การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด แบ่งออกได้กว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ (Brand) ที่นิยมขายเป็นชุด (Computer Set) แบบเลือกซื้อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นแล้วจ้างหรือประกอบเป็น ชุดขึ้นเอง
คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ (Brand) ที่นิยมขายเป็นชุด (Computer Set) เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวก โดยทั่วไปจะมี รายละเอียด (Specification) ของเครื่องอย่างคร่าวๆ เช่น ซีพี ความเร็ว ขนาด RAM ความจุฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่างๆ เช่น Acer, BenQ, HP, LASER, SONY เป็นต้น
ข้อดี ข้อเสียของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อขายเป็นชุด มีบริการหลังการขายที่ดี ปัจจุบันมักแถมซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องมา ให้ด้วย มีระบบเงินผ่อน ไม่ต้องเดินเลือกซื้อหาอุปกรณ์เอง ให้เสียเวลา ไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือ เลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ตามใจเอง ได้ ราคาค่อนข้างแพงกว่าแบบ เลือกซื้อชิ้นส่วนมาจ้างหรือ ประกอบเองเล็กน้อย ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ตรง ตามความต้องการ
แบบเลือกซื้อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นแล้วจ้างหรือประกอบเป็นชุดขึ้นเอง เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่มีความรู้ ผู้ซื้อต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้เครื่องตรงตาม ความต้องการของเรามากที่สุด ต้องเปรียบเทียบราคา กับร้านค้าต่างๆ
ข้อดี-ข้อเสียของการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบเลือกซื้อชิ้นส่วนมาจ้างหรือประกอบเอง สามารถเลือกซื้อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่จะ นำมาประกอบเป็นตัวเครื่องได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้เราสามารถเปรียบเทียบราคาใน แต่ละร้าน พร้อมทั้งเลือกหาอุปกรณ์ที่เราคิด ว่าเหมาะสมที่สุดได้ ราคาค่อนข้างถูกกว่าคอมพิวเตอร์แบบมี ยี่ห้อ ได้อุปกรณ์ตรงความต้องการของเรา ผู้ซื้อต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่อง ของชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่พอสมควร โปรแกรมทั้งหมดจะต้องหามาติดตั้งเอง ส่วน บางร้านที่ติดตั้งให้เสร็จสรรพ ซอฟต์แวร์นั้นอาจ ไม่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ต้องใช้เวลาในการเดินเลือกซื้ออุปกรณ์ และ เปรียบเทียบราคา เมื่ออุปกรณ์ตัวใดเกิดเสียหรือชำรุด ถ้ายังอยู่ ในระยะเวลาประกัน เราจะต้องนำอุปกรณ์ตัวนั้น ไปเคลมที่บริษัทตัวแทนจำนวน (Dealer) เอง หรือนำไปให้ร้านที่ซื้อมาเคลมให้ ซึ่งในบางครั้ง อาจจะต้องใช้เวลารอนาน
ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Mainboard RAM Harddisk VGA อุปกรณ์อื่นๆ เช่น Case, CD/DVD Drive, Power Supply, Keyboard, Mouse, Printer เป็นต้น
