗ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ภายในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ และจัดส่งเอกสารโครงการ จำนวน ๓๐ ชุด ให้กลุ่มงานยุทธศาสตร์สารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ถ.วิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ ภายในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงมหาดไทยพิจารณาต่อไป กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ไม่สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการเบื้องต้นก่อนนำเสนอกระทรวง นั้น ให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดเพื่อทราบ ในโอกาสแรกที่จัดประชุม ด้วย ** ทั้งนี้จังหวัดน่านได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแนวทางและถือปฏิบัติแล้ว

21 ๓. ๓ เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ประจำปี พ. ศ
๓.๓ เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ แนวทางปฏิบัติกรณีการใช้เกณฑ์ฯ ดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยขอซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้ ๑. การพิจารณาความเหมาะสมของราคาและคุณลักษณะเฉพาะของระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนดฉบับล่าสุด ทั้งนี้ให้เริ่มใช้เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะเฉพาะของระบบคอมพิวเตอร์นับตั้งแต่วันที่ประกาศกำหนดเป็นต้นไป ๑.๑ กรณีโครงการอยู่ในระหว่างการพิจารณา คณะกรรมการฯ สามารใช้ดุลพินิจที่จะให้หน่วยงานปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามประกาศฉบับล่าสุดได้ ๑.๒ กรณีโครงการผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ แล้ว คุณลักษณะที่ผ่านความเห็นชอบเป็นคุณลักษณะขั้นต่ำภายในราคาที่กำหนด เมื่อมีประกาศเผยแพร่ออกมาใหม่ หน่วยดำเนินการต้องพิจารณาทบทวนคุณลักษณะพื้นฐานและราคาให้เหมาะสมสอดคล้องกับประกาศฉบับล่าสุด และกำชับให้หน่วยจัดหาพิจารณาดำเนินการในส่วนของงบประมาณ รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด คำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความประหยัด ความคุ้มค่า และให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก

22 ๒. กรณีไม่มีเกณฑ์ราคากลางฯ ให้ใช้ราคาตลาดโดยสืบราคาจากท้องตลาดรวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ เป็นราคาอ้างอิง และ/หรือแสดงรายละเอียดการคำนวณราคาอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

23 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค ในการจัดหารระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

24 ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ๑. ระบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ๒. ระบบเครือข่าย ๓. ระบบปฏิบัติการ ๔. ระบบฐานข้อมูล ระบบงาน ๕. ระบบรักษาความปลอดภัย ๖. ระบบอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกัน

25 การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะทาง เทคนิค
๑. ส่วนที่ไม่ใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ใช้เกณฑ์ราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ของสำนักงบประมาณ ( ๒. ส่วนที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ใช้เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของ - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม( ฉบับล่าสุด ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ - หากไม่ตรงตามเกณฑ์ของกระทรวงไอซีที ให้ดำเนินการเปรียบเทียบ ๓ รายการ แล้วใช้ราคาต่ำสุดเป็นราคากลาง

26 ส่วนที่ไม่ใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
๑. ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ เช่น จอรับภาพ, เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ, กล้องถ่ายภาพนิ่งระบบดิจิตอล, โทรทัศน์สีชนิดจอแบน, โทรทัศน์ แอล ซี ดี (LCD TV), เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ ๒. ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ๓. ครุภัณฑ์สำนักงาน เช่น เครื่องโทรสาร, เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องพิมพ์สำเนาระบบดิจิตอล, เครื่องบันทึกเงินสด ๔. ครุภัณฑ์อื่นๆ เช่น โต๊ะ-เก้าอี้, อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่าย ฯลฯ ๕. วัสดุสิ้นเปลือง เช่น ตลับหมึกเครื่องพิมพ์, RAM, สาย LAN, สาย Fiber Optic ฯลฯ

