ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Rujirek Silpjaroensup
Identification Number Small-scale Public Building Design Studio Faculty of Architecture Naresuan University
2
วิวัฒนาการการใช้วัสดุมุงหลังคา
ของคนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร
3
หลังคาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่ช่วยคุ้มกันแดดกันฝนและมีส่วนสําคัญต่อรูปร่างหน้าตาของบ้านไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของรูปทรงหลังคาและวัสดุที่ใช้มุงหลังคา รูปทรงหลังคาแบบไหนเหมาะกับเมืองไทย หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาแบน ฯลฯ รูปแบบหลังคามีหลายแบบก็จริง แต่ด้วยความที่อากาศร้อนจัดและมีฝนตกชุก คือ 2 ปัจจัยสําคัญต่อการอยู่อาศัย จึงทําให้หลังคาบ้านในประเทศไทยมีลักษณะที่ควรจะเป็นดังต่อไปนี้ + มีชายคายื่นยาวเพื่อกันแดด + มีความลาดชันมากเพื่อระบายน้ำ + มีพื้นที่ใต้หลังคามากๆ เพื่อป้องกันความร้อน + ต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเลือกใช้หลังคารูปแบบใด ควรคํานึงว่าหลังคาที่เลือกใช้นั้นตอบสนองประโยชน์ใช้สอยนี้หรือไม่ จากนั้นเรื่องความสวยงามจึงค่อยเป็นสิ่งที่ต้องคิดถึงในลําดับต่อมา
4
โครงสร้างของหลังคา โครงสร้างของหลังคานับว่าเป็นโครงสร้างส่วนที่สำคัญของบ้านอีกส่วนหนึ่งเช่นกัน เพราะหลังคาจะทำหน้าที่คุ้มแดดคุ้มฝนให้แก่ตัวบ้านรวมทั้งผู้อยู่อาศัยด้วย เพราะเหตุว่าด้วยโครงสร้างหลังคา และตัวหลังคาเป็นส่วนที่อยู่สูงสุดของตัวบ้าน ดังนั้นปัญหาเรื่องการรับน้ำหนักของตัวหลังคาจึงไม่ค่อยพบ แต่ที่พบบ่อยจะเป็นปัญหาเรื่องการเกาะยึดของตัวหลังคาและโครงหลังคามากกว่า เช่น เมื่อมีลมพายุพัดแรง ๆ หลังคาที่สร้างไว้ไม่มั่นคงหรือมีการเกาะยึดไม่ดีก็มีโอกาสจะปลิวหลุดหรือเกิดความเสียหายได้มากกว่า นอกจากนี้ปัญหาที่ได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งคือการแตกหรือรั่วของหลังคาปัญหาเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากวัสดุที่ใช้ทำหลังคาหรือการขาดความประณีตในการทำหลังคา เหตุเพราะว่าหลังคาเป็นส่วนที่อยู่สูงที่สุดของตัวบ้าน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมักมองไม่เห็นและทำการแก้ไขได้ยาก ฉะนั้นขั้นตอนการทำที่ประณีต และการควบคุมดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมาก หากจะกล่าวถึงโครงสร้างของหลังคาอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ + โครงหลังคา + วัสดุมุงหลังคา
5
โครงหลังคา โครงหลังคาเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา โดยทำหน้าที่ยึดมุงหลังคาอย่าง เช่นกระเบื้องมุงหลังคาให้อยู่ในลักษณะที่มั่นคงแข็งแรงและเป็นระเบียบ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ยึดตัว หลังคา ทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโครงสร้างของเสาและคานของตัวบ้านอย่างแข็งแรง โครงหลังคาที่ดีนอกจากจะต้องมีการเชื่อมต่อหรือเกาะยึดอย่างแข็งแรงแล้วยังมีความคงทนต่อดินฟ้าอากาศและสภาพกาลเวลาที่ผ่านไป อีกทั้งการสร้างจะต้องกระทำอย่างประณีตและถูกต้องในแง่ของขนาดและระยะต่าง ๆ เพื่อให้แนวหลังคาที่มุงเสร็จอยู่ในลักษณะเข้าที่เรียบร้อย
6
