งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
การให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. ๒๕๕๓

2 หลักการ ๑. คุ้มครองเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญ
๑. คุ้มครองเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญ ๒. จำกัดกรณีที่จะให้ความคุ้มครอง : ทุจริตต่อหน้าที่ และ ประพฤติมิชอบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามมาตรา ๘๕ (๑) ๓. ข้าราชการที่จะได้รับการคุ้มครอง ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อทางราชการ และผู้ที่อาจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด วินัยร่วมกันที่ให้ถ้อยคำในฐานะพยาน

3 หลักการ (ต่อ) ๔. กำหนดให้การให้ข้อมูลตามกฎ ก.พ. นี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ราชการ ๕. การให้ข้อมูลต้องเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ๖. กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการให้ความคุ้มครองไว้ ๗. วางกระบวนการในการขอความคุ้มครองไว้ ๒ ระดับ คือ ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ กับสำนักงาน ก.พ.

4 หลักการ (ต่อ) ๘. มาตรการคุ้มครองยึดหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีปี ๒๕๔๒ และความในวรรคท้ายของมาตรา ๙๘ ๙. ไม่ถือว่าการให้ข้อมูลฯ เป็นความผิดวินัย ๑๐. การกันผู้ร่วมกระทำผิดเป็นพยาน ต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจหา พยานหลักฐานอื่นมาพิสูจน์ความผิดได้ และอาจลดโทษแก่ ผู้เป็นพยานได้ภายในกรอบของกฎหมาย ๑๑. การให้บำเหน็จความชอบควรยึดหลักการตามมาตรา ๗๔

5 โครงสร้างกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. ๒๕๕๓ - วันบังคับใช้ : ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา - คำนิยามศัพท์ : “วินัย” “พยาน” - หมวด ๑ บททั่วไป - หมวด ๒ การคุ้มครองพยาน - หมวด ๓ การกันเป็นพยาน และการลดโทษ - หมวด ๔ การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ

6 - ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครอง - ลักษณะของข้อมูล
หมวด ๑ บททั่วไป - ผู้ที่จะได้รับความคุ้มครอง - ลักษณะของข้อมูล - ผลของการให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำที่ได้รับความคุ้มครอง ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ อาจได้รับความชอบเป็นกรณีพิเศษ ไม่ถือว่าการให้ข้อมูลหรือถ้อยคำเป็นความผิดวินัย - การรายงานการได้รับข้อมูล

7 หมวด ๒ การคุ้มครองพยาน - ผู้มีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครอง - มาตรการในการให้ความคุ้มครอง - วิธีการที่จะให้ความคุ้มครอง : ให้ทันที กับให้โดยมีคำขอ - ทางแก้หากไม่ได้รับความคุ้มครองหรือได้รับไม่เพียงพอ

8 มาตรการคุ้มครองพยาน ข้อ ๗ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองพยาน ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เปิดเผยชื่อ หรือข้อมูลใด ๆ ที่จะทำให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำ (๒) ไม่ใช้อำนาจไม่ว่าในทางใดหรือกระทำการอื่นใดอันเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลทำให้กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของผู้นั้นในทางเสียหาย

9 มาตรการคุ้มครองพยาน (ต่อ)
(๓) ให้ความคุ้มครองมิให้ผู้นั้นถูกกลั่นแกล้งหรือถูกข่มขู่เพราะเหตุที่มีการให้ข้อมูลหรือถ้อยคำ (๔) ประสานงานกับพนักงานอัยการเพื่อเป็นทนายแก้ต่างคดีให้ถ้าผู้นั้นถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาล

10 มาตรการคุ้มครองพยาน (ต่อ)
ในกรณีที่พยานผู้ใดร้องขอเป็นหนังสือ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งจะพิจารณาย้ายผู้นั้น หรือพิจารณาดำเนินการอื่นใดที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อให้ผู้นั้นได้รับความคุ้มครอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ได้

11 - บทบาทของสำนักงาน ก.พ. ในการคุ้มครองพยาน
การคุ้มครองพยาน (ต่อ) - ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการให้ความคุ้มครอง - บทบาทของสำนักงาน ก.พ. ในการคุ้มครองพยาน

12 หมวด ๓ การกันเป็นพยาน และการลดโทษ เราควรจะกันใคร เป็นพยานดี !
หมวด ๓ การกันเป็นพยาน และการลดโทษ - หลักเกณฑ์การกันเป็นพยานและระยะเวลาที่จะให้มีการกัน เป็นพยาน เราควรจะกันใคร เป็นพยานดี ! - เงื่อนไขการสิ้นสุดลงของการกันเป็นพยาน - การแจ้งเรื่องการกันเป็นพยาน - การลดโทษแก่ผู้ให้ข้อมูลหรือถ้อยคำที่มีส่วนร่วมใน การกระทำผิดวินัย

13 หมวด ๔ การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ
- การให้บำเหน็จความชอบแก่ผู้ให้ข้อมูลหรือถ้อยคำซึ่งมิใช่ ผู้กระทำผิดวินัยหรืออาจถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย - เงื่อนไขการให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ


ดาวน์โหลด ppt กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google