งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สุวัฒน์ ไวยุพัฒนธี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง

2 หลักการสำคัญในการเขียน บันทึกการค้นและจับกุม
1. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับข้อกล่าวหา 2. ต้องมีข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกับอำนาจการตรวจค้นและจับกุมของเจ้าพนักงาน

3 ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับข้อกล่าวหา
1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับความผิดตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา

4 ข้อเท็จจริงสอดคล้อง กับอำนาจจับกุม
1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอำนาจเจ้าพนักงานตามกฎหมายสรรพสามิต 2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

5 กฎหมายที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการของหน่วยงานจัดเก็บภาษี
กฎหมายในการจัดเก็บภาษีอากร การบริหารจัดเก็บภาษี การตรวจปราบปราม - ประมวลรัษฎากร - กฎหมายศุลกากร - กฎหมายสรรพสามิต - พ.ร.บ. ชดเชยค่าภาษีอากร - พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ - ป. อาญา - ป. วิ. อาญา - พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯลฯ กฎหมายควบคุมการปฏิบัติราชการ - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน - พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน - พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร - พ.ร.บ. วิ. ปกครอง - พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิด - กฎหมายอื่น

6 การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต
ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 มาตรา 1(3), 17, 31, 59, 80, 83, 84, 90, 91, 95, 102 และ 105

7 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การตรวจปราบปราม ตามกฎหมายสรรพสามิต ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - มาตรา 2 (2) (3) (4) (7) (8) (9) (10) (11) (13) (16) (20) (21) (22) - มาตรา 16, 17, 37, 38, 61, 66 - การจับ มาตรา ที่สำคัญคือ มาตรา 78, 80 วรรค 1, 81, 82 และ 83 - การค้น มาตรา ที่สำคัญคือมาตรา 92, 93, 96, 98 (2) และ 102

8 เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต
มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมสรรพสามิต “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายวามว่า ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงการคลังหรือบุคคลอื่น ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

9 ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 12 กันยายน 2546
พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 12 กันยายน 2546 1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมสรรพสามิต ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ 2. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมศุลกากร ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 54 เฉพาะสินค้านำเข้า 3. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมศุลกากร ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 79 ถึง 85 เฉพาะสินค้านำเข้า 4. เจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศให้เป็นสถานที่ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 53 วรรคสี่

10 ผู้มีอำนาจตรวจค้นและจับกุม
ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต มาตรา 131 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” มาตรา 134 “ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้จับกุมผู้ต้องหาในความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ...”

11 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2(16) “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้ง ...เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต …ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม

12 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 16 “... อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลาย … ซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ” มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาทั้งปวง”

13 พ.ร.บ. สุรา มาตรา 4 “เจ้าพนักงานสรรพสามิต” หมายความว่า เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานสรรพสามิตและผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

14 พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา
ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ (ข้อ 2.4) - ผ.อ. สรรพสามิตภาค - ผ.อ. สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ พื้นที่ 1-5 - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 และเจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต 7 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - สรรพสามิตพื้นที่สาขา และเจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา

15 พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา
ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ (ข้อ 2.4) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ. ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

16 พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. สุรา
ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ (ข้อ 2.4) - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นักวิชาการสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 5

17 พ.ร.บ. สุรา มาตรา 28 “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจโรงงานสุราที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หรือสถานที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำ หรือขาย หรือเก็บสุรา หรือเชื้อสุรา หรือสินค้าอื่นใดที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ในเวลาทำการ” มาตรา 29 “เพื่อประโยชน์ในการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”

18 พ.ร.บ. ยาสูบ มาตรา 55 “ให้อธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการกรมสรรพสามิตเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”

19 เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ยาสูบ
ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมปราบปราม ตาม พ.ร.บ. ยาสูบ (ข้อ 3.4) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ.สรรพสามิตภาค ผ.อ. ส่วนตรวจสอบ ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

20 เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ยาสูบ
ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมปราบปราม ตาม พ.ร.บ. ยาสูบ (ข้อ 3.4) - สรรพสามิตพื้นที่สาขา เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ซึ่งปฏิบัติราชการในสำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 - 5

21 พ.ร.บ. ไพ่ มาตรา 4 “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 12 “เพื่อที่จะดูว่าได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพื่อทำการตรวจค้นได้”

22 เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ไพ่
ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. ไพ่ (ข้อ 4.1) - ผ.อ. สรรพสามิตภาค - ผ.อ. สำนักงานสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นสรรพสามิตกรุงเทพ ฯ พื้นที่ 1-5 - สรรพสามิตพื้นที่ เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 และเจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต 7 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - สรรพสามิตพื้นที่สาขา และเจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต 7 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา

23 เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. ไพ่
ประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เจ้าพนักงานตามมาตรา 12 พ.ร.บ. ไพ่ (ข้อ 4.2) - ผ.อ. สำนัก ฯ เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี และนายตรวจสรรพสามิต สำนักตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม - ผ.อ. ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ส่วนตรวจสอบ ป้องกันและปราบปราม ของสำนักงานสรรพสามิตภาค - เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต เจ้าพนักงานสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่สรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ - เจ้าหน้าที่บริหารงานสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสรรพสามิต นักวิชาการสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี นายตรวจสรรพสามิต และเจ้าพนักงานสรรพสามิต สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา

24 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

25 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 78 (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117

26 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 66 เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี

27 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ

28 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 81 ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน

29 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 (13) "ที่รโหฐาน" หมายความถึงที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 (13) "สาธารณสถาน" หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้

30 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 92 ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน

31 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 92 (3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น (4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

32 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 92 (5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78 การใช้อำนาจตาม (4) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป

33 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 96 การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (2) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (3) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

34 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2(9) “หมายอาญา” หมายความถึง หนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77

35 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 61 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 97 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา ซึ่งได้มอบหรือส่งมาให้จัดการภายในอำนาจของเขา หมายอาญาใดซึ่งศาลได้ออก จะมอบหรือส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งอยู่ภายในเขตอำนาจของศาลดั่งระบุในหมาย หรือแก่หัวหน้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจประจำจังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือตำบล ซึ่งจะให้จัดการให้เป็นไปตามหมายนั้นก็ได้ ในกรณีหลังเจ้าพนักงานผู้ได้รับหมายต้องรับผิดชอบในการจัดการตามหมายนั้น จะจัดการเองหรือสั่งให้เจ้าพนักงานรองลงไปจัดการให้ก็ได้ หรือจะมอบหรือส่งสำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องให้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคนอื่นซึ่งมีหน้าที่จัดการตามหมายซึ่งตนได้รับนั้นก็ได้ ถ้าหมายนั้นได้มอบหรือส่งให้แก่เจ้าพนักงานตั้งแต่สองนายขึ้นไป เจ้าพนักงานจะจัดการตามหมายนั้นแยกกันหรือร่วมกันก็ได้

36 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 97 ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมายค้นหรือผู้รักษาการแทนซึ่งต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตั้งแต่ระดับสามหรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตำรวจตรีขึ้นไปเท่านั้น มีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น

37 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 98 การค้นในที่รโหฐานนั้นจะค้นได้แต่เฉพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดังนี้ (1) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลย (2) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นในที่ค้นนั้นได้ เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า

38 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 93 ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

39 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นในที่รโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้นให้เจ้าพนักงานผู้ค้นแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยาน

40 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 83 วรรคหนึ่ง ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป

41 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 83 วรรคสอง ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับพร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและจะไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย

42 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 83 วรรคสาม ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการปกป้องทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น

43 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 84 วรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้

44 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 84 วรรคสี่ ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสองแก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี

45 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้ (1) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา (2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว

46 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 37 (3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้น ๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว (4) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

47 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 38 ความผิดตามอนุมาตรา (2)(3) และ (4) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบดังนี้ (1) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป (2) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นสมควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน

48 คำพิพากษาศาลฎีกา ที่เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา

49 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2492
ความผิดซึ่งหน้าได้กระทำขึ้นในที่รโหฐาน กำนันเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจที่จับผู้กระทำผิดตามความในมาตรา 78 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจที่จะเข้าค้นจับในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นตามมาตรา 92 ได้ โจทก์กับพวกได้สมคบกันต้มกลั่นสุราเถื่อนในเวลากลางคืน จำเลยเป็นกำนันปกครองท้องที่กับพวกได้ไปแอบดู เห็นโจทก์กับพวกกำลังต้มกลั่นสุราเถื่อนอยู่ในบ้าน จึงพากันเข้าไปจับกุม  ดังนี้ นับว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามมาตรา 96 (2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถึงแม้เป็นเวลาค่ำคืน จำเลยก็กระทำได้