27 การพิจารณาว่าเป็นวัสดุ หรือครุภัณฑ์
จะต้องพิจารณาจากลักษณะสิ่งของและสภาพการใช้งานประกอบกัน โดยหากเป็นสิ่งของที่มีลักษณะเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิม หรือมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ ๑ ปี ให้จัดเป็นวัสดุโดยไม่ต้องพิจารณาราคา เช่น ตลับหมึกเครื่องพิมพ์ เป็นต้น แต่หากเป็นสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรเช่นเดียวกับครุภัณฑ์ ให้ถือเกณฑ์ราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดในกรณีที่ต้องใช้ประกอบกันเป็นชุด หากมีราคาไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท จัดเป็นวัสดุ แต่หากมีราคาเกิน ๕,๐๐๐ บาท ให้จัดเป็นครุภัณฑ์ เช่น การ์ดจอ (Display Card) โมเด็ม (Modem) เป็นต้น

28 “อุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์”
ตัวอย่างการพิจารณา “อุปกรณ์ใดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์” ตัวอย่างที่ ๑ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ ควบคุมเครื่องมือแพทย์ซึ่งนำไปใช้งาน เฉพาะทาง และไม่สามารถนำไปใช้ งานอย่างอื่นได้ (เช่น การพิมพ์งาน ในสำนักงาน เป็นต้น) จัดเป็นอุปกรณ์ อื่นที่มิใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ ๒ หุ่นยนต์ทำความสะอาดบ่อน้ำ ซึ่งไม่มีการประมวลผล เป็นเพียงการปฏิบัติงานในลักษณะของเครื่องจักรกล จัดเป็นอุปกรณ์อื่นที่มิใช่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

29 ตัวอย่างการพิจารณาฯ (ต่อ)
ตัวอย่างที่ ๓ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุม กล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่มีการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลจากกล้องฯ จัดเป็นอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ ๔ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุม เครื่องตรวจสารเคมีในเลือดอัตโนมัติ ซึ่งมี การประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลจาก เครื่องตรวจฯ จัดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่ ๕ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด และ เครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นอุปกรณ์ที่มีการ ประมวลผล จัดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

30 การใช้เกณฑ์มาตรฐาน ให้ใช้เกณฑ์ฯ ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการกำหนด Spec เบื้องต้น และไม่รวม OS (ถ้ามี OS เพิ่มราคาอีก ๓,๘๐๐ บาท) และราคากลางเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

31 กรณีไม่ตรงตามเกณฑ์ ๑. เปรียบเทียบราคาจำนวน ๓ ผลิตภัณฑ์ (ยี่ห้อ) แล้วใช้ราคาต่ำสุดเป็นราคากลาง ทั้งนี้ คุณลักษณะพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบ ต้องมีคุณลักษณะที่เท่ากัน หรือใกล้เคียง ๒. หากมีความจำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เพื่อความเข้ากันได้กับระบบเดิม หรือมีจำหน่ายเพียงยี่ห้อเดียว ให้ดำเนินการเปรียบเทียบราคาจำนวน ๓ บริษัท แล้วใช้ราคาต่ำสุดเป็นราคากลาง ทั้งนี้ ต้องเป็นยี่ห้อและรุ่นเดียวกันทั้ง ๓ บริษัท

32 เทคนิคการกำหนด Spec เพื่อให้ได้ ของที่มีคุณภาพดี
๓. คุณลักษณะเฉพาะบางข้อควรใส่ข้อความว่า “เทียบเท่าหรือดีกว่า” ต่อท้ายด้วย

33 เทคนิคการกำหนด Spec (ต่อ)
๔. หากจำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ตามที่หน่วยงานต้องการ ควรอ้างอิงถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดหาอุปกรณ์รายการนั้นๆ เพื่อให้สามารถใช้กันได้กับระบบงาน ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

34 ข้อควรระวังในการทบทวนปรับปรุง Spec
หลังจากได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการการบริหารและจัดหาระบบ คอมพิวเตอร์แล้ว การทบทวนและ ปรับปรุง Spec สามารถดำเนินการได้ แต่จะต้องเป็น Spec ที่ไม่ต่ำกว่าเดิม จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงวงเงินที่ได้รับ อนุมัติ หากมีการเปลี่ยนแปลงวงเงิน จะต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการฯ ใหม่

