งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development)
Management Information System 2004 8 Chapter การพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development) Copyright© 2004 by Songkhla Rajabhat University

2 Management Information System
2004 บทนี้มีอะไรบ้าง ? 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ 8.2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (System Development Life Cycle: SDLC) 8.4 การสร้างต้นแบบ (Prototyping) 8.5 การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End-User Development)

3 Management Information System
2004 บทนี้มีอะไรบ้าง ? 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก(Outsourcing) 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป(Application Software Package) 8.8 การนำระบบสารสนเทศไปติดตั้ง (System Implementation) 8.9 การวัดความสำเร็จของระบบ 8.10 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือล้มเหลว 8.11 สรุป

4 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ การสร้างระบบสารสนเทศใหม่เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการวางแผนองค์การ โดยจะต้องมีการพัฒนาแผนระบบสารสนเทศให้สนับสนุนกับแผนรวมขององค์การทั้งหมด ซึ่งองค์กรควรจะมีแผนกลยุทธ์ขององค์กรก่อนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศให้รองรับกับแผนกลยุทธ์ขององค์การ จากนั้นจึงกำหนดแผนปฏิบัติการและโครงสร้างด้านสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในองค์การต่อไป

5 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ความหมายครอบคลุมทั้งทางด้านเทคนิค และทางด้านการบริหาร ซึ่งในด้านเทคนิคหมายความรวมถึง ฮาร์ดแวร์, ซอร์ฟแวร์, เครือข่าย, และฐานข้อมูล ส่วนด้านการจัดการ คือ การดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคอมพิวเตอร์ (เช่นศูนย์คอมพิวเตอร์) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เป็นต้น

6 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาวเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการริเริ่มในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

7 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ มีลักษณะ 3 ประการคือ แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศจะต้องสัมพันธ์กับแผนกลยุทธ์ขององค์กร แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศควรจะมีการกำหนดโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (IT Architecture) ซึ่งต้องทำให้ฐานข้อมูล, แอพพลิเคชั่น, และผู้ใช้มีการเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้สำเร็จตามเวลา และทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

8 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ แผนปฏิบัติการด้านระบบสารสนเทศ แผนปฏิบัติการด้านระบบสารสนเทศประกอบด้วย พันธกิจของระบบสารสนเทศ สิ่งแวดล้อมของระบบสารสนเทศ เป็นการกล่าวถึงความจำเป็นด้านข่าวสารของหน่วยงานต่าง ๆ วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ

9 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ แผนปฏิบัติการด้านระบบสารสนเทศ แผนปฏิบัติการด้านระบบสารสนเทศประกอบด้วย ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศ ทั้งข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี, ด้านการงาน, และด้านบุคลากร ความจำเป็นของระบบในระยะยาว แผนระยะสั้น

10 กระบวนการวางแผนระบบสารสนเทศ
Management Information System 2004 กระบวนการวางแผนระบบสารสนเทศ ภารกิจขององค์การ การประเมิน สภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานเดิม ด้าน IS แผนกลยุทธ์ ขององค์การ แผนกลยุทธ์ด้าน IS โครงสร้างพื้นฐานด้าน IS แผนปฏิบัติการด้าน IS โครงการด้าน IS

11 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ 1. วิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์การ วิสัยทัศน์ : องค์การกำลังมุ่งไปในทิศทางใด แผนกลยุทธ์ : องค์การจะเดินไปตามทิศทางที่กำหนดไว้อย่างไร 2. ระบบสารสนเทศจะสนับสนุนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์การอย่างไร ระบบสารสนเทศจะมีบทบาทในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์การอย่างไร ระบบสารสนเทศเดิมเป็นอย่างไร แผนระบบสารสนเทศในปัจจุบันเป็นอย่างไร แผนระบบสารสนเทศในอนาคตจะพัฒนาในลักษณะอย่างไร

