ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยThorm Tantasatityanon ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
เหตุผลในการประกาศใช้ พ. ร. บ. ป่าสงวนฯ - รัฐมีนโยบายกำหนดในแผนพัฒนา เศรษฐกิจฯ ให้มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ ๕๐ ของเนื้อที่ประเทศ - ป่าที่คุ้มครองไว้แล้วและยังมิได้ สงวนคุ้มครองถูกบุกรุกและทำลาย เป็นจำนวนมาก - กฎหมายที่ใช้อยู่เดิมมีวิธีการไม่ รัดกุมเหมาะสมต้องเสียเวลามากจึง กำหนดป่าคุ้มครองได้ ทำให้เกิดการ ฉวยโอกาสบุกรุกทำลายป่ามากขึ้น และบทกำหนดโทษไม่เหมาะสม
2
ผลบังคับใช้ พ. ร. บ. ป่า สงวนฯ มาตรา ๒ พระราชบัญญัติ นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัด จากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๓๘ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๐๗
3
มาตรา ๔ “ ป่า ” หมายความว่า ที่ดินรวม ตลอดถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลที่ยังมิได้มี บุคคลใดได้มาตามกฎหมาย “ ป่าสงวนแห่งชาติ ” หมายความ ว่า ป่าที่ได้กำหนดให้เป็นป่า สงวนแห่งชาติตาม พระราชบัญญัตินี้
4
“ ไม้ ” หมายความว่า ไม้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นต้น กอ หรือเถา ไม่ว่ายัง ยืนต้นหรือล้มลงแล้ว และ หมายความรวมตลอดถึง ราก ปุ่ม ตอ หน่อ กิ่ง ตา หัว เหง้า เศษ ปลายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของไม้ ไม่ว่าจะถูกตัด ฟัน เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด หรือกระทำโดยวิธีการ อื่นใด “ ทำไม้ ” หมายความว่า ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุดหรือชักลากไม้ที่มีอยู่ใน ป่า หรือนำไม้ที่มีอยู่ในป่าออก จากป่าด้วยประการใดๆ
5
“ ของป่า ” หมายความว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในป่า เป็นต้นว่า ( ๑ ) ไม้ฟืน ถ่าน เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ด ผลไม้ หน่อไม้ ชัน ไม้และยางไม้ ( ๒ ) หญ้า อ้อ พง แขม ปรือ คา กก กระจูด กล้วยไม้ กูด เห็ดและ พืชอื่น ( ๓ ) ซากสัตว์ ไข่ หนัง เขา นอ งา กราม ขนาย กระดูก ขน รังนก ครั่ง รังผึ้ง น้ำผึ้งและมูลค้างคาว ( ๔ ) ดิน หิน กรวด ทราย แร่และ น้ำมัน
6
การกำหนดป่า สงวนแห่งชาติ ( ที่มาของป่า สงวนฯ ) - ป่าที่เป็นป่าสงวนอยู่แล้วตาม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง และสงวนป่า - รัฐมนตรีเห็นสมควร + ออก กฎกระทรวง + แผนที่
7
การแสดงแนวเขตป่า สงวนฯ มาตรา ๘ - เจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดให้มี หลัก เขต ป้าย เครื่องหมายอื่น ตามสมควร - เพื่อให้ประชาชนทราบว่าเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ
8
คณะกรรมการป่าสงวน แห่งชาติ ( มาตรา ๑๐ ) กรรมการโดยตำแหน่ง + กรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง ( ๒ คน ) มีอำนาจหน้าที่ (๑)ควบคุมให้เป็นไปตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ (๒)ดำเนินการสอบสวนและวินิจฉัยคำ ร้องตามมาตรา ๑๓ (๓)มีหนังสือ + เรียกบุคคล / ให้ส่ง เอกสาร + เพื่อการสอบสวนตาม มาตรา ๑๓ (๔)ตั้งคณะอนุกรรมการคอย ช่วยเหลือ
9
การควบคุมและ รักษาป่าสงวนฯ การป้องกัน การอนุญาต - มาตรา ๑๔ - มาตรา ๑๖ - มาตรา ๑๕ - มาตรา ๑๖ ทวิ - มาตรา ๓๓ - มาตรา ๑๗ - มาตรา ๒๕ - มาตรา ๑๙ - มาตรา ๒๐
10
มาตรา ๑๔ ในเขตป่าสงวน แห่งชาติห้ามมิให้บุคคลใด ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหา ของป่า หรือกระทำด้วยประการ ใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่ สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้น แต่ กรณีตาม ( ๑ ) และ ( ๒ ) คือ กรณีที่ได้รับอนุญาต
11
มาตรา ๑๕ การทำไม้ หรือเก็บหาของป่าในเขต ป่าสงวนแห่งชาติให้ กระทำได้เมื่อได้รับ อนุญาตจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือเมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ประกาศอนุญาตไว้เป็น คราว ๆ ในเขตป่าสงวน แห่งชาติแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะ
12
มาตรา ๒๕ พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังนี้ ( เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษา ป่าสงวนแห่งชาติ ) ( ๑ ) ให้ออกจากป่าสงวน / ให้งด เว้นการกระทำ กรณีทำผิด / มีเหตุ อันควรสงสัยว่ามีการทำผิด ( ๒ ) สั่งเป็นหนังสือ ให้รื้อถอน แก้ไข หรือทำประการใด แก่สิ่งที่ เป็นอันตราย / เสื่อมสภาพต่อป่า สงวนฯ ( ๓ ) ยึด ถอน ทำลาย แก้ไข หรือ ทำประการอื่น เมื่อผู้กระทำผิดไม่ ปฎิบัติตาม ( ๒ ) และเรียก ค่าใช้จ่ายได้ ( ๔ ) ดำเนินการอย่างใดที่ เห็นสมควร เพื่อป้องกัน / บรรเทา ความเสียหาย กรณีมีเหตุฉุกเฉิน
13
เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษา ป่าสงวนแห่งชาติ - อธิบดีกรมป่าไม้ - ผู้ว่าราชการจังหวัด - ป่าไม้เขต - นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.