งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Chapter 4 การสร้าง Application

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Chapter 4 การสร้าง Application"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Chapter 4 การสร้าง Application
SUCHADA PUNNOI Dept. of Computer Science & Information Technology

2 การเขียนชุดคำสั่ง 1. เลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์
การเขียนชุดคำสั่งเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ 1. เลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์ 2. สร้างยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (หรือส่วนติดต่อกับผู้ใช้ อาจเรียกสั้นๆว่า อินเตอร์เฟส) 3. เขียนชุดคำสั่งเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคอนโทรลหรืออ็อบเจกต์ 4. การทดสอบ ตรวจสอบ และดักจับข้อผิดพลาด 5. คอมไพล์โปรเจ็กต์ให้เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สมบูรณ์ (เช่น *.exe หรือ *.dll เป็นต้น)

3 การนำคอนโทรลมาใช้งาน
สำหรับวิธีการนำคอนโทรลมาใช้งาน วาดอินเตอร์เฟสบนฟอร์ม มี 2 วิธี คือ 1. คลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้น ๆ บน ToolBox แล้วนำไปวาดบนฟอร์ม 2. ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้นเลย แล้ว Visual Basic จะนำคอนโทรลไปวางบนฟอร์มให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Visual Basic จะตั้งค่า default ไว้ให้ทั้งตำแหน่ง และขนาดของคอนโทรล แล้วค่อยแก้ในภายหลัง สำหรับคอนโทรล CommandButton อาจใช้ขนาดที่ Visual Basic ตั้งมาไปใช้งานเลยก็ได้ เพราะมีขนาดเหมาะสมอยู่แล้ว

4 พื้นฐานการเขียนโค้ด มี 2 วิธีที่สามารถเรียก editor ขึ้นมาใช้งานคือ
1. ดับเบิลคลิ๊กที่ตัวคอนโทรลนั้น ๆ 2. คลิ๊กที่คอนโทรลนั้น ให้อยู่ในสภาพใช้งาน (active) หรือได้รับความสนใจ(focus) แล้วกด F7

5 การใช้งาน Editor Editor ถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากอีกส่วนหนึ่งในบรรดาเครื่องมือที่ Visual Basic มี เพราะใช้สำหรับเขียนโค้ดให้โปรแกรมประยุกต์ทำงานได้ สามารถแยกส่วนต่างๆ ของ Editor ออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ 1. ส่วน Object List Box มีหน้าที่แสดงชื่อคอนโทรลหรืออ็อบเจกต์ที่ถูกนำมาใช้งาน 2. ส่วน Event List Box มีหน้าที่แสดงเหตุการณ์ (Event) ของคอนโทรลที่ถูกเลือกใน Object List Box 3. ส่วนการเขียนโค้ด เมื่อเลือกคอนโทรลใน Object List Box และเลือกเหตุการณ์ใน Event List Box แล้ว Visual Basic จะสร้างโพรซีเดอร์ (Procedure) ให้อัตโนมัติ

6 หน้าจอ Editor

7 การใช้ MessageBox MessageBox เป็นเครื่องมือที่ใช้โต้ตอบกับผู้ใช้ โดยจะแสดงข้อมูลเพียงอย่างเดียว แล้วให้ผู้ใช้ Click ปุ่มเลือกในกรณีที่ต้องการให้ผู้ใช้เลือกตอบ

8 รูปแบบ MsgBox Prompt [,Buttons] [,Title]
Function MsgBox รูปแบบ MsgBox Prompt [,Buttons] [,Title] Prompt “ข้อความที่ต้องการแสดง” Buttons ปุ่มทำงานและสัญลักษณ์ Title  “ข้อความที่แสดงที่หัว Box”

9 ตัวอย่าง Message Box Icon Title Buttons

10 รายละเอียดของปุ่มชนิดต่าง ๆ
ค่าคงที่ของปุ่ม ปุ่มที่ปรากฎ VbOKOnly VbOKCancel VbYesNo VbYesNoCancel VbAbortRetryIgnore VbRetryCancel OK OK Cancel Yes No Yes No Cancel Abort Retry Ignore Retry Cancel

11 ตัวอย่างของสัญลักษณ์ (Icon)
vbCritical vbInformation vbExclamation vbQuestion

12 ตัวอย่างการใช้ Msgbox
ผลลัพธ์ที่ได้จากคำสั่ง

13 การใช้ InputBox InputBox เป็นเครื่องมือที่ใช้รับข้อมูลโดยให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลลงไป แล้วเก็บข้อมูลนั้นไว้ในตัวแปร เราจะใช้ InputBox ในการขอข้อมูลจากผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานจะกรอกข้อมูลที่ต้องการลงไป แล้วคลิกปุ่ม ตัวอย่างเช่น การขอชื่อของผู้ใช้งาน เป็นต้น สำหรับการเรียกใช้งาน InputBox นั้นจะเรียกใช้งานผ่านคำสั่ง InputBox ซึ่งผลการทำงานจะเป็นข้อความที่ผู้ใช้ได้ป้อนเข้ามา เราจะนำไปใช้งานในส่วนอื่น ๆ ของโปรแกรม OK

14 รูปแบบ Var_string = InputBox (Prompt [, Title] [, Default, xPos, yPos]
Function InputBox รูปแบบ Var_string = InputBox (Prompt [, Title] [, Default, xPos, yPos] Input Box เป็นชื่อฟังก์ชั่น Var_string เป็นตัวแปรที่เราใช้เก็บข้อความที่ป้อนเข้ามา Prompt เป็นข้อความที่ปรากฎใน InputBox ซึ่งมักจะเป็นคำอธิบายถึงข้อมูลที่ต้องการให้ผู้ใช้งานกรอกเข้ามา Title เป็นข้อความในแถบบนของ InputBox Default เป็นค่าดีฟอลต์ (กรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้ป้อนอะไรมาเลย ก็จะได้มีข้อมูลนำไปใช้) XPos กับ YPos เป็นพิกัดที่จะให้แสดง InputBox ในหน้าจอ

15 ตัวอย่างการใช้ Inputbox

16 การสร้าง Menu ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ 1 โปรแกรมจะประกอบไปด้วยฟอร์มจำนวนมาก ในการเรียกใช้งานฟอร์มแต่ละฟอร์มจำเป็นจะต้องมีเมนูมาช่วยจัดหมวดหมู่ของฟอร์ม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน การสร้างเมนูใน Visual Basic สามารถทำได้โดยเรียกใช้คำสั่งสำหรับสร้างเมนูโดย Click ขวาบนฟอร์มที่ต้องการสร้างเมนู เลือกคำสั่ง Menu Editor

17 รายละเอียดต่าง ๆ ของ Menu Editor
Caption ข้อความที่จะปรากฏบนเมนู Name ชื่อเมนู ห้ามซ้ำกัน Index ใช้สำหรับระบุลำดับกรณีที่กำหนดให้เป็นเมนูแบบอาร์เรย์ Shortcut ใช้สำหรับกำหนดคีย์ลัดในการเรียกใช้เมนู Checked กำหนดให้เป็นเมนูที่มีเครื่องหมายถูกหน้าเมนู Enabled กำหนดให้สามารถใช้งานเมนูได้ถ้ามีเครื่องหมายถูก หรือ กำหนดให้ค่าเป็น True Visible กำหนดให้แสดงเมนูถ้ามีเครื่องหมายถูก หรือ กำหนดให้มีค่าเป็น True

18 ตัวอย่างการสร้าง Menu


ดาวน์โหลด ppt Chapter 4 การสร้าง Application

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google