เอกภพ หรือ จักรวาล (Universe) เป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดและไร้ขอบเขต และเป็นห้วงอวกาศที่เต็มไปด้วยดวงดาวจำนวนมหาศาล ซึ่งเราจะเรียกดวงดาวที่เกาะกันเป็นกลุ่มว่า กาแล็กซี
เอกภพ หรือ จักรวาล (Universe) เอกภพ (Universe) หมายถึง ระบบซึ่งเป็นผลรวมของกาแล็กซี่ทั้งหมด หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ เวลา พลังงานและสสาร การกำเนิดเอกภพ มีหลายทฤษฎีด้วยกัน คือ
ทฤษฎีกำเนิดเอกภพ 1. ทฤษฎีสัมพันธภาพ ของไอน์สไตน์ ซึ่งสรุปได้ว่า เอกภพจะไม่หดตัวและไม่สลาย แต่จะคงที่ หรือเอกภพไม่มีกำเนิด โดยที่ไอน์สไตน์ได้ใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพกับโมเดลเอกภพที่หยุดนิ่ง สม่ำเสมอ เหมือนกันทุกทิศทาง ซึ่งก็คือโมเดลเอกภพปิด หมายความว่า ถ้าดูในบริเวณแคบๆ ของเอกภพอาจจะมีโลก ดาวพุธ ดาวศุกร์ เป็นต้น แต่ถ้าในวงกว้างแล้ว ไม่ว่าจะมองไปทิศทางไหน เอกภพจะเหมือนกันทั้งหมด ไม่มีที่ไหนพิเศษกว่าที่อื่น
กำเนิดเอกภพ 2. ทฤษฎีบิกแบง(Big-bang Theory) ของ จอร์จ เลอแมตร์ กล่าวคือ เมื่อประมาณ 13,000 ล้านปีมาแล้ว มีการระเบิดของกาแล็กซี่ทั้งหลายถูกบีบคั้นอัดตัวแน่นอย่างยิ่งด้วยพลังงานมหาศาล และมีการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ มวลสารและพลังงานมหาศาลถูกปล่อยออกไป การระเบิดใหญ่มีความร้อนสูงที่สุด สสารและพลังงานของการระเบิดทำให้เกิดการขยายตัวออกไป เกิดแรงโน้มถ่วงและแรงยึดนิวเคลียสของอะตอมของธาตุและเกิดสรรพสิ่งต่างๆ อาทิเช่น ดาวฤกษ์ กาแล็กซี่ต่างๆ พลังงานความร้อนและรังสีต่างๆ
กำเนิดเอกภพ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ทฤษฎีบิกแบง ถูกต้อง คือ การตรวจพบอุณหภูมิพื้นหลังของอวกาศ ซึ่งเท่ากับ 4 องศาเคลวิน โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์วิทยุอุณหภูมิพื้นหลังนี้อาจเป็นพลังงานที่หลงเหลือจากการระเบิดครั้งใหญ่ ซึ่งทถษฎีที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง คือ ทฤษฎีการขยายตัวของเอกภพ ของ ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ค้นพบว่ากาแล็กซี่จะเคลื่อนที่ไกลออกไปด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น
กำเนิดเอกภพ 3. ทฤษฎีสภาวะคงตัว กล่าวคือ สสารในกาแล็กซี่ต่อหน่วยปริมาตรของอวกาศในเอกภพ จะเป็นค่าคงตัวไม่มีความสิ้นสุดทั้งอวกาศและกาลเวลา
กำเนิดเอกภพ 4. ทฤษฎีเอกภพแกว่งกวัดกล่าวคือ การขยายตัวของเอกภพจะช้าลงและหยุดลงได้ สสารทั้งหลายจะหดตัวกลับและดึงมวลเข้าหากันแล้วจะกลับเริ่มยุบตัวของสสารลง
กำเนิดเอกภพ 5. ทฤษฎีการขยายตัวลดลง กล่าวคือ ถ้าในเอกภพไม่มีสสารมากไปกว่าที่พบเอกภพจะขยายตัวต่อไปเรื่อยๆในสภาวะของการขยายตัวอย่างไม่สิ้นสุดนี้ทุกสิ่งทุกอย่างจะจางหายไป ดาวฤกษ์ที่อายุมากจะถึงวาระสุดท้ายจะไม่มีดาวฤกษ์ใหม่เกิดขึ้นภายในกาแล็กซี
กำเนิดเอกภพ 6. ทฤษฎีเอกภพหดตัวและขยายตัว นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าเอกภพมีการขยายตัวและหดตัวคล้ายหัวใจ จึงเชื่อว่าการระเบิดใหญ่จะตามมาด้วยการรวมกันครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นการขยายตัวและหดตัวเรื่อยๆไป
กำเนิดเอกภพ 7. ทฤษฎีบิกครันซ์ กล่าวคือ ถ้าเอกภพมีสสารมากกว่าที่พบแรงโน้มถ่วงจากสสารจะดึงเอกภพให้เคลื่อนที่ช้าลงและดึงทุกอย่างกลับจนกระทั่งกาแล็กซี เกิดการชนกันจึงอาจจะมีการรวมกัน ครั้งยิ่งใหญ่หรือบิกครันซ์ซึ่งตรงข้ามกับบิกแบง
เอกภพปิด (Closed Universe) คือ เอกภพมีความหนาแน่นของมวลสารและพลังงานมากเพียงพอ จนแรงโน้มถ่วงสามารถเอาชนะแรงดันออกหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ได้ ในที่สุดเอกภพจะหดตัวกลับ และถึงจุดจบที่เรียกว่า บิ๊กครันช์ (Big Crunch)
เอกภพเปิด (Open Universe) คือ เอกภพมีความหนาแน่นของมวลสารและพลังงาน ต่ำเกินไป ทำให้แรงโน้มถ่วง ไม่สามารถเอาชนะแรงดันออกหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ได้ เอกภพจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งอุณหภูมิของเอกภพเข้าใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ เมื่อถึงเวลานั้น จะไม่มีพลังงานหลงเหลืออยู่อีก อะตอมและโมเลกุลต่าง ๆ จะหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนที่ใด ๆ เรียกว่า บิ๊กชิลล์ (Big Chill)