12 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ 3. ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ระบบปัจจุบันได้สนับสนุนองค์การมากน้อยเพียงไร ระบบปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ควรจะปรับปรุงระบบปัจจุบันอย่างไร 4. ระบบสารสนเทศที่เสนอแนะ หลักการและเหตุผล ความสามารถของระบบใหม่ ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ ข้อมูล และการสื่อสารข้อมูล

13 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ 5. กลยุทธ์ทางการบริหาร แผนการจัดหา ช่วงเวลาดำเนินการ การจัดโครงสร้างองค์การใหม่ การปรับปรุงระบบงานภายในองค์การ การควบคุมทางการบริหาร การฝึกอบรม กลยุทธ์ด้านบุคลากร

14 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ
Management Information System 2004 8.1 การวางแผนระบบสารสนเทศในองค์การ 6. แผนปฏิบัติการ รายละเอียดแผนปฏิบัติการ ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รายงานความก้าวหน้า 7. งบประมาณที่ต้องการใช้ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 8. การพัฒนาระบบสารสนเทศ

15 8.2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
Management Information System 2004 8.2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development) เป็นกิจกรรมทั้งหมดที่จำเป็นในการนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อแก้ปัญหาขององค์การหรือสร้างโอกาสให้กับองค์การ การพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายวิธี เช่น แบบวงจรชีวิต(System Development Life Cycle), การสร้างต้นแบบ(Prototyping), การเน้นผู้ใช้เป็นหลัก(End-User Development), การจ้างบุคคลภายนอก(Outsourcing), และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป(Application software package)

16 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) เป็นวิธีที่ใช้ในองค์การส่วนใหญ่ เทคนิคนี้ประกอบด้วยวิธีการดำเนินการ (Methodology) หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบ, ความรู้ความถนัดของผู้พัฒนาระบบ, เครื่องมือการพัฒนาระบบด้วย ตัวอย่าง Methodology ที่นิยมใช้ในการพัฒนาระบบอย่างเช่น แบบObjected Oriented และแบบ Waterfall Methodology

17 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิตแบบดั้งเดิม ประกอบด้วยขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ 1. การสำรวจระบบ (Systems Investigation) 2. การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) 3. การออกแบบระบบ (Systems Design) 4. การเขียนโปรแกรม (Programming) 5. การทดสอบระบบ (Testing) 6. การนำระบบไปติดตั้ง (Implementation) 7. การปฏิบัติงานโดยใช้ระบบใหม่ (Operation) 8. การบำรุงรักษา (Maintenance)

18 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) โครงการสารสนเทศที่มีขนาดใหญ่จะมีขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศดังกล่าว แต่โครงการขนาดเล็กอาจใช้บางตอนเท่านั้น ในอดีตนักพัฒนาระบบใช้วิธีการที่เรียกว่า waterfall approach ในการดำเนินการตามเทคนิค SDLC คือจะมีการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะดำเนินการต่อไป แต่ในปัจจุบันนักพัฒนาระบบอาจจะดำเนินการย้อนกลับไปกลับมาได้ตามความจำเป็น

19 ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต
Management Information System 2004 ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต การสำรวจระบบ (Systems Investigation) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) การออกแบบระบบ (Systems Design) การเขียนโปรแกรม (Programming) การทดสอบระบบ (Systems Testing) การนำระบบไปติดตั้ง (Implementation) การปฏิบัติงาน & การบำรุงรักษา (Operation & Maintenance) ย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนนี้หรือหยุด

20 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 1. การสำรวจระบบ (System Investigation) เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการว่ามีโอกาสความสำเร็จมากน้อยเพียงใด รวมทั้งประเมินความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Technical Feasibility) 2. ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Feasibility) 3. ความเป็นไปได้ด้านพฤติกรรม (Behavioral Feasibility)

21 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 2. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นการวิเคราะห์ปัญหาขององค์การซึ่งจะแก้ไขโดยระบบสารสนเทศ ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการระบุปัญหาขององค์การ สาเหตุของปัญหา การแก้ปัญหา และระบุความต้องการสารสนเทศ (Information requirement)

