งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของวัยต่างๆ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของวัยต่างๆ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของวัยต่างๆ

2 วัยทารก คือ วัยตั้งแต่แรกเกิด มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดังนี้
วัยทารก คือ วัยตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุครบ 1 ปี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดังนี้

3 การเจริญเติบโตของเด็กวัยทารก
น้ำหนักและส่วนสูง น้ำหนักของทารกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอายุครบ 1 ปี จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณ 3 เท่า ของน้ำหนักเมื่อแรกเกิด ส่วนความยาวหรือส่วนสูงนั้นเมื่ออายุครบ 1 ปี จะมีความยาวหรือส่วนสูง เพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า ของความสูงเมื่อแรกเกิด แรกเกิดรอบศีรษะยาวประมาณ 35 ซม. อายุครบ 1 ปี มีฟันประมาณ 12 ซี่ ส่วนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3,000 กรัม

4 การเจริญเติบโตของเด็กวัยทารก
2. ฟัน ปกติฟันซี่แรกของทารกจะขึ้นเมื่ออายุ 6 – 8 เดือน แต่บางคน อายุได้ 2 – 3 เดือน ก็อาจมีฟันขึ้นได้ 3. ขนาดรอบศีรษะ เมื่ออายุครบ 1 ปี จะมีขนาดรอบศีรษะประมาณ 45 ซม.

5 พัฒนาการของเด็กวัยทารก 1. ทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
อายุ พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ แรกเกิด นอนขดตัว แขน ขา จะงอ คออ่อน ตกใจง่ายเมื่อมีเสียงดัง ๑ เดือน ชันคางได้ อุ้มจับนอนคว่ำกระดิกแขนขาได้ ร้องให้เมื่อเจ็บปวด หิว ตกใจ เปียกแฉะ แสดงอารมณ์ตื่นเต้น ๒ เดือน ยกศีรษะและหน้าอกขึ้นสูงเมื่อนอนคว่ำ ถ้านอนหงายจะถีบตัวสูงขึ้น แสดงสีหน้าพอใจ เมื่อถูกหยอกล้อ เมื่อมีความสุขหน้าจะสดชื่น ๓ เดือน กล้ามเนื้อคอแข็ง ชันคอได้ เอื้อมมือไขว่คว้า แตะสิ่งของได้ กรอกตาดูของที่เคลื่อนไหว พอใจเวลาได้ยินเสียงเพลง ทำเสียงดังเวลา ดีใจ ยิ้มเมื่อยินดี ร้องให้เมื่อโกรธหรือเศร้า ๔ เดือน นั่งโดยมีคนคอยพยุง กรอกตาได้ มองตามวัตถุได้ทุกทิศทาง เมื่อพอใจจะหัวเราะเสียงดัง อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เดือน นั่งบนตักได้ สามารถใช้มือจับสิ่งของได้ พลิกคว่ำหงายได้ แสดงอารมณ์ชัดเจนเมื่อโกรธ ร้องให้เมื่อถูกขัดใจ

6 พัฒนาการของเด็กวัยทารก
อายุ พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ ๖ เดือน คืบชันตัวช่วงบนขึ้น ใช้มือจับสิ่งของที่แขวนอยู่หรือแกว่งไปมาได้ ยิ้มรับเมื่อพอใจ แสดงอารมณ์เกลียด โกรธ ๗ เดือน นั่งเองได้ เปลี่ยนมือได้ มีอารมณ์กลัวเพิ่มขึ้น ร้องให้เมื่อไม่พอใจ ๘ เดือน คลานได้ หยิบวัตถุได้ถูกต้อง มีอารมณ์ดีใจ เสียใจมากขึ้น แสดงความรักด้วยการโอบกอด ๙ เดือน เริ่มเกาะยืนขว้างปาของเล่น ตอบสนองต่อการแสดง ร้องให้เมื่อถูกดุ ๑๐ เดือน เกาะเดินได้ หรือเดินโดยใช้เก้าอี้ที่มีลูกล้อ ตอบสนองต่ออาการแสดง ร้องให้เมื่อถูกดุ ๑๑ เดือน ยืนพยุงตัวได้ไม่นานดื่มน้ำจากแก้วได้ แสดงอารมณ์ตามผู้อื่นเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นได้ ๑๒ เดือน ยืนได้เองประคองให้เดินได้ เมื่อมีใครเล่นด้วยจะหัวเราะเสียงดัง มีอารมณ์รักผู้ที่รักตน