เอกภพแบน (Flat Universe) คือ เอกภพมีความหนาแน่นของมวลสารและพลังงาน ในระดับที่ แรงโน้มถ่วง ได้ดุลกับแรงดันออกหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ในที่สุดเอกภพจะขยายตัวแต่ด้วยอัตราที่ช้าลงเรื่อย ๆ
กาแล็กซี (GALAXY) กาแล็กซี (GALAXY) คือ ระบบที่กว้างใหญ่ไพศาล ประกอบด้วยดาวฤกษ์ กระจุกดาวฤกษ์ ก๊าซและฝุ่นท้องฟ้า ที่เรียกว่า เนบิวลา และที่ว่างเปล่า รวมกันอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน เพราะมีแรงโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน เอกภพมีกาแล็กซีหรือดาราจักรประมาณหนึ่งแสนล้านกาแล็กซี
ประเภทของกาแล็กซี (GALAXY) เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) ได้จำแนกประเภทกาแล็กซีออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. กาแล็กซีกลมรี (Elliptical Galaxies)มีรูปร่างลักษณะกลมรี อาจจะมีลักษณะกลม มากหรือ รีมาก ส่วนใหญ่จะรวมกันเป็นกลุ่มเป็นกระจุกดาราจักร เช่น กาแล็กซี M32 กาแล็กซีกลมรี
2. กาแล็กซีแบบกังหัน (Spiral Galaxies) มีลักษณะแขนโค้งเหมือนลายก้นหอย หรือ แบบกังหันเป็นดาราจักรที่พบมากที่สุดประมาณ 75-85% มีลักษณะเด่นคือรูปทรงเป็นจานแบน ตรงกลางมีลักษณะโป่งซึ่งจะมีดาวอยู่ในประมาณมาก เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซี แอนโดรมีดา
3.กาแล็กซีแบบไร้รูปทรง (Irregular Galaxies) เป็นกาแล็กซีที่มีรูปร่างต่างจากทั้งสองชนิด มักจะเป็นกาแล็กซีที่มีขนาดเล็กไม่สว่างมากนักมีอยู่น้อยมากในเอกภพ เช่น กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่และเล็ก
การแล็กซี่วิทยุ(Radio galaxies) ภาพจาก www.cita.utoronto.ca
กาแล็กซีคล้ายเลนซ์ ( Lenticular Galaxies ) ภาพจาก www.star.le.ac.uk
กาแล็กซีคานรูปเกลียว( Barred Spiral Galaxies) ภาพจาก wikimedia.org
เนบิวลา (Nebula) เนบิวลา คือสิ่งที่ปรากฏเป็นเมฆหมอกฝ้าอยู่คงที่ในท่ามกลางดวงดาว บนท้องฟ้า อาจจะปรากฏเป็นแสงสว่างเรือง หรือ มืดสนิทก็ได้ เนบิวลาที่อยู่ในระบบทางช้างเผือกของเรา เรียกว่า กาแลคติคเนบิวลา Galaxtic Nebula เนบิวลามีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. เนบิวลาแบบแสงสว่าง เราเห็นได้จากแสงของดาวที่อยู่ใกล้เคียง ส่องไปยังเนบิวลาแล้วสะ ท้อนออกมาหรือบางทีกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองจะรวมกันเป็นดาวดวงใหม่ และดาวดวงใหม่นี้จะให้แสง สว่างแก่กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองที่ยังเหลืออยู่ตลอดไป 2. เนบิวลาแบบมืด ก๊าซและฝุ่นละอองที่รวมตัวกันเป็นเนบิวลาไม่ได้รับแสงจากดาว มองดูเป็น บริเวณมืดเพราะไปบดบังดาวที่อยู่เลยเป็นเนบิวลานั้นออกไปอีก
ตัวอย่างเนบิวลา
กำเนิดระบบสุริยะ the Solar System
กำเนิดระบบสุริยะ the Solar System
การกำเนิดระบบสุริยะ ระบบสุริยะเกิดจากกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศซึ่งเรียกว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar Nebula) รวมตัวกันเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว (นักวิทยาศาสตร์คำนวณจากอัตราการหลอมรวมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมภายในดวงอาทิตย์) เมื่อสสารมากขึ้น แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสารมากขึ้นตามไปด้วย กลุ่มฝุ่นก๊าซยุบตัวหมุนเป็นรูปจานตามหลักอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม แรงโน้มถ่วงที่ใจกลางสร้างแรงกดดันมากทำให้ก๊าซมีอุณหภูมิสูงพอที่จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน หลอมรวมอะตอมของไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม ดวงอาทิตย์จึงถือกำเนิดเป็นดาวฤกษ์
กำเนิดระบบสุริยะ the Solar System