22 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 3. การออกแบบระบบ (System Design) เป็นการบรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่ระบบต้องทำเพื่อแก้ปัญหาองค์การ และวิธีการดำเนินงาน โดยประกอบด้วย - ปัจจัยนำเข้าของระบบ, ผลผลิตของระบบ, และการออกแบบหน้าจอให้กับผู้ใช้ (User Interface) - ฮาร์ดแวร์, ซอร์ฟแวร์, ฐานข้อมูล และการสื่อสารโทรคมนาคม, บุคลากร และกระบวนการ (procedure) - การบูรณาการส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ

23 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 3. การออกแบบระบบ (System Design) การออกแบบระบบมี 2 ประเภทคือ 1.การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Systems Design) การออกแบบส่วนของระบบสารสนเทศ และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในลักษณะที่ปรากฏต่อผู้ใช้ รวมทั้งการออกแบบ อินพุท, เอาท์พุท, กระบวนการฐานข้อมูล, การสื่อสารโทรคมนาคม, การควบคุม, และความปลอดภัยของข้อมูล

24 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 3. การออกแบบระบบ (System Design) การออกแบบระบบมี 2 ประเภทคือ 1.การออกแบบด้านกายภาพ (Physical Systems Design) เน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงตรรกะซึ่งมีลักษณะนามธรรม ให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงในการออกแบบด้านเทคนิคมากขึ้น รวมทั้งการออกแบบฮาร์ดแวร์, ซอร์ฟแวร์, และฐานข้อมูล

25 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 4. การเขียนโปรแกรม (Programming) คือการเปลี่ยนแปลงจากรายละเอียดของการออกแบบ (Design specification) เป็นรหัสคอมพิวเตอร์ (Computer code) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจจะใช้เวลานาน โปรแกรมขนาดใหญ่อาจจะประกอบด้วยคำสั่งหลายหมื่นบรรทัดโดยใช้โปรแกรมเมอร์เป็นร้อยคน

26 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 5. การทดสอบ (Testing) การทดสอบจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นการตรวจสอบว่ารหัสคอมพิวเตอร์ที่เขียนไว้จะสามารถให้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ การทดสอบจะต้องใช้เวลา และความพยายามมาก การทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาด (Bugs) ในโปรแกรมซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาด 2 ประการคือ 1) ความผิดพลาดในเรื่องของรูปแบบ (Syntax error) 2) ความผิดพลาดเชิงตรรกะ (Logic error)

27 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 6. การนำระบบไปติดตั้ง (Implementation) เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนจากระบบเก่าเข้าสู่ระบบใหม่ ซึ่งวิธีการเปลี่ยนระบบสามารถทำได้ 4 รูปแบบคือ 1. แบบคู่ขนาน (Parallel) 2. แบบเปลี่ยนทั้งหมด (Direct Conversion) 3. การเปลี่ยนแปลงโดยใช้โครงการนำร่อง (Pilot Conversion) 4. การเปลี่ยนแปลงแบบมีขั้นตอน (Phased Conversion)

28 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 6. การนำระบบไปติดตั้ง (Implementation) 1. แบบคู่ขนาน (Parallel) เป็นการดำเนินการพร้อมกันทั้งระบบเก่าและระบบใหม่ ในเวลาเดียวกัน เพื่อนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ มีต้นทุนแพงที่สุด แต่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ระบบงานที่มีขนาดใหญ่มักนิยมใช้แบบนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 2. แบบเปลี่ยนทั้งหมด (Direct Conversion) เป็นการติดตั้งระบบใหม่แทนระบบเดิมทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงนี้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดแต่มีความเสี่ยงมากที่สุดหากระบบไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้

29 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 6. การนำระบบไปติดตั้ง (Implementation) 3. การเปลี่ยนแปลงโดยใช้โครงการนำร่อง (Pilot Conversion) เป็นการติดตั้งระบบใหม่ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การ และหลังจากที่ระบบใหม่ติดตั้งและดำเนินการไประยะหนึ่งแล้วก็จะมีการประเมินผล หากระบบใหม่มีความเหมาะสมจึงค่อยนำไปใช้กับส่วนอื่นๆ 4. การเปลี่ยนแปลงแบบมีขั้นตอน (Phased Conversion) มีการแบ่งการเปลี่ยนแปลงออกเป็นส่วนย่อย ๆ หรือ module หรือแบ่งระยะเวลาในการติดตั้ง จากนั้นจึงลองนำบาง module ไปทดลองติดตั้ง หากได้ผลจึงค่อยนำ module อื่นไปปฏิบัติจนกระทั่งครบทั้งระบบ