50 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2525
นายสิบและพลตำรวจสงสัยว่าจำเลยจะกินสุราเถื่อนในเวลาค่ำคืน จึงเข้าไปเพื่อจะจับกุมโดยไม่มีหมายไม่ได้ เพราะไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าและตำรวจไม่มีอำนาจตามขึ้นไปจับจำเลยบนเรือนอันเป็นที่รโหฐานเพราะไม่ใช่กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หากตำรวจขืนขึ้นไปจับจำเลย จำเลยทำร้ายเอาก็ไม่เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน

51 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2528
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 บัญญัติแต่เพียงให้เจ้าพนักงานแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่าเขาจะต้องถูกจับเท่านั้น มิได้กำหนดให้มีการแจ้งข้อหาหรือการบันทึกการจับกุมแต่ประการใด การแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134 กำหนดให้กระทำเฉพาะเมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน และไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทง ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนเติมคำว่าบุกรุกลงในบันทึกการจับกุมที่ผู้จับทำขึ้น จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

52 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2528
สารวัตรตำรวจและสารวัตรปกครองป้องกันเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(17) จึงมีอำนาจตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามมาตรา 92 วรรคสุดท้าย เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่ามีของที่ได้มาโดยผิดกฎหมายอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ หากไม่ทำการตรวจค้นเสียในวันเกิดเหตุของที่อยุ่ในบ้านอาจถูกขนไปเสีย การตรวจค้นต่อหน้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองบ้านที่เกิดเหตุและโดยไม่ทำลายกุญแจก็ไม่อาจทำได้ ทั้งการตรวจค้นของจำเลยซึ่งเป็นสารวัตรตำรวจได้กระทำต่อหน้าพยานสองคน การตรวจค้นของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92, 94 และ 102 จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 358, 362, 364, 365 (2) เมื่อจำเลยมีอำนาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีพฤติการณ์ที่จะออกหมายค้นและทำการค้นได้ ดังนั้น หมายค้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ไม่ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจค้น

53 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2529
การที่เจ้าพนักงานค้นพบของกลางที่บริเวณบ้านจำเลยได้แก่ภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต สอบถามแล้วจำเลยรับว่าของกลางเป็นของตน ไม่ใช่ความผิดซึ่งเจ้าพนักงานเห็นจำเลยกำลังกระทำหรือพบในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่ากระทำความผิดมาแล้วสด ๆ จึงไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับจำเลยได้โดยไม่มีหมายจับ เมื่อเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจแม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมก็ไม่มีความผิด

54 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2531
จำเลยทั้งสี่ตรวจพบสุรากลั่นจำนวน 14 ขวด มีแรงแอลกอฮอล์สูงกว่าสุราที่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์บอกว่าเป็นสุราที่ซื้อมาจาก ล. ตัวแทนจำหน่ายสุราในอำเภอจักราช ดังนี้ ไม่ใช่ความผิดซึ่งเจ้าพนักงานเห็นโจทก์กำลังกระทำหรือพบในอาการซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าโจทก์กระทำผิดมาแล้วสด ๆ จึงไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับโจทก์ได้โดยไม่มีหมายจับ

55 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2534
เจ้าพนักงานสรรพสามิตมีอำนาจเข้าไปตรวจค้นในสถานที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายสุราในเวลาทำการได้ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 28 โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92

56 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2535
บันทึกการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมที่ไม่ได้บอกให้ผู้ถูกจับทราบก่อนว่าถ้อยคำที่ผู้ถูกจับกล่าวนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขาในชั้นพิจารณาได้นั้น รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

57 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2536
คำว่า "เจ้าบ้าน" ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92 (5) หมายความถึงผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นและรวมตลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้านและปกครองผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น หาได้รวมถึงผู้อยู่ในบ้านทุกคนไม่ ตามทะเบียนบ้านหลังเกิดเหตุมี บ. บิดาจำเลยเป็นหัวหน้ามีชื่อจำเลยอยู่ในฐานะเป็นบุตร จำเลยจึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าบ้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 (5) การที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำเลยในบ้านดังกล่าวตามหมายจับแต่ไม่มีหมายค้น ทั้งผู้เสียหายกับพวกมิใช่เจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น จึงเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81 และเป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงชอบที่จะป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการจับกุมโดยไม่ชอบเช่นนั้นได้ หากจำเลยจะชกต่อยผู้เสียหายจริงก็เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ และไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่และทำร้ายร่างกาย

58 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2537
โรงค้าไม้มีรั้วรอบของชิดและนอกจากใช้เป็นสถานประกอบการค้าแล้ว ยังใช้เป็นที่พักอาศัยด้วย ในยามที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการภายในบริเวณโรงค้าไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถานแต่กลับเป็นที่รโหฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(13) แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะมีอำนาจจับกุมจำเลยในกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(4) ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตามห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน พฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งกระทำไปไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว การที่โจทก์ร่วมกับพวกทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

59 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2540
จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป. จับจำเลยได้ขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ขณะนั้นธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จำเลย และจำเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนำหมายจับและหมายค้นมาได้ จำเลยอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญหายจึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตำรวจ ส.และร้อยตำรวจเอก ป.จึงมีอำนาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีอำนาจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80, 81 ประกอบมาตรา 92(2) และมาตรา 96(2)

60 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2543
ผู้ดำเนินการจับกุมและตรวจค้นคือร้อยตำรวจเอก ศ. ซึ่งสืบทราบและวางแผนจับกุมจำเลย โดยไปซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลยในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ขับรถบรรทุก จากการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด อยู่ใต้กล่องยากันยุงบนชั้นวางของใกล้กับที่นั่งของจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดได้ซุกซ่อนอยู่ในห้องพักอันเป็นที่รโหฐานนั้น ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดำเนินการทันที ยาเสพติดอาจถูกโยกย้าย เมื่อแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้จำเลยดูแล้ว ร้อยตำรวจเอก ศ. จึงมีอำนาจตรวจค้นเคหสถานและจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้นตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดฯ มาตรา 14 กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุที่ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92(1)-(5) หรือไม่

61 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543
ข้อยกเว้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายค้น ของศาลว่า "ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 238 นั้น มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากกฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้วเท่านั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวรับรองให้กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แล้วก็ยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมใช้บังคับต่อไปได้

62 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุม ท. พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ด ในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตำรวจอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทำให้เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)

63 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2544
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 97 และมาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นโดยมีหมายค้นจะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้น และทำการค้นต่อหน้าเจ้าของหรือบุคคลในครอบครัวของเจ้าของสถานที่ที่จะค้น หรือมิฉะนั้นก็ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นสองคนที่ขอให้มาเป็นพยานก็ได้ ร้อยตำรวจเอก พ. ผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้นเป็นหัวหน้าในการตรวจค้นและทำการตรวจค้นต่อหน้าจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของบ้าน จึงถือว่าเป็นบุคคลในครอบครัวตามที่ระบุไว้ในมาตรา 102 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็เป็นผู้เข้าใจในสาระของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอที่จะให้ความยินยอมโดยชอบแล้ว ดังนั้น การค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย

64 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2544
1605/2544 สิบตำรวจโท ช. สืบทราบว่าบ้านของจำเลยเป็นแหล่งลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ได้ใช้วิธีซุ่มดูพฤติการณ์ของจำเลย เมื่อเห็นจำเลยขุดบริเวณแปลงผักและนำสิ่งของใส่ในหลุมที่ขุดแล้วกลบไว้ จึงใช้วิทยุสื่อสารเรียกเจ้าพนักงานตำรวจที่รออยู่ให้ไปที่เกิดเหตุและได้ออกมาแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอตรวจค้น เมื่อใช้จอบขุดบริเวณที่จำเลยกลบไว้ก็พบเมทแอมเฟตามีน กรณีดังกล่าวถือได้ว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ประกอบทั้งมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน แม้สิบตำรวจโท ช. กับพวกเข้าค้นโดยไม่มีหมายค้นก็สามารถกระทำได้โดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92(4)

65 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

66 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31
ในกรณีที่ศาลจะพิพากษาให้ปรับผู้กระทำความผิดหลายคนในความผิดอันเดียวกัน ในกรณีเดียวกัน ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล

67 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา ...” กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น …

68 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

69 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด

70 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป …

71 ความผิดต่าง ๆ ตามกฎหมายสรรพสามิต ในส่วนที่สำคัญ

72 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี มาตรา 30 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 5 มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการทำสุราแช่ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

73 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดนำสุราเกินกว่าหนึ่งลิตรเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต มาตรา 35 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 5 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

74 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 8 ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องเสียภาษีสุราโดยปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เว้นแต่สุรานั้นมีปริมาณไม่เกินหนึ่งลิตร และได้เปิดภาชนะที่บรรจุแล้ว การปิดแสตมป์สุราจะต้องปิดก่อนขนผ่านด่านศุลกากร แต่อธิบดีจะอนุญาตให้นำไปปิด ณ สถานที่อื่นในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ มาตรา 36 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 หรือมาตรา 22 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