7 พัฒนาการของเด็กวัยทารก
2. ด้านสังคม ทารกเริ่มมีพัฒนาการทางสังคมและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุ 2 – 3 สัปดาห์ อายุ 1–2 เดือนจะจ้องหน้าและตอบสนองผู้หยอกล้อได้ อายุ 3 เดือน ชอบให้มีคนมาอยู่ใกล้ๆ อายุ 4-5 เดือนจะสนใจเสียงคนพูด อายุ 6 เดือน จะแยกความแตกต่างระหว่างคน แปลกหน้ากับคนคุ้นเคยได้ พออายุ 1 ปี จะเรียนรู้ในการเล่นกับคนอื่นได้

8 พัฒนาการของเด็กวัยทารก
2. ด้านสติปัญญา ทารกจะแสดงพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ด้วยการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางโต้ตอบ การปรับตัว และมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 3. ด้านภาษา ในระยะแรกจะแสดงภาษาออกมาด้วยการร้องให้ เพื่อให้พ่อแม่ทราบว่าทารกต้องการอะไร หรือเป็นอะไร จากนั้นจะออกเสียงเออๆๆ ได้ ทารกจะพูดได้ทีละคำ เช่น พ่อ แม่ เมื่ออายุ เดือน

9 วัยก่อนเรียน คือ วัยตั้งแต่อายุ 1 ปี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดังนี้
วัยก่อนเรียน คือ วัยตั้งแต่อายุ 1 ปี จนถึงอายุครบ 6 ปี เต็ม มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดังนี้

10 การเจริญเติบโตของเด็กวัยก่อนเรียน
น้ำหนักและส่วนสูง ในวัยนี้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างสม่ำเสมอเมื่อ เปรียบเทียบกับวัยทารกแล้ว วัยนี้จะเจริญเติบโตช้ากว่า เมื่ออายุ 1 ปีเต็ม จะมีน้ำหนักประมาณ 9 กิโลกรัม มีส่วนสูงประมาณ 75 ซม. แล้วจะโตขึ้นเรื่อยๆ อายุ 4 ปี จะมีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 100 ซม. อายุ 6 ปี จะมีน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 115 ซม.

11 การเจริญเติบโตของเด็กวัยก่อนเรียน
2. ฟัน ฟันของเด็กวัยก่อนเรียนเป็นฟันน้ำนม มีดังนี้ อายุ 1 ปี จะมีฟันน้ำนม 12 ซี่ เป็นฟันบน 6 ซี่ ฟันล่าง 6 ซี่ อายุ 1.5 – 2 ปี จะมีฟันน้ำนม 16 ซี่ คือฟันบน 8 ซี่ ฟันล่าง 8 ซี่ อายุ 2.5 – 3 ปี จะมีฟันน้ำนม 20 ซี่ คือฟันบน 10 ซี่ ฟันล่าง 10 ซี่ อายุ 6 ปี จะมีฟันน้ำนม 20 ซี่ คือฟันบน 10 ซี่ ฟันล่าง 10 ซี่ และจะ มีฟันแท้ขึ้นข้างบน 2 ซี่ ฟันล่าง 2 ซี่ รวมทั้งหมดเป็น 24 ซี่ 3. ขนาดรอบศีรษะ อายุ 1 ปีจะมีขนาดรอบศีรษะประมาณ 45 ซม. อายุ 3 ปีจะเป็น 50 ซม. และศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 1 ซม.ทุกๆ 3 ปี จนอายุครบ 10 ปี

