งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของต่อมไร้ท่อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของต่อมไร้ท่อ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของต่อมไร้ท่อ

2 Cushing Syndrome สาเหตุ เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ
ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์ นานๆ มักจะพบมากในวัยกลางคน ส่วนน้อยอาจเกิดจากต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์มากผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีเนื้องอกของต่อมหมวกไตหรือเนื้องอกของส่วนอื่น ๆ (เช่น มะเร็งปอด รังไข่ ตับ หรือ ไต) ที่สร้างฮอร์โมนออกมาก กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไป

3 อาการ มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นช้า ๆ ในระยะแรกจะพบว่าผู้ป่วยหน้าอูม จนหน้ากลมเป็นพระจันทร์และออกสีแดงเรื่อๆ มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง แลดูเป็นหนอก ซึ่งทางภาษาแพทย์ เรียกว่า อาการหนอกควาย (buffalo’s hump) รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว (พุงป่อง) แต่เขนขากลับลีบเล็กลง ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า ผิวหนังบางและมีจ้ำเขียวพรายย้ำง่ายเวลาถูกกระทบกระแทก

4 อาการ มักมีสิวขึ้นและมีขนอ่อนขึ้นที่หน้า ลำตัวและแขนขา กระดูกอาจผุกร่อน มักทำให้มีอาการปวดหลัง (เพราะกระดูกสันหลังผุ) อาจมีความดันโลหิตสูง หรือ มีอาการของเบาหวาน ผู้หญิงอาจมีเสียงแหบห้าว และมีขนมากแบบผู้ชาย ประจำเดือนมักจะออกน้อยหรือไม่มาเลย ผู้ป่วยอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ อาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือกลายเป็นโรคจิต

5 การวินิจฉัย 1. อาจจะด้วยการตรวจหาคอร์ติซอลในปัสสาวะซึ่งเก็บหนึ่งวัน 2. อาจใช้วิธีฉีดเด็กซาเมทาโซนไปบล็อกสมองไม่ให้ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมหมวกไตแล้วดูระดับสะเตียรอยด์ เพราะเมื่อไม่มีฮอร์โมนกระตุ้น ต่อมหมวกไตต้องลดการผลิตสะเตียรอยด์ลง ถ้าสะเตียรอยด์ไม่ลด แสดงว่ามีเนื้องอกหรืออะไรอย่างอื่นมาช่วยผลิตด้วย 3. เจาะเลือดหรือตรวจน้ำลายดูระดับคอร์ติซอลตอนห้าทุ่ม เพราะรอบปกติของร่างกายจะผลิตสะเตียรอยด์ต่ำสุดในตอนดึก

6 การวินิจฉัย 4. ฉีดเด็กซาเมทาโซนไปบล็อกการปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นต่อมหมวกไตแล้วเจาะดูระดับสะเตียรอยด์ หลังจากนั้นจึงฉีดฮอร์โมน CRH ซึ่งกระตุ้นต่อมใต้สมองให้ปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นต่อมหมวกไต (ACTH) แล้วเจาะดูระดับคอร์ติซอลอีกที วิธีนี้เรียกว่า dexamethasont – CRH test  เมื่อพิสูจน์ได้ว่าเป็นคุชิ่งซินโดรมแล้ว ก็ต้องมาหาสาเหตุด้วยการตรวจภาพต่อมหมวกไตด้วย CT หรือ MRI เพื่อดูว่ามีเนื้องอกหรือไม่ ในกรณีที่สงสัยก็อาจจะตรวจภาพของต่อมใต้สมองด้วย

7 การรักษา กรณีได้รับสะเตียรอยด์จากภายนอก เช่น ยาหม้อ ยาเมือง ยาลูกกลอน ก็เลิกกินซะ กรณีสะเตียรอยด์เกิดจากเนื้องอกภายใน ก็รักษาด้วยการผ่าตัดออก 

8 Zollinger-Ellison สาเหตุ
กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนแกสตรินที่เพิ่มขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดไฮโดรคลอริกออกมามากเกินไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากเนื้องอกตรงบริเวณตับอ่อนที่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนแกสตริน  

9 อาการ อาการปวดท้อง (Epigastric pain) ที่จะหายไปเมื่อได้รับประทานอาหาร
อาเจียนเป็นเลือดในบางครั้ง (Hematemesis) ประสบกับความไม่สะดวกในการรับประทานอาหาร ถ่ายเป็นมันขาวขุ่น มีกลิ่นเหม็นมาก (Steatorrhea) ท้องร่วง

10 การรักษา ยายับยั้งปั๊มที่หลั่งโปรตอน (Proton pump inhibitor) และยาลดการหลั่งกรด (H2 blocker) ถูกใช้เพื่อชะลอการหลั่งกรดให้ช้าลง การรักษาให้หายขาดทำได้โดยการผ่าตัดเนื้องอกออกไป หรือทำการเคมีบำบัด

