ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รายงานสถานการณ์การระบาด 22 จังหวัด
สรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ระหว่างวันที่ 17 – 23 กุมภาพันธุ์ 54 รายงานสถานการณ์การระบาด 22 จังหวัด พื้นที่ที่ไม่พบการระบาด 19 จังหวัด ได้แก่ จ.อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี เพชรบุรี ขอนแก่น เลย อุบลราชธานี ราชบุรี สมุทรสาคร ระยอง พัทลุง นครศรีธรรมราช นครพนม นครนายก ปราจีนบุรี พิษณุโลก พื้นที่ที่พบการระบาดเพลี้ยฯ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.สุพรรณบุรี อ.หนองหญ้าไซ 100 ไร่ จ.ชัยนาท อ.หันและอ.มโนรมย์ 1,520 ไร่ รวมพื้นที่ระบาด 1,620 ไร่ พื้นที่ระบาดจำแนกตามอายุข้าว มากกว่า 60 วัน 1,620 ไร่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ในระยะตัวอ่อน พื้นที่ที่พบเพลี้ยฯทั้งตัวเต็มวัยและตัวอ่อน แต่ยังไม่ถึงระดับทำความเสียหายแก่ข้าว ได้แก่ จ.ปทุมธานี
2
ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด
มีการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นแหล่ง อาหารและแหล่งอาศัยในการขยายพันธุ์ เป็นช่วงลมมรสุมฝ่ายใต้และตะวันออกเฉียงใต้ พัดจากทะเลขึ้นบก สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเพิ่มประชากร การปฏิบัติของเกษตรกรที่ไม่ถูกต้อง - การใช้พันธุ์ข้าวอ่อนแอ อัตราเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมีและสารเคมี
3
การคาดการณ์ (เดือน ก. พ. –มี. ค
การคาดการณ์ (เดือน ก.พ.–มี.ค. จะพบการระบาดของเพลี้ยฯเป็นบางจุดของพื้นที่) เป็นช่วงลมฝ่ายใต้และตะวันออกเฉียงใต้(ก.พ.-พ.ค.) ลมฝ่ายใต้ พัดจาก จ.สมุทรสาคร ไปสู่ จ.นครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท อ่างทอง อุทัยธานี เป็นต้น ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดจาก จ.ฉะเชิงเทรา ไปสู่ จ.นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี อยุธยา ลพบุรี เป็นต้น
4
แนวทางการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ผลการดำเนินงาน( ก.พ. 54) ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียพ่น จำนวน 5 กก. ในพื้นที่ระบาด 7 ไร่ที่ อ.ดอนเจดีย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศจช.(จ.สุพรรณบุรี) จากการตรวจสอบ 3,5,7 วัน สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้แล้ว แนวทางการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แผนการเฝ้าระวัง ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1 ครั้งจากแปลงติดตามสถานการณ์ แผนการเตือนภัย เมื่อสำรวจพบเพลี้ยฯมีแนวโน้มการระบาดให้ประกาศเตือนภัยทางหอกระจายข่าวและวิทยุท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
5
แผนการรณรงค์ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระยะตัวอ่อนโดยวิธีผสมผสาน
ศจช.ผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรีย สำหรับพ่นกำจัดเพลี้ยกระโดด ควบคุมทั้งวิธีกลและฟิสิกส์ พร้อมกันทุกพื้นที่ ใช้กับดักกาวเหนียวและแสงไฟล่อ เพื่อตัดวงจร ศจช.ผลิตสารกำจัดสะเดาพ่น เพื่อยับยั้งการลอกคราบ ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่นมวนเขียวดูดไข่ แมงมุม เป็นต้น แผนการสนับสนุน สำนักงานเกษตรจังหวัดประสาน 3 หน่วยงานในระดับท้องถิ่นเช่น อบต. อบจ. และจังหวัด เพื่อเสนอแผนการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณในการดำเนินงาน ต่อไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.