75 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 14 มาตรา 38 ทวิ
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขนสุราตั้งแต่สิบลิตรขึ้นไป เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตขนสุราจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต หรือสำหรับกรณีขนสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรจากเจ้าพนักงานศุลกากร หรือเป็นสุราชนิดที่ได้มีกฎกระทรวงยกเว้นให้ทำการขนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขนสุรา ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องนำใบอนุญาตขนสุรากำกับไปกับสุราที่ขนด้วย มาตรา 38 ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 หรือมาตรา 15 มีความผิดต้องระวางโทษปรับตามปริมาณน้ำสุราที่ทำการขนในอัตราลิตรละสิบบาท เศษของลิตรให้ถือเป็นหนึ่งลิตร

76 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดขายสุราหรือนำสุราออกแสดงเพื่อขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต มาตรา 40 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 17 ถ้าสุรานั้นเป็นสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ถ้าสุรานั้นเป็นสุราที่ทำขึ้นในราชอาณาจักรมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

77 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 23 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 ถึงประเภทที่ 7 ทำการเปลี่ยนแปลงสุราโดยเอาสุราอื่นใด หรือน้ำ หรือของเหลว หรือวัตถุอื่นใดเจือปนลงหรือเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุรา เว้นแต่ผู้ซื้อได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงสุราเพื่อดื่มในขณะนั้น ถ้าปรากฏว่า สุราที่มีอยู่ในความครอบครองของผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวในวรรคก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นซึ่งมิได้เป็นไปตามธรรมชาติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นทำการเปลี่ยนแปลงสุรา มาตรา 38 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 มาตรา 21 หรือมาตรา 23 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

78 ความผิดที่สำคัญ ตามกฎหมายสรรพสามิต
1. ความผิดเกี่ยวกับสุราที่ทำขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กับการเปลี่ยนแปลงสุรา 2. ความผิดเกี่ยวกับการขายสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับการขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาต

79 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 31 ผู้ใดขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

80 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 32 ผู้ใดซื้อหรือมีไว้ในครองครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท แต่ถ้าสุรานั้นเป็นสุรากลั่นมีปริมาณต่ำกว่าหนึ่งลิตร หรือเป็นสุราแช่มีปริมาณต่ำกว่าสิบลิตร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

81 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 ผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขาย ซึ่งสุราที่รู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแต่มิได้ปิดแสตมป์สุรา หรือปิดแสตมป์สุราไม่ครบถ้วน หรือมิได้ปิดแสตมป์สุราตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสี่เท่าของภาษีสุราตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าลิตรละหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เศษของลิตรให้ถือเป็นหนึ่งลิตร

82 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 34 ผู้ใดซื้อหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่ต้องปิดแสตมป์สุราแต่มิได้ปิดแสตมป์สุรา หรือปิดแสตมป์สุราไม่ครบถ้วน หรือมิได้ปิดแสตมป์สุราตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยไม่สุจริต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองเท่าของภาษีสุราตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่าลิตรละห้าสิบบาท เศษของลิตรให้ถือเป็นหนึ่งลิตร

83 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 40 ทวิ ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราทำการขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานออกให้ตามมาตรา 19 หรือผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราซื้อสุราจากผู้ไม่มีสิทธิขายได้โดยชอบด้วยกฎหมาย มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

84 เหตุผลในการบัญญัติ พ.ร.บ. สุรา มาตรา 40 ทวิ
เนื่องจากพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ มิได้มีบทลงโทษผู้ได้รับอนุญาตจำหน่ายสุราที่ทำการขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาต เช่น ได้รับอนุญาตขายปลีกแต่ทำการขายในจำนวนของร้านขายส่ง หรือเป็นร้านขายปลีกเฉพาะสุราภายในประเทศ (ประเภทที่ 4) แต่ขายสุราหรือเบียร์ต่างประเทศ (ประเภทที่ 3) ซึ่งมิได้มีบทลงโทษไว้ จึงควรกำหนดบทลงโทษเสียด้วย

85 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 44 ผู้ใดมีแสตมป์สุราซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอม หรือมีแสตมป์สุราที่ใช้แล้วไว้ในครอบครองเพื่อใช้อีกหรือเพื่อค้า หรือนำแสตมป์สุราที่ใช้แล้วมาใช้อีก มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

86 พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง มาตรา 49
ห้ามมิให้ผู้ใดมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม นอกจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบ มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 หรือมาตรา 20 ต้องระวางโทษปรับสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท ถ้าเป็นบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตในประเทศและมิได้มีประกาศกำหนดราคาขายปลีกไว้ ต้องระวางโทษปรับกรัมละสองบาทแต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท

87 พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง มาตรา 46
ผู้ใดขายยาเส้นหรือยาสูบ หรือนำยาเส้นหรือยาสูบออกแสดงเพื่อขาย ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน มาตรา 46 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

88 พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง มาตรา 52
ห้ามมิให้ผู้ใดนำเมล็ดพันธุ์ยาสูบ ต้นยาสูบ ใบยา ยาอัด ยาเส้นหรือยาสูบเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือเจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดี มาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

89 พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 24 มาตรา 50
ห้ามมิให้ผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาเส้นหรือยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากยาเส้นที่ทำจากใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง มาตรา 50 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท ถ้าเป็นบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตในประเทศและมิได้มีประกาศกำหนดราคาขายปลีกไว้ ต้องระวางโทษปรับกรัมละสามบาทแต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท

90 พ.ร.บ. ไพ่ พุทธศักราช 2486 มาตรา 5 มาตรา 14
ห้ามมิให้ผู้ใดทำไพ่หรือนำไพ่เข้ามา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี มาตรา 14 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับตามจำนวนไพ่ของกลางเป็นเงินสี่เท่าของราคาไพ่ที่กรมสรรพสามิตขายในประเภทเดียวกัน แต่ในกรณีทำไพ่ต้องไม่ต่ำกว่าสองพันบาท

91 พ.ร.บ. ไพ่ พุทธศักราช 2486 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง มาตรา 14 ตรี
ห้ามมิให้ผู้ใดขายไพ่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน มาตรา 14 ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

92 พ.ร.บ. ไพ่ พุทธศักราช 2486 มาตรา 8 มาตรา 14 ทวิ
ห้ามมิให้ผู้ใดมีไพ่ไว้ในครอบครองเกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบใบ หรือขายไพ่ไม่ว่าจำนวนใด ๆ เว้นแต่ไพ่นั้นเป็นไพ่ซึ่งกรมสรรพสามิตทำขึ้น หรือเป็นไพ่ที่มีตราซึ่งกรมสรรพสามิตได้กำหนดขึ้นประทับอยู่ มาตรา 14 ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 8 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับตามจำนวนไพ่ของกลางเป็นเงินสี่เท่าของราคาไพ่ที่กรมสรรพสามิตขายในประเภทเดียวกัน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

93 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 มาตรา 147
ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรม คลังสินค้าทัณฑ์บน คลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตปลอดอากร หรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก เว้นแต่ ... มาตรา 147 ผู้ใด (1) ฝ่าฝืนมาตรา 19 (2) นำเข้าซึ่งสินค้าที่มิได้เสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของค่าภาษี หรือทั้งจำทั้งปรับ

94 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 161
ผู้ใด (1) มีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บน (2) มีไว้ในครอบครองโดยไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีหรือได้รับการคืนภาษีแล้วตามหมวด 7 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองเท่าถึงสิบเท่าของค่าภาษีที่จะต้องเสีย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยบาท

95 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162
ผู้ใด (1) ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บน (2) ขายหรือมีไว้เพื่อขายโดยไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีหรือได้รับการคืนภาษีแล้วตามหมวด 7 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงสิบห้าเท่าของค่าภาษีที่จะต้องเสีย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

96 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 163
ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 161 (1) หรือ (2) หรือมาตรา 162 (1) หรือ (2) นอกจากจะได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้แล้ว ให้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับสินค้านั้นให้ครบถ้วนอีกด้วย ถ้าผู้นั้นไม่ยอมชำระภาษีภายในเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้นำสินค้านั้นออกขายทอดตลาดได้ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่ง เมื่อหักใช้ค่าเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด และค่าภาษีตามลำดับแล้ว ยังมีเงินเหลืออยู่เท่าใดให้แจ้งให้เจ้าของสินค้านั้นมารับคืน ถ้าไม่มารับคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันแจ้ง ให้เงินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

97 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 164
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีผู้ใดไม่ยื่นแบบรายการภาษี เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

98 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 167
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น