30 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) 7. การดำเนินการและการบำรุงรักษา เมื่อมีการติดตั้งระบบใหม่แล้ว จะต้องมีการบำรุงรักษา ซึ่งมีหลายลักษณะ คือ 1. ตรวจความถูกต้องของโปรแกรม (Debugging the program) เป็นขั้นตอนที่ต้องทำต่อเนื่องไปตลอดอายุของระบบ 2. การปรับปรุงระบบให้ทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไข การปฏิบัติที่อาจเปลี่ยนแปลงไป 3. การเพิ่มหน้าที่ทำงานให้ระบบ

31 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) ข้อจำกัดของ SDLC ใช้ทรัพยากรมาก เนื่องจากมีขั้นตอนการดำเนินงานมาก ทั้งด้านบุคลากร, งบประมาณ, และเวลา ไม่ยืดหยุ่น และทำการเปลี่ยนแปลงลำบาก ไม่เหมาะกับระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจ

32 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC)
Management Information System 2004 8.3 การพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิต (SDLC) ความสัมพันธ์ขั้นตอนต่าง ๆ ของ SDLC ต้นทุน (การศึกษาความเป็นไปได้) การวางแผน และการบำรุงรักษา การปฏิบัติจริง การวิเคราะห์ระบบ การเขียนโปรแกรม และทดสอบ (แก้ไขข้อบกพร่อง) การปฏิบัติงาน การออกแบบระบบ เวลา

33 8.4 การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
Management Information System 2004 8.4 การสร้างต้นแบบ (Prototyping) การสร้างต้นแบบจะไม่พัฒนาทั้งระบบเดียวทั้งหมด แต่จะพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ (Prototyping) ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ของระบบใหม่ แต่จำลองให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ก่อน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ในการปรับปรุงต้นแบบนี้ให้เหมาะสมต่อไป

34 8.4 การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
Management Information System 2004 8.4 การสร้างต้นแบบ (Prototyping) ขั้นตอนของวิธีการสร้างต้นแบบมี 4 ขั้นตอนดังนี้ การหาความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้ การออกแบบต้นแบบ การนำต้นแบบไปทดลองใช้ การปรับปรุงต้นแบบ

35 8.4 การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
Management Information System 2004 8.4 การสร้างต้นแบบ (Prototyping) ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบสร้างต้นแบบ ระบุความต้องการ ออกแบบต้นแบบ นำต้นแบบไปทดลองใช้ ไม่พอใจ พอใจ นำไปใช้เป็น Operational Prototype ผู้ใช้พอใจ ปรับปรุงต้นฉบับ

36 8.5 การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End User Development)
Management Information System 2004 8.5 การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End User Development) เป็นการพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ ซึ่งอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยมากหรือไม่ได้ใช้เลย วิธีนี้มีความนิยมใช้กันมากเนื่องจากความก้าวหน้าของโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาระบบขึ้นมาด้วยตนเอง

37 8.5 การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End User Development)
Management Information System 2004 8.5 การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End User Development) ข้อดี ประสิทธิภาพการทำงานสูง โดยอาศัยการสนับสนุนจากโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งมีความสามารถด้านกราฟฟิก, การสร้างโมเดล, และการดึงข้อมูล การศึกษาหาความต้องการของผู้ใช้ทำได้ดีขึ้น เพราะผู้ใช้ทราบความต้องการของตนดี ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้น อันทำให้ผู้ใช้มีความพอใจสูงขึ้น