11 โรค Gigantism   โรค gigantism อาจเรียกอีกอย่างนึงว่า ภาวะยักษ์ ที่เรียกว่าภาวะยักษ์ เพราะผู้ป่วยมีอาการ ตังสูงใหญ่กว่าคนปกติ แต่สัดส่วนของร่างกาย เท่าเดิมทุกอย่าง มักจะเกิดตั้งแต่เด็ก 

12 สาเหตุ ในวัยเด็กได้รับ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ที่ชื่อ Growth Hormone (GH) มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย เมื่อร่างกายมีการผลิต Growth Hormone (GH) มากจนเกินไป ก็ทำให้ร่างกายใหญ่โต ดังรูป โดยผู้ป่วยในส่วนมาก จะมีความสูงเกิน 200 เซนติเมตร (2 เมตร)

13 อาการ รูปร่างสูงใหญ่ อาจสูงได้ถึง 270 เซนติเมตร แต่หากเกิดตอนโตเต็มที่แล้ว คือหลังอายุ 18 ปี จะทำให้กระดูกใบหน้า กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า โตผิดปกติ ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม หน้าจั่ว จมูกใหญ่ กระดูกแก้มโหนก เรียกว่า อะโครเมกาลี่ (Acromegaly)

14 การรักษา 1.รักษาด้วยยา มีทั้งกินและฉีด ยากินคือ บรอมโมคริบตีน 2.รักษาโดยการผ่าตัดสมองผ่านทางช่องจมูก ซึ่งมักจะทำหลังจากที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีปัญหาก้อนเนื้อกดทับประสาทตา 3.รักษาโดยการฉายรังสี เพื่อให้ก้อนเนื้องอกยุบ

15 เบาจืด (Diabetes insipidus)
เบาจืด เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถเก็บรักษา สมดุลของน้ำในร่างกาย ทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะออกบ่อยมาก และกระหายน้ำมากคล้ายโรคเบาหวาน แต่ปัสสาวะจะมี รสจืด จึง เรียกว่า เบาจืด โรคนี้พบได้น้อยมาก พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

16 สาเหตุ เกิดจากต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ ที่มีชื่อว่า เอดีเอช หรือมี ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวโซเพรสซิน ได้น้อยกว่าปกติ ฮอร์โมนนี้มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายเก็บกักน้ำ โดยยับยั้งไม่ให้ไตขับปัสสาวะ ออกมากกว่าปกติ เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ก็จะมีการขับปัสสาวะ ออกมากกว่าปกติ หรือเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิด

17 อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกบ่อยและมาก กระหายน้ำและดื่มน้ำ มาก ชอบดื่มน้ำเย็นมากเป็นพิเศษ ปากมักจะแห้งอยู่เสมอ จะมี อาการอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน แม้นอนหลับตอนกลาง คืนก็มักจะลุกขึ้นมาปัสสาวะและดื่มน้ำคืนละหลายครั้ง ผู้ป่วยมักถ่าย ปัสสาวะวันละเกิน 5 ลิตร (ถ้าเป็นรุนแรงอาจมากถึงวันละ 20 ลิตร) ปัสสาวะมักจะไม่มีกลิ่น ไม่มีสีและมีรสจืด

18 การรักษา การรักษาโรคนี้ในคน ไข้เบาจืดที่ปัสสาวะไม่บ่อยมาก ประมาณวันละ 2-3 ลิตร ควรทำแค่เพียงดื่มน้ำทดแทนก็พอ คือ ไม่ต้องใช้ยาเลย แต่ถ้าคนไข้มีอาการรุนแรงมาก กล่าวคือ มีอาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยมาก กรณีนี้จำเป็นจะต้องใช้ยาช่วย และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนไข้โรคนี้

19 โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
สาเหตุ เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุม ของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

20 อาการ ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร

21 อาการ น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำ ไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต

22 การรักษา 1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดชีวิต 2. ป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น (สมอง ใจ ไต ตา ขา แผล) 3. เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คือให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพ 4.นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องควบคุมระดับความดันโลหิต โดยระดับความดันโลหิตที่

23 แหล่งอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki

24 สมาชิกกลุ่ม 6 1. น.ส. กิตติพร เหลืองรุ่งรัส เลขที่ 7ก. (จัดเรียงข้อมูล) 2. น.ส. พัฒนียา ปาอ้าย เลขที่ 10ก. (จัดเรียงข้อมูล) 3. น.ส. ศุภรัตน์ ณรงค์หนู เลขที่ 6ข. (หาข้อมูล) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1


ดาวน์โหลด ppt โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของต่อมไร้ท่อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google