99 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 168
บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 แสตมป์สรรพสามิตหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 156 ตลอดจนภาชนะที่บรรจุสิ่งของดังกล่าว ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

100 คำพิพากษาศาลฎีกา ที่เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายสรรพสามิต

101 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493

102 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2493
ในระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ประกาศออกใช้เป็นกฎหมายแล้ว โดยยกเลิกพระราชบัญญัติภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 และพระราชบัญญัติภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 ที่โจทก์ฟ้องอ้างเป็นบทลงโทษจำเลยแล้วมีบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้ใหม่ตามมาตรา 32 ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 8 พระราชบัญญัติภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ จึงต้องใช้กฎหมายใหม่เป็นบทลงโทษจำเลย ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8

103 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2493
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยมีสุราที่ผิดกฎหมายไว้ในความครอบครอง และจำเลยได้กินสุราที่มีไว้นั้น จำเลยรับว่าได้กินสุรานั้นจริง ส่วนข้อมีสุราปฏิเสธ แล้วโจทก์ไม่สืบพยาน ดังนี้ โจทก์จะกลับมาโต้แย้งว่าต้องมีไว้ในครอบครองก่อนแล้วจึงจะกินได้นั้นย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะความผิดฐานมีสุราเถื่อนกับกินสุราเถื่อนนั้นเป็นคนละฐานแยกกันได้ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ.2493 ไม่ได้บัญญัติความผิดฐานดื่มกินสุราผิดกฎหมายไว้ ฉะนั้น เมื่อผู้กระทำผิดฐานกินสุราผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน ถูกฟ้องขอให้ลงโทษฐานนี้ เมื่อใช้ พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 แล้ว ศาลจะลงโทษจำเลยฐานกินสุราผิดกฎหมายไม่ได้

104 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2494
ผู้ขายส่งขนสุราจากร้านขายปลีกกลับคืนร้านขายส่ง แม้จะได้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานสรรพสามิตต์ขอรับสุราจากร้านขายปลีกคืนมายังร้านขายส่งและเจ้าพนักงานสรรพสามิตต์อนุญาตแล้วก็ตาม เมื่อไม่มีใบอนุญาตขนสุราหรือไม่นำใบอนุญาตขนสุรากำกับไปกับสุราที่ขนด้วยย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 14 อันจะต้องมีผิดตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 จำเลยจะต้องรู้ข้อกฎหมายดังว่านี้ จะอ้างว่าไม่มีเจตนาทำผิดกฎหมายไม่ได้

105 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2494
(ประชุมใหญ่) นำสุราแม่โขงออกแสดงเพื่อขายโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตต์ย่อมเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.สุรา 2493 มาตรา 17 แต่สุราแม่โขงที่นำออกแสดงเพื่อขายนั้น ตามมาตรา 45 มิได้บัญญัติให้ริบ

106 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2496
ขายสุราให้ผู้อื่นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสุรา 2493 มาตรา 40 นั้น เมื่อปรากฏว่าสุราของกลางได้ขายและกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อแล้ว ทั้งผู้ซื้อก็ไม่ได้รู้เห็นในการกระทำผิดของผู้ขายแล้ว ศาลก็ย่อมไม่ริบสุราของกลางนั้น

107 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2499
จำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสุรา ได้ซื้อสุรากลั่นแม่โขงปลอมจากผู้อื่นซึ่งไม่มีสิทธิขายได้โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ มาตรา 40 ทวิ เพราะความประสงค์ของมาตรานี้เป็นเรื่องที่ใช้บังคับในกรณีที่ซื้อสุราที่ชอบด้วยกฎหมายจากผู้ไม่มีสิทธิขายได้ ไม่ใช่ซื้อสุราผิดกฎหมาย เพราะสุราผิดกฎหมายไม่มีผู้ใดมีสิทธิจะขายได้

108 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2500
จำเลยเก็บสุราต่างประเทศไว้คราวละเล็กละน้อยจนได้ 40 ขวดรวมปริมาณ 1,862 ลิตร  แต่ละขวดมีปริมาณไม่เกิน 1 ลิตรโดยมิได้ปิดแสตมป์สุรา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้นำสุราของกลางทั้งหมดเข้ามาในราชอาณาจักรคราวเดียวพร้อมกัน การกระทำของจำเลยก็ยังไม่เป็นผิด และไม่เรียกว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริตตามมาตรา 34 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493

109 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2500
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยได้เอาน้ำเจือปนสุราแล้วนำออกวางขายในร้านโดยรู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแต่ไม่ได้ปิด ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ใช่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ทำสุราก็ตาม จำเลยก็ไม่พ้นความผิดตามความในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493

110 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2506
จำเลยขนสุราจากร้านค้าสุราไปยังบ้านของ บ. 2 เที่ยว แต่ละเที่ยวมีปริมาณน้ำสุรา 9 ลิตรเศษ แต่เวลาก็ห่างกันชั่วโมงเศษ ดังนี้ การขนแต่ละเที่ยวย่อมขาดตอนกันไปแล้ว หากจะว่าจำเลยมีเจตนาจะขนสุราทั้งหมดนี้ต่อจากบ้าน บ. ไปให้ผู้ซื้อ ณ จุดหมายปลายทางแห่งหนึ่ง ถ้าเป็นแต่เพียงคำกล่าวอ้าง ก็จะถือว่าจำเลยกำลังขนสุราทั้งหมดไปยังจุดหมายปลายทางนั้น ๆ ไม่ได้ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ มาตรา 14

111 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2509 (ประชุมใหญ่)
ความผิดฐานขนสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานไม่นำใบอนุญาตกำกับไปกับสุราที่ขน องค์ความผิดต่างกันเป็นความผิดคนละฐานกัน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขนสุราของกลางโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าจำเลยมีใบอนุญาตขนถูกต้องแล้ว จะลงโทษจำเลยฐานไม่นำใบอนุญาตกำกับการขนสุราของกลางอันเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งซึ่งโจทก์มิได้กล่าวบรรยายมาในคำฟ้องขอให้ลงโทษด้วยนั้นย่อมไม่ได้ เมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีใบอนุญาตขนสุราของกลางโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงว่าจำเลยไม่มีใบอนุญาตขนสุรา หรือว่าใบอนุญาตขนสุราที่จำเลยอ้างนั้นไม่ใช่ใบอนุญาตขนสุราของกลาง ความผิดฐานขนสุราของกลางโดยไม่มีใบอนุญาตจึงยุติ โจทก์จะมาฎีกาโต้เถียงว่าใบอนุญาตขนสุราที่จำเลยอ้างไม่ใช่ใบอนุญาตขนสุราของกลางหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

112 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2524
พระราชบัญญัติสุรา ฯ บัญญัติความผิดฐานมีสุราซึ่งรู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายไว้ในครอบครองและความผิดฐานนำสุราดังกล่าวออกแสดงเพื่อขายไว้ต่างมาตรากัน เพราะการมีไว้ในครอบครองเป็นการกระทำตอนหนึ่งแล้ว การนำออกแสดงเพื่อขายเป็นการกระทำเพิ่มเติมขึ้นอีก เช่นนี้การที่จำเลยมีสุราซึ่งรู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายไว้ในครอบครองและนำออกแสดงเพื่อขายจึงเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมกัน

113 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2526
ความผิดฐานมีภาชนะสำหรับทำสุราแช่กับความผิดฐานมีภาชนะและเครื่องกลั่นสำหรับทำสุรากลั่นนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ของกลางก็คนละส่วน ทั้งสภาพของความผิดก็สามารถแยกออกเป็นต่างกรรมกันได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพย่อมต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรมและต้องเรียงกระทงลงโทษ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยฐานทำสุราแช่ 360 บาท นั้น เป็นการเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกิน 200 บาท ศาลฎีกาจึงต้องแก้เสียให้เป็นการถูกต้อง

114 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2532
ตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 16 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 หรือตัวแทน ออกหนังสือสำคัญแบบ ส. 1/42 สำหรับขนสุราออกจากสถานที่ขายสุราของตนได้ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนดไว้ โดยถือเสมือนหนึ่งเป็นใบอนุญาตขนสุราตามมาตรา 14 การที่จำเลยซื้อเบียร์จำนวน 2,400 ขวด จากผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขายสุรา และผู้ได้รับใบอนุญาตได้ออกหนังสือสำคัญแบบ ส. 1/42 ให้จำเลย โดยเขียนชื่อผู้ซื้อซึ่งจำเลยเป็นผู้บอกไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่ปรากฏว่าบุคคลดัง กล่าวจะมีตัวตนจริงหรือไม่ จึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพสามิตกำหนด ไม่มีผลให้หนังสือสำคัญดังกล่าวเป็นเสมือนใบอนุญาตขนสุรา จำเลยจึงมีความผิดฐานขนสุราโดยไม่ได้รบอนุญาตตาม พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 14, 38 ทวิ และ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ (ฉบับที่ 2) มาตรา 8