การเลือกซื้อซีพียู CPU ซีพียู ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการ ตัดสินใจเลือกซื้ออยู่มาก เพราะเป็นชิ้นส่วนที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด และมีผลต่อการเลือกซื้อเมนบอร์ด ซึ่งทั้งสองชิ้นมีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปหลักๆ อยู่ 2 บริษัทคือ Intel และ AMD
เลือก Intel หรือ AMD การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องตัดสินใจเลือกรุ่นของซีพียู สิ่ง แรกที่จะต้องเลือกคือ Intel หรือ AMD ซึ่งเป็นอันดับแรกที่จะต้องตัดสินใจ - ชื่อเสียงของ Intel คงเส้นคงวามาตลอด แต่ก็ถูก AMD แซงไป ในช่วงของ 64 บิต เพราะ AMD ออก Athlon 64X2 มาก่อนซึ่งเป็นซีพียู Dual Core มีประสิทธิภาพดีและไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน - ปัจจุบัน Intel ออก Core 2 Duo มา ซึ่งมีความเร็วสูงสุดในการ ประมวลผลแทบทุบอย่าง - AMD ใช้กลยุทธ์ของการตัดราคาเพื่อให้ซีพียูของ AMD มีราคาต่อ ประสิทธิภาพต่ำที่สุดเสมอ
ข้อแนะนำการเลือกซีพียู Intel Intel พยายามให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อซีพียูได้ง่ายขึ้น โดยดู เพียงตัวเลขรุ่น (Processor Number) ดังนี้ ถ้าไม่ต้องการใช้งานในด้านใดเป็นพิเศษก็เลือกที่ราคาถูกที่สุดคือ 3xx ถ้าต้องการเครื่องที่อาจจะต้องใช้ประสิทธิภาพบ้างเช่น ตกแต่งรูป หรือตัดต่อวิดีโอ คือ 5xx ถ้าต้องทำเป็นประจำให้เลือก 6xx หรือ 8xx โดยเฉพาะสร้างหนัง ทำแอนิเมชั่นหรือใช้โปรแกรม 3D ต่างๆ อย่างน้อยต้อง 8xx และ ควรพิจารณาใช้ตั้งแต่ Core 2 Duo ขึ้นไป
คุณสมบัติที่แตกต่างกันของซีพียูอินเทล Processor No. FSB (MHz) L2 Cache Core 3xx 533 256 KB 1 5xx 800 1 MB 6xx 2 MB 8xx(Core Duo) 2 x 1 MB 2 Core 2 Duo 1066 2 หรือ 4 MB Front Side Bus (FSB) is the data transfer bus that carries information between the CPU and the northbride of the Motherboard.
ข้อแนะนำในการซีพียู AMD การเลือกรุ่นซีพียูของ AMD ทำได้ง่ายๆ โดยดูให้พิจารณาที่ ตัวเลข Model ของรุ่น เพราะชื่อรุ่นจะบอกประสิทธิภาพของซีพียูได้ แล้ว ถ้าต้องการเครื่องราคาประหยัดเลือก Sempron ถ้าต้องการประสิทธิภาพปานกลางเลือก Athlon 64 ถ้าต้องการประสิทธิภาพสูงสุดเลือก Athlon 64 X2 หรือ Athlon 64 FX
คุณสมบัติที่แตกต่างกันของซีพียู AMD Processor No. Socket L2 Cache Core Sempron 754 128, 256 KB 1 Athlon 64 FX 754, 939 512 KB, 1 MB Athlon 64 X2 939, M2 2 x 512 KB, 2 x 1 MB 2 939 1 MB Socket: A connection between two network applications.
ซื้อซีพียูแบบ Tray กับแบบ Box อย่างไหนดีกว่ากัน ซีพียูแบบ Tray เป็นซีพียูที่ถูกนำเข้ามาโดยปราศจาก กล่องหรือบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้ม ซึ่งมักจะถูกสั่งเข้ามาครั้งละจำนวน มากๆ ซึ่งทำให้มีราคาต่ำ สังเกตได้จากร้านค้าทั่วไปจะมี ข้อความกำกับราคาไว้ว่าเป็นแบบ Tray ซึ่งจะไม่มีกล่องใส่ให้ แบบ Box ข้อดี ข้อเสีย ราคาถูกกว่าแบบ Box ประมาณ 400- 600 บาท มีโอกาสที่จะบังเอิญได้ชิ้นส่วนที่มีปัญหา ซึ่ง อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการขนส่ง ไม่มีพัดลมระบายความร้อนซีพียูแถถมมาด้วย ต้องหาซื้อเอง ระยะเวลารับประกันส่วนใหญ่มักจะแค่เพียง 1 ปี