35 ขอบคุณค่ะ นางสาวรุ่งรัตน์ จิณะเสน
นางสาวรุ่งรัตน์ จิณะเสน กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดน่าน เบอร์โทร ๐ ๕๔๗๑ ๖๓๘๗, ๐๘ ๕๒๔๔ ๒๔๔๑

36 เทคนิคการเขียนแบบรายงานการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และการออกแบบระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) นายสมพงษ์ อิ่นอ้าย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดน่าน

37 ข้อแนะนำประกอบการพิจารณา
1. การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์หรือครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ทดแทน ต้องผ่านการใช้งานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 2. เกณฑ์ราคากลางนี้เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) แล้ว และมีการรับประกันผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี 3. เกณฑ์ราคากลางนี้เป็นราคาที่รวมค่าขนส่งและติดตั้งแล้ว ยกเว้นในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ทุรกันดาร หรือพื้นที่เสี่ยงภัย หรือเหตุผลความจาเป็นอื่นๆ ให้พิจารณาตามความเหมาะสม 4. คุณลักษณะพื้นฐานตามเกณฑ์ราคากลางนี้เป็นคุณลักษณะขั้นต่ำ (Minimum Requirement) ภายในราคาที่กำหนด ในการจัดซื้อควรกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเพิ่มเติมให้ตรงตามความต้องการ 5. ให้พิจารณาใช้งานซอฟต์แวร์ประเภท Open Source แทนการจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ประเภทซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

38 6. ควรพิจารณาจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของอุปกรณ์ (Hardware) จากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐานด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม 7. ในการพิจารณาจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของอุปกรณ์ (Hardware) ให้คำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ เช่น การลดหรือเลิกใช้วัสดุที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Reduction/Elimination of Environmentally Sensitive Materials), การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Material Selection), การออกแบบเพื่อง่ายต่อการจัดการซากเครื่องใช้ที่หมดอายุ (Design for End of Life), การยืดอายุการใช้งาน (Product Longevity/ Life Cycle Extension), การอนุรักษ์พลังงาน (Energy Conservation), การบริหารจัดการซาก (End of Life Management), สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Performance) หรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นต้น

39 8. ควรพิจารณาจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของอุปกรณ์ (Hardware) ที่ได้รับมาตรฐานด้านการประหยัดพลังงาน 9. ควรพิจารณาจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของอุปกรณ์ (Hardware) ที่ได้รับมาตรฐานด้านการป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะไปรบกวนอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ 10. ควรพิจารณาจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของอุปกรณ์ (Hardware) ที่ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน 11. ควรพิจารณาจัดหาเครื่องพิมพ์ที่มีราคาค่าหมึกพิมพ์ต่อสี ที่ปริมาณการพิมพ์ต่อแผ่นร้อยละ 5 ของหน้ากระดาษขนาด A4 ดังนี้ - เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกพร้อมติดตั้งถังหมึกพิมพ์ (Ink Tank Printer) ราคาไม่ควรเกิน 0.05 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer) สาหรับกระดาษขนาด A3 คิดราคาจากการพิมพ์จากกระดาษขนาด A4 ราคาไม่ควรเกิน 1.5 บาทต่อแผ่น

40 - เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED ขาวดา (18 หน้า/นาที) ราคาไม่ควรเกิน 1.65 บาทต่อแผ่น
- เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED ขาวดา แบบ Network แบบที่ 1 (27 หน้า/นาที) ราคาไม่ควรเกิน 0.71 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED ขาวดา แบบ Network แบบที่ 2 (33 หน้า/นาที) ราคาไม่ควรเกิน 0.71 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED ขาวดา แบบ Network แบบที่ 3 (40 หน้า/นาที) ราคาไม่ควรเกิน 0.69 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED สี แบบ Network ราคาไม่ควรเกิน 1.32 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED ขาวดาสาหรับกระดาษขนาด A3 คิดราคาจากการพิมพ์จากกระดาษขนาด A4 ราคาไม่ควรเกิน 0.59 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์ Multifunction แบบฉีดหมึก (Inkjet) ราคาไม่ควรเกิน 1.32 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์ Multifunction ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED ขาวดา ราคาไม่ควรเกิน 0.89 บาทต่อแผ่น - เครื่องพิมพ์ Multifunction ชนิดเลเซอร์ หรือชนิด LED สี ราคาไม่ควรเกิน 1.32 บาทต่อแผ่น