12 พัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียน
1. ทางด้านร่างกาย อายุ พัฒนาการทางด้านร่างกาย 1 ปี ยืนได้เอง ประคองให้เดินได้ 2 ปี หยิบอาหาร ใส่กระดุม รูดซิป ใส่รองเท้าเองได้ 3 ปี ถีบจักรยานสามล้อ ขึ้นลงบันไดได้ เข้าห้องน้ำเองได้ 4 ปี เสียงดัง ซุกซน สามารถทำงานง่ายๆ ได้ 5 ปี วิ่งเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว อาบน้ำเองได้ ใช้มือได้ดี 6 ปี วิ่งกระโดดได้ดี ทรงตัวดีขึ้น วาดรูป เย็บผ้าด้วยเข็มได้ 2. ทางด้านจิตใจและอารมณ์ เด็กวัยก่อนเรียนมักเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ ซึ่งแต่ละคนก็มีอารมณ์ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาพจิตใจของเด็ก อารมณ์ที่แสดงออกมา ได้แก่ โกรธ กลัวอิจฉา ร่าเริง รัก

13 พัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียน
3. ทางด้านสังคม เด็กวัยก่อนเรียนจะมีพัฒนาการทางด้านสังคมเป็นไปอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากคนภายในครอบครัว คนที่ใกล้ชิดก่อน เด็กจะรู้จักทำตัวให้เป็นที่รักของครอบครัว แต่เมื่อเล่นกับเพื่อน อาจทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะเด็กยังขาดประสบการณ์ในการเล่นกับเพื่อน ดังนั้นการเข้าเรียนในชั้นอนุบาลเมื่ออายุ 3.5 ปี เป็นการเปิดโอกาสให้ได้พบกับเพื่อนใหม่ เพื่อการปรับตัวที่ดีในอนาคต 4. ทางด้านสติปัญญา อายุ 1-3 ปี สติปัญญาค่อยพัฒนาขึ้น เลียนแบบผู้ใหญ่ ใช้ภาษาคล่องขึ้น ร้องเพลงได้ อายุ 4 ปี ใช้ภาษา คำศัพท์มากขึ้น พูดเป็นประโยคได้สมบูรณ์ขึ้น อายุ 5 ปี สนใจอยากรู้อยากเห็น ชอบรื้อสิ่งของ อายุ 6 ปี พูดคล่องแคล่ว รับผิดชอบ มีเหตุผลช่างซักถาม

14 เด็กวัยเรียน คือ วัยตั้งแต่อายุ 6 ปี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดังนี้
เด็กวัยเรียน คือ วัยตั้งแต่อายุ 6 ปี จนถึงอายุครบ 10 ปี เต็ม มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดังนี้

15 การเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน
น้ำหนักและส่วนสูง อัตราน้ำหนักของเด็กวัยนี้โดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ2-3 กก.ต่อปี ส่วนสูงจะเพิ่มขึ้น 4-5 ซม.ต่อปี ถึงอายุ 10 ปี จะมี น้ำหนักประมาณ 27 กก. ส่วนสูงประมาณ 130 ซม. ฟัน ในวัยนี้จะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนฟันน้ำนมที่หลุดไป เด็กหญิงจะ มีฟันแท้ขึ้นเร็วกว่าเด็กชาย ฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่อเด็กอายุ 6 ปี อายุ 6-7 ปี ฟันกรามซี่แรกจะขึ้นซึ่งถือเป็นฟันแท้ซี่แรก อายุ 6-8 ปี ฟันตัดซี่กลางจะขึ้น อายุ 7-9 ปี ฟันตัดซี่ข้างจะขึ้น อายุ 9-12 ปี ฟันเขี้ยวจะขึ้น