38 8.5 การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End User Development)
Management Information System 2004 8.5 การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ (End User Development) ข้อจำกัด ขีดความสามารถของโปรแกรมสำเร็จรูปมีจำกัด และต้นทุนสูงมาก ไม่เหมาะกับการประมวลผลที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่เหมาะกับการประมวลผล หรือการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะ

39 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing)
Management Information System 2004 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing) การจ้างบุคคลภายนอกมาดำเนินงาน วิธีนี้นิยมใช้ในกรณีที่บริษัทมีต้นทุนของระบบสารสนเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัทอาจจะจ้างบุคคลภายนอกมาใช้เพื่อควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย

40 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing)
Management Information System 2004 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing) ข้อดี ประหยัด : อาจจะลดต้นทุนกว่าการมีศูนย์คอมพิวเตอร์และเจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ และองค์การยังได้ใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเดียวกันกับลูกค้าหลาย ๆ ราย และสามารถคิดค่าจ้างในราคาที่แข่งขันได้ คุณภาพการบริการ : ผู้รับจ้างแข่งขันกันในการให้บริการ ลดความไม่แน่นอน : ควบคุมค่าใช้จ่ายได้, ลดความเสี่ยงจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้

41 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing)
Management Information System 2004 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing) ข้อจำกัด หน่วยงานสูญเสียการควบคุมระบบสารสนเทศเอง หน่วยงานมักจะเป็นฝ่ายตั้งรับจากฝ่ายผู้รับจ้าง หน่ายงานอาจจะไม่สามารถควบคุมต้นทุนได้ และสูญเสียการควบคุมเทคโนโลยีในหน่วยงานตน ความลับทางการค้าอาจรั่วไหลไปยังคู่แข่งได้ เนื่องจากระบบสารสนเทศดำเนินการโดยบุคคลภายนอก

42 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing)
Management Information System 2004 8.6 การจ้างบุคคลภายนอก (Outsourcing) เงื่อนไขวิธีการจ้างบุคคลภายนอก จ้างในระบบที่ไม่มีผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่นระบบเงินเดือน จ้างในระบบที่สามารถหยุดชะงักได้โดยไม่ได้มีผลกระเทือนมากนัก เช่นระบบคำร้องขอเงินชดเชย เป็นต้น เมื่อสมรรถภาพด้านระบบสารสนเทศของหน่วยงานมีจำกัด

43 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package)
Management Information System 2004 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package) เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งได้รับการพัฒนาแล้ว โดยมีขายหรือให้เช่าทั่ว ๆ ไป ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้มีมากมายตั้งแต่งานง่าย ๆ กระทั่งงานที่มีความซับซ้อน เช่น งานด้านเงินเดือน, บัญชี, และงานควบคุมสินค้าคงคลัง โปรแกรมสำเร็จรูป ทำให้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ ทำให้ต้นทุนในการดำเนินการลดลงมาก

44 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package)
Management Information System 2004 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package) ตัวอย่างซอร์ฟแวร์สำเร็จรูป บัญชีรายรับ (Accounts receivable) การบริหารหุ้น การออกแบบ (Computer – aided- design: CAD) การวางแผนทรัพยากร การจัดการโรงแรม การควบคุมสินค้าและคงคลัง ระบบห้องสมุด ระบบเงินเดือน

45 Management Information System
2004 ผลการปรับปรุงโปรแกรมสำเร็จรูปให้สอดคล้องกับความต้องการกับต้นทุนที่เกิดขึ้น 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 ต้นทุนการดำเนินการทั้งหมด % อัตราการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการ(customization)

46 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package)
Management Information System 2004 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package) ข้อดี โปรแกรมสำเร็จรูปมีการทดสอบก่อนนำออกสู่ตลาด ผู้ขายมักมีการบำรุงรักษาและให้การสนับสนุนระบบอย่างต่อเนื่องทำให้มั่นใจในระดับหนึ่งว่าระบบมีการพัฒนาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาด้านธุรกิจ

47 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package)
Management Information System 2004 8.7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Application software package) ข้อจำกัด ในบางครั้งหน่วยงานอาจมีความต้องการงานที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถสนองต่อความต้องการนั้นได้