115 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2532
ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 5 บัญญัติห้ามการทำสุราซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในมาตราเดียวกัน ส่วนมาตรา 32 บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 5 ซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดทั้งหมดในวันเวลาเดียวกัน แสดงว่าจำเลยทำสุราและมีสุราทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ของกลางในคราวเดียวกัน ดังนี้ แม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ขณะเดียวกันการมีสุรากลั่นและสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากเช่นกัน

116 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2532
โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำผิดฐานทำสุรากลั่น ทำสุราแช่ กับมีสุรากลั่นและมีสุราแช่โดยไม่ได้รับอนุญาตในวันเวลาเดียวกัน แสดงว่าจำเลยทำสุราและมีสุราทั้งสุรากลั่นและสุราแช่ของกลางในคราวเดียวกัน ตาม พ.ร.บ.สุรา ฯ ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 5 บัญญัติห้ามการทำสุราซึ่งหมายถึงสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในมาตราเดียวกัน ในคราวเดียวกัน การทำสุรากลั่นและทำสุราแช่จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และมาตรา 32 ก็บัญญัติเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่ทำขึ้นฝ่าฝืนมาตรา 5 ซึ่งหมายความถึงสุรากลั่นและสุราแช่ การมีสุรากลั่นและสุราแช่ไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกันอีกกรรมหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับไม่เกิน 10,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

117 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4332/2532
จำเลยทำสุรากลั่น ทำสุราแช่ มีสุรากลั่น มีสุราแช่ และขายสุรากลั่น ขายสุราแช่ในคราวเดียวกัน การที่จำเลยทำสุรากลั่นทำสุราแช่จึงเป็นความผิดกรรมเดียว มีสุรากลั่นและสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียว และขายสุรากลั่นและขายสุราแช่ก็เป็นความผิดกรรมเดียว

118 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2532
การทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น พ.ร.บ. สุรา ฯ บัญญัติความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน การทำสุราแช่และการทำสุรากลั่นถือว่ามีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกัน ส่วนการมีสุราแช่หรือสุรากลั่นก็เป็นการกระทำโดยมีเจตนาและวัตถุประสงค์อันเดียวกันเช่นกัน แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็น 4 ข้อ ก็ไม่ทำให้เป็นการกระทำแยกกันได้ จำเลยคงมีความผิดเพียงสองกรรมเท่านั้น

119 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2533
จำเลยทำสุราแช่และทำสุรากลั่น กับการที่จำเลยมีสุราแช่และมีสุรากลั่นไว้ในครอบครอง ได้กระทำขึ้นคนละวันและมีไว้ในครอบครองคนละวัน การกระทำประกอบด้วยเจตนาต่างกัน ของกลางก็เป็นคนละส่วนกัน ความผิดสามารถแยกออกเป็นต่างกรรมกันได้ จึงเรียงกระทงลงโทษได้ ข้อห้ามตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุราฯ กำหนดไว้ 2 กรณี คือห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรากรณีหนึ่ง และห้ามมิให้ผู้ใดมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองอีกกรณีหนึ่ง ไม่ว่าฝ่าฝืนกรณีใดจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 30 ดังนั้น ถ้าฝ่าฝืนข้อห้ามทั้ง 2 กรณีเป็นการต่างกรรมกัน จึงต้องเรียงกระทงลงโทษทุกกรรมตามประมวลกฎหมาย มาตรา 91

120 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2524
เจ้าพนักงานสรรพสามิตมีอำนาจเข้าไปตรวจค้นในสถานที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายสุราในเวลาทำการได้ตามพระราชบัญญัติสุราพ.ศ. 2493 มาตรา 28 โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 จำเลยใช้ขวดตีผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และใช้ขวานเงื้อจะฟันผู้เสียหายที่ 3 ในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสามทำการตรวจค้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเพื่อการขัดขวางในครั้งนี้เท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว

121 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2534
ความผิดฐานทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และฐานขายหรือนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งสุราดังกล่าว แม้จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. สุรา พ.ศ ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน และบางฐานมีบทลงโทษในมาตราเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าความผิดในแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แสดงว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำผิดในแต่ละกรณีเป็นตอน ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

122 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6055/2534
สุราของกลางที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุราได้ซื้อจากผู้ที่ไม่มีสิทธิขายโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 40 ทวิ นั้น ตาม พ.ร.บ. สุรา ฯ มาตรา 45 มิได้บัญญัติให้ริบสุราของกลาง ทั้งสุราของกลางดังกล่าวก็มิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช่ในการกระทำผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด อันจะเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาให้ริบเสียได้ ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33

123 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509

124 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2528 (ประชุมใหญ่)
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 49 บัญญัติเรื่องโทษว่าผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 มาตรา 20 ต้องระวางโทษปรับสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่แต่ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท ถ้าเป็นบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตในประเทศและมิได้ประกาศกำหนดราคาขายปลีกไว้ ต้องระวางโทษปรับกรัมละสองบาทแต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยาสูบฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด ทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ได้บัญญัติให้ใช้บังคับบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย คดีพระราชบัญญัติยาสูบมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31

125 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2529
การที่จำเลยมียาสูบที่มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลียงอากร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร กับมียาสูบจำนวนเดียวกันโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบในวันเวลาเดียวกัน ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาในผลอย่างเดียวกัน คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยเป็นสองข้อและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยหลายกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ได้

126 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2532
ผู้กระทำผิดต่อ พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ มาตรา 19 วรรคแรก โดยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 49 คือปรับสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดนั้น ความผิดตามมาตรา 19 วรรคแรก ดังกล่าวเกิดจากการมียาสูบทั้งหมดไว้ในครอบครอง มิใช่เฉพาะจำนวนที่เกินห้าร้อยกรัม จึงต้องปรับจำเลยตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบทั้งหมดที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายและมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ มิใช่ปรับเฉพาะตามจำนวนน้ำหนักของยาสูบที่เกินห้าร้อยกรัมเท่านั้น

127 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2532
การมียาสูบผลิตในต่างประเทศที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองกับการที่ยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบรายเดียวกันนั้นไว้เพื่อขาย เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลย

128 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2536
จำเลยรับเอาบุหรี่อันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นการกระทำครั้งเดียวในเวลาเดียวกัน แม้ผู้นำเข้าอาจนำเข้าโดยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร แต่มิได้นำเข้ามาเพื่อขายก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 หรือนำเข้ามาโดยถูกต้องแต่มีไว้เพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ ฯ เพราะเป็นความผิดที่ผิดแผกแตกต่างกันและเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกันก็ตาม แต่จำเลยรับเอาไว้เพื่อขายอันเป็นความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาในผลอย่างเดียวกัน คือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่หลายกรรมต่างกันไม่ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ มาตรา 27 ทวิ ที่ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น หมายถึงค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงค่าภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรและภาษีเทศบาลตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาลไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับโดยรวมค่าภาษีทั้งสองประเภทดังกล่าวมาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

129 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2537
ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ มาตรา 19 วรรคแรก บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกำหนด มาตรา 44 วรรคสอง บัญญัติให้ริบบุหรี่ซิกาแรต ในคดีกระทำผิดบทบัญญัติ มาตรา 19 รวมทั้งหีบห่อเป็นของกรมสรรพสามิต คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจจับได้ของกลางบุหรี่ซิกาแรตถังสแตนเลส 1 ใบ และรถจักรยานยนต์ 1 คัน แต่รถจักรยานยนต์ของกลางมิใช่หีบห่ออันเกี่ยวกับการกระทำผิดฐานมียาสูบไม่ปิดแสตมป์ยาสูบจึงริบไม่ได้ ทั้งมิใช่ทรัพย์ของกลางโดยตรงที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) จึงไม่สมควรริบ

130 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2539
แม้ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางขณะจำเลยใช้รถดังกล่าวกระทำความผิดแต่เมื่อผู้ร้องได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบก่อนที่ศาลจะสั่งริบผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถนั้นได้และเมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดก็ต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง

131 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8299/2540
การมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ สุราต่างประเทศที่มิได้ปิดแสตมป์สุรา สินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต และมีไพ่ไว้ในครอบครอง แม้จะยึดของกลางทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่าง พ.ร.บ. โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม รวม 4 กระทง ไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ มาตรา 50 พ.ร.บ. สุรา พ.ศ มาตรา 33 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 162 และ พ.ร.บ. ไพ่ พ.ศ มาตรา 14 ทวิ กำหนดโทษปรับผู้กระทำความผิดโดยมิได้มีข้อจำกัดว่ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน จึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตามรายตัวบุคคลตาม ป.อ. มาตรา 31