16 พัฒนาการของเด็กวัยเรียน
การเปลี่ยนแปลง ด้านร่างกาย ร่างกายจะขยายออกทางส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง แขนขาจะยาวดูเก้งก้างเล็กน้อยกล้ามเนื้อแขนขายังไม่พัฒนาอย่างแท้จริง จึงดูบอบบางไม่แข็งแรง ด้านจิตใจและอารมณ์ เด็กเริ่มมีอารมณ์ต่างๆ มากขึ้น เช่น ความโกรธ อาจมีความก้าวร้าว หรือ ถ้ามีน้องก็อาจอิจฉาน้อง ด้านสังคม มีการคบเพื่อนมากขึ้น เพราะเข้าโรงเรียนแล้ว เด็กอายุ 6-8 ปี ชอบการเข้ารวมกลุ่มไม่ชอบเล่นคนเดียว เมื่ออายุ 9-10 ปี จะมีความเข้าใจเรื่องกลุ่มเพื่อนมากขึ้น ด้านสติปัญญา จะมีพัฒนาการด้านนี้เพิ่มขึ้น เช่น เด็กจะมีความก้าวหน้า ทางด้านความคิดและหาเหตุผลมาอธิบายสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น สามารถคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมได้

17 พัฒนาการของเด็กวัยเรียน
การเปลี่ยนแปลง ด้านความคิด และจินตนาการ เด็กวัยนี้จะเข้าใจสิ่งง่ายๆ ได้ดี แต่ยังไม่ลึกซึ้ง เริ่มรู้จักใช้จินตนาการออกมาในรูปของการวาด การปั้น และถ้าเด็กเคยมีประสบการณ์มาแล้วจะคิดและจินตนาการได้ดี ด้านภาษา เด็กวัยนี้จะใช้ภาษาได้ดี อ่านหนังสือได้รู้เรื่อง พูดได้คล่องแคล่ว เริ่มเข้าใจความหมายในสิ่งที่เป็นนามธรรม สามารถใช้ภาษาโต้ตอบหรือแสดงความรู้สึกเมื่อไม่เห็นด้วย ด้านการใช้อวัยวะ เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดีจะมีพลังมากขึ้นกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ร่างกายมีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นสูงสามารถเล่นกีฬาได้

18 วัยรุ่น วัยรุ่น คือ วัยตั้งแต่วัยเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น
วัยรุ่น คือ วัยตั้งแต่วัยเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น จนถึงสิ้นสุดวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งจะมี อายุอยู่ในช่วง ปี จนถึง 20-21ปี วัยรุ่นมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดังนี้

19 การเจริญเติบโตของวัยรุ่น
น้ำหนักและส่วนสูง วัยรุ่นในช่วงอายุ ปี ผู้หญิงส่วนมากจะเจริญเติบโต มากกว่าผู้ชายพออายุ ปี ผู้ชายก็จะโตทันและเจริญเติบโต รวดเร็วกว่าผู้หญิง น้ำหนักและส่วนสูงจะเพิ่มมากในช่วงแรก แต่ พออายุ 15 ปี ไปแล้วจะเพิ่มความสูงอีกน้อยมากแต่น้ำหนักนั้นก็ ขึ้นอยู่กับนิสัยการรับประทานด้วย ฟัน ในวัยนี้ฟันกรามจะขึ้นครบทุกซี่แล้ว โดยเฉพาะฟันกรามซี่ที่ 3 จะขึ้นเป็นชุดสุดท้าย เมื่ออายุ 17 – 21 ปี

20 พัฒนาการของวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลง พัฒนาการ ด้านร่างกาย และทางเพศ
ในระยะแรกจะมีพัฒนาการทางร่างกายและทางเพศคล้ายผู้ใหญ่ แต่พอในช่วงวัย ตอนกลางถึงตอนปลายวัยรุ่น ก็จะมีพัฒนาการเหมือนกับผู้ใหญ่มากขึ้น ด้านจิตใจและอารมณ์ วัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์มาก มีความสนใจเพศตรงข้าม ต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนมีความเป็นตัวของตัวเอง และต้องการเหตุผล มากขึ้น ด้านสังคม สังคมของวัยรุ่นจะขยายวงกว้างออกไปมีทั้งเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ โดยเฉพาะเพื่อนต่างเพศอาจพัฒนาไปเป็นแฟนหรือคู่รักได้ นอกจากนี้ยังมีการเข้าสังคมกับผู้ใหญ่ทำให้วัยรุ่นต้องปรับตัวมากขึ้น ด้านสติปัญญา วัยรุ่นสามารถใช้ความคิดของตนเองตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล อีกทั้งยังแสดง ความสามารถทางสติปัญญาด้วยการพูด อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นกับผู้อื่น อยากรู้อยากลอง ชอบเรียนรู้ด้วยการลงมือทำเอง