41 12. ในการจัดหาครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ควรคำนึงถึงงบประมาณที่ต้องจ่ายในอนาคต เช่น ค่าหมึกพิมพ์ ค่าบำรุงรักษา ค่าบริหารจัดการ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น 13. หากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ้างบุคลากรด้าน ICT เช่น ค่าจ้างบุคลากรในการพัฒนาระบบ ค่าจ้างบุคลากรในการบำรุงรักษาระบบ ค่าจ้างบุคลากรในการบริหารจัดการระบบ ค่าจ้างบุคลากรในการติดตั้งและทดสอบระบบ เป็นต้น ควรจัดทารายละเอียดค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา กลุ่มวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของสานักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง 14. ควรพิจารณาการบูรณาการระบบร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ หรือ เลือกใช้บริการระบบกลางภาครัฐต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ของสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.), จดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางภาครัฐ (mail.go.th) ของสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.), ระบบบริการคลาวด์ภาครัฐ ของสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.), ระบบประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายภาครัฐ (GIN Conference) ของสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) เป็นต้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และลดความซ้าซ้อนของระบบในภาครัฐ

42 15. การนำเกณฑ์คุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และข้อแนะนาประกอบการพิจารณานี้ไปใช้ในการจัดหา ให้พิจารณาจัดทารายละเอียดที่มีผลิตภัณฑ์สามารถเข้าแข่งขันการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ได้อย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ 16. หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้พิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 6 สิงหาคม 2556 ดังนี้ ก. ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ให้ใช้ราคามาตรฐานตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด หรือให้ใช้ราคาตลาด โดยสืบราคาจากท้องตลาด รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ เป็นราคาอ้างอิง ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากความเหมาะสมของประเภทสินค้าและบริการ และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ข. การพัฒนาซอฟต์แวร์ประเภทโปรแกรมประยุกต์ ให้ใช้ราคามาตรฐานตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด หรือให้ใช้ราคาตลาด โดยสืบราคาจากท้องตลาด รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ เป็นราคาอ้างอิง ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากความเหมาะสมของประเภทสินค้าและบริการ หรืองานโครงการ และเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ค. สาหรับรายการอื่นๆ ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่ได้กำหนดราคามาตรฐาน ให้ใช้ราคาตลาด โดยสืบราคาจากท้องตลาด รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ เป็นราคาอ้างอิง

43 ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สาหรับงานสำนักงาน ลักษณะการใช้งาน 1.1 งานป้อนข้อมูล หรือแสดงผลทั่วไป 1.2 งานเอกสารในสานักงาน เช่น สร้าง แก้ไข ดัดแปลง พิมพ์ เป็นต้น 1.3 งานบันทึก สำรอง และสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1.4 งานแสดงผลการค้นหาความรู้ และความบันเทิงทั่วไป 1.5 งานสืบค้นและแสดงผลข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต 1.6 งานสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐาน เช่น การรับส่งข้อมูลโทรสารข้อความสั้น เป็นต้น 1.7 งานอื่นๆ ซึ่งไม่ต้องใช้ประสิทธิภาพการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อย่างชัดเจน

44 2. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผล แบบที่ 1 หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สำหรับงานประมวลผล
ลักษณะการใช้งาน 2.1 งานคำนวณผลทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ 2.2 งานประมวลผลข้อมูลทางสถิติ 2.3 งานด้านการคำนวณ และสร้างแบบจาลองสำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ 2.4 งานสร้างต้นแบบงานวิศวกรรม และงานสถาปัตยกรรม 2.5 งานสร้างแบบจำลองที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อวิเคราะห์ คำนวณ และออกแบบการทำงานด้านวิศวกรรม 2.6 งานสร้างแบบจำลองลอจิกทางเศรษฐศาสตร์ 2.7 งานสร้างแบบจำลองทางด้านดาราศาสตร์ และการแพทย์ 2.8 งานแปลโปรแกรมระดับสูง (Compile) 2.9 งานอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยความสามารถทางด้านการคำนวณอย่างชัดเจน