ระบบสุริยะอยู่ที่ไหน ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณ วงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) โดยระบบสุริยะ จะอยู่ห่างจาก จุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์
ส่วนประกอบของระบบสุริยะ ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ
ส่วนประกอบของระบบสุริยะ 1. ดวงอาทิตย์ (The SUN) เป็นดาวฤกษ์และเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
ส่วนประกอบของระบบสุริยะ 2. ดาวเคราะห์(Planets) 8 ดวง เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
3. ดาวเคราะห์น้อย
3. ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) คือก้อนหินขนาดเล็กซึ่งรวมอยู่ด้วยกันจำนวนหลายพันก้อนในระบบสุริยะ รายล้อมดวงอาทิตย์และโคจรรอบดวงอาทิตย์คล้ายดาวเคราะห์ อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี เรียกบริเวณนี้ว่า “แถบดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Belt)”
3.ดาวเคราะห์น้อย
4. ดาวเคราะห์แคระ เดิมคือพลูโตถูกตัดออกจากกลุ่มดาวเคราะห์
เปรียบเทียบขนาดของพลูโต ดวงจันทร์และโลก
ภาพจำลองดาวพลูโตและดวงจันทร์ชารอน โดยดาวพลูโตถูกลดชั้นจากดาวเคราะห์ดาวที่ 9 ในระบบสุริยะให้เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระเมื่อปี 2549 และในปี 2551 ได้รับการจัดให้เป็น "พลูตอยด์" ซึ่งหมายรวมถึงวัตถุอื่นในแถบไคเปอร์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับพลูโตด้วย
5. ดวงจันทร์บริวารดาวเคราะห์
6. ดาวหาง Comet ดาวหาง (Comet) คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร
ดาวหาง
7. อุกกาบาต (meteorite) คือ วัตถุขนาดเล็กในอวกาศที่ผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลก ขณะอยู่ในอวกาศเรียกว่า "สะเก็ดดาว" ขณะเข้าสู่บรรยากาศเรียกว่า "ดาวตก"วัตถุนอกโลก (meteoloid) มีโอกาสหลุดเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกได้มากส่วนใหญ่จะลุกไหม้เป็นไฟมีทางยาวที่เรียกกันดาวตก (meteor)หรือผีพุ่งไต้ (shooting star)
ดาวตก อุกาบาตรลูกไหม้ หลุมอุกาบาตบนโลก ดาวตก อุกาบาตรลูกไหม้ หลุมอุกาบาตบนโลก
8.ฝนดาวตก (Meteor shower)
ฝนดาวตก (Meteor shower)
ดวงอาทิตย์ (Sun)
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในดาราจักรทางช้าง ภาพจาก http://cass.ucsd.edu/public/tutorial/MW.html
ขนาดของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะ ภาพจาก http://www.kiroastro.com/writings/perspective
ขนาดของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่นๆ ภาพจาก http://www.kiroastro.com/writings/perspective
โครงสร้างของดวงอาทิตย์ ภาพจาก http://stloe.most.go.th/html/lo_index/LOcanada9/901/3_2en.html
ในระหว่างการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเราสามารถเห็นโคโรนาได้ด้วยตาเปล่า ชั้นโคโรนาเป็นชั้นบรรยากาศนอกสุดของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีปริมาตรมากกว่าปริมาตรของดวงอาทิตย์ โคโรนาจะขยายไปในอวกาศในรูปแบบของลมสุริยะ (solar wind) ซึ่งเป็นอนุภาคความเร็วสูงที่ถูกปล่อยมาจากดวงอาทิตย์ทุกทิศทุกทางตลอดเวลา อุณหภูมิเฉลี่ยของโคโรนาและลมสุริยะคือประมาณ 1-2 ล้านองศาเซลเซียส โดยส่วนที่ร้อนที่สุดอาจมีอุณหภูมิถึง 8-20 ล้านองศาเซลเซียส ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Sun
ดาวพุธ (Mercury) เตาไฟแช่แข็ง
วงโคจรของดาวพุธ
การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวพุธ ภาพจาก http://www.solarviews.com/eng/mercury.htm
ยานสำรวจมาริเนอร์ 10 ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mariner_10
โครงสร้างของดาวพุธ
ดาวศุกร์ (Venus) ดาวประจำเมือง (evening star) ดาวประกายพรึก (morning star) ดาวฝาแฝดหรือดาวน้องสาวของโลก
วงโคจรของดาวศุกร์
การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์ ภาพจาก http://www.geocities.com/kfuller2001/tVenus.html
