ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สมัยโชมอน
28
สมัยโชมอน : เป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีของชุมชนชาวโชมอน คือ เนินหอยรูปโค้ง : เป็นสมัยที่มนุษย์มีพัฒนาการ โดยรวมตัวกันเป็นชุมชนขนาดเล็ก รู้จักล่าสัตว์ จับปลา เก็บพืชผักเป็นอาหาร รู้จักผลิตภาชนะดินเผาเพื่อใช้ในพิธีกรรมและในชีวิตประจำวัน มีพัฒนาการทางด้านลวดลายจนกลายเป็นผลงานศิลปะที่โดดเด่น : ภาชนะดินเผาในระยะกลาง และระยะปลาย มีการพัฒนาสูงและมีความสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ความเชื่อและเศรษฐกิจ มีลวดลายเส้นนูนรูปโค้ง ตกแต่งผิวขอบปากและบนภาชนะ
29
: ภาชนะดินเผารูปเรือ หอย และเต่าสะท้อนสภาพเศรษฐกิจ
: ภาชนะดินเผาที่สะท้อนอิทธิพลจากจีน : ตุ๊กตาดินเผาโดกู ใบหน้าน่าประหลาดใจ รูปทรงสมมาตร แขนสั้น บ่ากว้าง ลำตัวผอมบางหรืออาจมีลำตัวอวบอ้วน อาจใช้เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เป็นลัทธิโตแต้ม เป็นเครื่องรางของขลัง หรือใช้ในพิธีกรรม : “โนกากาโด” แท่งหินปักอยู่กึ่งกลางล้อมรอบด้วยก้อนหิน อาจใช้เป็นสัญลักษณ์สุสานของคนชั้นสูงหรือเป็นนาฬิกาแดด ที่เป็นลักษณะของสังคมเกษตรกรรม
30
สรุปลักษณะสังคมของวัฒนธรรมสมัยโชมอน
31
วัฒนธรรมโชมอนมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าตามลำดับขั้นตอนมาโดยตลอด การรู้จักผลิตภาชนะดินเผา การตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ และการทำกสิกรรมขั้นต้นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่รอด ล้วนเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ามากกว่าในสมัยก่อนการผลิตภาชนะดินเผาเสียอีก นอกจากนี้ภาชนะดินเผา ซึ่งจัดเป็นงานศิลปกรรมที่สำคัญ มีความงดงามทั้งทางด้านรูปทรง และลวดลายที่ช่างฝีมือเพียรทำขึ้นมา และเป็นเอกลักษณ์ของสมัยโชมอนโดยเฉพาะ และที่น่าประหลาดใจก็คือ ภาชนะดินเผาที่งดงามเผล่านี้ แทบจะหายไปพร้อมๆกับเจ้าของวัฒนธรรม แรงบันดาลใจที่ถ่ายทอดให้วัฒนธรรมยายอยก็ปรากฎเพียงบางท้องถิ่นและเป็นไปอย่างผิวเผินเท่านั้น
32
วัฒนธรรมโชมอน มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลง เมื่อวัฒนธรรมการปลูกข้าวที่แพร่มาจากคาบสมุทรเกาหลี เข้าสู่เกาะกิวชูเมื่อประมาณหนึ่งพันปีก่อน คริสตกาล พร้อมๆกับกรรมวิธีใหม่ในการเกษตรกรรม พิธีกรรมอันเนื่องมาจากการเกษตร และความเชื่อในศาสนาก็แพร่เข้ามา ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวพื้นเมืองเปลี่ยนแปลงไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.