ซื้อซีพียูแบบ Tray กับแบบ Box อย่างไหนดีกว่ากัน ข้อดี ข้อเสีย มั่นใจได้ว่าชิ้นส่วนสมบูรณ์ เพราะมีความปลอดภัย ในระหว่างการขนส่ง มีพัดลมระบายความร้อนซีพียูแถถมมาด้วย ระยะเวลารับประกันยาวนานถึง 3 ปี ราคาแพงกว่าแบบ Tray ประมาณ 400-600 บาท
การเลือกซื้อเมนบอร์ด (Mainboard) เมนบอร์ดถือเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญรองลงมาจากซีพียู เมื่อ เลือกซีพียูได้ จะต้องเลือกให้เหมาะสมและคุ้มค่านั้นและให้สามารถรองรับ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะตามมาให้ได้ยาวนานที่สุดแล้ว เมนบอร์ดยังเป็นอุปกรณ์ ที่มีราคาสูงพอสมควร ไม่ใช่จะหาซื้อมาปรับเปลี่ยนกันได้บ่อยๆ ข้อแนะนำ เลือกรูปแบบเคส ส่วนใหญ่เคสที่ใช้จะเป็นแบบ Medium Tower ซึ่งใช้ได้กับ เมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX และ Micro ATX แต่ถ้าใช้เคสที่เล็กกว่านี้ก็จะต้องใช้ แค่ FlexATX หรือ MicroATX เท่านั้น เลือกช่องสำหรับติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด ซีพียูที่มีอยู่มากมายหลายรุ่นนั้นใช้ ช่องเสียบหรือช็อคเก็ตที่แตกต่างกัน เลือกช่องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกหรือพอร์ตแบบต่างๆ เช่น PS/2, Serial Ports, USB, พอร์ต Firewire
การเลือกซื้อเมนบอร์ด (Mainboard) (ต่อ) เลือกช่องสล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ RAM เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงาน ร่วมกับซีพียูตลอดเวลา เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มที่ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับซีพียู ซึ่งประเภทของแรมที่จะนำมาใช้ เป็นหน่วยความจำบนเมนบอร์ดมีให้เลือกอยู่ 4 ประเภท คือ - SDRAM - DDR-SDRAM - DDR2 นิยมที่สุดในปัจจุบัน - DDR3 ถ้าเลือกแรมขนาด 1 GB ให้พิจารณาว่าจะเลือกแรมแบบ 2 ตัว ตัวละ 512 MB หรือ แบบ 1 ตัวขนาด 1 GB ซึ่งในกรณีที่เมนบอร์ดมีเทคโนโลยี Dual-Channel ควรใช้แบบแรมตัวละ 512 MB 2 ตัวจะดีกว่า เป็นต้น Dual-Channel : Describes a technology that doubles data throughput from RAM
การเลือกซื้อหน่วยความจำ (RAM) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากแรมเป็นอุปกรณ์ที่จะต้องทำงานร่วมกับซีพียูตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างในการพิจารณาเลือกซื้อ ซึ่งก็มีขายกันอยู่หลายยี่ห้อ เช่น Infineon, Kingston, Hitachi, Apacer, Samsung เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรพิจารณาประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
