ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฎหมายสิ่งแวดล้อม Story of stuff
ดูแล้วได้อะไรบ้างที่เกี่ยวข้องและนำมาปรับใช้กับการศึกษาวิชากฎหมายสิ่งแวดล้อม คะแนนเก็บ 5 คะแนน Tahoma 1000 words (+/- 100 words) อย่าลืมใส่ ชื่อ รหัสนักศึกษา และsection ส่งสัปดาห์หน้า 1 Introduction to EnLaw
2
กฎหมายสิ่งแวดล้อม เอกสารประกอบการเรียน หนังสือ กฎหมายกับสิ่งแวดล้อม ดร.กอบกุล รายะนาคร (วิญญูชน, 2550) กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ของ อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์ (วิญญูชน, 2554) การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม ของ ดร. สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ (นิติธรรม, 2542) กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ของ ดร.จุมพต สายสุนทร (วิญญูชน, 2550) 1 Introduction to EnLaw
3
หลักกฎหมายทั่วไปที่นำมาปรับใช้ก่อนจะมาเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมใน 2 แนวทาง ได้แก่ สิ่งรอบตัวเรา - อากาศ น้ำ แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน รวมไปถึงสุขภาพ และการใช้ชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ – สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ภูมิสภาพทางกายภาพ และสัตว์ พืช ระบบนิเวศน์ หลักกฎหมายที่นำมาปรับใช้กับกรณีที่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม – 1. กรณีละเมิด 2. กรณีเดือนร้อนรำคาญ (nuisance) 1 Introduction to EnLaw
4
ละเมิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น 1 Introduction to EnLaw
5
ปัญหาในการนำหลักกฎหมายเรื่องละเมิดมาใช้
มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับ แต่วันทำละเมิด ปัญหาในการนำหลักกฎหมายเรื่องละเมิดมาใช้ ภาระการพิสูจน์ – ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นต้องนำสืบ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลของการกระทำ 1 Introduction to EnLaw
6
กรณีเดือนร้อนรำคาญ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1337 บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไป ตามปกติ และเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมา คำนึงประกอบไซร้ ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยัง ความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่า ทดแทน 1 Introduction to EnLaw
7
ข้อดี – ใช้สามัญสำนึกของคนปกติธรรมดา (วิญญูชน)
หนี้ธรรมดา – บุคคลต้องทนในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ในหนี้อันคาดหมายได้ของการอยู่ร่วมกัน หนี้เกินขนาด – เมื่อการกระทำนั้นอยู่เกินไปกว่าสิ่งที่ควรคิดและคาดหมายได้ในการอยู่ร่วมกันอย่างปกติ ข้อดี – ใช้สามัญสำนึกของคนปกติธรรมดา (วิญญูชน) ข้อเสีย – จำกัดความคุ้มครองเฉพาะต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ 1 Introduction to EnLaw
8
ปัญหาของหลักกรรมสิทธิ์ต่อประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อม - แดนกรรมสิทธิ์
มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิ ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และ มีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วย กฎหมาย มาตรา 1335 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพ้น พื้นดินและใต้พื้นดินด้วย 1 Introduction to EnLaw
9
ยังมีกฎหมายอีกมากมายที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น
พรบ.รักษาคลอง ร.ศ. 121 (พ.ศ.2445) พรบ.สำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456 พรบ.ประมง พ.ศ. 2490 พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 1 Introduction to EnLaw
10
ตัวอย่าง พรบ.รักษาคลอง ร.ศ. 121
มาตรา 6 ถ้า หากว่าสามารถจะทำได้อย่างอื่นแล้ว ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเอาหยากเยื่อฝุ่นฝอยหรือสิ่งโสโครกเททิ้งในคลอง และห้ามมิให้เททิ้งสิ่งของดังกล่าวมาแล้วลงในทางน้ำลำคู ซึ่งเลื่อนไหลมาลงคลองได้ ถ้าผู้ใดกระทำผิดต่อมาตรานี้ ให้ปรับผู้นั้นไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง หรือทั้งปรับและจำทั้งสองสถาน มาตรา 9 ห้าม มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำให้คลองและฝั่งคลอง หรือถนนหลวงเสียไปด้วยประการใด ๆ ถ้าผู้ใดกระทำผิดต่อมาตรานี้ ให้ปรับผู้นั้นไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกินเดือนหนึ่ง หรือทั้งปรับและจำด้วยทั้งสองสถาน และต้องทำสิ่งซึ่งเสียหายให้คืนดีด้วยอีกโสด 1 1 Introduction to EnLaw
11
แต่พื้นฐานของกฎหมายต่างๆมักเป็นการกำหนดให้อนุญาตในการใช้ทรัพยากรมากกว่าเป็นการคุ้มครอง/จัดการสิ่งแวดล้อม เช่น พรบ.ประมง พ.ศ. 2490 ม. 12 ที่อนุญาตคือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอนุญาตให้บุคคลทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และรวมถึงบ่อล่อสัตว์น้ำ ม. 13 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต เว้นแต่ผู้รับอนุญาต 1 Introduction to EnLaw
12
ม. 14 ห้ามมิให้บุคคลใดขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ บุคคลย่อมขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำได้แต่ต้องไม่เป็นการเสียหายแก่พันธุ์สัตว์น้ำในที่รักษาพันธุ์ ปัญหาการพัฒนาพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเพิ่มจำนวนประชากร การขยายตัวของเมือง และวิถีชีวิตสมัยใหม่ - การใช้เทคโนโลยีและสารเคมีทำให้กฎหมายเดิมไม่เพียงพอต่อการรักษาสมดุลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 1 Introduction to EnLaw
13
The End ☃ 1 Introduction to EnLaw
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.