โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย แพทย์หญิงมยุรา เทพเกษตรกุล อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคเบาหวานและระบบต่อมไร้ท่อ คลินิกเบาหวาน ร. พ. กรุงเทพพัทยา.
Advertisements

ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ
เด็กฉลาด สร้างได้ด้วย ไอโอดีน.
น้ำหนักตัวเกิน กินอาหารให้พลังงานมากเกินไป อยู่ในภาวะขาดสารอาหาร
ทบทวนการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ครั้งที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเอดส์
ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของร่างกาย อยู่บริเวณคอด้านหน้า, วางอยู่หน้าต่อหลอดลม ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน โดยใช้ ธาตุไอโอดีน.
วิตามินบี 12 (Cobalamin)
การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น
โรคที่เกิดจากสารเคมีที่เป็นพิษในอาหาร
รายงานสุขศึกษา เรื่อง : โรคคอพอก ส่ง อ. สุมน คณานิตย์ จัดทำโดย 1. ด. ญ
แนวทางการใช้ยาปฎิชีวนะ
หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด 2
การปฏิบัติตัวขณะได้รับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ยินดีต้อนรับ สู่..ตึกโรคปอด.
หอผู้ป่วย อายุรกรรม หญิง 3.
แผนการสอนเรื่องปอดอักเสบ
คำแนะนำผู้ป่วย โรคนิ่วในถุงน้ำดี หอผู้ป่วยพิเศษ 2.
Thyroid.
งานสุขศึกษา หอผู้ป่วยกุมาร 3
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคเอสแอลอี.
การขูดมดลูก การขูดมดลูก หมายถึง การใส่อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ผ่านทางช่องคลอด และ ปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจ.
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่มือ
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
Myasthenia Gravis.
แบบบันทึกประกอบการวินิจฉัยและการรักษา โรคท้องร่วงเฉียบพลัน
Tuberculosis วัณโรค.
ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
โรคที่เกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ
โรคในระบบต่อมไร้ท่อ.
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของ Hormone
เบาหวาน ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลยะลา.
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ภาวะไตวาย.
โดย โรงพยาบาลร้องกวาง
โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)
โรคไตในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
จุดเริ่มต้นชีวิต การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ การคลอด
การเป็นลมและช็อก.
โรคเบาหวาน เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า.
คำแนะนำเรื่อง โรค มือ เท้า ปาก สำหรับผู้ปกครอง.
ควรเริ่มตรวจแป๊บสเมียร์เมื่อใด ใครบ้างที่ควรตรวจแป๊บสเมียร์
โรคติดต่อทางพันธุกรรม
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โรคเบาหวาน ภ.
ข้อห้าม ของการตัดปากมดลูก
การใช้ยาและอาการไม่พึงประสงค์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
CQI งานผู้ป่วยในหญิง เรื่อง
เข้าสู่ การนำเสนอเรื่อง โรคเหน็บชา
Tonsillits Pharynngitis
ระบบน้ำเหลืองและเต้านม
คนไทยไร้พุง งานสุขศึกษา โรงพยาบาลพะเยา.
Nipah virus.
รองศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ
หากมีอาการดังต่อไปนี้ โปรดแจ้งแพทย์ หรือพยาบาล !!
นมแม่สร้างลูก แข็งแรงและฉลาด
การรักษาและดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องทางจิต
อย่า ! ให้คนที่รักต้องจากไปเพราะ...
วัณโรค อยู่ใกล้ตัวคุณ...แค่นี้เอง.
นิ่วในถุงน้ำดี งานสุขศึกษา โรงพยาบาลพะเยา.
โรคกระเพาะอาหาร Gastritis.
โรงพยาบาลวังม่วงสัทธรรม
เบาหวาน ความรู้เรื่องโรค หลักการออกกำลังกาย การดูแลตนเอง
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ
โรคเบาหวาน เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรค ที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

