ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี
ความหมาย สะมานะ- ว. หมายถึง เสมอกัน, เท่ากัน ฉันทะ น. หมายถึง ความพอใจ สมานฉันท์ = ความพอใจร่วมกัน, ความเห็นพ้อง กัน สันติวิธี น. หมายถึง วิธีที่จะก่อให้เกิดความสงบ
2
กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี
หมายถึง กระบวนการยุติข้อพิพาทด้วย วิธีที่จะก่อให้เกิดความสงบ โดยยึดหลัก ความพอใจร่วมกันของคู่ความ มุ่งเน้นให้ ผู้เสียหายได้รับการเยียวยา ปลูกสร้าง จิตสำนึกให้ผู้กระทำความผิดรู้สำนึกใน การกระทำของตนและแสดงความ รับผิดชอบต่อผู้เสียหายและสังคม เป็น ผลให้คู่ความมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบ สุข
3
ประเภทคดีที่เข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์ฯ
คดีอาญาแผ่นดิน คดีที่ผู้ประนีประนอมไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จและคู่ความ ประสงค์จะเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์
4
คดีอาญาแผ่นดินสมานฉันท์กับใคร
ความพอใจร่วมกัน = สองฝ่ายขึ้นไป โจทก์+จำเลย (ไม่มีผู้เสียหาย) เช่น คดี เกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์+จำเลย+ผู้เสียหาย เช่น คดีประมาท สาหัสหรือตาย
5
คดีเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์ขั้นตอนใด
นับแต่วันฟ้อง (คู่ความพร้อม) ระหว่างพิจารณา อาจเป็นก่อนหรือในวันนัด พร้อม หรือคดีที่นัดต่อเนื่องไว้แล้ว หรือคดีที่ กำลังจะเริ่มสืบพยาน ถ้าคู่ความประสงค์ เว้น แต่ศาลเห็นว่าคู่ความมีพฤติการณ์ประวิงคดี
6
รูปแบบ แยกคน แยกสำนวน แยกห้อง
7
ขั้นตอน ผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่สมานฉันท์แนะนำชื่อ-สกุลและตำแหน่งของตน
ให้คู่ความ ผู้เสียหาย ญาติ ทนายคู่ความ หรือผู้เกี่ยวข้องแนะนำชื่อ-สกุลและ ตำแหน่งของตน แนะนำกระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธีพร้อมวัตถุประสงค์ แนะนำกติกา -ข้อเท็จจริงที่ได้จากกระบวนการถือเป็นความลับ ไม่สามารถนำไปเปิดเผยหรือ อ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เว้นแต่คู่ความยินยอม -หากการดำเนินกระบวนการไม่สำเร็จ ผู้พิพากษาที่จะทำหน้าที่พิจารณาต่อไป เป็นคนละคนกัน -ไม่มีการเกลี่ยกล่อมให้รับสารภาพหรือรับข้อเท็จจริง ไม่มีการต่อรองเรื่องโทษ -แต่ละฝ่ายต้องพูดกันแต่ความจริงจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้และเป็นประโยชน์ แก่คู่ความ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในชั้นสมานฉันท์ไม่ผูกพันคู่ความ เว้นแต่คู่ความ ยินยอม -สามารถสอบถามข้อสงสัยจากผู้พิพากษาได้ เว้นแต่การต่อรองเรื่องโทษและ การปรึกษาแนวทางการต่อสู้คดี -สามารถสอบถามข้อกฎหมายและโทษที่เคยลงในคดีลักษณะเดียวกันได้ แต่ไม่ ผูกพันคดีนี้
8
กระบวนการ -อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง
-อธิบายข้อเท็จจริงตามฟ้องและบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ สิทธิหน้าที่ของคู่ความและผู้เสียหาย ขั้นตอนการดำเนินคดีของศาลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ผลดี – ผลเสียของการดำเนินคดีในศาล ผลดีของการระงับข้อพิพาทด้วยกระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี อธิบายวิธีปฏิบัติของศาลในการตัดสินคดี -กรณีจำเลยให้การปฏิเสธ หากชนะคดี ผลเป็นอย่างไร -กรณีจำเลยให้การปฏิเสธ หากแพ้คดี ผลเป็นอย่างไร -กรณีจำเลยสำนึกผิด ให้การรับสารภาพ และเยียวยาผู้เสียหาย หรือมีเหตุ บรรเทาโทษ ประการอื่น ผลเป็นอย่างไร - เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายแถลงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แวดล้อมในคดีตลอดจนผลกระทบที่ได้รับ รวมทั้งแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุที่เกิดขึ้น ขณะที่ฝ่ายหนึ่งพูด ให้อีกฝ่ายหนึ่งรับฟังด้วย ความเคารพ ไม่โต้เถียงกัน -อธิบายข้อกฎหมายกรณีคู่ความไม่เข้าใจบางประเด็น เช่น กรณีจำเลยอ้างว่าการกระทำของตน ไม่เป็นความผิด จำเลยมีส่วนร่วมกระทำความผิดเพียงบางส่วน หรืออ้างเหตุที่ไม่ต้องรับ โทษหรือรับโทษน้อยลง เช่น การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำความผิดด้วยความ จำเป็น บันดาลโทสะ หรือเหตุอื่น ๆ ตามกฎหมาย -ตอบปัญหาข้อซักถามของคู่ความ -สร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมของคู่ความ เปิดโอกาสให้คู่ความและผู้เกี่ยวข้องเสนอ ทางออกและวิธีการแก้ไขเยียวยาความเสียหายร่วมกัน
9
ปิดประชุม เสร็จสิ้นกระบวนการ
ก. กรณีการสมานฉันท์สำเร็จ (จำเลยให้การรับ สารภาพ) -จดรายงานข้อตกลง+ตัดสิน / สืบเสาะ+ตัดสิน / สืบประกอบ + ตัดสิน ข. กรณีการสมานฉันท์ไม่สำเร็จ (จำเลยให้การ ปฏิเสธ) -จดรายงานส่งสำนวนเข้าสู่กระบวนพิจารณาปกติ
10
ประโยชน์ของกระบวนการสมานฉันท์ฯ
สะดวก วิธีการและขั้นตอนไม่ยุ่งยากและซับซ้อน มีความเป็นกันเอง รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่นาน ประหยัด ไม่เสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย เป็นธรรม คู่ความมีส่วนร่วม ยอมรับและ ตัดสินใจว่าจะดำเนินคดีของตนอย่างไรต่อไป พึงพอใจ จำเลยไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำและ เยียวยาผู้เสียหายให้กลับคืนสู่สภาพดังเดิมมาก ที่สุด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.