ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNeungluthai Chavalit ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
ความสัมพันธ์ ปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชา: ผลกระทบต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ
ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา
2
ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาที่กำลังดำเนินอยู่นั้น ไม่ได้ส่งผลแค่ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความคลั่งชาติของกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยที่ปรากฏให้เห็นในสาธารณะนั้นรุนแรง ก้าวร้าว และขาดสติ ข้อเสนอที่น่ากังวลมากคือการที่ผู้นำกลุ่มพันธมิตรเสนอให้มีการบุกเข้าไปยึดพื้นที่ในกัมพูชาจนกว่าจะมีการคืนปราสาทเขาพระวิหารให้กับประเทศไทย ราวกับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวร้าว บ้าคลั่ง และรุกราน
3
แน่นอนว่าความขัดแย้งระหว่างสองประเทศนั้นจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพียงแค่สองประเทศเท่านั้น หากแต่ยังจะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนไปยังประเทศและความร่วมมืออื่นๆ เพราะในกรณีของไทยกับกัมพูชานั้น ทั้งสองเป็นสมาชิกของอาเซียน และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอส แน่นอนว่าอาเซียนซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ย่อมได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย เพราะอาเซียนต้องเผชิญกับคำถามในมิติทางความมั่นคงที่ว่า ทำไมอาเซียนถึงไม่มีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และอาเซียนควรมีการปรับเปลี่ยน “วิถีอาเซียน” (ASEAN Way) หรือไม่
4
วิถีอาเซียน คือ แนวทางในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศภายในอาเซียน มันเป็นคำที่ใช้เรียกกระบวนการแก้ไขปัญหาตามที่ระบุไว้ใน “สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Treaty of Amity and Cooperation: TAC) ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1976 สนธิสัญญานี้กำหนดหลักการสำคัญๆในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศไว้ คือ การเคารพซึ่งความเท่าเทียม อำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์ของแต่ละชาติ หลักการไม่ถูกแทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีสันติ และการไม่ใช้กองกำลังทางทหาร วิถีดังกล่าวได้ถูกเรียกรวมกันว่าวิถีอาเซียนและใช้ในการเป็นแนวทางในการจัดการเรื่องราวภายในอาเซียนตลอดมา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.