48 8.8 การนำระบบสารสนเทศไปติดตั้ง (System Implementation)
Management Information System 2004 8.8 การนำระบบสารสนเทศไปติดตั้ง (System Implementation) การติดตั้งระบบบางครั้งอาจประสบความล้มเหลวในการทำงาน หมายถึงระบบไม่สามารถดำเนินการตามที่คาดหวังไว้ หรือไม่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือใช้ไม่ได้เลย ดังนั้นจึงเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดของความสำเร็จของระบบ, ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบ , การจัดการกับการติดตั้งระบบ

49 8.9 การวัดความสำเร็จของระบบ
Management Information System 2004 8.9 การวัดความสำเร็จของระบบ ความสำเร็จของระบบมีตัวชี้วัดหลายตัว ตัวชี้วัดที่นิยมมากที่สุดได้แก่ ระดับการใช้งาน(Utilization) ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อระบบ(User satisfaction) ประสิทธิภาพ(Efficiency) ประสิทธิผล(Effectiveness)

50 8.10 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบ
Management Information System 2004 8.10 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบ แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach) แนวทางศึกษาที่เน้นกระบวนการ(Process Approach) แนวทางศึกษาระบบเปิด(Open Systems Approach) แนวทางศึกษาที่พิจารณาเฉพาะเรื่อง(Focus Approach)

51 8.10 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบ
Management Information System 2004 8.10 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบ แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach) การมีส่วนร่วมของผู้ใช้(user participation) การสนับสนุนจากผู้บริหาร ช่องว่างการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้(user-designer communication gap) ระดับความซับซ้อนและความเสี่ยง(level of complexity and risk)

52 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach)
Management Information System 2004 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach) การมีส่วนร่วมของผู้ใช้(user participation) ทำให้ผู้ใช้มีบทบาทในการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตนเองได้ ทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อระบบเนื่องจากตนเองมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลง การนำความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้ใช้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ดีกว่า

53 โมเดลการมีส่วนร่วมของผู้ใช้
Management Information System 2004 โมเดลการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ลักษณะของผู้ใช้ User characteristics บทบาทการมีส่วนร่วม คุณภาพของระบบ IS ปัจจัยการรับรู้/เรียนรู้ (cognitive factors) การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ชนิด(Type) ระดับ(degree) ปัจจัยการจูงใจ (motivational factors) การยอมรับระบบ IS ลักษณะการพัฒนาระบบ ชนิดของการพัฒนาระบบ ระดับ(stages) บรรยากาศองค์กร (organizational climate)

54 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach)
Management Information System 2004 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach) การสนับสนุนจากผู้บริหาร หากระบบงานได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารในทุกระดับ ก็จะมีแนวโน้มที่ทำให้ผู้ใช้และเจ้าหน้าที่ระบบสารสนเทศเกิดทัศนคติที่ดีต่อระบบด้วย

55 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach)
Management Information System 2004 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach) ช่องว่างการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้ (user-designer communication gap) โดยทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างผู้ออกแบบระบบสารสนเทศและผู้ใช้เป็นเรื่องที่มักจะเกิดปัญหา เนื่องมาจากความแตกต่างในภูมิหลัง ความสนใจ และการลำดับความสำคัญของผู้ออกแบบและผู้ใช้ และส่งผลทำให้การสื่อสารและการแก้ปัญหาร่วมกันมักจะไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

56 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach)
Management Information System 2004 แนวทางศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach) ระดับความซับซ้อนและความเสี่ยง(level of complexity and risk) ความเสี่ยงในการดำเนินการขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการคือ ขนาดของโครงการ โครงสร้างของโครงการ ประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยี

57 โมเดลความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
Management Information System 2004 โมเดลความสำเร็จของระบบสารสนเทศ การสนับสนุนของผู้บริหาร ความสำเร็จของระบบ (MIS Success) ปริมาณการใช้งาน ความพึงพอใจของผู้ใช้ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ ระดับความซับซ้อนของโครงการ ความพร้อมด้านทรัพยากร