โรคแอดดิสัน (Addison's disease) โรคแอดดิสัน เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก พบมากในคนอายุ 30-50 ปี เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์ได้น้อยกว่าปกติ ตรงกันข้ามกับโรคคุชชิงที่สร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากต่อมหมวกไตชั้นนอกถูกทำลายหรือฝ่อ เนื่องมาจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือออโตอิมมูน อาจพบร่วมกับต่อมไทรอยด์อักเสบ ,ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย หรือเบาหวาน เป็นต้น ส่วนน้อยอาจเกิดจากเป็นวัณโรคของต่อมหมวกไต หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมากจากที่อื่น หรือโรคติดเชื้อราของต่อมหมวกไต เป็นต้น

อาการ มักจะค่อยๆ เกิดขึ้นช้าๆ ด้วยอาการเบื่ออาหารน้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซีด อาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกบ่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังจะมีสีดำที่บริเวณที่มีรอยถูไถ เช่น ข้อเข่า ข้อพับ ข้อศอก ที่หน้า หัวนม ลายมือ รอยแผลผ่าตัด เป็นต้น และบริเวณเยื่อเมือกในช่องปาก อาจมีรอยตกกระดำๆ บางคนผิวหนังอาจมีรอยด่างขาวร่วมด้วย ผู้ป่วยมักมีความดันโลหิตต่ำ ทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียนเวลาลุกขึ้นเร็วๆ ขนรักแร้และขนในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ร่วง ซึ่งจะเห็นชัดในผู้หญิง ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์อ่อนไหว ซึมเศร้า หรือมีอาการของโรคจิต

การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด โดยจะพบระดับฮอร์โมนสเตอรอยด์ต่ำ ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และตรวจพิเศษอื่นๆ การรักษา ให้กินสเตอรอยด์ เช่น ไฮโดรคอร์ดิโซน (Hydrocortisone)วันละ 15-25 มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งควรกินเป็นประจำทุกวันไปจนตลอดชีวิต

โรคชีแฮน (Sheehan's syndrome) โรคชีแฮน เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก พบในผู้หญิงที่มีประวัติตกเลือดรุนแรง หรือเป็นลมขณะคลอดบุตร ทำให้ต่อมใต้สมองขาดเลือด เซลล์บางส่วนตายไป เกิดภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย(hypopituitarism) ทำให้ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และรังไข่ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมนี้ไม่ทำงานไปด้วย ทำให้มีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ร่วมกับอาการของโรคแอดดิสัน ทำให้ขาดประจำเดือน และเป็นหมัน

อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย ทำงานเชื่องช้า คิดช้า ขี้หนาว ซีด หน้าตาดูแก่เกินวัย ผิวหนังหยาบแห้ง วิงเวียน ความดันเลือดต่ำ ขนรักแร้และขนในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ร่วง ประจำเดือนไม่มา เป็นหมัน บางคนอาจมีอาการเบื่ออาหาร ซูบผอม

การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่นๆ การรักษา ให้ฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น ยาสกัดไทรอยด์ หรือเอลทร็อกซิน และไฮโดรคอร์ติโซน แบบเดียวกับที่ใช้รักษาต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยและโรคแอดดิสัน โดยต้องกินยาไปจนตลอดชีวิต ในรายที่ยังต้องการมีบุตร อาจต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้รังไข่ทำงาน

มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer) มะเร็งของต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่พบที่น้อย พบได้ในคนทุกอายุ แต่จะพบมากในเด็กและคนหนุ่มสาว และพบมากในคนที่เคยได้รับ รังสีรักษา (ฉายแสง) ที่บริเวณคอเมื่อตอนเป็นเด็ก สามารถแบ่งเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันไป

อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการคอพอก แต่มักจะเป็นก้อนแข็งๆ ซึ่งอาจเป็นก้อนเดี่ยว ๆ หรือหลายก้อนก็ได้ ผิวไม่ค่อยเรียบ และขยับไปมาไม่ค่อยได้ มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างไร ยกเว้นในรายที่มีเลือดออกเข้าไปในก้อนมะเร็งอาจทำให้มีอาการปวดคล้ายต่อไทรอยด์อักเสบได้ ต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคออาจโตร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการเสียงแหบ ในรายที่ก้อนโตเร็ว อาจโตกดหลอดลม หรือหลอดอาหาร ทำให้หายใจหรือกลืนลำบาก ต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วยส่วนมากจะยังทำงานได้เป็นปกติ

การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องตรวจเลือดทำสแกนไทรอยด์ หรือตรวจพิเศษอื่นๆ ถ้าพบว่าเป็นมะเร็งจริง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรือใช้รังสีรักษา(ฉายแสง) และให้ผู้ป่วยกินฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนไปจนตลอดชีวิต ผลการรักษาขึ้นกับชนิดของมะเร็งและระยะของโรค ถ้าเป็นชนิดไม่ร้ายแรงและตรวจพบในระยะแรก อาจรักษาให้หายขาดได้

ประธานาธิบดีของประเทศอาเจนตินา

ต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) ต่อมไทรอยด์อักเสบ อาจแบ่งเป็นหลายชนิด ซึ่งมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน ที่พบได้บ่อย เช่น 1. ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไวรัส เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการเฉียบพลัน ด้วยอาการเจ็บคอ ต่อมไทรอยด์โตขึ้นเร็ว และกดเจ็บ อาจมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วยอาการเจ็บที่คออาจร้าวไปหู ขากรรไกร แขน และหน้าอก มักพบในคนอายุ 20-40 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2. ต่อมไทรอยด์อักเสบจากออโตอิมมิน (Autoimmune) เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อตัวเอง พบมากในหญิงวัยกลางคน ผู้ป่วยจะมีอาการคอพอก ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างแข็ง บางคนอาจมีอาการกดเจ็บ ต่อมาอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยร่วมด้วย 3. ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบได้น้อยมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการคอโตเป็นก้อนแข็งเรื้อรัง ซึ่งคล้ายมะเร็ง อาจทำให้เสียงแหบหรือหายใจลำบาก มักแยกไม่ออกจากมะเร็งของต่อมไทรอยด์ หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล

    การรักษา ให้แอสไพริน 2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ ควรส่งไปโรงพยาบาล อาจต้องตรวจเลือดและให้การรักษาตามอาการ ถ้าอักเสบรุนแรง อาจให้สเตอรอยด์     ส่วนมากจะหายได้เอง ในเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน โดยมากจะไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจกลายเป็นคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยในเวลาต่อมา

คอพอกธรรมดา (Simple goiter) คอพอก หมายถึง อาการที่ต่อมไทรอยด์ ตรงบริเวณคอหอยเกิดบวมโตผิดปกติ ทำให้คอโป่งเป็นลูกออกมาให้เห็นชัดเจน และสามารคลำได้เป็นก้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาผู้ป่วยทำท่ากลืนน้ำลาย ก้อนนี้จะขยับขึ้นลง ตามจังหวะการ กลืน     คอพอกสามารถแบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ คอพอกธรรมดา และคอพอกเป็นพิษ

คอพอกธรรมดา มีสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ 1 คอพอกธรรมดา มีสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ 1. การขาดธาตุไอโอดีน ซึ่งมีมากในเกลือทะเลและอาหารทะเล จึงพบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน ในแถบที่เป็นที่ราบสูงหรือใกล้เขตภูเขา เมื่อร่างกายขาดธาตุไอโอดีน ก็เกิดการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ตามมา ทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (ที่คอยกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงาน) กระตุ้นจนมีขนาดโตขึ้น จนกลายเป็นคอพอก ในหมู่บ้านบางแห่ง อาจมีคนเป็นคอพอกเกือบทั้งหมู่บ้าน จึงเรียกว่า คอพอกประจำถิ่น (Endemic goiter) โดยทั่วไป เรามักถือว่า ในชุมชนใดมีผู้ที่เป็นคอพอกจากการขาดธาตุไอโอดีนเกิน 10 คนใน 100 คน ก็บอกได้ว่า ชุมชนนั้นมีคอพอกประจำถิ่นเกิดขึ้นแล้ว

2. การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มักพบในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยรุ่น หรือกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายต้องการฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทร็อกซิน) มากขึ้น ต่อมไทรอยด์จึงต้องทำงานมากกว่าธรรมดา ทำให้เกิดเป็นคอพอกโดยที่ไม่ได้มีการขาดธาตุไอโอดีนแต่อย่างไร เรียกว่า คอพอกสรีระ (Physiologic goiter) 3. จากผลของยา เช่น พีเอเอส , เอทิโอนาไมด์ (Ethio namide) ที่ใช้รักษาวัณโรค, เฟนิลบิวดาโซน เป็นต้น

อาการ เหนื่อยง่าย แต่ถ้าก้อนโตมาก ๆ อาจทำให้หายใจลำบาก หรือกลืนลำบากได้

การรักษา   1. คอพอกประจำถิ่น ให้กินเกลือไอโอดีน (เกลืออนามัย) หรือยาไอโอไดต์ (อาจเป็นชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำ เช่น Lugol's solution) เป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมิให้ลูกที่เกิดมามีภาวะขาดไอโอดีน กลายเป็นเด็กโง่ เป็นใบ้ หูหนวก ตัวเตี้ยแคระ ดังที่เรียกว่า เด็กเครติน (cretin) ถ้าคอโตมาก ๆ หรือมีอาการหายใจหรือกลืนลำบาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเอาออก

2. คอพอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งพบในสาววัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์ โดยทั่วไปคอจะโตไม่มาก หรือแทบสังเกตไม่เห็น ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างไร จะยุบหายได้เองเมื่อพ้นระยะวัยรุ่นหรือหลังคลอด แต่ถ้าคอโตมาก ควรให้ยาสกัดไทรอยด์ (thyroid extract) หรือ เอลทร็อกซิน (Eltroxin) กินวันละครั้ง ๆ ละ 1-2 เม็ด ซึ่งอาจต้องกินนานเป็นปีๆ อาจช่วยให้คอยุบได้ แต่ถ้าคอโตมาก ๆ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด 3. ในรายสงสัยเกิดจากยา ควรหยุดยาที่กิน หรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นแทน ก็จะช่วยให้คอยุบหายไปได้เอง

คอพอกเป็นพิษ (Toxic Hyperthyroidism) คอพอกเป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ทุกวัย แต่จะพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 5 เท่า โรคนี้มักมีอาการเรื้อรังนานเป็นปีๆ บางคนอาจหายได้เอง แต่ก็อาจกำเริบได้อีก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ บางรายอาจพบว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย

สาเหตุ ปกติ ต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง (สู่ระดับปกติ) ในคนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ จะพบว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ต่างๆของร่างกายทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการไม่สบาย โรคนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย ทางกรรมพันธุ์ และความเครียดทางจิตใจ

อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น ใจหวิวใจสั่น มักจะมีความรู้สึกขี้ร้อน ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) น้ำหนักตัวจะลดลงรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติ หรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก ผู้ป่วยมักชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรืออาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย บางคนอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อย คล้ายท้องเดินหรืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางคนอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรงกลืนลำบาก หรือมีภาวะอัมพาตครั้งคราวจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ผู้หญิงบางคนอาจมีประจำเดือนน้อยหรือขาดประจำเดือน

การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล ควรวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดตรวจหาระดับของฮอร์โมนไทร็อกซีน สงสัย ควรส่งโรงพยาบาล

อ้างอิง www.thailabonline.com/sec11endosystem.htm th.wikipedia.org/wiki www.panyathai.or.th/wiki/index.php

สมาชิกในกลุ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 นาย ปวรปรัชญ์ รักดำ เลขที่ 5ก น.ส. วรรณนภา ชัยประดิษฐ เลขที่ 12ก น.ส. สุทธิกานต์ เกียรติเจริญสุข เลขที่ 7ข