ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKosum Sarit ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
เรื่อง พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
มติคณะรัฐมนตรี 23 เมษายน 2556 เรื่อง พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 1. เห็นชอบในหลักการ ร่าง พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ (ฉบับที่...) พ.ศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำนักงานคลังจังหวัดตรัง
2
สูตรบำนาญ 50 50 เมื่อข้าราชการออกจากราชการจะได้รับ
สูตรบำนาญดั้งเดิมตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494 เงินเดือน ๆ สุดท้าย X อายุราชการ 50 ไม่เกิน 100% เงินเดือน เมื่อข้าราชการออกจากราชการจะได้รับ บำนาญรายเดือน สูตรดั้งเดิม สูตรบำนาญสมาชิก กบข. เงินเดือน เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย X อายุราชการ 50 ไม่เกิน 70% เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ส่งผลให้บำนาญสูตร กบข. < บำนาญสูตรดั้งเดิม รัฐชดเชยให้ 1. ให้เงินประเดิม 2% + ดอกผล 2. ให้เงินชดเชย 2% + ดอกผล + รัฐจูงใจให้ออม 3. เงินสะสม 3% (ปัจจุบัน 15 %) + ดอกผล 4. ให้เงินสมทบ 3% + ดอกผล เมื่อข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.ออกจากราชการจะได้รับ 1. บำนาญ รายเดือน สูตร กบข. และ 2. เงินก้อน เงินประเดิม + ดอกผล เงินชดเชย ดอกผล เงินสะสม ดอกผล เงินสมทบ ดอกผล ตามที่รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญ ขึ้นมาใน ปี พ.ศ เพื่อแบ่งเบาภาระบำเหน็จบำนาญที่รัฐต้องตั้งงบประมาณ จำนวนมากจ่ายเป็นจำนวนมากในแต่และปี เพื่อให้มีการกันเงินจำนวนหนึ่งส่งเข้ากองทุนเพื่อสมทบจ่ายบำเหน็จบำนาญ ในขณะเดียวกันก็หาทางลดภาระบำนาญด้วยการปรับสูตรบำนาญให้ได้รับเงินลดลง คือ ปรับเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และ cap เงินบำนาญไว้ที่ 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย การทำเช่นนี้ จึงจะทำให้รัฐสามารถบริหารจัดการภาระงบประมาณบำเหน็จบำนาญได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน ในส่วนของผู้รับบำนาญที่จะได้รับเงินบำนาญลดลง รัฐจะดูแลโดยจะชดเชยให้เป็นเงินก้อน ซึ่งจะทำให้ผู้รับบำนาญได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะจะได้รับทั้งเงินรายเดือนจากรัฐ และเงินก้อนจาก กบข. เมื่อออกจากราชการ นอกจากนี้ รัฐยังสร้างความมั่นคงให้กับข้าราชการเพิ่มขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้สะสมเงินใน กบข. และรัฐจะสบทบให้ในสัดส่วนเดียวกัน ปัญหาในเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะ เงินที่รัฐชดเชยให้เป็นเงินก้อนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้อย่างมีนัยสำคัญ และไม่พอดีกับบำนาญที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้รับบำนาญที่ไม่เข้า กบข. ทั้งนี้เนื่องจากข้อสมมุติฐานที่ใช้ในการคำนวณ เงินก้อน 8% 9% ลดต่ำลงไปจากที่เคยคาดการณ์ไว้ ในปี 39 โดยเฉพาะผลตอบแทนจาก กบข.ๆ ทำได้เฉลี่ยเพียง 7.05% เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่ข้อเรียกร้องของมวลสมาชิกที่สมัครใจเข้า กบข. ผ่านองค์กรต่างๆมากมายประเด็นข้อเรียกร้อง ยึดโยงกับเงินที่พวกเขาจะได้รับ คือ เงินรายเดือนหรือเงินบำนาญ และเงินก้อนที่ได้รับจาก กบข. โดยมีข้อเรียกร้องสรุปได้ดังนี้ 1.ในส่วนของเงินรายเดือน ขอแก้ไขสูตรบำนาญ กบข. ให้ได้รับบำนาญเพิ่มขึ้น โดยเสนอสูตรมาต่างๆนาๆ ซึ่งทั้งหมดมุ่งไปที่การปรับเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เป็น หรือขอใช้เงินเดือนๆสุดท้าย และปรับ cap เงินบำนาญจาก 70% เป็น 80 % 85% 90% 95% และ 100% 2.ขอนำเวลาทวีคูณไปรวมคำนวณกับสูตรบำนาญ กบข.ด้วย 3.ในส่วนของเงินก้อน เมื่อไม่ได้รับตามจำนวนที่คาดหวังไว้ เนื่องจากข้อเท็จจริงไม่เป็นไปตามข้อสมมุติฐาน จึงขอเพิ่ม 4.ไม่พอใจการบริหารงานของ กบข. โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 51 ที่มีผลตอบแทนติดลบ จึงขอให้ยุบ กบข. 5.ขอลาออกจาก กบข.
