ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การตรวจสอบความเชื่อมั่น
3. การหาความเชื่อมั่นเชิงความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency) เป็นวิธีที่ใช้การวัดครั้งเดียวและมีวิธีประมาณค่าความเชื่อมั่นได้หลายวิธี คือ 3.1 วิธีแบ่งครึ่ง (Split-Half Method) วิธีนี้ใช้แบบวัดเพียงฉบับเดียวทำการวัดครั้งเดียว แต่แบ่งตรวจเป็นสองส่วนที่เท่าเทียมกัน เช่น แบ่งเป็นชุดข้อคู่กับข้อคี่ หรือแบ่งครึ่งแรกกับครึ่งหลังทั้งนี้ต้องวางแผนสร้างให้สองส่วนคู่ขนานกันก่อน วิธีวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างคะแนนทั้งสองครึ่งก่อนดังนี้ ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
2
การตรวจสอบความเชื่อมั่น
3.2 วิธีของ Kuder-Richardson เป็นวิธีที่ทำการวัดเพียงครั้งเดียวแล้วนำคะแนนมาวิเคราะห์โดยใช้สูตรของ Kuder-Richardson ซึ่งมี 2 สูตรคือ KR-20 และKR-21 ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
3
การตรวจสอบความเชื่อมั่น
3.3 วิธีการหาด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (alpha coefficient) ของ Cronbach วิธีนี้เป็นการหาความเชื่อมั่นแบบ ความสอดคล้องภายในเหมือนกับวิธีของ Kuder-Richardson แต่จะใช้ได้กับเครื่องมือที่เป็นแบบความเรียงหรือมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งไม่ได้มีการให้คะแนนแบบ 0 – 1 ซึ่งการหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของ Cronbach จะได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับการหาด้วยสูตร K-R20 ทุกประการ ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
4
การแปลความหมายของความเชื่อมั่น
ค่าความเชื่อมั่นที่ประมาณได้ตามวิธีดังกล่าวเป็นสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น ซึ่งมีความหมายคล้ายกับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ กล่าวคือ เมื่อเอาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ยกกำลังสอง และคูณด้วย 100 ทำเป็นร้อยละจะกลายเป็นค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผันร่วม ซึ่งจะบอกถึงสัดส่วนหรือร้อยละของความแปรผันร่วมกันของตัวแปรสองตัว เช่น = 0.9 ฉะนั้น (0.9)2 x 100 เท่ากับ 81% จะแปลว่าตัวแปร X กับตัวแปร Y มีความแปรผันร่วมกันอยู่ 81% ทำนองเดียวกับค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นก็สามารถแปลความหมายได้เช่นกัน ถ้าพบว่าเครื่องมือรวบรวมข้อมูลมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ( rtt) เท่ากับ 0.9 ก็แสดงว่าเครื่องมือนั้น ใช้วัดครั้งแรกกับวัดครั้งหลัง จะมีความแปรผันร่วมกัน 81% หรือถ้านำเครื่องมือนั้นไปวัดซ้ำอีกครั้งจะได้ผลเหมือนเดิม 81% (Kerlinger , 1986 : 428) ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
5
ความเป็นปรนัย (Objectivity)
คือคุณสมบัติ 3 ประการของเครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1. คำถามมีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง ทุกคนอ่านแล้วมีความเข้าใจตรงกัน 2. การตรวจให้คะแนนมีความแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดตรวจ จะให้คะแนนเท่ากัน 3. มีความชัดเจนในการแปลความหมาย คือคะแนนที่ได้แปลความหมายตรงกันว่าผู้สอบมีความสามารถระดับใด เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการวิจัยทุกประเภท หากเครื่องมือที่ใช้มีความเป็นปรนัยจะทำให้ เกิดความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นสูง ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.