วัสดุมุงหลังคา วัสดุที่ใช้มุงหลังคามีอยู่มากมายหลายแบบ วัสดุมุงหลังคาที่ทำด้วยใบจากก็ยังคงพบเห็นได้ตามชนบทซึ่งให้ความร่มเงาได้ดี แต่คุ้มกันฝนได้ไม่ดีนัก หลังคาบ้านที่ทำด้วยสังกะสีก็ยังพอพบเห็นได้บ้างเนื่องจากปลูกสร้างง่าย น้ำหนักเบา และมีราคาถูก แต่จะมีปัญหาเรื่องความร้อนเมื่อถูกแสงแดดและมีเสียงดัง เมื่อฝนตก สำหรับวัสดุมุงหลังคาที่ใช้กันมากในปัจจุบันจะทำด้วยกระเบื้องเป็นส่วนใหญ่เพราะให้ความสวย งาม คงทน ไม่ติดไฟ และคุ้มแดดคุ้มฝนได้เป็นอย่างดี
7
ใช้วัสดุอะไรมุงหลังคา
ประสิทธิภาพในการกันแดดกันฝนของวัสดุมุงหลังคาเป็นเรื่องที่ห้ามละเลยเด็ดขาด เพราะวัสดุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป วัสดุมุงหลังคาควรเป็นวัสดุที่มีความคงทน ไม่ต้องบํารุงรักษามากนัก ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้ากับอารมณ์ของการตกแต่งบ้าน + หลังคากระเบื้องดินเผา ผลิตจากดินเหนียวและวัสดุธรรมชาติ จากนั้นจึงนําไปเผาที่อุณหภูมิสูง มีทั้งชนิดที่เคลือบผิวมันวาวและไม่เคลือบผิว มีน้ำหนักเบา เหมาะสําหรับบ้านสไตล์ไทยประยุกต์ + หลังคาชิงเกิ้ล เป็นวัสดุสังเคราะห์ทําจากไฟเบอร์กลาส ผสมยางมะตอย ผิวหน้าเป็นกรวดสีต่างๆ มีน้ำหนักเบา สามารถใช้กับหลังคาที่มีความโค้งได้ดี + หลังคากระเบื้องเซรามิก เพราะทําจากเซรามิกจึงทําให้กระเบื้องประเภทนี้มีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องคอนกรีตและมีพื้นผิวที่มันเงามากกว่า จึงเหมาะสําหรับบ้านที่ต้องการความโดดเด่นของหลังคาเป็นพิเศษ แต่ก็มีราคาสูงกว่ากระเบื้องคอนกรีต + หลังคากระเบื้องคอนกรีต ผลิตจากคอนกรีต พ่นสีสร้างลวดลายในขณะที่กระเบื้องยังเปียกอยู่ มีน้ำหนักประมาณ กิโลกรัมต่อแผ่น มีลวดลายและสีสันให้เลือกมาก สามารถใช้ได้กับบ้านสไตล์โมเดิร์นและร่วมสมัย + สแกนรูฟ เป็นระบบหลังคาที่พัฒนาจากการออกแบบที่ล้ำสมัย จากการออกแบบระบบให้มีแปในตัว โครงสร้างไม่ต้องมีแป จึงทำให้สามารถยึดแผ่นเข้ากับจันทันได้โดยตรง วางจันทันได้ห่าง 1.50 m. ซึ่งทำให้เราสามารถประหยัดค่าแปไปได้ถึง 30% ทั้งขนาดและรูปร่างของทุกแผ่นมี ความคงที่แน่นอน จึงทำให้รอยซ้อนทับต่าง ๆ สนิทแนบสามารถป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี และมีร่องกันน้ำย้อนถึง 3 ระดับ
8
+ หลังคาเส้นใบธรรมชาติ
ให้ความร่มเงาได้ดี แต่คุ้มกันฝนได้ไม่ดีนัก ต้นทุนต่ำ แต่ค่อนข้างหายากในปัจจุบัน เพราะเมื่อใช้ไปในระยะเวลานานเศษใบจะร่วง มีอายุการใช้งานน้อย + หลังคากระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติผสมกับซีเมนต์นําไปอัดขึ้นรูปลอนต่างๆ มีน้ำหนักเบา ราคาถูก มีระยะต่อแผ่นยาวกว่ากระเบื้อง 3 ชนิดแรก หลังคาจึงไม่ต้องมีความลาดเอียงมาก + หลังคาไม้ ส่วนใหญ่เรียกว่าหลังคาไม้ซีดาร์ เพราะผลิตจากไม้สนพันธุ์ซีดาร์ เรด ซึ่งจะมีน้ำมันในเนื้อไม้ที่มีกลิ่นฉุนปลวกและแมลงกินเนื้อไม้จึงไม่มารบกวน พื้นผิวมีทั้งแบบเรียบและแบบผิวขรุขระ มีน้ำหนักเบา เหมาะกับบ้านสไตล์รีสอร์ต + แผ่นโพลีคาร์บอเนต ใช้ทำหลังคาที่จอดรถ กันสาด มีความสวยงาม และที่สำคัญแสงผ่านได้ ( มากน้อยขึ้นอยู่กับสี และ แบบที่เลือกใช้ ) รวมทั้งยังสามารถกันแสง UV ได้อีกด้วย จึงทำให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างอเนกประสงค์ + หลังคาเหล็ก เหมาะสําหรับงานออกแบบที่มีช่วงหลังคากว้าง เช่น โรงจอดรถหรือหลังคาคลุมสระว่ายน้ำ มีน้ำหนักเบา ไม่เปลืองโครงสร้าง มีข้อเสียคือเสียงดังเวลาฝนตกและกันความร้อนได้ไม่ดี + หลังคาผ้าใบขึงแรงดึงสูง กันแดดกันฝนได้ มีน้ำหนักเบา ออกแบบได้หลายรูปทรงสีสันสดใส สามารถสกรีนลวดลายได้