45 3. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผล แบบที่ 2 หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สำหรับงานประมวลผล
ลักษณะการใช้งาน 3.1 งานเอกสารที่ต้องใช้ความสามารถระดับสูงสาหรับจัดการแฟ้มข้อมูลกราฟิก เช่น การจัดหน้าเอกสารสำหรับงานพิมพ์ การจัดทาโปสเตอร์ เป็นต้น 3.2 งานตัดต่อสื่อประสมชนิดแฟ้มข้อมูลเสียง (Sound) หรือแฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์ (Video) 3.3 งานเข้าหรือถอดรหัส (Encoder/Decoder) สื่อประสมชนิดแฟ้มข้อมูลเสียง หรือ แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์ 3.4 งานจัดสร้างมัลติมีเดียคอนเทนท์ (Multimedia Content) 3.5 งานสร้างสื่อประสมประเภทภาพเคลื่อนไหว (Animation Multimedia) 3.6 งานอื่นๆ ที่ต้องใช้ความสามารถของการประมวลผลทางด้านกราฟิกอย่างชัดเจน

46 พื้นฐานของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
ข้อปฏิบัติเพิ่มเติม 1. ในกรณีที่หน่วยงานใดมีความประสงค์จะจัดหากล้องโทรทัศน์วงจรปิดชนิดอื่น ซึ่งไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดไว้ สามารถจัดหาได้ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเท่านั้น เช่น ในกรณีหน่วยงานมีความจาเป็นต้องจัดซื้อกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเพิ่มเติมจากระบบเดิม หรือเพื่อทดแทนเฉพาะบางจุดที่ชำรุดใช้งานไม่ได้ หรือใช้ในบริเวณพื้นที่ปิดเฉพาะที่ไม่ใช่บริเวณพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น 2. ในกรณีที่หน่วยงานมีการจัดหาอุปกรณ์บันทึกภาพผ่านเครือข่าย (Network Video Recorder) จะต้องได้รับ Software Development Kit (SDK) ในรูปแบบแผ่น CD หรือ DVD ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องเพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดส่วนกลางแบบบูรณาการในอนาคตได้

47 3. หน่วยงานที่จัดหากล้องโทรทัศน์วงจรปิด ให้กรอกรายละเอียดลงแบบฟอร์มรายงานผลการจัดหาระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และส่งให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเมื่อดาเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดต่อไป 4. ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่จัดหา ต้องทาการเทียบเวลาโดยอัตโนมัติกับระบบเทียบเวลามาตรฐาน (NTP Server) ที่ได้เทียบเวลากับอุปกรณ์เทียบเวลามาตรฐาน Stratum 1 ที่ให้บริการภายในประเทศไทย ได้แก่ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (time1.nimt.or.th) กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ (time.navy.mi.th) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (clock.nectec.or.th)

48 ข้อแนะนำ 1. ในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดควรพิจารณาจุดติดตั้งไม่ให้ซ้ำซ้อนกับจุดติดตั้งของหน่วยงานภาครัฐอื่น 2. เกณฑ์ราคากลางนี้เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) แล้ว และมีการรับประกันผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี 3. เกณฑ์ราคากลางนี้เป็นราคาที่ไม่รวมค่าติดตั้งและวัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง อื่น ๆ เช่น สายสื่อสัญญาณต่าง ๆ หรือ เสาติดตั้งกล้อง เป็นต้น 4. คุณลักษณะพื้นฐานตามเกณฑ์ราคากลางนี้เป็นคุณลักษณะขั้นต่ำ (Minimum Requirement) ภายในราคาที่กำหนด ในการจัดซื้อควรกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเพิ่มเติมให้ตรงตามความต้องการ 5. ควรพิจารณากำหนดคุณลักษณะเพิ่มเติมของอุปกรณ์ที่จัดหาให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน เช่น ค่า F-stop ค่า IRE หรือสามารถปรับภาพให้มีความคมชัดทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นต้น

