ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง
การพัฒนาความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษาระดับ ปวช.2 แผนกการบัญชีและการขายโดยการ ใช้กระบวนเรียนรู้แบบภาคสนาม ชื่อผู้วิจัย : นางสาวพจณีย์ สะอาด สังกัด : โรงเรียนฐานเทคโนโลยี
2
ปัญหาของการวิจัย วิทยาศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบัน และอนาคต อาจจะกล่าวได้ว่าเราตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นับตั้งแต่เกิดไปจนแก่เจ็บกระทั่งตาย ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์นำทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี มากระทบความเป็นไทยของเรากับชีวิตของเรา ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า ทรงเน้นแนวทางแก้ไขที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์เราต้องมีภูมิคุ้มกันครอบครัวเราเหมือนกันเพื่อให้เป็นครอบครัวที่มั่นคง อบอุ่น รายได้พอเพียง
3
ปัญหาของการวิจัย (ต่อ)
แนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน การที่นักศึกษา จะได้รับการปลูกฝังสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเอง จำเป็นต้อง ได้สัมผัสกับสภาพธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจถึงผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศต่อมนุษย์ทั้งในทางบวกและทางลบดังนั้น การจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้แบบภาคสนาม จึงจัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ มีลักษณะนิสัย เสริมสร้างจิตสำนึกให้เกิด การเรียนรู้ในวิถีทางที่ถูกต้องและสามารถดำรงตนอยู่ได้ อย่างปกติสุข
4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการจัดกาทรัพยากรธรรมชาติหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการเรียนรูภาคสนาม 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ภาคสนาม 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดย ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ภาคสนามมาใช้เพื่อพัฒนาความเข้าใจใน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย ( 𝑿 ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ของคะแนนความรู้ความเข้าใจในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบภาคสนาม จากตารางพบว่า นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสูงขึ้น โดยมีคะแนนพัฒนาการที่วัดจากร้อยละของการเปลี่ยนแปลง เท่ากับ 38.00
6
ตารางที่ 2 แสดงความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบภาคสนาม ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านท่าเสา
7
ตารางที่ 2 แสดงความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบภาคสนาม ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านท่าเสา (ต่อ)
8
สรุปผลของการวิจัย พบว่า
สรุปผลของการวิจัย พบว่า 1. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจในความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลังได้รับการพัฒนาความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีค่าคะแนนพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญ 0.01
9
สรุปผลของการวิจัย พบว่า
สรุปผลของการวิจัย พบว่า 2. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากทุกด้านและมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 รายการ ได้แก่ ความรู้ที่ได้รับจากการทัศนศึกษาในการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและในชีวิตประจำวันมากที่สุด ( 𝒙 = 4.87) รองลงมา คือ การเกิดความสุขและสัมพันธ์ที่ดีจากการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นนอกห้องเรียน ( 𝒙 = 4.80) และการดูแลเอาใจใส่ของครูในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม ( 𝒙 = 4.67)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.