ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSasikarn Chuasiriporn ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
ไข้หวัดใหญ่ (Flu 2009) ปัจจุบัน การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วประเทศ และพบผู้เสียชีวิต จากโรคดังกล่าวจำนวนหนึ่ง การระบาดภายในประเทศระยะแรก ส่วนใหญ่เป็นการระบาดในกลุ่มนักเรียน และ วัยทำงาน ดังนั้น การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในสถานศึกษา และสถานประกอบการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ ควบคู่ไปกับการป้องกันโรครายบุคคลและชุมชน ผกามาศ ฟูคำ
2
สาเหตุการเกิดไข้หวัด 2009
เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชื่อ lnfl uenza virus เชื้อจะอยู่ในนำมูก นำลาย หรือเสมหะ ติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ Type ตระกูลออโธมิกโซไวริดี เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ สามารถติดต่อจากคนสู่คน และทำให้มีผู้เสียชีวิต ผกามาศ ฟูคำ
3
การติดต่อ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 จะแพร่ติดต่อจากคนสู่คนได้ดังนี้ ถูกผู้ป่วยไอ จาม ใส่ ในระยะ 1 เมตร หายใจเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก ของผู้ป่วย เข้าไปในร่างกาย เนื่องจากเชื้อไวรัส ที่ ทำให้เกิดโรคอยู่ในน้ำมูกและเสมหะ ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือ สิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น และเชื้อเข้าสู้ร่างกาย ทางจมูก ตา และปาก ผู้ติดเชื้ออาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วัน ก่อนป่วย และสามารถแพร่เชื้อต่อไปอีกหลังจากมีอาการป่วย 7 วัน ผกามาศ ฟูคำ
4
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A ชนิดของเชื้อ ไข้หวัด 2009 ไวรัสไข้หวัดใหญ่
ชนิด B ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด C ผกามาศ ฟูคำ
5
อาการป่วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ 1-3 วัน โดยอาการป่วยได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือ ท้องเสียร่วมด้วย ผู้ติดต่อเชื้อส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะมีอาการไม่รุนแรงและหายใจได้โดยไม่ต้องรักษาในโรงพยาบาล แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปอดบวมโดยจะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ อัตราผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ผกามาศ ฟูคำ
6
การรักษา ผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย เช่น ไอ มีน้ำมูก หรือ มีไข้ต่ำๆ และรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่ต้องพักอยู่ในที่พักอาศัย และไม่ออกไปนอกที่พักอย่างเคร่งครัด เป็นเวลา 7 วันเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นๆ ผกามาศ ฟูคำ
7
คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา
1. จัดสถานที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หากไม่จำเป็นไม่ควรเรียนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ(ควรให้ความรู้เรื่องระยะห่างระหว่างบุคคลที่ปลอดภัยจากการติดต่อจากไข้หวัดใหญ่คืออย่างน้อย 1 เมตร) 2. ให้นักเรียนที่เดินทางกลับจากกรุงเทพหรือต่างจังหวัดเฝ้าสังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 7 วัน 3. ถ้านักเรียนมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ให้พักรักษาตัวที่บ้านหรือหอพักเป็นเวลา 78 วัน หากมีอาการป่วยรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ 4. จัดหาหน้ากากอนามัยให้นักเรียนมีอาการหวัด เช่น ไอ จาม มีน้ำมูกไหล สวมใส่ แม้จะยังไม่มีไข้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่นักเรียนคนอื่น ผกามาศ ฟูคำ
8
คำแนะนำสำหรับประชากรทั่วไป
ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือมีอาการไข้หวัดเช่น ไอ จาม น้ำมูก หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่มี ล้างมือบ่อยด้วยน้ำและสบู่ หรือ ใช้เจลล้างมือ ไม่ใช้สิ่งของ เครื่องใช้ ร่วมกับผู้อื่น (แก้วน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว) เมื่อมีอาการเป็นหวัดเช่น น้ำมูก จามหรือไอ แม้ว่าจะยังไม่มีไข้ ต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งและทุกเวลา ที่ต้องพบปะหรืออยู่กับผู้อื่น มีมารยาทในการไอ จาม โดยใช้ผ้าหรือทิชชู่ปิดปากทุกครั้ง(ไม่ใช้มือเปล่าปิดปาก) หรือหากหาผ้าหรือทิชชู่ไม่ได้ ให้ไอ จาม ใส่แขนเสื้อของตนเอง ผกามาศ ฟูคำ
9
ผกามาศ ฟูคำ
10
ร้อยละผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009
ผกามาศ ฟูคำ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.