49 6. ควรพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น จากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐานด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตัวอย่างเช่น มอก., International Organization for Standardization (ISO) เป็นต้น 7. ควรพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น จากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐานด้านการบริหารจัดการหรือบริหารงานที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่น มอก., International Organization for Standardization (ISO) เป็นต้น 8. ในการพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น ให้คานึงถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ เช่น การลดหรือเลิกใช้วัสดุที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Reduction/Elimination of Environmentally Sensitive Materials), การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Material Selection), การออกแบบเพื่อง่ายต่อการจัดการซากเครื่องใช้ที่หมดอายุ (Design for End of Life), การยืดอายุการใช้งาน (Product Longevity/Life Cycle Extension), การอนุรักษ์พลังงาน (Energy Conservation), การบริหารจัดการซาก (End of Life Management), สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Performance) หรือ บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นต้น Conservation), การบริหารจัดการซาก (End of Life Management), สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Performance) หรือ บรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นต้น

50 9. ควรพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น ที่ได้รับมาตรฐานด้านการป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะไปรบกวนอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น มอก., Federal Communications Commission (FCC) เป็นต้น 10. ควรพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น ที่ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น มอก., Underwriters' Laboratories Inc. (UL), Conformite Europeene (CE), Canadian Standards Association (CSA) เป็นต้น 11. การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐาน Onvif สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ 12. การนาเกณฑ์คุณลักษณะพื้นฐาน ข้อปฏิบัติเพิ่มเติม และข้อแนะนาประกอบการพิจารณานี้ไปใช้ ในการจัดหา ให้พิจารณาจัดทารายละเอียดที่มีผลิตภัณฑ์สามารถเข้าแข่งขันการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมได้อย่างน้อย 3 ผลิตภัณฑ์

51 ลักษณะการใช้งานของกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแต่ละประเภท

52

53

54 - ตัวอย่างการเขียนแบบรายงานฯ
- ตัวอย่างการกรอกข้อมูลในแบบ คกก.มท.๐๑, คกก.มท.๐๒ และ คกก.มท.๐๓

55 สรุปประเด็นปัญหา ใช้แบบฟอร์มไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะแบบฟอร์มที่ปรับใหม่ แบบ คกก.มท.๐๑ เขียนรายละเอียดในแบบรายงานฯ ไม่ถูกต้อง ใช้เกณฑ์ราคากลางของกระทรวงดิจิทัลฯ ฉบับเก่า หน่วยงานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เสนอแบบรายงานผ่านอำเภอในพื้นที่ จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ไม่สอดคล้องกับลักษณะงานที่ใช้จริง ใบเสนอราคามีรูปแบบไม่ถูกต้อง และอุปกรณ์ที่เสนอราคามีคุณลักษณะไม่สอดคล้องกับคุณลักษณะพื้นฐานที่หน่วยงานกำหนด และไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ แยกแบบรายงานเป็นส่วน/ฝ่าย แต่จัดหาในวาระเดียวกัน ส่งแบบรายงานที่ให้ปรับแก้ล่าช้า

56 สรุปประเด็นปัญหา ๙. บางหน่วยงานติดต่อประสานงานยาก
๙. บางหน่วยงานติดต่อประสานงานยาก ๑๐. หน่วยงานไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ที่สามารถชี้แจงโครงการได้มาร่วมประชุม ๑๑. การตั้งเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติ ที่ไม่มีความยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของกระทรวงดิจิทัลฉบับปัจจุบันได้ ๑๒. หลังการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์แล้วหน่วยงานไม่ได้รายงานผลการจัดหาตามแบบฟอร์ม คกก.มท.๐๓ ให้จังหวัดทราบ

57 E-mail : somphong2517@hotmail.com
ขอบคุณครับ นายสมพงษ์ อิ่นอ้าย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดน่านเบอร์โทร : IDLine : phong2517


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวรุ่งรัตน์ จิณะเสน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google