การหมุนรอบตัวเองของดาวศุกร์ภาพจาก http://www.windows.ucar.edu/kids_space/images/ask_retrograde_big.jp
โครงสร้างของดาวศุกร์
การดักจับความร้อนของแก๊สในชั้นบรรยากาศเปรียบเทียบระหว่างโลกกับดาวศุกร์ http://physics.uoregon.edu/~jimbrau/astr121/Notes/Chapter9.html
โลก (Earth)
วงโคจรของโลก
โครงสร้างของโลก
ชั้นบรรยากาศของโลก ภาพจาก http://www.asc-csa.gc.ca/images/spacesuit_layers.jpg
ดาวอังคาร (Mars)
วงโคจรของดาวอังคาร
ภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์หินทั้งสี่ คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร ตามลำดับ(จากซ้ายไปขวา) ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mars
ดวงจันทร์ของดาวอังคาร โฟบอส (ซ้าย) และ ดีมอส (ขวา)
โครงสร้างของดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
วงแหวนของดาวพฤหัสบดี
วงโคจรของดาวพฤหัสบดี
ดวงจันทร์ของกาลิเลโอเมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดี จากบนลงล่าง Callisto Ganymede Europa และ Io ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Jupiter
Great red spot บนดาวพฤหัสบดี เมื่อเทียบกับขนาดของโลก ภาพดัดแปลงจาก http://thebigfoto.com/jupiter-from-space
โครงสร้างของดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์ (Saturn)
ดาวเสาร์ (Saturn)เทียบขนาดกับโลก
วงโคจรของดาวเสาร์
ภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ภาพจาก http://www.icphysics.com/modules.php?name=News&file=article&sid=80
วงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนของดาวเสาร์ ภาพจาก http://www.astro.psu.edu/users/niel/astro1/slideshows/class39/slides-39.html
ดวงจันทร์ไททัน และ โครงสร้างของดวงจันทร์ไททันบริวารของดาวเสาร์ ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Titan_(moon)
โครงสร้างของดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส (Uranus)
วงโคจรของดาวยูเรนัส
ภาพถ่ายดาวยูเรนัสพร้อมวงแหวนและดาวบริวารจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Uranus
วงแหวนดาวยูเรนัสและดาวบริวาร ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Uranus
โครงสร้างของดาวยูเรนัส
ยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2 โคจรผ่านดาวยูเรนัสในปีค.ศ.1986 ภาพจาก http://www.cartage.org.lb/en/themes/sciences/Astronomy/Astronautics/Theofspace/voyager2/voyager2.htm
ดาวเนปจูน (Neptune)
วงโคจรของดาวเนปจูน
ภาพวาดยานวอยเอเจอร์ 2 ขณะเดินทางไปถึงดาวเนปจูนและดวงจันทร์ Triton ของดาวเนปจูน ภาพจาก http://cache-media.britannica.com/eb-media/12/74312-004-0405861C.jpg
โครงสร้างของดาวเนปจูน
การบอกตำแหน่งดาว 1. เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equator) 2. เส้นสุริยะวิถี (Ecliptic) 3. เส้นขอบฟ้า (Horizon) 4. จุดเหนือศีรษะ หรือ จุดยอดฟ้า (Zenith) เซนิท 5. เส้นเมริเดียน (Meridian) 6. ขั้วฟ้าเหนือ (North Celestial Poles)
ทรงกลมท้องฟ้า
รูปแสดงค่ามุมทิศและมุมเงย
รูปแสดงค่ามุมทิศและมุมเงย
มุมทิศและมุมเงย + มุมทิศ (azimuth) เป็นมุมในแนวราบขนานกับเส้นขอบฟ้า นับจากทิศเหนือในทิศทางตามเข็ม นาฬิกาไปยังทิศตะวัน-ออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมายังทิศเหนืออีกครั้ง มีค่า 0-360 องศา + มุมเงย (altitude) เป็นมุมในแนวตั้งหรือมุมที่มองขึ้นสูงจากขอบฟ้า นับจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปสู่จุดเหนือศีรษะ มีค่า 0-90 องศา
กลุ่มดาวในท้องฟ้า สหภาพดาราศาสตร์ระหว่างชาติ จึงได้กำหนดของเขตของการจัดกลุ่มดาวออกเป็น 88 กลุ่ม แต่ละเขตประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนหนึ่ง และเรียกว่า กลุ่มดาว กลุ่มดาวที่ใช้ในการบอกทิศและฤดูกาลที่รู้จักกันดี ได้แก่ กลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวค้างคาว กลุ่มดาวเต่า และกลุ่มดาวจักรราศี
