ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax สุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
2
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. หลักการภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) เป็นภาษีทางอ้อม - สำหรับผู้ประกอบการ กรณีผู้บริโภคนำเข้าสินค้า หรือใช้บริการที่ให้ จากต่างประเทศ – VAT เป็นภาษีทางตรง (2) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคในราชอาณาจักร เว้นแต่การให้บริการนำเที่ยวในต่างประเทศ (3) เป็นภาษีอากรประเมิน (4) จัดเก็บเป็นรายเดือนภาษี (5) สำหรับการค้าระหว่างประเทศ ใช้หลักปลายทาง นำเข้าสินค้า / บริการ VAT 7% ส่งออกสินค้า / บริการ VAT 0% (6) ให้ความสำคัญต่อระบบเอกสาร – ใบกำกับภาษี
3
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้แก่ “ผู้ประกอบการ” ตามมาตรา 77/1(4) “ผู้นำเข้า” ตามมาตรา 77/1(11) ผู้ที่ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย ตามมาตรา 86/13
4
รายได้ในกรณีดังต่อไปนี้ต้องเสีย VAT หรือไม่
1. ค่าปรับเนื่องจากผิดสัญญา ดอกเบี้ยจากการผิดนัด 2. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 3. รางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆ ทีได้จากการส่งเสริมการขาย 4. การขายสินค้าหรือให้บริการนอกราชอาณาจักร ตอบ ทั้งหมดเป็นรายได้ที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสีย VAT (Out of VAT Scope) การโอนทรัพย์สินดังต่อไปนี้ต้องเสีย VAT หรือไม่ 1. บัตรกำนัล 2. บัตรภาษี 3. ทรัพย์สินของกิจการที่ไม่อยู่ในระบบ VAT 4. นาย ก. ขายโคตรเพชรที่ได้มาทางมรดก หรือจากการให้โดย เสน่หา หรือที่ได้จากการทำมาหาได้ของตนเอง ตอบ ทั้งหมดเป็นกิจกรรมที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสีย VAT
5
ผู้ประกอบการ กิจการขนาดย่อม จดทะเบียน VAT 2548 ยกเว้น VAT มาตรา 81/1 30 มิถุนายน 31 พฤษภาคม มีรายได้เกิน 1.8 ล้าน ได้จดทะเบียน VAT ภายใน 30 วันตามมาตรา 85/1 รายได้ที่เกิน 1.8 ล้าน จนถึงวันก่อนวันที่จดทะเบียน VAT ต้องเสีย VAT หรือไม่ ตอบ ไม่ต้องเสีย VAT
6
ผู้ประกอบการจดทะเบียน
N ไม่เคยมีรายได้ในเดือนใด ถึง 300,000 บาท มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ทุกคราวที่เกิดความรับผิด Y N มีรายได้ต่อคราวไม่เกิน 1,000 บาท ได้รับการผ่อนปรนให้ไม่ต้องออก ใบกำกับภาษีสำหรับรายได้ดังกล่าว แต่เมื่อสิ้นวันทำการให้ออกใบกำกับภาษี สำหรับรายได้นั้น เพื่อบันทึกรายงานภาษีขาย
7
หน้าที่ของผู้ประกอบการในระบบ VAT
1. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ออกใบกำกับภาษีเมื่อเกิดความรับผิด ที่ต้องเสีย VAT 3. จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 5. ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่มีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ 6. ให้ความร่วมมือตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม
8
ขายสินค้าพร้อมให้บริการ เช่น ขายเครื่องจักรพร้อมบริการติดตั้ง
ถ้าไม่แยกค่าบริการให้ถือเป็นการขายทั้งจำนวน จึงต้องเสีย VAT เมื่อส่งมอบสินค้า ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส ถ้าแยกค่าบริการต่างหากจากการขาย โดย 1. แยกรายการให้บริการในใบกำกับภาษีเดียวกัน 2. แยกใบกำกับภาษีต่างหาก ผล ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส เฉพาะในส่วนของค่าบริการ
9
ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้เป็นนายจ้างต้องนำ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจกทองให้พนักงานเพื่อเป็นสวัสดิการ ในระบบ VAT ทองถือเป็นสินค้าตามมาตรา 77/1(9) ดังนั้นการแจกถือเป็นการขายสินค้าในระบบ VAT ผู้ประกอบการจดทะเบียนจึงต้องเสีย VAT สำหรับมูลค่าทองคำ ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้เป็นนายจ้างต้องนำ มูลค่าทองคำและค่า VAT มาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1)
10
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
ภาษีธุรกิจเฉพาะ Specific Business Tax สุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
11
ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1. หลักการภาษีเฉพาะ (1) เป็นภาษีทางอ้อม (2) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้ บริการชนิดพิเศษที่ไม่อาจหามูลค่าเพิ่มได้โดยง่าย (3) เป็นภาษีอากรประเมิน (4) จัดเก็บเป็นรายเดือนภาษี ภ.ธ.40 (5) กิจการที่ต้องเสีย SBT หรือยกเว้น SBT จะได้รับ ยกเว้น VAT
12
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ได้แก่ “ผู้ประกอบกิจการ” ตามมาตรา 91/7 ซึ๋งประกอบกิจการ ตามมาตรา 91/2 - ธนาคารพาณิชย์ - บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ - การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ - กิจการประกันภัย – ประกันชีวิต 2.5% - กิจการโรงรับจำนำ % - การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร % - กิจการแฟคตอริ่ง 3.0% 3.0%
13
การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร - ดู พรฎ (ฉ.342)
1. การขาย...ที่ต้องจัดสรรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน 2. การขายห้องชุดในอาคารชุด – เจ้าของโครงการ 3. การขาย...ที่สร้างขึ้นเพื่อขาย – อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ 4. การขาย...ในลักษณะเดียวกับการจัดสรร - เช่น การขาย...ยกโครงการตาม 1, 2 หรือ 3 5. การขาย...ของนิติบุคคล 6. การขาย...ที่ถือครองไม่ถึง 5 ปี (เฉพาะบุคคลธรรมดา) เว้นแต่ (ก) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ (ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก (ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่ง สำคัญที่ผู้ขายมีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตาม
14
(ค) ได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลาห้าปีตามความใน (6) ให้ถือตามระยะเวลาการได้มา
ซึ่งที่ดินหรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง (ง) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดย ไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ;(จ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ทาง มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม (ฉ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากรโดย ไม่มีค่าตอบแทน (ช) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ กับส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะใน กรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.