ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การสกกกกกรรคำ การสรรคำ
2
การสรรคำ คือการเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์
3
๑. การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
ตัวอย่างเช่น “วิไลเตรียมอาหารกลางวัน เธอตัดผักคะน้าเป็นท่อนยาวๆ หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ แล้ว บดจนละเอียด แล่เนื้อวัวเป็นแผ่นบางๆ และซอยกระเทียมเป็นชิ้นเล็กๆ”
4
๒. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
ตัวอย่างเช่น “ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์ มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง” (นิราศเมืองเพชร ของ สุนทรภู่) ผู้ประพันธ์เลือกสรรคำใช้ได้เหมาะสมแก่เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทำน้ำตาลโตนดของคนเมืองเพชร ทำให้ผู้อ่านที่ไม่เคยเห็นนึกภาพได้อย่างชัดเจน
5
๓. เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์ คำจำนวนมากใช้ได้ทั้งในร้อยแก้ว และร้อยกรอง แต่คำบางคำใช้เฉพาะแต่ในคำประพันธ์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น “เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล” (กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
6
๔. เลือกใช้คำไวพจน์ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ “คำไวพจน์”
หมายถึง คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน คำที่เป็นไวพจน์ของกันนั้น หลายคำไม่อาจใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น “มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง บุปผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน เรณูนวลหวนหอมมารวยริน พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์ ประสานสอดกอดหลับระงับไป”
7
๕. เลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง
๕.๑ คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำเลียนเสียงธรรมชาติในบทประพันธ์ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น “กลองทองตีครุ่มครึ้ม เดินเรียง ท้าตะเติงเติงเสียง ครุ่มครื้น เสียงปี่รี่เรื่อยเพียง การเวก แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) เป็นคำเลียนเสียงกลอง เสียงแตร และเสียงสังข์
8
๕.๒ คำที่เล่นวรรณยุกต์ เช่น
“ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง” (กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
9
๕.๓ คำที่เล่นเสียงสัมผัส คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบพูดจาให้คล้องจองกันดังจะเห็นได้จากสำนวน พังเพย สุภาษิต ชื่อเฉพาะ คำขวัญ ที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกัน เช่น สำนวน พังเพย สุภาษิต - กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง กลืนไม่เข้าคายไม่ออก - ข้าวยากหมากแพง ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา ชื่อเฉพาะ - เจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร คำขวัญ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ - สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
10
๕.๔ คำที่เล่นเสียงหนักเบา เพื่อให้บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองฟังไพเราะ กวีมักใช้เสียงหนักเบาและจังหวะอันเกิดจากวิธีอ่าน ทำให้เข้าถึงความหมายที่แท้จริงของกวีบทนั้นๆ บทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่กำหนดเสียงหนักเบาได้แก่ คำครุและคำลหุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นคำลหุ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ โขดเขินศิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย สูงลิ่วละลานนั- ยนพ้นประมาณหมาย ยอดมัวสลัวเมฆ รุจิเรขเรียงราย เลื่อมเลื่อมศิลาลาย ก็สลับระยับสี (อิลราชคำฉันท์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร(ผัน))
11
๖. เลือกคำโดยคำนึงถึงคำพ้องเสียงและคำซ้ำ
เมื่อนำคำพ้องเสียงมาเรียบเรียงหรือร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะ เพิ่มความพิศวง น่าฟัง หากใช้ในบทพรรณนาหรือบทคร่ำครวญยิ่งทำให้สะเทือนอารมณ์ สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่ ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด (ลิลิตตะเลงพ่าย ของ สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
12
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.