9
กระเบื้องลูกฟูกลอนใหญ่
+ สังกะสีมุงหลังคา เป็นแผ่นสังกะสีที่เข้าเครื่องรีดเป็นลอนลูกฟูกใหญ่และลอนลูกฟูกเล็ก มีขนาดมาตรฐานกว้าง 2.5 ฟุต ยาว 5 ถึง 12 ฟุต + หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นหลังคาที่ใช้คอนกรีตมาทำ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของโครงหลังคาได้ ราคาไม่แพง แต่ข้อเสียคือทำให้อาคารร้อน และปัญหาการรั่วซึม กระเบื้องลูกฟูกลอนใหญ่ กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็ก กระเบื้องลอนคู่ + กระเบื้องซีเมนต์ใยหินมุงหลังคา ผลิตขึ้นจากส่วนผสมใยหินและปูนซีเมนต์ มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ไหม้ไฟทนกรดและด่างอย่างอ่อน ไม่ผุ เปื่อยยุ่ย หรือหด ปลวกและมอดไม่กิน ราคาถูก น้ำหนักเบาทำงานได้เร็วช่วยลดโครงสร้างหลังคาและผ่อนน้ำหนักที่ลงไปฐานราก ในการมุงต้องมุงให้ได้มุมลาดเอียงไม่น้อยกว่า 17 องศา อายุการใช้งานน้อย + กระเบื้องเหล็กเคลือบมุงหลังคา เป็นหลังคาแผ่นเหล็กอาบสังกะสี เคลือบเม็ดหินและอะคริลิก ทนทาน สวยงาม น้ำหนักเบา ผลิตจากแผ่นเหล็กชิ้นเดียวปั๊มขึ้นรูปลอนมีทั้งชนิดแผ่นใหญ่ 6 ลินและแผ่นเล็ก 3 ลิน
10
ข้อมูลจากการสำรวจ + บ้านที่ใช้วัสดุมุงหลังคาหญ้าคา
+ บ้านที่ใช้วัสดุมุงหลังคาสังกะสี จำนวน 2 หลัง + บ้านที่ใช้วัสดุมุงหลังคากระเบื้องลอนคู่ บ้านที่ใช้วัสดุมุงหลังคาสังกะสี จำนวน 2หลัง มหาวิทยาลัยนเรศวร บ้านที่ใช้วัสดุมุงหลังคากระเบื้อง บ้านที่ใช้วัสดุมุงหลังคาหญ้าคา
11
ข้อมูลทั่วไป : หญ้าคา เป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกเดียวกับหญ้า มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นที่อยู่เหนือดิน มีความสูงประมาณ ฟุต ลักษณะของใบออกเป็นกระจุก ตามบริเวณโคนต้น ใบมีรูปหอกเรียวยาว ริมขอบใบ คม มีขนเป็นกระจุกใบมีขนาดยาว ซม. พบทั่วไปในประเทศไทย ขึ้นในดินทุกชนิด ทนต่อความร้อน ประโยชน์ในทางสถาปัตยกรรม ใช้ใบแห้งมาสานไว้มุงหลังคาบ้านเรือน ในทางเภสัชกรรมมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค
12
บ้านหลังคามุงหญ้าคา บ้านไม้ชั้นเดียวที่ถูกยกสูง ข้างล่างกลายเป็นที่หลบแดดของเจ้า ตูบที่คุณลุงกับคุณป้าเลี้ยงไว้ เข้าไปเจอคุณป้ากำลังทำส่วนของหลังคาสำหรับ เอาไว้เก็บถ่าน ที่คุณป้าทำใช้เอง ไม่รอช้ารีบเข้าไปสอบถามคุณป้า โดยคุณป้าบอกว่าบ้านหลังนี้ถูกสร้างเมื่อปี สร้างกันเองกับ คุณลุง ไม่ได้ใช้ชาวบ้านมาช่วย บ้านหลังนี้เป็นเรือนเครื่องผูกมุงหลังคาด้วย หญ้าแฝกน่าสนใจทีเดียว ทั้งที่ปัจจุบันชาวบ้านเลิกใช้วัสดุมุงหลังคาประเภทนี้ เปลี่ยนเป็นวัสดุที่ทนทานกันแล้ว คุณป้าบอกว่าบ้านนี้ยังไม่มีไฟฟ้าหากทำบ้านใหม่ก็จะขอไฟฟ้าเข้า โดยประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ จะสร้างใหม่แล้ว โดยจะรื้อบ้านหลังนี้ ทั้งหมด เปลี่ยนเป็นโครงสร้างคอนกรีตอยู่ถาวร ข้อมูลเบื้องต้น เจ้าของ : นายสุนทร พรมส้มซ่า อายุ 65 ปี นางละเอียด พรมส้มซ่า อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ : หมู่ 12 หมู่บ้านลำได ตำบลเสาหิน อำเภอเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก
13
บ้านหลังนี้ถูกสร้างโดยคุณลุงกับคุณป้า รวมทั้งวัสดุมุงหลังคาก็ทำกันเอง โดยคุณป้าเล่าให้ฟังว่าเริ่มจากการไปหาหญ้าคาตามคันนาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ อายุประมาณ 5-6 เดือน สามารถเก็บได้ แล้วตัดให้ยาวๆ ผึ่งแดดประมาณ 3 แดด เพื่อจะได้หญ้าคาที่แห้งและมีความเหนียว เวลาผึ่งแดดนั้นให้เกลี่ยบางๆอย่าหนา ครบ 3 แดดก็สลัดเอาเฉพาะที่ใบยาวๆไว้ ก่อนเริ่มทำเป็นตับๆนั้นก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ เชือกปอ ไม้ไผ่ซีก หญ้าคา ไม้รอง
14
ยายจะเล่ากรรมวิธีให้ฟังนะ (pls click)
ตับหนึ่งๆ จะมีขนาดความกว้าง 4 ศอก ยาว เมตร ขั้นตอนการทำแต่ละตับ คือ คุณป้าจะนำเอาหญ้าคาไปแช่น้ำประมาณ 1 คืน เพื่อให้หญ้าคาเหนียว เวลาพับจะไม่แตกหัก นำไม้ไผ่ซีกยาว 4 ศอกทำเป็นโครงสร้างแต่ละตับ แบ่งหญ้าคาเป็นฟ่อนๆประมาณ 10 ใบ กะให้มีความยาวประมาณ เมตร ใช้เชือกปอรัด ทำต่อไปเรื่อยๆจนหมดความยาวของไม้ไผ่ ไม่ต้องขมวดจบเชือกปอ เพราะคุณป้าบอกว่ามันจะไม่หลุด
15
สำหรับบ้านหลังนี้แล้ว มีเป็นร้อยๆตับ โดยการมุงนั้นระยะซ้อนทับกันประมาณ เมตร โดยต้องมุงถี่ๆ เพื่อไม่ให้น้ำรั่วซึมได้ โดยใช้การผูกในการยึดระหว่างตับหญ้าคากับโครงหลังคา หลังคานี้เวลากลางวันจะไม่ร้อนเพราะ หญ้าคาเป็นฉนวนอย่างดี เวลากลางคืนก็จะไม่หนาวเป็นวัสดุที่ช่วยปรับสภาพอุณหภูมิภายในได้ดี แต่ปัญหาย่อมมีแน่ คือ การรั่วซึมของน้ำฝน จนต้องหาเอากระสอบปุ๋ยมาปิดทับ ถือเป็นปัญหาพอสมควร เวลาฝนตกทีต้องขยับไม่เป็นอันนอน อีกปัญหาหนึ่งก็คือ เศษหญ้าคาที่ร่วงทำให้สกปรก เนื่องจากใช้มาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว
16
บ้านหลังนี้โครงสร้างเป็นไม้ ทั้งพื้น ผนัง ซึ่งไม้มีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้ดี จะไม่กักเก็บความร้อน ทำให้กลางคืนอุณหภูมิภายในจะเย็น และด้วยลักษณะของชายคาที่ยื่นยาวยังช่วยในการรับแสงแดดที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน และป้องกันน้ำฝนที่จะกระเซ็นเข้ามาภายในบ้าน
17
การมุงหลังคาสังกะสีใช่ว่าจะหมดไป ปัจจุบันยังนิยมอยู่กับงานบางชนิด โครงสร้างใช้ผสมผสานได้กับไม้ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นไม้มะพร้าวและอื่นๆ ซึ่งผู้คนยังนิยมใช้สังกะสีมุงหลังคาบ้านนั้นก็เพราะว่า สังกะสีมีน้ำหนักเบา ทำให้ลดต้นทุนด้านโครงสร้าง
18
บ้านหลังคามุงสังกะสี
หากย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน บนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน แห่งนี้เริ่มมีการ ก่อสร้างบ้านของคุณลุงวิชิตและคุณป้ารำพึง โดยเป็นการจ้างชาวบ้านมาช่วยกันสร้าง ใช้ระยะเวลาเพียง 1 เดือน ด้วยงบประมาณ 10,000-20,000 บาท ซึ่งหากเทียบกับ อัตราในปัจจุบันแล้ว คงจะไม่ได้บ้านหลังเท่านี้แน่ สภาพบ้านหลังนี้ในปัจจุบันกับสมัยก่อน คุณลุงกับคุณป้าเล่าให้ฟังว่า ไม่ต่างอะไรมาก โครงสร้างฐานรากเป็นปูน นอกนั้นเป็นไม้ทั้งหมด ไม่ได้ปรับเปลี่ยน อะไรเลย นอกจากวัสดุมุงหลังคา ตอนแรกใช้หญ้าคา แต่พอ พ.ศ.2534 ได้ เปลี่ยนมาใช้วัสดุมุงหลังคาสังกะสี ในตอนนั้นคุณลุงซื้อสังกะสีมาในราคา 400 บาท สาเหตุที่เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาเพราะ หญ้าคานั้นเมื่อนานไป จะเกิดปัญหาเรื่องความ สกปรก เศษหญ้าจะร่วง และมีปัญหาการรั่วซึมของน้ำฝน แต่ยังคงเหลือร่องรอยของ วัสดุมุงหลังหญ้าคา ในส่วนที่เป็นครัวชั้นบน สาเหตุที่เลือกใช้วัสดุมุงหลังคาสังกะสี เพราะในสมัยก่อนหลังคา กระเบื้องเป็นวัสดุที่ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย และสังกะสียังหาซื้อได้ง่าย ข้อมูลเบื้องต้น เจ้าของ: นายวิชิต ปานมณี อายุ 54 ปี นางรำพึง ปานมณี อายุ 48 ปี อาชีพ: ทำนา บ้านเลขที่: 155 หมู่ 7 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก
19
ส่วนที่เป็นผนังสังกะสี
จากการสอบถามถึงผลกระทบหลังจากเปลี่ยนมาใช้วัสดุมุงหลังคาสังกะสี ท่านทั้งสองกล่าวว่ามีปัญหาเรื่องอุณหภูมิภายในบ้าน เนื่องด้วยบ้านหลังนี้เป็นบ้านไม้สองชั้น ชั้นล่างยกใต้ถุนสูง ช่วงกลางวันก็จะอยู่กันแต่ข้างล่าง ชั้นบนนั้นจะร้อนในเวลากลางวัน เพราะส่วนผนังประกอบไปด้วยผนังสังกะสีและผนังไม้ และส่วนวัสดุมุงหลังคาเป็นสังกะสี เนื่องจากสังกะสีมีคุณสมบัติเป็นตัวนำความร้อนได้ดี หากกลางคืนแล้วจะเย็น เพราะไม้มีคุณสมบัติสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี แต่ปัจจุบันนี้ชั้นบนนั้น ไม่ได้ถูกใช้งาน กลับปล่อยให้โล่ง เป็นเพียงที่สำหรับเก็บของ ท่านทั้งสองใช้งานเพียงแค่ชั้นล่างเท่านั้น เพราะสะดวกดี ไม่มีการล้อมรั้วแต่อย่างใด เรียกได้ว่า open space แม้ในส่วน private ก็ตาม ส่วนที่เป็นผนังสังกะสี หลังคามุงด้วยสังกะสี พื้นไม้ ส่วนที่เป็นผนังไม้
20
บริเวณที่เป็นครัวพบว่าภายใต้หลังคาสังกะสีมีหญ้าคาอยู่ ซึ่งดูแล้วก็เหมือนเป็นฉนวนกันความร้อนแบบหนึ่ง แต่มีปัญหาที่ว่ามีเศษหญ้าคาร่วง เนื่องจากใช้เป็นเวลานานแล้ว พื้นที่ชั้นบนถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่เก็บของ การรั่วซึมของน้ำฝน เนื่องจากสังกะสีง่ายต่อการเกิดสนิม หากสัมผัสกับน้ำและออกซิเจนเป็นประจำ จะเกิดการผุกร่อน เวลารั่วคุณลุงก็จะเปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่ผุ และในช่วงฝนตกนั้นก็เกิดเสียงรบกวน ซึ่งเป็นปัญหาในช่วงแรก แต่ปัจจุบันชินกันเสียแล้ว ถามถึงอนาคตว่าจะปรับเปลี่ยนหรือไม่ ท่านทั้งสองกล่าวว่าไม่แล้ว จากการสอบถามถึงวัสดุกันความร้อน คุณป้านั้นก็รู้จัก แต่เนื่องจากสิ้นเปลืองจึงเลือกที่จะไม่ใช้ดีกว่า ปัจจัยหลักนั่นก็คือ เงินนั่นเอง พื้นที่ชั้นล่างถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับนอน
21
บ้านหลังคามุงสังกะสี
บ้านหลังนี้บนเนื้อที่ 1 งานกว่าๆถูกสร้างมาแล้วประมาณ 50 ปีน่าจะได้ จากคำบอกเล่าของคุณลุงเสน่ห์ ซึ่งย้ายเข้ามาอยู่ในปี ซึ่งรายละเอียดเมื่อ ครั้งถูกสร้างนั้นคุณลุงไม่ทราบจึงไม่มีข้อมูลตรงนี้ จากการสำรวจบ้านหลังนี้เป็นบ้านสองชั้น ชั้นล่างถูกยกให้สูง เป็น เพียงที่เก็บของ เก็บเรือ และเป็นที่พักผ่อนของคุณลุง คือมีผูกเปลเอาไว้ สำหรับ คุณลุงเอาไว้นอน แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว ภายในบ้านมีห้อง 1 ห้องสำหรับลูก สาว คุณลุงนอนข้างนอก ไม่มีประตูปิดบ้าน ลมโกรกสบายดี บนพื้นที่บริเวณใกล้ๆนี้ถูกถมให้สูงขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว ซึ่งจะเป็น ของคนมีเงิน แต่ยกเว้นพื้นที่ของคุณลุง ข้อมูลเบื้องต้น เจ้าของ : นายเสน่ห์ สิงหเดช อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ : 127/2 หมู่ 7 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก
22