58 แนวทางศึกษาที่เน้นกระบวนการ(Process Approach)
Management Information System 2004 แนวทางศึกษาที่เน้นกระบวนการ(Process Approach) ได้นำทฤษฏีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร(Organization Change) หรือแนวคิดเรื่องกระบวนการติดตั้ง(Implementation process) มาประกอบกัน เน้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ทำให้แนวทางนี้มีการศึกษาถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลง dynamic ได้ดีกว่าแนวทางแรก

59 โมเดลการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปติดตั้งของ Cooper Zmud
Management Information System 2004 โมเดลการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปติดตั้งของ Cooper Zmud ลักษณะงาน Task characteristics + การนำเทคโนโลยีไปติดตั้ง IT Implementation Adoption Infusion ความเข้ากันได้ compatibility ลักษณะเทคโนโลยี Technology characteristics - ความซับซ้อนของเทคโนโลยี Technology complexity ความซับซ้อนของงาน Task complexity

60 แนวทางศึกษาระบบเปิด(Open Systems Approach)
Management Information System 2004 แนวทางศึกษาระบบเปิด(Open Systems Approach) แนวทางการศึกษาของแนวทางนี้ต้องการใช้กรอบแนวคิดที่มีความครอบคลุมโดยนำปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาด้วย แนวทางนี้เหมาะสำหรับระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภายนอกโดยเฉพาะลักษณะที่เชื่อมโยงสารสนเทศข้ามองค์กร(Inter-organization information systems)

61 Management Information System
2004 สรุป การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในองค์กร ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบมีแผน ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร รวมทั้งมีแผนปฏิบัติการด้านระบบสารสนเทศที่ชัดเจนด้วย การพัฒนาระบบสารสนเทศคือ กิจกรรมทั้งหมดในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อใช้การแก้ปัญหาหรือสร้างโอกาสทางธุรกิจขององค์กร

62 Management Information System
2004 สรุป การพัฒนาระบบสารสนเทศมีแนวทางที่สำคัญคือ แนวทางพัฒนาระบบสารสนเทศแบบดั้งเดิม(traditional systems development life cycle) แนวทางแบบต้นแบบ(Prototyping) แนวทางแบบผู้ใช้เป็นหลัก(End-user Development) การจ้างหน่วยงานภายนอก(outsourcing) และการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

63 Management Information System
2004 สรุป แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบดั้งเดิม มีขั้นตอนสำคัญ 8 ขั้นตอน คือ การสำรวจระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การเขียนโปรแกรม การทดสอบ การนำไปติดตั้ง การนำไปปฏิบัติงาน และการบำรุงรักษา

64 Management Information System
2004 สรุป แนวทางแบบต้นแบบ คือ การพัฒนาต้นแบบหรือแบบจำลองขึ้นมาก่อน เพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้ หากมีปัญหาและข้อเสนอแนะ ก็จะนำมาปรับปรุงต้นแบบให้เหมาะสมต่อไป ส่วนแนวทางแบบผู้ใช้เป็นหลัก คือ แนวทางที่ผู้ใช้เป็นผู้ที่พัฒนาออกแบบระบบสารสนเทศเอง โดยผู้เชี่ยวชาญมีบทบาทในการช่วยเหลือน้อยมาก สำหรับแนวทางจ้างหน่วยงานภายนอก ใช้ในกรณีที่หน่วยงานไม่มีผู้เชี่ยวชาญและการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นการนำซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในท้องตลาดมาใช้ในงานที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน

65 Management Information System
2004 สรุป แนวทางการศึกษาเรื่องการนำระบบไปติดตั้ง จำแนกเป็น 4 แนวทาง ได้แก่ การศึกษาที่เน้นปัจจัย(Factor Approach) แนวทางการศึกษาที่เน้นกระบวนการ(Process Approach) แนวทางการศึกษาระบบเปิด(Open system approach) และแนวทางที่พิจารณาเฉพาะเรื่อง(Focus approach)


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google