หลักการพิจารณา คำแนะนำ ชนิดของแรม เลือกระหว่าง SDRAM, DDR-SDRAM, RDRAM และ DDR II ซึ่งแนะนำให้เลือกเพียงแค่ระหว่าง DDR-SDRAM กับ DDR II ให้ตรงกับชนิดของสล็อตบนเมนบอร์ด ขนาดความจุของแรม ความจุยิ่งมายิ่งราคาสูง จึงควรพิจารณาให้เหมาะสม เช่น ถ้า ใช้งานทั่วๆ ไปควรเลือก 256-512 MB แต่ถ้าใช้งานกราฟิก มัลติมีเดียหรือเล่นเกมส์ก็ควรเลือก 512-1024 MB ความเร็วบัสของแรม จะต้องดูที่ซีพียูและเมนบอร์ดว่ารองรับความเร็วบัสสูงสุด เท่าไร ซึ่งควรจะเลือกที่ความเร็วสูงที่สุดที่เมนบอร์ดรองรับได้ ถ้าใช้รุ่นที่มีความเร็วต่ำกว่า บัสที่ใช้ก็จะไม่ได้รับประสิทธิภาพดี เท่าที่ควร การรับประกัน ส่วนใหญ่จะรับประกันแบบ Lifetime หรือตลอดอายุการใช้ งาน ซึ่งหมายความว่าจะรับประกันไปจนกว่าผู้ผลิตจะเลิกผลิต หน่วยความจำรุ่นนั้นๆ ไป
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งมีหลายยี่ห้อ เช่น Maxtor, Samsung, Seagate, Westem Digital เป็นต้น ดังนั้นนอกจากปัจจัย ในเรื่องของราคาและยี่ห้อแล้วนั้นคุณสมบัติและข้อควรพิจารณาในการ เลือกซื้อมีดังนี้ คุณสมบัติ คำแนะนำ ความจุ ขนาดความจุยิ่งสูงก็ยิ่งมีเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น การพิจารณาเลือกซื้อให้ดูที่ความเหมาะสมของงานที่เราจะ นำไปใช้ เช่น ถ้าใช้งานทั่วๆ ไปขนาดที่นิยมใช้กันคือ 80-160 GB ความเร็วรอบในการหมุน มีผลกับความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้อยู่ สำหรับฮาร์ดดิสก์จะอยู่ที่ความเร็ว 7200 รอบต่อนาที
คุณสมบัติ คำแนะนำ อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ ที่นิยมใช้จะเป็นแบบ ATA-100 และ ATA-133 ซึ่งมี อัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเพียง 100 และ 133 MB/s ตามลำดับ แต่ในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไปใช้ Serial ATA หรือ SATA ซึ่งมีอัตราความเร็วในการรับส่ง ข้อมูลสูงสุดถึง 150 MB/s และ SATA 2 ที่มีความเร็ว ถึง 300 MB/s ขนาดของบัฟเฟอร์ เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นตัวพัก ข้อมูลก่อนที่จะมีการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงไปใน ฮาร์ดดิสก์จริงๆ ดังนั้นยิ่งขนาดของบัฟเฟอร์มีมาก เท่าไรก็ยิ่งดี แต่ราคาก็จะแพงตามไปด้วยโดยทั่วไปจะ มีขนาดตั้งแต่ 2-16 MB การรับประกัน ส่วนใหญ่จะมีเวลารับประกันยาวนานถึง 5 ปี
อุปกรณ์อื่นๆ Sound Card พิจารณาถึงลักษณะงานที่นำไปใช้ เช่น แค่ฟังเพลง ดูหนังธรรมดา ก็เลือกการ์ดเสียงแบบออนบอร์ด หรือการ์ดราคาถูกๆ ก็เพียงพอ แต่ถ้าจะ นำไปใช้ในงานเฉพาะด้านอย่างงานแต่งเพลงก็ต้องหาการ์ดเสียงคุณภาพดี ซึ่ง ราคาก็จะสูงตามคุณภาพไปด้วย Speaker พิจารณาถึงลักษณะงานที่นำไปใช้เช่นกัน ซึ่งมีทั้งลำโพงราคาไม่กี่ร้อย บาทเหมาะกับฟังเสียงธรรมดา ไม่ต้องการคุณภาพมาก ไปจนถึงชุดลำโพงระบบ เสียงรอบทิศทาง ซึ่งราคามีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น Drive CD/DVD มีทั้งแบบใช้อ่านข้อมูลเพียงอย่างเดียวและแบบอ่านและเขียน/ บันทึกข้อมูลลงบนแผ่น CD/DVD ได้ ซึ่งปัจจุบันราคาถูกลงมาก Monitor จอภาพ ปัจจุบันนิยมเป็นแบบจอ LCD กันมากมายเนื่องจากราคาถูก ลงและคุณภาพดีกว่าแบบ CRT อีกทั้งยังประหยัดพื้นที่ใช้สอย และมีความ สวยงามอีกด้วย สิ่งที่ต้องพิจารณาเช่น ขนาดของจอภาพ, Resolution, Refresh Rate เป็นต้น
ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์ตามแหล่งต่างๆ มาประกอบเอง ตรวจเช็คราคาของอุปกรณ์จากร้านต่างๆ ก่อนเสมอ เลือกซื้อเฉพาะสินค้าที่มีประกันเท่านั้น ควรมีสติ๊กเกอร์หรือ สัญลักษณ์ที่เป็นตัวบอกว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นมีการประกันหรือที่เรียกกัน ว่า Void บนอุปกรณ์ที่สำคัญๆ ทุกชิ้น และตรวจสอบว่าระยะเวลา ประกันที่ทำตำหนิหรือที่จุดหรือขีดไว้บน Void ถูกต้องหรือไม่
ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์ตามแหล่งต่างๆ มาประกอบเอง ควรศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาบ้างพอสมควร พยายามเลือกร้านค้าที่น่าเชื่อถือ ไม่ควรเลือกซื้อสินค้าด้วยราคาที่ถูกที่สุดเสมอไป
รายละเอียดของตัวสินค้า ตารางแสดงรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ จากตัวอย่างโบรชัวร์สินค้า 1 รายละเอียดของตัวสินค้า คำอธิบาย ACER ASPIRE M5630/L22-012 เป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Acer รุ่น ASPIRE M5630/L22-012 Intel Core 2 Quad Processor Q6600 (2.4 GHz/4MB L2 Cache/1066MHz FSB/EM64) FSB : speed of memory a system must use ใช้ซีพียู Intel Core 2 Quad รุ่น Q6600 ที่มีความเร็ว 2.4 GHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB รองรับ ความเร็วบัส FSB สูงสุดที่ 1066 MHz สนับสนุนเทคโนโลยีแบบ Intel EM64T ที่ช่วยในการประมวลผลแบบ 64 บิต Genuine Window Vista Home Premium แถมซอฟต์แวร์ Window Vista เวอร์ชั่น Home Premium
รายละเอียดของตัวสินค้า คำอธิบาย 2 GB DDR2 up 4 GB ( 1 GB x 2 ) ใช้หน่วยความจำ DDR2 ขนาด ความจุ 2 GB (แผงละ 1 GB) สามารถรองรับความจุสูงสุดได้มาก ถึง 4 GB LCD 22 inch wide Screen Monitor ใช้จอแสดงผล LCD แบบ Wide Screen ขนาด 22 นิ้ว Nvidia Geforce 8400GS up to 512 MB DVI + TVO port ใช้การ์ดแสดงผลของ Nvidia รุ่น Geforce 8400GS ที่สามารถขยาย หน่วยความจำบนตัวการ์ดได้มากถึง 512 MB มีพอร์ต DVI และ TV-Out
รายละเอียดของตัวสินค้า คำอธิบาย Intel G31 Express Chipset บนเมนบอร์ด ใช้ชิปเซ็ตของ Intel รุ่น G31 Express 500 GB SATA 7200RPM HDD ใช้ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟส Serial ATA ขนาดความจุ 500 GB ความเร็วรอบ ในการหมุน 7200รอบต่อนาที 9-IN-1 Media Card Reader มีช่องเสียบที่รองรับการ์ด หน่วยความจำชนิดต่างๆ มากถึง 9 แบบ DVD/RW 16X SUperMulti Function (Dual Layer Function) ใช้ DVD ReWriter ที่สามารถอ่านและ เขียนแผ่น DVD ได้หลากหลาย รูปแบบ รวมถึงแผ่น DVD แบบ Dual Layer ด้วยความเร็วสูงสุด 16 X
รายละเอียดของตัวสินค้า คำอธิบาย Embedded high-definition audio 7.1 channel ใช้ชิปเสียง on-board แบบ high- definition audio ที่รองรับระบบเสียง รอบทิศทางในระบบ 7.1 Channel Internal 56K fax-modem มีโมเด็มที่มีคุณสมบัติเป็นแฟ็กซ์ในตัว Wireless Lan Card, TV tuner card IEEE 1394 port ติดตั้งการ์ด Wireless Lan และ TV Tuner ที่มีพอร์ตแบบ IEEE 1394 มา ให้ (ของแถม) Creative Speakers SBS350 2.1 Channel แถมลำโพงยี่ห้อ Creative รุ่น SBS350 แบบ 2.1 Channel (ของแถม) Mouse Acer แถมเมาส์ยี่ห้อ Acer