กลุ่มดาวจักราศี ( Zodiac ) กลุ่มดาว 12 ราศี หรือ กลุ่มดาวจักราศี ( Zodiac ) เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่มที่อยู่บนเส้นสุริยะวิถี ( Ecliptic ) เราทราบว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 1 ปี ดังนั้นถ้าเราสังเกตดวงอาทิตย์จากโลกโดยถือว่าโลกหยุดนิ่ง เราจะเห็นดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก โดยดวงอาทิตย์จะปรากฏเปลี่ยนตำแหน่งไปตามกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม ได้แก่
รูปแสดงกลุ่มดาวค้างคาวจะเรียงตัวกันเป็นอักษร M
รูปแสดงกลุ่มดาวเต่าหรือกลุ่มดาวนายพราน
กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac)
กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) มีดังนี้ เริ่มต้นจักรราศี ในปัจจุบัน กลุ่มดาวแกะ (Aries) กลุ่มดาววัว (Taurus) กลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) กลุ่มดาวปู (Cancer) กลุ่มดาวสิงโต (Leo) กลุ่มดาวผู้หญิงสาว (Virgo) ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีมิถุน ราศีกรกฏ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ 19 เมษายน 20 พฤษภาคม 21 มิถุนายน 22 กรกฎาคม 22 สิงหาคม 22 กันยายน
กลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) มีดังนี้ เริ่มต้นจักรราศี ในปัจจุบัน กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra) กลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) กลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) กลุ่มดาวมกร (Capricornus) กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) กลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) ราศีตุลย์ ราศีพฤศจิก ราศีธนู ราศีมกร ราศีกุมภ์ ราศีมีน 22 ตุลาคม 21 พฤศจิกายน 21 ธันวาคม 19 มกราคม 18 กุมภาพันธ์ 20 มีนาคม
จักรราศี (Zodiac)
ฤดูกาล (Seasons)
ฤดูกาล (Seasons)
ฤดูกาล (Seasons) ฤดูกาล (Seasons) เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเป็นวงรี ( เกือบกลม ) มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน โดยมีโลกหมุนรอบตัวเอง แกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา ทำให้ส่วนต่างๆของโลกได้รับพลังงานความร้อนและแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน
รูปแสดงตำแน่งของโลกเมื่อมองจากทิศเหนือ โดยตำแน่งที่ขวาไกล ๆ นั้นคือ ตำแหน่งที่โลกอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนธันวาคม ที่เรียกว่า December solstice
รูปแสดงตำแน่งของโลกเมื่อมองจากทิศใต้ โดยตำแน่งที่ซ้ายไกล ๆ นั้นคือ ตำแหน่งที่โลกอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนมิถุนายน ที่เรียกว่า June solstice
ฤดูกาล (Seasons) ใน 1 ปี โลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด 2 ครั้ง คือ ในเดือนธันวาคม และในเดือนมิถุนายน ซึ่งในเดือนธันวาคมนั้น จะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม เราเรียกว่า December solstice ส่วนในเดือนมิถุนายนนั้นจะตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน เราเรียกว่า June solstice
รูปแสดงโลกระหว่างฤดูกาลต่าง ๆ
การหมุนเวียนของบรรยากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการกระจายความร้อนบนพื้นผิวโลก และมีผลต่อลมฟ้าอากาศดังนี้ “แนวปะทะอากาศยกตัวเขตร้อน” หรือ ICTZ
ฤดูกาลบนโลก หากพื้นผิวของโลกมีสภาพเป็นเนื้อ เดียวเหมือนกันหมด (ทรงกลมที่สมบูรณ์) โลกจะมี 4 ฤดู อันได้แก่ • ฤดูร้อน: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น เข้าหาดวงอาทิตย์ (กลางวันนานกว่ากลางคืน) • ฤดูใบไม้ร่วง: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน) • ฤดูหนาว: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น ออกจากดวงอาทิตย์ (กลางคืนนานกว่ากลางวัน) • ฤดูใบไม้ผลิ: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน)
ฤดูกาลในประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ จึงตกอยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม(Monsoon) ทำให้ประเทศไทยมี 3 ฤดู ประกอบด้วย • ฤดูร้อน: เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม • ฤดูฝน: เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม • ฤดูหนาว: เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
น้ำขึ้นน้ำลง ผลของแรงดึงดูดจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง
น้ำขึ้นน้ำลง น้ำขึ้นน้ำลงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อโลก การวางตัวของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในแนวเดียวกันทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงในระดับที่มากเป็นพิเศษ ภาพจาก http://www.physicalgeography.net
ผลของแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก http://www.kidsgeo.com/geography-for-kids/
น้ำขึ้นน้ำลง น้ำอยู่ในระดับเดิม ไม่ขึ้นไม่ลง เรียกว่า น้ำตาย ( neap tide) น้ำจะสูงขึ้นกว่าปกติ เรียกว่า น้ำเกิด (spring tide)
น้ำเกิด (Spring tide) น้ำเกิด (Spring tide) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตัวเป็นแนวเดียวกันตรงกับวันแรม 15 ค่ำดวงจันทร์อยู่ตำแหน่งตรงกลางกับวันขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่ดำแหน่งตรงกันข้าม เป็นวันที่แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เสริมแรงกัน พลังดึงดูดจึงมากขึ้นซึ่งระดับน้ำขึ้นสูงสุดของน้ำขึ้นและต่ำสุดของน้ำลงในวันเดียวกันต่างกันมากที่สุดในรอบเดือน
น้ำตาย(neap tide) น้ำตาย(neap tide) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตัวกันเป็นมุมฉาก น้ำจึงถูกแรงดึงดูดของดวงจันทร์ดูดไปส่วนหนึ่งและดวงอาทิตย์ดูดไปส่วนหนึ่งแรงดึงดูดทั้งสองตัดแรงกันจึงทำให้น้ำขึ้นและลงไม่มากตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำกับแรม 8 ค่ำระดับน้ำสูงสุดของน้ำขึ้นกับระดับน้ำต่ำสุดของน้ำลงมีพิสัยต่างกันน้อยที่สุดในรอบเดือน
น้ำตาย(neap tide) น้ำตาย(neap tide) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตัวกันเป็นมุมฉาก น้ำจึงถูกแรงดึงดูดของดวงจันทร์ดูดไปส่วนหนึ่งและดวงอาทิตย์ดูดไปส่วนหนึ่งแรงดึงดูดทั้งสองตัดแรงกันจึงทำให้น้ำขึ้นและลงไม่มากตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำกับแรม 8 ค่ำระดับน้ำสูงสุดของน้ำขึ้นกับระดับน้ำต่ำสุดของน้ำลงมีพิสัยต่างกันน้อยที่สุดในรอบเดือน
ข้างขึ้นข้างแรม (The Moon’s Phases)
ข้างขึ้นข้างแรม (The Moon’s Phases) ข้างขึ้น-ข้างแรม ปรากฎการณ์ข้างขึ้นข้างแรม เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ขณะโคจรจะได้รับแสงจาก ดวงอาทิตย์สะท้อนมายังโลก ในรอบหนึ่งเดือนทุกๆวัน เวลาขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก แต่ดวงจันทร์จะขึ้นและตก ช้าไปประมาณวันละ 50 นาที ในเวลาเดียวกันของ แต่ละวัน ดวงจันทร์จะเคลื่อน จากทิศตะวันตก เลื่อนสูงขึ้นๆ จนถึงกลางศีรษะ และจะเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก
ข้างขึ้นข้างแรม (The Moon’s Phases)
การเกิดข้างขึ้นข้างแรม วันแรม 15 ค่ำ (รูป ก) เมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะหันแต่ทางด้านมืดให้โลก ดวงจันทร์ปรากฏบนท้องฟ้าในตำแหน่งใกล้กับดวงอาทิตย์ ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้เลย วันขึ้น 8 ค่ำ (รูป ข) เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งทำมุมฉากกับโลก และดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืดของดวงจันทร์มีขนาดเท่าๆ กัน
การเกิดข้างขึ้นข้างแรม วันขึ้น 15 ค่ำ หรือ วันเพ็ญ (รูป ค) ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หันด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง วันแรม 8 ค่ำ (รูป ง) ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งทำมุมฉากกับโลก และดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืดของดวงจันทร์มีขนาดเท่าๆ กัน