21 วัยผู้ใหญ่ วัยผู้ใหญ่ คือ วัยตั้งแต่ช่วงอายุ 21 ถึง 60 ปี
วัยผู้ใหญ่ คือ วัยตั้งแต่ช่วงอายุ 21 ถึง 60 ปี ซึ่งแบ่งช่วงระยะพัฒนาการวัยผู้ใหญ่ออกเป็น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Early adulthood) ตั้งแต่ 20 ถึง 40 ปี วัยกลางคน (Middle age หรือ Middle adulthood) คือช่วงอายุ 40 – 60 ปี มีพัฒนาการดังนี้

22 พัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น(20-40 ปี)
การเปลี่ยนแปลง ด้านร่างกาย มีการพัฒนาทางร่างกายอย่างเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ร่างกายสมบูรณ์ มีการพัฒนาความสูงมาจากวัยรุ่นและจะมีความสูงที่สุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้ รวมทั้งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน มีการพัฒนาอย่างเต็มที่เช่นกัน เมื่อเพศชายอายุประมาณ 20 ปี ไหล่จะกว้าง มีการเพิ่มขนาดของต้นแขนและมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากขึ้น ในเพศหญิงเต้านมและสะโพกมีการเจริญเต็มที่ ในวัยนี้ร่างกายจะมีพลัง คล่องแคล่วว่องไว การรับรู้ต่าง ๆ จะมีความสมบูรณ์เต็มที่ เช่น สายตา การได้ยิน ความสามารถในการดมกลิ่น การลิ้มรส ด้านจิตใจและอารมณ์ มีการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าวัยรุ่น คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น รู้สึกยอมรับผู้อื่นได้ดีขึ้น มีพัฒนาการด้านอารมณ์รักมีความรู้สึกปรารถนาที่จะใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน มีการใช้กลไกทางจิตชนิดฝันกลางวัน (Fantacy) การเก็บกด (Impulsiveness) น้อยลง แต่จะใช้การตอบสนองด้วยเหตุผลทั้งกับตนเองและผู้อื่นมากขึ้น

23 พัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
การเปลี่ยนแปลง ด้านสังคม สังคมของบุคคลวัยนี้คือ เพื่อนรัก คู่ครอง บุคคลจะพัฒนาความรัก ความผูกพัน แสวงหามิตรภาพที่สนิทสนม หากสามารถสร้างมิตรภาพได้มั่นคง จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไว้เนื้อเชื่อใจและนับถือซึ่งกันและกัน ตรงข้ามกับผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถสร้างความสนิทสนมจริงจังกับผู้หนึ่งผู้ใดได้จะมีความรู้สึกอ้างว้างเดียวดาย (isolation) หรือเป็นคนที่หลงรักเฉพาะตนเอง (narcissism)วัยนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนร่วมวัยลดลง จำนวนสมาชิกในกลุ่มเพื่อนจะลดลง แต่สัมพันธภาพในเพื่อนที่ใกล้ชิดหรือเพื่อนรักยังคงอยู่และจะมีความผูกพันกันมากกว่าความผูกพันในลักษณะของคู่รักและพบว่ามักเป็นในเพื่อนเพศเดียวกัน การสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มใช้ชีวิตครอบครัวกับคู่ของตนเอง และเกิดการปรับตัวกับบทบาทใหม่