พื้นที่ชั้นล่างที่ใช้เป็นที่เก็บของอุปกรณ์การเกษตร
ตัวบ้านมีความ flow ช่วยในการระบายความร้อนในบ้าน พื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าบ้านหลังอื่นๆ เกิดน้ำขังใต้ถุนบ้าน มีน้ำอยู่ข้างล่าง ช่วยให้บ้านเย็น ลักษณะของการระบายความร้อน ที่มีการทำช่องเปิดใต้ หลังคา และยังช่วยให้ภายในบ้านสว่างโดยไม่ใช้ไฟฟ้า
23
คุณลุงเสน่ห์บอกว่าตั้งแต่มาอยู่บ้านก็ไม่ได้ปรับปรุงอะไรเลย นอกจากรางน้ำที่เปลี่ยนมาเมื่อ ปีก่อนหน้านี้ เพราะมันผุ ถึงแม้หลังคาสังกะสีบางจุดจะมีรอยรั่วก็ตาม เพราะหากจะเปลี่ยนก็คงต้องเปลี่ยนทั้งชุด แต่ปัจจัยที่สำคัญของคุณลุง คือ เงิน รางน้ำที่เปลี่ยน รูรั่วของหลังคา คุณลุงบอกว่ามันก็ไม่ค่อยร้อน เพราะข้างล่างก็เป็นน้ำ บ้านเลยเย็นๆ ในบ้านก็โล่ง และยังมีช่องระบายอากาศข้างบน ลุงบอกว่าจะเปลี่ยนหลังคาชนิดอื่นทำไม
24
ข้อมูลเบื้องต้น : กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้องไฟเบอร์ซิเมนต์
ข้อมูลเบื้องต้น : กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้องไฟเบอร์ซิเมนต์ กระเบื้องมุงหลังคาชนิดนี้มานานกว่า 50 ปี เนื่องจากโครงสร้างบ้านส่วนใหญ่ในสมัยก่อนเป็นไม้ จึงเหมาะกับการมุงหลังคาด้วยวัสดุเบา ประกอบกับวิธีการมุงกระเบื้องซีเมนต์ใยหินไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติของแร่ใยหินที่สามารถทนความร้อนได้สูง เหนียว และแข็งแรง เมื่อนำมาผสมกับปูนซีเมนต์ จึงได้แผ่นกระเบื้องซิเมนต์ใยหินที่บาง น้ำหนักเบา มีความแข็งแรง ทนความร้อนได้สูง และมีขนาดใหญ่ซึ่งมีความยาวแผ่นมาตรฐาน 1.20 – 1.50 เมตร และขึ้นรูปลอนได้ทั้งลอนใหญ่และลอนเล็ก กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน ผลิตจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) ผสมกับใยหินสำลี-Asbestos Fiber ชนิดที่มีชื่อเรียกว่า Chrysotile ซึ่งเป็นใยหินที่มีความอ่อนนุ่มและปลอดภัยในการใช้ คุณสมบัติของเส้นใยหินชนิดอ่อนนุ่มที่เรียกชื่อว่า Chrysotile Asbestos ซึ่งเป็นส่วนผสมของกระเบื้องซีเมนต์ใยหินที่ผลิตขายอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ สำหรับใยหินชนิด Chrysotile Asbestos ที่ใช้ในการผลิตกระเบื้องมุงหลังคานั้นได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตได้ รวมทั้งได้รับการศึกษาด้านความปลอดภัยในการใช้งาน ทั้งนี้จากคุณลักษณะของการเกาะยึดของเส้นใยกับซีเมนต์ที่มั่นคงถาวรของผลิตภัณฑ์กระเบื้องซีเมนต์ใยหินที่มีการผลิตและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ก็แตกต่างกับการใช้งานในบางประเทศที่มีการนำใยหิน ไปใช้งานในรูปแบบอิสระ เช่น ใช้เป็นฉนวนหุ้มท่อแอร์ หรือใช้เป็นสารฉีดพ่นหุ้มโครงสร้างเหล็กเพื่อป้องกันไฟ ซึ่งมีโอกาสที่จะฟุ้งกระจายไปในสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบันได้มีผู้ผลิตบางรายเริ่มนำเส้นใยชนิดอื่นมาใช้ผลิตทดแทนใยหินบ้างแล้ว อาทิเช่น เส้นใยธรรมชาติ (Cellulose Fiber) และ เส้นใยสังเคราะห์ (PVA Fiber) ซึ่งจะเรียกว่าเป็นกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค และคาดว่าสินค้าจะเป็นที่นิยมของตลาดต่อไปในอนาคต
25
บ้านหลังคามุงกระเบื้องลอนคู่
บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นกว่า 2 งาน เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง ข้างล่างมีพื้นที่สำหรับเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ก่อสร้างมาแล้ว 30 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่างๆ มีการขุดบ่อน้ำไว้ใช้เอง และพื้นที่ปศุสัตว์ สำหรับเลี้ยงหมู เจ้าของ : นายดัด น่วมชุม พิษณุโลก อายุ : 64ปี อาชีพ : เกษตรกร บ้านเลขที่ : 50/2 หมู่ 8 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก
26
จากการสอบถาม มีการปรับปรุงบ้านหลังนี้มาแล้วหนึ่งครั้ง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ด้วยงบ 30,000 บาทและระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จ้างชาวบ้านใกล้เคียงมาช่วยกัน โดยคุณลุงออกแบบเองตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มสร้างและครั้งปรับปรุง เนื่องจากคุณลุงเคยเป็นช่างมาก่อน งานปรับปรุงเป็นงานติดตั้งฝ้ายิปซัมทั้งภายนอกและภายในและเปลี่ยนเป็นหลังคาปั้นหยา (เป็นประเภทของหลังคาที่ทุกด้านลาดไหลลงสู่ผนัง โดยมักมีความชันไหลเอียงเท่ากัน หลังคาปั้นหยาของบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะมีสามเหลี่ยม 2 ด้าน และมีสี่เหลี่ยมคางหมู 2 ด้าน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะต้องมีความลาดเอียงเดียวกัน เพื่อให้สมดุลกัน) แล้วมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ซึ่งเป็นกระเบื้องชนิดที่พบได้บ่อยในชนบท เนื่องจากหลังคาแบบเก่านั้น เป็นหลังคาจั่วมุงหลังคาด้วยสังกะสี ซึ่งเกิดปัญหาต่างๆ คือ ปัญหาการรั่วซึมของน้ำฝน ด้วยเหตุที่ว่าบ้านของคุณลุงมุงหลังคาดาด (ดาด คือ การมุงหลังคาที่ไม่มีความลาดเอียง หรือมีความลาดเอียงน้อยมาก) ทำให้เวลามีลมแรงๆตอนฝนตก น้ำฝนจะกระเซ็นเข้าภายใน และเกิดเสียงดัง
27
คุณลุงเล่าอีกว่าบ้านสมัยก่อนแถวนี้มักทำหลังคาที่มีความชันไม่มาก เอาแค่ลูกมะนาวไม่กลิ้ง แกเปรียบเล่นๆให้ฟัง ซึ่งจากการสังเกตพบว่าบริเวณนั้นยังคงมีหลังคาที่มีความชันไม่มากเหลืออยู่ แต่ก็ยังมีการพัฒนาปรับปรุงกัน ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสังกะสีคงมีข้อเสียและส่งผลเสียในระยะยาว ก็จะพบหลังคากระเบื้องแทรกตัวบ้างในส่วนของพื้นที่รอบๆมหาวิทยาลัย ในส่วนพื้นที่ใกล้มหาวิทยาลัยจะเป็นหลังคากระเบื้องเสียมากกว่า นอกจากนี้ คุณลุงจึงติดตั้งฝ้าภายในแบบทีบาร์เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนได้อีกระดับหนึ่ง และภายนอกเพื่อป้องกันนก และเทคนิคอื่นๆที่เหมาะสมในการช่วยระบายความร้อน เช่น การมีช่องเปิดหน้าต่าง ช่องเปิดไม้ระแนง ซึ่งผ่านไป 10 กว่าปีแล้ว ไม่มีปัญหาใดๆ น้ำฝนไม่รั่ว ไม่เกิดเสียงดังเวลาฝนตก ไม่ร้อน มีอายุการใช้งานอีกยาวไกล
28
กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน
+ เปรียบเทียบด้านคุณภาพและคุณสมบัติ รายการ หญ้าคา สังกะสีลอนใหญ่ กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน 1. ขนาดและน้ำหนัก ต่อ 1 แผ่น ไม่มีขนาดมาตรฐาน มีน้ำหนักเบา มีขนาดยาวตั้งแต่ 5-12 ฟุต กว้าง 2.5 ฟุต ขนาด 50 x 120 ซม. หนา 0.5 ซม.น้ำหนัก 6.2 กก. 2.