การเกิดข้างขึ้นข้างแรม
“เอิร์ธไชน์” (Earth Shine)
การเกิดข้างขึ้นข้างแรม วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์จะขึ้นทางทิศตะวันออก ขณะที่ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก ดวงจันทร์ขึ้นช้า วันละ 50 นาที ี ข้างขึ้น: เราจะเห็นดวงจันทร์ในช่วงหัวค่ำ ข้างแรม: เราจะเห็นดวงจันทร์ในช่วงรุ่งเช้า
สุริยุปราคา สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลก
สุริยุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลก ไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง”
สุริยุปราคาแบบต่างๆ
จันทรุปาคา จันทรุปาคา เป็นปรากฏการณ์ ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์
การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ) เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวง
เทคโนโลยีอวกาศ (Technology) เทคโนโลยีอวกาศ คือการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการขยายขอบเขตการศึกษาค้นคว้าทางด้านดาราศาสตร์และอวกาศ และประยุกต์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์เพื่อความอยู่รอดอย่างมีความสุขและยั่งยืน
ผลของความก้าวหน้าด้านอวกาศ - ความก้าวหน้าของระบบโทรคมนาคม - การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ - ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยเครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจจับ วัสดุศาสตร์ และเทคโนโลยีพลังงาน - การเพิ่มพูนความรู้ในเชิงลึกและกว้างทางดาราศาสตร์ - การใช้ดาวเทียมในดาวอุตุนิยมวิทยาเพื่อใช้การพยากรณ์อากาศ
กล้องโทรทรรศน์(Telescope) กล้องโทรทรรศน์ เป็นเครื่องมือขยายขอบเขตการเห็นของมนุษย์ ช่วยขยายให้เห็นรายละเอียดของดาวเคราะห์และวัตถุ มี 2 ประเภท คือ 1. กล้องโทรทรรศน์ชนิดแสง มี 2 ประเภท คือ 1.1 กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflect telescope) อัตราขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสของกระจกเว้า / ความโฟกัสของเลนซ์ตา
1.1 กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflect telescope)
1.2 กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง (Refract telescope) อัตราการขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสเลนซ์วัตถุ Fo /ความยาวโฟกัสเลนซ์ตา Fe ความยาวกล้อง = Fo + Fe หอสังเกตการณ์เยอร์คิส์ (Yerkes Observatory) ที่ตั้งของกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง (Refract telescope) อัตราการขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสเลนซ์วัตถุ Fo /ความยาวโฟกัสเลนซ์ตา Fe ความยาวกล้อง = Fo + Fe
2. กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่สามารถรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นวิทยุจากวัตถุบางชนิดในท้องฟ้าได้ ซึ่งกล้องเหล่าจะถูกส่งขึ้นไปในอวกาศเนื่องจากคลื่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา ไม่สามารถทะลุชั้นบรรยากาศของโลกได้ เรียกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ เช่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
จรวด (Rocket) จรวด หมายถึงอุปกรณ์สำหรับสร้างแรงขับดันเท่านั้น หน้าที่ของจรวดคือ การนำยานอวกาศ ดาวเทียม จรวด หมายถึงอุปกรณ์สำหรับสร้างแรงขับดันเท่านั้น หน้าที่ของจรวดคือ การนำยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออุปกรณ์ประเภทอื่นขึ้นสู่อวกาศ แรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลก ณ พื้นผิวโลกมีความเร่งเท่ากับ 9.8 เมตร/ วินาที 2 ดังนั้นจรวดจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก
ความแตกต่างระหว่างเครื่องบิน จรวด และกระสวยอวกาศ เครื่องบินไอพ่น SR-71, เครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์จรวด X-15 และกระสวยอวกาศ Space Shuttle