24 พัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
การเปลี่ยนแปลง ด้าน สติปัญญา วัยผู้ใหญ่ตอนต้น มีความสามารถทางสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุดคือคุณภาพของความคิดจะเป็นระบบ มีความสัมพันธ์กันและมีความคิดรูปแบบนามธรรม ผู้ใหญ่จะมีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น และรู้จักจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี นอกจากจะเป็นความคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังมีลักษณะของความคิดสร้างสรรค์และค้นหาปัญหาด้วย ปัญหาที่พบในวัยนี้คือปัญหาสุขภาพ เนื่องมาจากลักษณะการดำรงชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า การรับประทานอาหารไขมันสูง

25 พัฒนาการของวัยกลางคน (40-60 ปี)
การเปลี่ยนแปลง ด้านร่างกาย ในวัยกลางคนนี้ ทั้งเพศชายและเพศหญิงร่างกายจะเริ่มมีความเสื่อมถอยในเกือบทุกระบบของร่างกาย ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวย่น หยาบ ไม่เต่งตึง ผมเริ่มร่วงและมีสีขาว น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการสะสมไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ระบบสัมผัส ได้แก่ ความสามารถในการมองเห็นเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่สายตาจะยาวขึ้น บางคนจะมีอาการหูตึงเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ การลิ้มรสและการได้กลิ่นเปลี่ยนแปลงไป อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ผนังเส้นเลือด หัวใจ ปอด ไต และสมอง มีความเสื่อมลงเช่นกัน ด้านจิตใจและอารมณ์ ในบุคคลที่ประสบกับความสำเร็จในชีวิตการทำงานจะมีอารมณ์มั่นคง รู้จักการให้อภัย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความพึงพอใจในชีวิตที่ผ่านมา ลักษณะบุคลิกภาพค่อนข้างคงที่ บางคนจะมีอารมณ์เศร้าจากการที่บุตรเริ่มมีครอบครัวใหม่ การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น บิดา มารดา หรือคู่สมรส หรือผิดหวังจากบุตรเป็นต้น

26 พัฒนาการของวัยกลางคน (40-60 ปี)
การเปลี่ยนแปลง ด้านสังคม บุคคลที่มีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ในวัยนี้ จะแบ่งปัน เผื่อแผ่ เอื้ออาทรต่อบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะกับบุคคลที่เยาว์วัยกว่า สร้างสรรค์ผลงานใหม่ ก่อให้เกิดความปลาบปลื้มใจ เห็นคุณค่าของตนเอง ตรงข้ามกับวัยกลางคน ที่พะวงแต่ตน จะเห็นแก่ตัว ไม่แบ่งปัน เผื่อแผ่ต่อบุคคลอื่น ชอบแสดงอำนาจ หรือเป็นคนเฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น งานสังคมของบุคคลในวัยกลางคนส่วนใหญ่คือที่ทำงานและบ้าน กลุ่มเพื่อนที่สำคัญ ได้แก่ เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนบ้านใกล้เคียง ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นในลักษณะเฝ้าดูความสำเร็จในการศึกษา และความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงานของบุตร ในบุคคลที่เป็นโสดกลุ่มเพื่อนที่สำคัญคือเพื่อนสนิทที่ผูกพันตั้งแต่ในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ระยะปลายของวัยนี้ ส่วนใหญ่เข้าสู่วัยใกล้เกษียณอายุ การทำงาน บางคนสามารถปรับตัวได้ดี บางคนไม่สามารถปรับตัวได้ รู้สึกท้อแท้ รู้สึกตัวเองด้อยคุณค่า อาจมีอาการซึมเศร้า

27 พัฒนาการของวัยกลางคน (40-60 ปี)
การเปลี่ยนแปลง ด้านสติปัญญา ในระยะวัยกลางคนนี้จะมีพัฒนาการทางสติปัญญาใกล้เคียงกับในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีความคิดเป็นเหตุผล รู้จักคิดแบบประสานข้อขัดแย้งและความแตกต่าง จะสามารถรับรู้สิ่งที่เป็นข้อขัดแย้งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความอดทนและมีความสามารถในการจัดการกับข้อขัดแย้งนั้น ๆ ดังนั้นจึงมีความเข้าใจเรื่องการเมือง เล่นการเมือง รู้จักจัดการกับระบบระเบียบของสังคมและรู้จักจัดการกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างมีวุฒิภาวะ