132 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2543
การที่จำเลยมียาสูบของกลางที่ผลิตในต่างประเทศโดยมีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรขาเข้าไว้ในความครอบครอง และยาสูบมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย กับการที่จำเลยมียาสูบจำนวนเดียวกันนั้นไว้เพื่อขายนั้น แม้การกระทำนั้นจะผิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายฉบับ แต่ก็เป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน คือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียอากรตามกฎหมาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่การที่จำเลยได้ขายยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการมีไว้เพื่อขายและเป็นคนละกรรมกันอีกกรรมหนึ่ง

133 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6122/2544
ความผิดข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายกับข้อหามีแสตมป์ยาสูบปลอมเพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้ จำเลยกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมก็เพื่อนำออกใช้กับยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายนั่นเอง ดังนั้น ความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นความผิดกรรมเดียว และเป็นกรรมเดียวกับข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายไว้ในครอบครองเกินกว่า 500 กรัม สำหรับความผิดข้อหาเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกกันมา แต่ได้ความว่าจำเลยมีเจตนาอันเดียวคือต้องการขายบุหรี่ของกลางซึ่งเป็นบุหรี่ที่บรรจุในซองที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย และที่มีเครื่องหมายการค้ากับแสตมป์ยาสูบปลอมในซองเดียวกัน ความผิดทั้งสามข้อหาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 108 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด

134 พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486

135 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2503
จำเลยได้ปลอมดวงตรานกวายุภักษ์สีอันเป็นดวงตราราชการกรมสรรพสามิตลงในแม่พิมพ์ไพ่ และใช้แม่พิมพ์นั้นพิมพ์ไพ่ผ่องจีนและไพ่สี่สีปลอม โดยเจตนาหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นไพ่ที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น เมื่อดวงตรานกวายุภักษ์นี้เป็นเพียงเครื่องหมายในการค้าของกรมสรรพสามิตเพื่อแสดงว่าไพ่นั้นเป็นไพ่ที่กรมสรรพสามิตผลิตขึ้นการใช้ดวงตรานกวายุภักษ์บนไพ่นั้น จึงหาใช่เป็นการใช้ดวงตราตามความหมายของกฎหมายไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงเจตนาทำไพ่ปลอมเท่านั้น

136 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2510
ของกลางที่ฎีกาขึ้นมา เมื่อมีลักษณะเป็นของสำหรับเด็กเล่น และปรากฏว่ารูปลักษณะผิดกับไพ่ป๊อก เช่น ไม่มีตัว เอ.คิง.ควีน.แจ๊ค ไม่แยกเป็นโพดำ โพแดง ข้าวหลามตัด และดอกจิก ดังนี้ จึงไม่เป็นไพ่ ตามพระราชบัญญัติไพ่ ส่วนการที่จะนำวัตถุเหล่านี้ไปเล่นพนันกัน โดยสมมุติขึ้นว่าใช้ 1 แทน เอ.ใช้ เอ.บี.ซี. แทน แจ๊ค.ควีน.คิง. และอื่น ๆ อีก ดังที่พยานโจทก์เบิกความอธิบายไว้นั้นก็เป็นเรื่องวิธีการเล่นการพนันโดยใช้วัตถุเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเล่น จึงไม่ทำให้วัตถุของกลางเหล่านี้กลายเป็นไพ่ขึ้นมาได้ พระราชบัญญัติไพ่ได้บัญญัติห้ามมีห้ามจำหน่ายเฉพาะไพ่ มิได้บัญญัติถึงสิ่งที่คล้ายคลึงไพ่ ฉะนั้น เมื่อของกลางที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาไม่เป็นไพ่ตามพระราชบัญญัติไพ่แล้วจำเลยก็ย่อมไม่มีความผิด

137 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2526
ความผิดฐานทำไพ่และมีไพ่ไว้ในครอบครองเกิน 120 ใบนั้นพระราชบัญญัติไพ่ฯกำหนดองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ต่างหากจากกัน และเป็นความผิดคนละมาตรากัน การทำไพ่แล้วจำหน่ายไปเลยย่อมไม่มีความผิดฐานมีไพ่ไว้ในครอบครองหรือการมีไพ่ไว้ในครอบครองผู้ฝ่าฝืนไม่จำต้องเป็นผู้ทำไพ่เอง ก็เป็นความผิดได้ ดังนั้น การทำไพ่และการมีไพ่ไว้ในครอบครองเกิน120 ใบจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน

138 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2528
ปัญหาว่าไพ่ของกลางเป็นไพ่ตามความหมายของพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ. 2486 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 แม้จำเลยไม่ได้ยกต่อสู้มาแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คำว่าไพ่ตามพระราชบัญญัติไพ่ ฯ มาตรา 4 ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึงไพ่ซึ่งทำด้วยกระดาษหรือหนัง หรือซึ่งทำด้วยวัตถุอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามพจนานุกรมให้ความหมายว่าหมายถึงเครื่องเล่นการพนันทำเป็นแผ่นบาง ๆ ของกลางในแต่ละถุงจะมีไพ่ไม่ครบสำรับอันจะมีลักษณะเป็นไพ่ แต่เมื่อรวม 2 ถุงแล้วจะมีไพ่ครบ 52 ใบ สามารถใช้เป็นเครื่องเล่นการพนันได้อย่างไพ่ แม้จะทำด้วยกระดาษแผ่นบาง ๆ เล็กกว่าไพ่ป๊อกก็อยู่ในความหมายของคำว่าไพ่ตามพระราชบัญญัติไพ่ ฯ

139 พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527

140 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น คำว่า “ค่าอากร” หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หารวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ จึงจะนำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับด้วยมิได้

141 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540
รถยนต์ซึ่งประกอบขึ้นภายในประเทศโดยใช้อุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างประเทศและยังไม่เสียภาษีสรรพสามิต ถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรม เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจจับและยึดรถยนต์ของกลางจากเต็นท์ขายรถยนต์ของจำเลย แสดงว่าได้มีการเคลื่อนย้ายออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้ว ความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 20, 48(1), 148 จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้นำรถยนต์ที่ยังไม่ได้เสียภาษีออกจากโรงอุตสาหกรรมไปไว้ในที่ซึ่งมิใช่คลังสินค้าทัณฑ์บน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 19, 147 พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 167(1) บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งไม่ปรากฏข้ออนุโลมให้ไปเสียหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วได้ จำเลยจึงมีความผิดในข้อหามีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษี

142 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48(1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม  ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20, 48(1), 148

143 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 19 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19, 147

144 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162 (1) ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด

145 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8299/2540
การมีไว้เพื่อขาย ซึ่งยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ สุราต่างประเทศที่มิได้ปิดแสตมป์สุรา และสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีสรรพสามิต กับมีไพ่ไว้ในครอบครอง แม้จะยึดของกลางทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แต่การกระทำผิดแต่ละข้อหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายต่างพระราชบัญญัติโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม รวม 4 กระทงไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ มาตรา 50 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 33 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 มาตรา 162 และพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ มาตรา 14 ทวิ กำหนดโทษปรับผู้กระทำผิดโดยมิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนให้ปรับรวมกัน ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งห้าเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31

146 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรม ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 19, 147(1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาปิ่นเกล้า เป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161(1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เป็นความผิดตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ซึ่งเป็นบทหนัก ตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง เมื่อเครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าจำนวน 455 เครื่อง เป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี ซึ่งตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ฯ มาตรา 19 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องครบถ้วนออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายกำหนด การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 147(1) และตามมาตรา 168 วรรคสอง บัญญัติว่า สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงต้องริบเครื่องปรับอากาศจำนวนดังกล่าวตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ หาใช่เป็นการริบตาม ป.อ. มาตรา 33 ไม่

147 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2543
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ มาตรา 96 ประกอบมาตรา 86 และ 89 กำหนดให้การฟ้องคดีเกี่ยวกับการประเมินภาษีสรรพสามิตจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทำการคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและต้องได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาด้วย แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าหลังจากโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีสรรพสามิตแล้วโจทก์ได้คัดค้านการประเมินหรือได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

148 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7199/2543
แม้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 จะได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิตให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแทนจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าอธิบดีกรมสรรพสามิตได้มอบหมายให้กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 หรือเจ้าหน้าที่คนใดในกรมศุลกากรเป็นผู้รับคำคัดค้านหรือรับอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพสามิต จำเลยที่ 2 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร ยังฟังไม่ได้ว่ายื่นอุทธรณ์ต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมสรรพสามิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

149 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2544
จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานร่วมกันขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 37 ตรี หลังจากที่จำเลยลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในเขตต่อเนื่องแล้ว ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจำเลยทั้งห้าขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีหรือเจตนาอื่น จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยเจตนาต่างหากจากความผิดฐานอื่น เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานนี้เป็นความผิดกรรมเดียว ส่วนความผิดฐานร่วมกันนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมิได้เสียภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 กับความผิดฐานร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 162 (1) เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต่าง พ.ร.บ. กัน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91