โครงหลังคา ไม่ต้องใช้แปเพราะสามารถวางพาดบนจันทันได้เลย ประหยัดโครงสร้าง ต้องใช้แปและโครงสร้าง ต้องใช้แปและโครงสร้าง ที่มาก 3. เสียงขณะฝนตก เบา เสียงดัง เบากว่าสังกะสี แต่ดังกว่าหญ้าคา 4. การกันฝน กันฝนได้ดีหากมีการเว้นระยะห่างของตับหญ้าคาที่เหมาะสม มักมีปัญหาเรื่องน้ำรั่วและการไหลย้อน ของน้ำฝนเนื่องจากขนาดสังกะสี ไม่เท่ากันในแต่ละรุ่นการผลิต มักมีปัญหาเรื่องน้ำรั่วและการ ไหลย้อนของน้ำฝนเนื่องจากขนาด กระเบื้องไม่เท่ากันในแต่แต่ละรุ่น การผลิต 5. ความร้อน สะท้อนความร้อนได้มากกว่า ทำให้เก็บสะสมความร้อนน้อยกว่า บ้านจะเย็นทันทีในตอนค่ำ สะท้อนความร้อนได้ไม่มากทำให้เก็บ สะสมความร้อนได้มากและระบาย ความร้อนได้ช้าทำให้บ้านยังคงร้อน ในตอนค่ำ สะท้อนความร้อน ได้ไม่มาก ทำให้เก็บสะสมความร้อน ได้มากแต่น้อยกว่าสังกะสี และระบายความร้อนได้เร็ว กว่าสังกะสี 6. การติดตั้ง เสียเวลาในการทำเป็นตับ และใช้ในปริมาณมาก ใช้แรงงานและเวลาในการติดตั้ง มาก ใช้แรงงานและเวลาในการ ติดตั้งมาก 7. ความคงทน ประมาณ 3 ปี จากการสำรวจ มีอายุการใช้งานตั้งแต่ ปี เริ่มแตกร้าวหลังจากใช้งาน แล้วประมาณ 3 ปี 8.อันตรายต่อสุขภาพ มีฝุ่นละออง เศษหญ้าคา หากมีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน เป็นสารประกอบโลหะสังกะสี ในรูปสังกะสีออกไซด์ อาจเข้าทางจมูกได้จากการสูดดมมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ อันตรายจากใยหินอาจก่อมะเร็ง
29
สรุปข้อมูล การเปลี่ยนแปลงการใช้วัสดุมุงหลังคาของคนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร มีการเปลี่ยนแปลงตามสมัย โดยสมัยก่อนนั้นชาวบ้านรู้จักกันเพียงวัสดุมุงหลังคาหญ้าคา ที่สามารถหาได้จากข้างท้องนา ซึ่งต่างจากสมัยนี้ที่หายาก จะต้องซื้อมาจากต่างพื้นที่บ้าง แล้วมีการใช้สังกะสีในเวลาต่อมา จากข้อมูล”ในปี บริษัทผาแดง อินดัสทรี ซึ่งเป็นของคนไทยก็ได้เข้ามาทำเหมืองอย่างจริงจัง ผลิตแร่สังกะสีและสามารถถลุงแร่ได้เป็นแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แร่เหล่านี้ก็ส่งให้คนไทยใช้ทั่วประเทศ และยังส่งออกได้ด้วย “ ซึ่งในช่วงนี้นี้เองที่สังกะสีเริ่มเข้ามามีบทบาทกับคนในชุมชน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่าหญ้าคา ทั้งในเรื่องความสะอาด อายุการใช้งาน น้ำหนัก การติดตั้ง การกันแดดกันฝน แต่ยกเว้น การดูดซับและระบายความร้อน เสียงดังเวลาฝนตก การยึดโยง และจุดยึดโยงสำคัญมาก สังกะสีไม่หนัก แรงลมจะทำมาด้านข้าง อาจทำให้หลังคาปลิวได้ หลังจากที่ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี การใช้วัสดุมุงหลังคาที่เป็นกระเบื้อง เริ่มมีการรู้จักและนำมาใช้บ้าง ซึ่งคุณสมบัตินั้นดีขึ้นกว่าการใช้สังกะสี ในเรื่องการดูดซับและระบายความร้อน การดูดซับเสียงเวลาฝนตก และมีสีให้เลือกหลายหลายตามความชอบของคน จากการสำรวจพบว่ายังคงหลงเหลืออยู่บ้างในการใช้วัสดุมุงหลังคาหญ้าคา ส่วนวัสดุมุงหลังคาสังกะสีและกระเบื้อง ยังคงมีส่วนต่างไม่มาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆในการเปลี่ยนมาใช้ ทั้งเรื่องของ ราคา และข้อมูลที่ชาวบ้านเข้าใจ ในปัจจุบันวัสดุมุงหลังคามีหลายหลายแบบให้เลือกใช้มากมาย ที่มีความสวยงามเพิ่มมากขึ้น และมีคุณสมบัติที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรมีข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกซื้อมาใช้ด้วย
30
บรรณานุกรม รวมทั้งผู้ให้การสัมภาษณ์ทุกท่าน นายสุนทร พรมส้มซ่า นางละเอียด พรมส้มซ่า นายเสน่ห์ สิงหเดช นายดัด น่วมชุม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.