จรวด (Rocket)
อุปกรณ์ที่จรวดนำขึ้นไป (Payload) ขีปนาวุธ (Missile) เป็นคำที่เรียกรวมของจรวดและหัวรบ เนื่องจากจรวดมีราคาสูง และมีพิกัดบรรทุกไม่มาก หัวรบที่บรรทุกขึ้นไปจึงมีขนาดเล็ก แต่มีอำนาจการทำลายสูงมาก เช่น หัวรบนิวเคลียร์ ดาวเทียม (Satellite) หมายถึง อุปกรณ์ที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพ โทรคมนาคม ตรวจสภาพอากาศ หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
การส่งอุปกรณ์ขึ้นไปกับจรวด
อุปกรณ์ที่จรวดนำขึ้นไป (Payload) ยานอวกาศ (Spacecraft) หมายถึง ยานพาหนะที่โคจรรอบโลก หรือเดินทางไปยังดาวดวงอื่น อาจจะมีหรือไม่มีมนุษย์เดินทางไปด้วยก็ได้ เช่น ยานอะพอลโล่ ซึ่งนำมนุษย์เดินทางไปดวงจันทร์ สถานีอวกาศ (Space Station) หมายถึง ห้องปฏิบัติการในอวกาศ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนให้มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ในอวกาศได้นานนับเดือน หรือเป็นปี สถานีอวกาศส่วนมากถูกใช้เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการวิจัย ทดลอง และประดิษฐ์คิดค้นในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สถานีอวกาศที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สถานีอวกาศนานาชาติ ISS (International Space Station)
ดาวเทียม (Satellite) ดาวเทียม (Satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
ดาวเทียมรุ่นแรก ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า สปุตนิก (Sputnik) โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer"
สปุตนิก (Sputnik) ดาวเทียมดวงแรกของโลก เป็นของประเทศรัสเซีย ส่งเมื่อพ.ศ. 2501
ดาวเทียม "Explorer" ดาวเทียมดวงที่ 2 ของอเมริกา ส่งเมื่อพ.ศ. 2511 ไลก้า สุนัขตัวแรกที่รัสเซียส่งขึ้นไปในอวกาศ
ส่วนประกอบของดาวเทียม ดาวเทียมประกอบด้วยส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป และมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน ดังนี้ 1. โครงสร้างดาวเทียม 2. ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" 3. ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน
ดาวเทียม
ส่วนประกอบของดาวเทียม 4. ระบบควบคุมและบังคับ โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร 5. ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน 6. อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง 7. เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่
การสื่อสารโดยใช้ดาวเทียม
ประเภทของดาวเทียม ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจ เป็นการใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ ดาวเทียมทางการทหาร ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างดาวเทียมประเภทต่างๆ ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างจุดต่อจุด เช่น ดาวเทียม ปาลาปา palapa, ดาวเทียมไทยคม thaicom ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างดาวเทียม เช่น ดาวเทียม TDRS ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ เช่น ดาวเทียมอินมาร์แซท inmasat ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เช่น ดาวเทียม ASTRA ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดาวเทียม LANDSAT
ตัวอย่างดาวเทียมประเภทต่างๆ ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ เช่นดาวเทียม METEOR,ดาวเทียม EXPLORER ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ เช่น ดาวเทียม GMS,ดาวเทียม NOVA-6-9 ดาวเทียมเพื่อการปฏิบัติในห้วงอวกาศ เช่น ดาวเทียม spas,ดาวเทียม skylab ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น ดาวเทียม jas-1 หรือดาวเทียม fuji ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง เช่น ดาวเทียม navstar ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ และอากาศยาน เช่น ดาวเทียม Transit,ดาวเทียม cosmos
ดาวเทียม