ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKornballop Wilalai ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
มาตรา ๑๔๕๒ ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่ สมรสอยู่ไม่ได้
2
ผู้ร้องอ้างว่า ส. มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมา จดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้องอีก การสมรสระหว่าง ส. กับ ผู้ร้องย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๒ ประกอบ มาตรา ๑๔๙๗ เมื่อบทบัญญัติในมาตรา ๑๔๙๗ ให้สิทธิผู้ร้อง ในฐานะบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้ศาล พิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะ เสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็น คำร้องขอได้ ฎีกาที่ ๔๙๘๑ / ๒๕๔๑
3
โจทก์กับ ส. เป็นสามีภริยากันอยู่ตามกฎหมาย ลักษณะผัวเมีย ครั้นเมื่อ ส. ตาย กระทรวงกลาโหมได้จ่ายบำนาญตกทอด ให้แก่โจทก์ตลอดมา ต่อมาจำเลยไปคัดค้าน กระทรวงกลาโหมจึงงดจ่าย ปรากฏว่าก่อน ส. ตาย ส. ได้สมรสกับจำเลยโดยจด ทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรสเช่นนี้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๕ ( ๓ ), ๑๔๙๐ โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ทะเบียนสมรสนั้นเสียได้ ฎีกาที่ ๕๙๔ / ๒๕๐๖
4
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับนาย ป. นั้น นาย ป. ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ ๑ แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับโจทก์ที่ ๑ อยู่ตลอดมาจนนาย ป. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับนาย ป. จึงเป็นการ ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๒ และตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕ ฎีกาที่ ๖๗๘๘ / ๒๕๔๑
5
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส. ผู้ตายเป็นการสมรส ที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนววาดา ประเทศ สหรัฐอเมริกาและชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๙ วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส. สามีโจทก์ตาม กฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส. มีคู่สมรสอยู่ก่อน แล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๒ ตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๖ ซึ่ง ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ( มาตรา ๑๔๕๙ การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมาย แห่งประเทศนั้นก็ได้ ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูต หรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน ) ฎีกาที่ ๖๐๕๑ / ๒๕๔๐
6
ม. ๑๖ เมื่อศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการ สมรสหรือให้หย่ากันแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้นายทะเบียนบันทึก ไว้ในทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุด ที่รับรองว่าถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน พรบ. จดทะเบียนครอบครัว ๒๔๗๘
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.