ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยChoonhavan Charoenkul ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รายจังหวัด 23 จังหวัด ประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 การก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชายหาดบางเสร่ โดย ดร.เพ่ง บัวหอม ปลัด ทต.บางเสร่
2
วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม
เพื่อชี้แจงข้อมูล และรวบรวมประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้จังหวัดมียุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ด้านการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บูรณาการทั้งในส่วนกลางและในท้องถิ่นของจังหวัด
3
ความเป็นมาของโครงการ
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับมอบหมายภารกิจในการประสานและปฏิบัติงานบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 โดยได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบประสานงานให้เป็นไปตามกรอบแผนบูรณาการงบประมาณการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด
4
พื้นที่ศึกษาโครงการ การจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด 23 จังหวัด จำแนกพื้นที่ชายฝั่งตามภูมิประเทศ แบ่งเป็น 4 ส่วน พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี พื้นที่อ่าวไทยตอนบนครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม พื้นที่อ่าวไทยตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล
5
ขอบเขตและการแบ่งกลุ่มของพื้นที่ศึกษา23 จังหวัด
6
วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อจัดทำแนวทาง กลยุทธ์ แผนงานและโครงการป้องกัน แก้ไข พัฒนา สภาพแวดล้อมชายฝั่งระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ เพื่อบูรณาการแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้สอดคล้องกับ แผนต่างๆที่มีในท้องถิ่น เพื่อให้จังหวัดมียุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ด้านการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งที่บูรณาการ โดยมีแผนงานระยะสั้น (ปี พ.ศ ) และระยะยาว ถึงปี พ.ศ. 2570 เพื่อให้ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด 23 จังหวัด เป็นยุทธศาสตร์ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
7
ขอบเขตของการดำเนินโครงการ
การรวบรวมข้อมูล และสำรวจสภาพพื้นที่ชายฝั่งในปัจจุบัน การศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสภาพชายฝั่ง และสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การจัดทำยุทธศาสตร์ในการแก้ไข ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด การจัดประชุมการมีส่วนร่วมรายจังหวัด
8
การรวบรวมข้อมูล และสำรวจสภาพพื้นที่ชายฝั่งในปัจจุบัน
ขอบเขตของงาน การรวบรวมข้อมูล และสำรวจสภาพพื้นที่ชายฝั่งในปัจจุบัน การศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสภาพชายฝั่ง และสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การจัดทำยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด การจัดประชุมการมีส่วนร่วมรายจังหวัด
9
การรวบรวมข้อมูล และสำรวจสภาพพื้นที่ชายฝั่งในปัจจุบัน
สำรวจพื้นที่การกัดเซาะ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งและจัดลำดับความรุนแรง
10
การรวบรวมข้อมูล และสำรวจสภาพพื้นที่ชายฝั่งในปัจจุบัน
สำรวจพื้นที่การกัดเซาะ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งและจัดลำดับความรุนแรง
11
การรวบรวมข้อมูล และสำรวจสภาพพื้นที่ชายฝั่งในปัจจุบัน(ต่อ)
ศึกษารูปแบบโครงสร้างและ วิธีป้องกันในบริเวณชายฝั่งทะเล และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา กำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด (Seawall) เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore Breakwater)
12
เขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty)
เขื่อนหินทิ้ง (Revetment) รอดักทราย (Groin หรือ Groyne) ไม้ไผ่ชะลอคลื่น
13
เสาเคอนกรีตหรือเสาเข็ม
ไส้กรอกทราย
14
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขอบคุณครับ ขอขอบคุณ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.