150 การค้นจับกุมและจับกุมโดยอาศัยเหตุความผิดซึ่งหน้า
1. ข้อหา “ขาย” ต้องบันทึกให้มีข้อเท็จจริงเรื่องการซื้อขาย 2. ต้องมีข้อเท็จจริงว่าขายซึ่งหน้า “เจ้าพนักงานเห็นขณะที่กำลังขาย”

151 การค้นจับกุมและจับกุมโดยอาศัยเหตุความผิดซึ่งหน้า
1. ข้อหา “นำออกแสดงเพื่อขาย” ต้องมีข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำที่เป็นการนำออกมาแสดงเพื่อที่จะขาย เช่น ในตู้โชว์ 2. ต้องนำออกแสดงเพื่อขายซึ่งหน้า “เจ้าพนักงานพบวางเสนอขายในตู้โชว์”

152 การค้นจับกุมและจับกุมโดยอาศัยเหตุความผิดซึ่งหน้า
1. ข้อหา “มีไว้เพื่อขาย” ต้องมีข้อเท็จจริงว่ามีไว้ในครอบครองโดยมีเจตนาเพื่อนำไปขายหรือเพื่อเสนอขาย 2. ต้องมีไว้เพื่อขายซึ่งหน้า “เจ้าพนักงานพบในขณะมีไว้ในครอบครอง และผู้ถูกกล่าวหายอมรับว่ามีไว้เพื่อขาย”

153 ความผิดทางอาญาที่สำคัญ
ตามกฎหมายศุลกากร ต่อไปจะกล่าวถึงเรื่องความผิดตามกฎหมายศุลกากรที่สำคัญ ซึ่งอาจสรุปเรื่องความผิดที่สำคัญและการดำเนินคดีบางประการได้ดังนี้ 1. ความผิดเกี่ยวกับการสำแดงเท็จ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ มาตรา 99 2. ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร หรือฝ่าฝืนข้อห้าม ข้อจำกัด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ มาตรา 27, 27 ทวิ และมาตรา 31) 3. ในการกระทำความผิดตามมาตรา 27 และ 99 นั้น จะไม่คำนึงถึงว่าผู้กระทำความผิดจะได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ 9 มาตรา 16 4. ของที่เกี่ยกับการกระทำความผิดตามมาตรา 27 กฎหมายกำหนดให้ริบโดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่าผู้ใดจะได้รับโทษตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ 9 มาตรา 17 5. ความผิดในกรณีอื่นนอกจากนี้ก็จะเป็นเรื่องการฝ่าฝืนหน้าที่ในเรื่องเส้นทางและด่านที่เกี่ยวกับการศุลกากร ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ 7 มาตรา 10 ถึงมาตรา 12 และการฝ่าฝืนในเรื่องการควบคุมการนำเข้าและส่งออกของทางอากาศยาน ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฉบับที่ 8 มาตรา 22 ส่วนการฟ้องร้องและดำเนินคดีนั้น ได้มีการกำหนดขั้นตอนไว้ตามตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ มาตรา 100 ถึง 105 ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความผิดที่สำคัญบางประการดังต่อไปนี้

154 ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ผู้ใด 1. นำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร 2. ส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักร 3. ช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ ในการนำเข้ามาหรือส่งออก 4. ย้ายถอนไป หรือช่วยเหลือให้ย้ายถอนไป จากเรือกำปั่น ท่าเทียบเรือ โรงเก็บสินค้า คลังสินค้า ที่มั่นคง หรือโรงเก็บของ โดยไม่ได้รับอนุญาต 5. ให้ที่อาศัยเก็บ เก็บ ซ่อน ยอมหรือจัดให้ผู้อื่นทำการอาศัยเก็บ เก็บ หรือซ่อน 6. เกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการขนหรือย้ายถอนหรือกระทำการอย่างใด

155 ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 7. สำหรับของดังต่อไปนี้ - ของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี - ของต้องจำกัด - ของต้องห้าม - ของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง 8. เกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการ - หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง การเสียค่าภาษีศุลกากร - หลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยง บทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของ

156 ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 9. การกระทำข้างต้นดังกล่าว ได้กระทำโดยเจตนา - จะฉ้อค่าภาษีที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ - หลีกเลี่ยงข้อห้ามหรือข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่ของนั้น สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากร หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

157 ความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ผู้ใด 1. ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่ง - ของอันรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี - ของต้องจำกัด - ของต้องห้าม - ของที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง - ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อจำกัด หรือข้อห้าม อันเกี่ยวแก่ของนั้น 2. มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ

158 ความผิดเกี่ยวกับการสำแดงเท็จ
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 ผู้ใด 1. กระทำ จัดหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ ยื่น หรือจัดให้ผู้อื่นยื่นซึ่งใบขนสินค้า 2. สำแดงใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร หรือที่พระราชบัญญัติศุลกากรบังคับให้กระทำ 3. เป็นความเท็จ ความไม่บริบูรณ์ หรือความที่ชักพาให้ผิดหลงในรายการใด ๆ

159 ความผิดเกี่ยวกับการสำแดงเท็จ
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 ผู้ใด 1. ซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรบังคับให้ตอบคำถามของพนักงานเจ้าหน้าที่ 2. มิได้ตอบคำถามโดยสัตย์จริง 1. ไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาไว้ซึ่งบันทึกเรื่องราว ทะเบียน สมุดบัญชี เอกสาร ตราสารอย่างอื่น ๆ ซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรบังคับไว้

160 ความผิดเกี่ยวกับการสำแดงเท็จ
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 2. ปลอมแปลง หรือใช้เมื่อปลอมแปลงแล้ว ซึ่งเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่น ที่พระราชบัญญัติศุลกากรบังคับให้ทำ หรือที่ใช้ในกิจการใด ๆ เกี่ยวด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร 3. แก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ได้ออกไปแล้วในทางราชการ 4. ปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานกรมศุลกากร หรือซึ่งพนักงานศุลกากรใช้เพื่อการใด อันเกี่ยวด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 มาตรา 27 ทวิ และมาตรา 99 แล้ว จะเห็นได้ว่ามีขอบเขตที่ค่อนข้างกว้างมากจนแทบจะไม่เห็นว่าการกระทำใดที่เกี่ยวกับศุลกากรที่จะหลุดรอดจากความผิดเหล่านี้ไปได้ นี่คือลักษณะความผิดที่สำคัญอย่างหนึ่งของกฎหมายศุลกากร และการกระทำความผิด 3 มาตรานี้ ยังมีการกำหนดเพิ่มเติมไว้อีกว่า

161 ความผิดตามกฎหมายศุลกากร พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482
มาตรา 16-17 1. การกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และความผิดเกี่ยวกับการสำแดงเท็จตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ ให้ถือเป็นความผิดโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ (มาตรา 16) 2. ของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ ประกอบมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ให้ริบโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าบุคคลใดจะต้องรับโทษหรือไม่ (มาตรา 17) การที่พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) มาตรา 16 ได้กำหนดว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 ไม่จำเป็นต้องกระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าผู้ที่ครอบครองของจะไม่รู้ว่าเป็นของที่ผิดกฎหมายศุลกากรในมาตรา 27 ดังกล่าว ก็จะอ้างว่าไม่มีเจตนาเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้ ซึ่งการที่กำหนดไว้เช่นนี้เป็นการยกเว้นหลักในประมวลกฎหมายอาญาที่ว่า “ถ้าไม่รู้ถือว่าไม่มีเจตนา รู้เท่าใดถือว่ามีเจตนาเท่านั้น” กล่าวคือปกติแล้วถ้ามีการครอบครองของที่ผิดกฎหมาย ผู้ครอบครองจะต้องรู้ก่อนว่าเป็นของผิดกฎหมายจึงจะมีความผิด แต่ความผิดตามกฎหมายศุลกากร มาตรา 27 แม้จะไม่รู้ว่าเป็นของผิดกฎหมายศุลกากรก็มีความผิด การยกเว้นหลักเรื่องกระทำโดยเจตนายังครอบคลุมถึงความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 ด้วย กล่าวคือการสำแดงข้อความในเอกสารของศุลกากรแม้จะไม่รู้ว่าข้อความนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เข้าใจ หรือสำแดงไปโดยสำคัญผิดประการใด ก็จะอ้างให้พ้นความผิดตามมาตรา 99 ไม่ได้เช่นเดียวกัน การที่กฎหมายศุลกากรกำหนดยกเว้นหลักตามประมวลกฎหมายอาญาเช่นนี้โดยส่วนตัวแล้วจะไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการกำหนดไว้เกินความจำเป็นและอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าทีด้วย เพราะจะเป็นข้ออ้างในการดำเนินการโดยนำมาตรการเรื่องความผิดทางอาญามาใช้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับศุลกากรต้องจำยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือดุลพินิจของเจ้าหน้าที่เนื่องจากเกิดความกลัวที่จะถูกดำเนินคดีอาญา นี่คือข้อที่ควรจะต้องมีการแก้ไขต่อไป ส่วนกรณีกรณีตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) มาตรา 17 นั้นเป็นเรื่องการริบของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 ซึ่งนับว่าเป็นบทลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรงมากสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 กล่าวคือนอกจากจะอ้างว่ามิได้กระทำโดยเจตนาเพื่อให้พ้นความผิดไม่ได้แล้ว ของดังกล่าวก็ถูกริบด้วย