28 วัยสูงอายุ คือ วัยตั้งแต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป
วัยสูงอายุ คือ วัยตั้งแต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป กล่าวกันว่ากระบวนการความชราจะเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา คือ ร่างกายจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อเติบโตเต็มที่แล้ว การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นไปในทางเสื่อมลงมากกว่าจะเสริมสร้าง ความชราเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่โรคแต่เป็นไปตามวัยและการปฎิบัติตนของแต่คน ความเจ็บป่วยก็มีผลทำให้กระบวนการชราเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ดังที่เรียกกันว่า " แก่เพราะโรคหรือแก่ก่อนวัย " ตรงกันข้ามคนที่ดูแลสุขภาพและรับประทานอาหารเหมาะสมตลอดเวลา จะลดปัญหาการเจ็บป่วยและชะลอความแก่ไว้ได้นาน และไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน ตามธรรมชาติคนเราเมื่อแก่ตัวลงจะมีผลทำให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำงานด้อยลงคือ ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การรับรส กลิ่น เสียง และสัมผัสด้อยลง

29 1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น
วัยสูงอายุ 1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น 1.1 การสูญเสียฟัน ฟันสึกกร่อนและหัก ทำให้เคี้ยวอาหารลำบากเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินได้แต่อาหารนุ่ม ๆ ไม่มีกาก เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล ทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ง่าย 1.2 กลืนอาหารลำบาก เนื่องจากต่อมน้ำลายหลั่งน้ำลายได้น้อยลง ทำให้ไม่มีความชื้นในปาก ไม่มีเมือกหล่อลื่นอาหาร กล้ามเนื้อควบคุมการกลืนทำงานน้อยลง กลืนอาหารแห้งลำบาก สำลักบ่อย 1.3 ความสามารถในการรับรสและกลิ่นลดลง เมื่ออายุมากขึ้นปุ่มรับรสที่ลิ้นและความสามารถในการรับ รสของผู้สูงอายุลดลง แต่ความสามารถในการรับ ความหวานยังคงอยู่ผู้สูงอายุมักชอบอาหารที่มีรสหวาน 1.4 น้ำย่อยและการดูดซึมอาหารลดลง อาหารที่ย่อยไม่ได้ จะเกิดการหมักหมมในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องอืดมีแก๊สแน่น จุกเสียด 1.5 การเปลี่ยนแปลงทางสายตาจะเปลี่ยนเป็นสายตายาว

30 2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม เช่น
วัยสูงอายุ 2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม เช่น 2.1 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่นความเจ็บป่วย การเสื่อมของส่วนต่าง ในร่างกาย สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวล กดดันทางอารมณ์ 2.2 การเปลี่ยนทางด้านสังคม ได้แก่ * การ เปลี่ยนแปลงทางด้านสถานภาพและบทบาททางสังคม เช่น ผู้ที่เคยทำงานเมื่อครบอายุ 60 ปี ต้องออกจากงานการสูญเสียบทบาทใน การเป็นผู้นำครอบครัว * การถูกทอดทิ้ง สภาพสังคมในปัจจุบัน คนหนุ่มสาวต้องหางานทำ ทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งอยู่ตามลำพัง ลูกหลานไม่มีเวลาเอาใจใส่ * ความเคารพเชื่อถือลดลง คนส่วนใหญ่มักมองว่าผู้สูงอายุมี ความสามารถน้อยลง ทำให้ความเคารพนับถือในฐานะที่มีประสบการณ์เปลี่ยนไป เด็กไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่เหมือนเช่นเคย * การสูญเสียชีวิตของคู่สมรส ญาติ คนใกล้ชิดหรือเพื่อน (จบจ้า)

31 สวัสดีครับ


ดาวน์โหลด ppt การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของวัยต่างๆ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google