3
Undo ให้กลับไปเลือกใหม่
“เมื่อเขาคิดว่า เขาเข้า กบข.เพราะเขาเข้าใจผิด หลงผิด ก็ควรให้โอกาสเขาคิดใหม่ ตัดสินใจใหม่” Undo ให้กลับไปเลือกใหม่
4
Undo สูตรบำนาญ 50 50 เมื่อข้าราชการออกจากราชการจะได้รับ
สูตรบำนาญดั้งเดิมตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญ 2494 เงินเดือน ๆ สุดท้าย X อายุราชการ 50 ไม่เกิน 100% เงินเดือน เมื่อข้าราชการออกจากราชการจะได้รับ บำนาญรายเดือน สูตรดั้งเดิม สูตรบำนาญสมาชิก กบข. เงินเดือน เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย X อายุราชการ 50 ไม่เกิน 70% เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ส่งผลให้บำนาญสูตร กบข. < บำนาญสูตรดั้งเดิม รัฐชดเชยให้ 1. ให้เงินประเดิม 2% + ดอกผล 2. ให้เงินชดเชย 2% + ดอกผล + รัฐจูงใจให้ออม 3. เงินสะสม 3% (ปัจจุบัน 15 %) + ดอกผล 4. ให้เงินสมทบ 3% + ดอกผล เมื่อข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.ออกจากราชการจะได้รับ 1. บำนาญ รายเดือน สูตร กบข. และ 2. เงินก้อน เงินประเดิม + ดอกผล เงินชดเชย ดอกผล เงินสะสม ดอกผล เงินสมทบ ดอกผล ให้สิทธิเลือกไปรับบำนาญตามสูตรเดิม โดยลาออกจากการเป็นสมาชิก กบข.
5
ข้าราชการ (ที่เป็นสมาชิก กบข. โดยสมัครใจ )
1 ให้ใช้สิทธิเลือก ตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎหมาย มีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 2 สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันถัดจาก วันที่ 30 กันยายน 2557 คือวันที่ 1 ตุลาคม 2557 3 ได้รับเงินสะสม และดอกผล คืนจาก กบข. ตั้งแต่วันที่หมดสมาชิกภาพ กบข. (1 ตุลาคม 2557) 4 ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสบทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว แต่จะนำไปใส่ใน บัญชีเงินสำรอง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ภาระบำนาญต่อไป ร่าง พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญมีสาระสำคัญที่สรุปได้ดังนี้ 5 เมื่อออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด และมีสิทธิรับ บำนาญ จะได้รับบำนาญสูตรเดิมจนถึงวันที่เสียชีวิต
6
30 กันยายน 2557 เนื่องจากจะออกจากราชการ
6 ข้าราชการที่มีเวลาราชการเหลืออยู่ไม่ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 เนื่องจากจะออกจากราชการ ไม่ว่ากรณีใด (เกษียณอายุราชการ 30 กันยายน 2556 หรือขอลาออก หรือถูกสั่งให้ออก) ให้ใช้ สิทธิเลือกได้ไม่เกินวันที่ที่จะออกจากราชการนั้น แล้วแต่กรณี (วันที่ 30 กันยายน 2556 หรือวันที่ ขอลาออก หรือวันที่ถูกสั่งให้ออก) 7 หากแสดงความประสงค์ไว้แล้ว และถึงแก่ความตาย ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม หรือภายในวันที่ที่ จะออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด(วันที่เกษียณอายุ ราชการ 30 กันยายน หรือวันที่ขอ ลาออก หรือวันที่ถูกสั่งให้ออก) แล้วแต่กรณี ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ
7
ผู้รับบำนาญ (ยังมีชีวิตอยู่ และเป็นสมาชิก กบข. โดยสมัครใจ)
1 ให้ใช้สิทธิเลือก ตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎหมาย มีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 2 ไม่ต้องคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว 3 ต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสบทบ และ ดอกผลของเงินดังกล่าวให้รัฐ โดยวิธีหักกลบลบกัน 4 ได้รับบำนาญสูตรเดิมย้อนหลังตั้งแต่วันที่ออกจาก ราชการถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยวิธีหักกลบลบกัน
8
5.2 หากมีส่วนต่างที่รัฐต้องจ่ายคืน รัฐจะจ่ายคืนให้
5 เมื่อหักกลบลบกันแล้ว 5.1 หากมีส่วนต่างต้องชำระคืนให้รัฐ ให้ชำระคืน ภายใน 30 มิถุนายน 2557 5.2 หากมีส่วนต่างที่รัฐต้องจ่ายคืน รัฐจะจ่ายคืนให้ ตั้งแต่ 30 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป ให้ผู้รับบำนาญตาม 5.1 คืนเงินให้รัฐผ่าน ส่วนราชการผู้เบิก เพื่อนำส่งต่อให้กรมบัญชีกลาง เงินที่ได้รับคืนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน และให้รัฐโดยกรมบัญชีกลางสามารถนำเงินที่ได้รับคืน จากผู้รับบำนาญตาม 5.1 ไปจ่ายคืนให้ผู้รับบำนาญ ตาม 5.2 ได้ ส่วนที่เหลือให้นำส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง
9
6 หากแสดงความประสงค์ไว้แล้ว และถึงแก่ความตาย
ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม ให้ถือว่าการแสดง ความประสงค์นั้น ไม่มีผลใช้บังคับ และหากได้คืน เงินตาม 5.1 ให้รัฐแล้ว รัฐจะคืนเงินดังกล่าวให้กับ ทายาทต่อไป 7 จะได้รับบำนาญสูตรเดิมตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไปจนถึงวันที่เสียชีวิต
10
เรื่อง พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 23 เมษายน 2556 เห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเข้าบัญชี สำรองเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับภาระการจ่ายบำนาญ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ รวมทั้ง ส่วนเพิ่มบำนาญ ที่ได้รับเพิ่มจากการได้ลาออกจากสมาชิก กบข. นอกจากนี้มติ ครม .ยังเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในเรื่อง สำนักงานคลังจังหวัดตรัง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.