162 ความผิดตามกฎหมายศุลกากร พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497
มาตรา 10 1. ผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัด หรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง (มาตรา 10 วรรคหนึ่ง) - อธิบดี พนักงานศุลกากรผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษจากอธิบดี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจบันทึกข้อเท็จจริงที่ตนเองได้พบเห็น - บันทึกดังกล่าว ถ้าเสนอต่อศาลในเมื่อมีการดำเนินคดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึก และผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร เว้นแต่จะพิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น กรณีนี้เป็นเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการศุลกากรในการบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับของต้องห้าม หรือสิ่งที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิงต้องกำกัด (ปัจจุบันใช้ว่าของต้องจำกัด) ถ้ามีการเสนอบันทึกดังกล่าวต่อศาลให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึก เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นอย่างอื่นหรือไม่ถูกต้อง กรณีนี้เป็นการผลักภาระการพิสูจน์ไปยังบุคคลที่ถูกอ้างบันทึกเป็นพยานมายืนยันความผิด เช่น ผู้นำของเข้าถูกเจ้าพนักงานศุลกากรอ้างว่ามีของต้องห้ามต้องจำกัดโดยเจ้าพนักงานได้ทำการตรวจสอบและบันทึกไว้แล้ว และได้มีการอ้างบันทึกนั้นต่อศาล ดังนี้ ก็ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้นำของเข้าที่จะพิสูจน์ว่าบันทึกนั้นไม่เป็นความจริง ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายที่กล่าวอ้างคือฝ่ายเจ้าพนักงานซึ่งโดยหลักจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งที่บันทึกไว้นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง แต่ภาระกลับตกแก่ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาที่จะพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงในบันทึกที่เจ้าพนักงานศุลกากรกล่าวอ้างไม่เป็นความจริง นี่คือการผลักภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงไปยังฝ่ายที่ถูกกล่าวหา ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามหลักในการดำเนินคดีอาญาเช่นเดียวกัน

163 ความผิดตามกฎหมายศุลกากร พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497
มาตรา 10 2. ให้นำหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาในข้อ 1 ไปใช้บังคับแก่การกระทำผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง และกฎหมายว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย (มาตรา 10 วรรคสอง) ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามบันทึกที่เจ้าพนักงานทำไว้ดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะใช้กับของต้องห้ามหรือต้องจำกัดตามกฎหมายศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) ยังกำหนดให้ใช้ในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง และกฎหมายว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย นี่คือการขยายภาระการพิสูจน์ในเรื่องดังกล่าวจากกฎหมายศุลกากรไปยังกฎหมายอื่น ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามหลักการร่างกฎหมาย เพราะเป็นการให้นำกฎกมายศุลกากรไปใช้กับกฎหมายอื่นย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ถ้ากฎหมายอื่นต้องการนำหลักในกฎหมายศุลกากรไปใช้ในกฎหมายนั้น ก็จะต้องไปกำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวว่าให้นำหลักตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) ไปใช้บังคับในกฎหมายนั้น มิใช่กำหนดไว้ในกฎหมายศุลกากรว่าให้นำหลักนี้ไปใช้ในกฎหมายอื่นด้วย ซึ่งเป็นการผิดหลักทางนิติบัญญัติ ความผิดตามกฎหมายศุลกากรอีกกรณีหนึ่งที่มีปัญหาที่ถกเถียงกันในทางวิชาการว่าจะขัดกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ คือความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 119 ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

164 ความผิดเกี่ยวกับการสำแดงเท็จ
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 119 1. ผู้ใดกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร 2. ความผิดนั้นมิได้มีบัญญัติโทษไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือบทกฎหมายอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (อัตราโทษในมาตรา 119 ถูกแก้โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับ ที่ 12) พ.ศ และถูกยกเลิกให้ใช้ความใหม่โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2548) จากบทบัญญัติมาตรา 119 จะเห็นได้ว่าเป็นการเขียนกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดในลักษณะครอบจักรวาล ผลที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติมาตรานี้คือการกระทำผิดในทางศุลกากรไม่ว่าในกรณีใดก็สามารถหากฎหมายซึ่งกำหนดความผิดมาลงโทษได้เสมอ เพราะถ้าการกระทำใดมีกำหนดไว้โดยเฉพาะตามมาตราใดแล้วก็สามารถกล่าวหาและดำเนินคดีตามมาตราที่ระบุไว้เฉพาะสำหรับกรณีนั้นได้ แต่ถ้าเมื่อใดไม่มีกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นกำหนดความผิดไว้โดยตรงสำหรับการกระทำใด ก็สามารถที่จะดำเนินคดีตามมาตรา 119 นี้ได้ เพราะได้กำหนดไว้แล้วว่า เมื่อใดที่มีการกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร และความผิดนั้นมิได้บัญญัติโทษไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัติศุลกากร หรือบทกฎหมายอื่น ก็ให้ต้องระวางโทษตามมาตรานี้ จึงเห็นได้ว่าเป็นการบัญญัติความผิดที่กว้างจนบุคคลผู้เกี่ยวข้องไม่อาจทราบได้จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตรานี้โดยตรงว่า การกระทำของตนมีความผิดหรือองค์ประกอบความผิดอย่างไร จึงเห็นว่าเป็นการขัดต่อหลักการในการบัญญัติกฎหมายที่มีความผิดและบทลงโทษในทางอาญา และน่าจะขัดต่อหลักการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย สำหรับการบรรยายในส่วนของบทที่ 1 เกี่ยวกับภาษีศุลกากรที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่าผู้ศึกษาคงจะมีความเข้าใจและได้รับประโยชน์จากการศึกษาตามสมควร สวัสดี

165 ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับบันทึกตามกฎหมายศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 10 ถ้าปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัด หรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากร ไว้ในครอบครอง ให้อธิบดี พนักงานศุลกากรผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษจากอธิบดี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจบันทึกข้อเท็จจริงที่ตนเองได้พบเห็น บันทึกนี้ถ้าเสนอต่อศาลในเมื่อมีการดำเนินคดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกนั้น และผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะพิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติในวรรคก่อนมาใช้บังคับแก่การกระทำผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง และกฎหมายว่าด้วยการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย จากบทบัญญัติมาตรา 119 จะเห็นได้ว่าเป็นการเขียนกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดในลักษณะครอบจักรวาล ผลที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติมาตรานี้คือการกระทำผิดในทางศุลกากรไม่ว่าในกรณีใดก็สามารถหากฎหมายซึ่งกำหนดความผิดมาลงโทษได้เสมอ เพราะถ้าการกระทำใดมีกำหนดไว้โดยเฉพาะตามมาตราใดแล้วก็สามารถกล่าวหาและดำเนินคดีตามมาตราที่ระบุไว้เฉพาะสำหรับกรณีนั้นได้ แต่ถ้าเมื่อใดไม่มีกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นกำหนดความผิดไว้โดยตรงสำหรับการกระทำใด ก็สามารถที่จะดำเนินคดีตามมาตรา 119 นี้ได้ เพราะได้กำหนดไว้แล้วว่า เมื่อใดที่มีการกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร และความผิดนั้นมิได้บัญญัติโทษไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัติศุลกากร หรือบทกฎหมายอื่น ก็ให้ต้องระวางโทษตามมาตรานี้ จึงเห็นได้ว่าเป็นการบัญญัติความผิดที่กว้างจนบุคคลผู้เกี่ยวข้องไม่อาจทราบได้จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตรานี้โดยตรงว่า การกระทำของตนมีความผิดหรือองค์ประกอบความผิดอย่างไร จึงเห็นว่าเป็นการขัดต่อหลักการในการบัญญัติกฎหมายที่มีความผิดและบทลงโทษในทางอาญา และน่าจะขัดต่อหลักการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย สำหรับการบรรยายในส่วนของบทที่ 1 เกี่ยวกับภาษีศุลกากรที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่าผู้ศึกษาคงจะมีความเข้าใจและได้รับประโยชน์จากการศึกษาตามสมควร สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google