ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKarawek Pridi ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ภูมิปัญญาทางภาษา มีภูมิปัญญาไทยแฝงตัวอยู่มากมาย ทั้งการดำเนินชีวิต
เสมือนเอกราชที่ยาวนาน มีภูมิปัญญาไทยแฝงตัวอยู่มากมาย ทั้งการดำเนินชีวิต ทั้งภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม ทั้งสิ่งมีค่าทุกสิ่ง สรรค์สร้างไว้ แก่...อนุชน
2
ภูมิปัญญาทางภาษา เป็นความฉลาดของบรรพบุรุษที่มีไว้ในภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา เป็นความฉลาดของบรรพบุรุษที่มีไว้ในภาษา วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานเขียนเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลผลิตจากภูมิปัญญา ของนักปราชญ์พื้นบ้าน ที่สร้างสรรค์ มาเป็นรูปแบต่างๆ เช่น เพลง ภาษิต เรื่องเล่า นิทาน ตำนาน ฯลฯ
3
ลักษณะของวรรณกรรมพื้นบ้าน
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เป็นแหล่งข้อมูลที่แสดงถึงภูมิปัญญาในเรื่องต่างๆ ใช้ภาษาถิ่น สื่อความหมายตรงไปตรงมา มักไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เพราะสืบทอดสืบต่อกันมา มีจุดมุ่งหมาย ถ่ายทอดความรู้ ความเพลิดเพลิน สอนจริยธรรมและคติสอนใจ
4
ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้าน
วรรณกรรมมุขปาฐะ คือ วรรณกรรมที่สืบทอดด้วยวาจาเป็นสำคัญ - นิทานพื้นบ้าน - เพลงพื้นบ้าน ( เพลงกล่อมเด็ก ,เพลงปฏิพากย์, เพลงประกอบการละเล่น ) - ปริศนาคำทาย - สำนวนภาษิต - ตำรายา-คาถา - ความเชื่อเรื่องโชคลาง
5
วรรณกรรมลายลักษณ์ วรรณกรรมร้อยแก้ว วรรณกรรมร้อยกรอง
วรรณกรรมลายลักษณ์ จำแนกได้ตามลักษณะวรรณกรรมตามภาคต่างๆ ต่อไปนี้
6
วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง
แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1. กลอนสด 2. กลอนสวด 3. กลอนบทละคร (หรือบทละครนอก) 4. กลอนนิทาน ( กลอนแหล่ )
7
วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ
แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1. โคลง 2. ค่าวธรรม 3. ค่าวซอ 4. เบ็ดเตล็ด
8
วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน
แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ 1. วรรณกรรมพุทธศาสนา 2. วรรณกรรมประวัติศาสตร์ 3. วรรณกรรมนิทาน 4. วรรณกรรมคำกลอน 5. วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด
9
วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน
แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ 1. วรรณกรรมพุทธศาสนา 2. วรรณกรรมประวัติศาสตร์ 3. วรรณกรรมนิทาน 4. วรรณกรรมคำกลอน 5. วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด
10
วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้
แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ 1. วรรณกรรมศาสนา 2. วรรณกรรมตำนานประวัติศาสตร์ 3. วรรณกรรมคำสอน 4. วรรณกรรมนิทาน 5. วรรณกรรมนิราศ 6. วรรณกรรมตำราและแบบเรียน
11
สำนวนภาษิตในวรรณกรรมพื้นบ้าน
สำนวน หมายถึง ถ้อยคำในภาษาที่ใช้พูดจาสื่อสารกันโดยมีความหมายเป็นนัย กินความหมายกว้าง ลึกซึ้ง มิได้แปลความหมายตรงตัว แต่เป็นความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ หมายรวมไปถึง คำคม คำพังเพย สุภาษิต และโวหารต่างๆด้วยก็ได้ ภาษิต หมายถึง คำกล่าวหรือถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นคำสั่งสอน เตือนสติ และแนะนำให้กระทำหรือมิให้กระทำเพื่อประโยชน์ของ ผู้ฟังเอง
12
ที่มาของสำนวนภาษิต 1. เกิดจากธรรมชาติ 2. เกิดจากการกระทำ
3. เกิดจากลักษณะความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน 4. เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี 5. เกิดจากลัทธิศาสนา 6. เกิดจากการละเล่น 7. เกิดจากนิทาน นิยาย ตำนาน เรื่องแปลกๆ ตลอดจนวรรณคดี 8. เกิดจากลักษณะหรือการกระทำของสัตว์ 9. เกิดจากเหตุอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว
13
ประเภทของสำนวนภาษิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สำนวนภาษิตของนักปราชญ์ ( ทราบที่มาของผู้กล่าวว่าเป็นใคร ) 2. สำนวนภาษิตชาวบ้าน ( ไม่ทราบที่มาของผู้กล่าว )
14
คุณค่าของสำนวนภาษิต เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นแนวคิด ความเชื่อของคนหลายๆประการ เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดีในด้านต่างๆ เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม เป็นเครื่องชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของคนไทยกับธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก การศึกษาสำนวนภาษิตทำให้ได้ถ้อยคำที่สั้นกะทัดรัด สละสลวย การศึกษาสำนวนภาษิตเป็นการสืบต่อวัฒนธรรมของชาติเอาไว้ไม่ให้สูญหาย
15
คุณค่าของวรรณกรรมพื้นบ้าน
คุณค่าต่อการอธิบายความเป็นมาของชุมชน เผ่าพันธุ์ของบรรพบุรุษ ช่วยให้เข้าใจความคิด ประเพณี พฤติกรรมของคนในท้องถิ่น เป็นเครื่องมือสอนคุณธรรมจริยธรรม ช่วยให้เกิดความบันเทิงใจ เป็นสื่อทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มชน
16
วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นผลอันเกิดจากภูมิปัญญาทางภาษาที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา และภูมิธรรมของบรรพบุรุษไทย การศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านช่วยให้เข้าใจชีวิตของคนในสังคม เห็นสัจธรรมในชีวิต รู้คุณค่าของชีวิต ให้คติและข้อคิดในการดำเนินชีวิต เยาวชนไทย จึงควรตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาไทย และช่วยกันอนุรักษ์ด้วยการเผยแพร่และสืบทอดให้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลังสืบไป
17
นำเสนอโดย ครูนงนุช สามารถ โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ สตูล
นำเสนอโดย ครูนงนุช สามารถ โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ สตูล แหล่งที่มา หนังสือเรียนภาษาไทย มัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 บริษัทอักษรเจริญทัศน์ พ.ศ.2544
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.