ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ทบทวนทฤษฎีหลักสูตร ดร.อมรา เขียวรักษา
2
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander : 7) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึงการทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ ดีขึ้น หรือการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรจะรวมไปถึงการผลิตเอกสารต่าง ๆ สำหรับผู้เรียนด้วย นอกจากคำว่าการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) แล้ว ยังมีคำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือทำนองเดียวกัน หรือแตกต่างกันเพียงรายละเอียดที่ต้องการเน้น เช่น การปรับปรุงหลักสูตร (Curriculum Improvement) การสร้างหลักสูตร (Curriculum Construction) การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร (Curriculum Change) เป็นต้น
3
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมาย 2 แนว ดังนี้
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมาย 2 แนว ดังนี้ 1. การปรับปรุงหลักสูตร หมายถึงการปรับปรุงแก้ไข ทีละเล็กละน้อยเรื่อยไป เป็นการปรับปรุงในส่วนปลีกย่อย แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ยังคงเดิม 2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ขนาดใหญ่มุ่งให้เกิดสิ่งใหม่ในหลักสูตรทั้งหมด หรือเป็นการสร้าง หลักสูตรใหม่
4
กิจกรรม “ปลูกเรือน” จุดประสงค์กิจกรรมต้องการให้ได้ข้อคิดในการพัฒนาหลักสูตร สื่อที่ใช้ ดินน้ำมัน บัตรงาน และใบความรู้ เรื่อง ข้อคิดในการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรม : แบ่งกลุ่มๆละ 3 คน รับบัตรงาน ในบัตรงานจะอธิบายวิธีการทำกิจกรรม “ปลูกเรือน” วิธีการคือ ให้สมาชิกในกลุ่ม 2 คน สร้างบ้านให้อีกคนหนึ่งอยู่อย่างมีความสุข (สมมติว่าในห้องเรียนมี 3 กลุ่ม)จัดให้กลุ่มที่ 1 สร้างบ้านโดยไม่ต้องถามผู้ที่จะมาอยู่ และให้ผู้ที่จะมาอยู่มารับใบความรู้จากครูไปศึกษา กลุ่มที่ 2 ก่อนลงมือสร้างบ้านให้ถามผู้ที่จะอยู่ว่าชอบบ้านลักษณะไหน แบบใด และให้ผู้ที่จะมาอยู่มารับใบความรู้จากครูไปศึกษา กลุ่มที่ 3 ก่อนสร้างบ้านให้ถามผู้ที่จะอยู่ว่าชอบบ้านลักษณะไหน แบบใด และลงมือช่วยกันสร้างทั้ง 3 คน
5
กิจกรรม “ปลูกเรือน” (ต่อ)
เมื่อสร้างเสร็จแล้วให้ผู้ที่จะมาอยู่บอกว่าชอบหรือไม่ อย่างไร และถ้าไม่ถูกใจ จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อย่างไร ให้ผู้ที่อ่านใบความรู้สรุปให้เพื่อนๆ สมาชิกทั้งชั้นฟัง ว่า ข้อคิดในการสร้างหลักสูตรมีอะไรบ้าง อย่างไร และมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน สมาชิกที่สร้างบ้านเสนอความคิดเห็นในการทำกิจกรรมครั้งนี้ ครูผู้สอนสรุปเชื่อมโยงกิจกรรม”ปลูกเรือน” กับข้อคิดในการพัฒนาหลักสูตร ประเมินผล : สังเกตพฤติกรรม และการนำเสนอความคิดเห็น
6
ข้อคิดในการพัฒนาหลักสูตร
ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความต้องการของสังคมในแง่ผู้ใช้ผลผลิต ความต้องการของสังคมในแง่สิ่งแวดล้อม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ความก้าวหน้าทางวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาหลักสูตรต้องกระทำให้ครบ 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตร
7
ข้อคิดในการพัฒนาหลักสูตร (ต่อ)
หลักสูตรที่ดีต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับ การบริหารหลักสูตร การจัดแผนการเรียนการสอน วิธีสอนและคุณสมบัติของผู้สอน สถานที่ สื่อการเรียนการสอน หนังสือหรือตำราเรียน ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน
8
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
ฝากสุภาษิตไทย ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
9
กิจกรรมฝากให้ทำ แบ่ง5กลุ่ม เพื่อวิเคราะห์พื้นฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ว่ามีทฤษฎีใดบ้าง มีความจำเป็นอย่างไรที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจก่อนพัฒนาหลักสูตร (นำเสนอสัปดาห์ที่ 5) พื้นฐานทางปรัชญา(จิตรลดา) พื้นฐานทางสังคม(วีรยุทธ) พื้นฐานทางจิตวิทยา(เพ็ญนี) พื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเมือง(บุญเลิศ) การวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการและความจำเป็นของท้องถิ่น (กรณีหลักสูตรท้องถิ่น) (นิติธาร)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.