ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แผนการสอนเรื่องปอดอักเสบ
( pneumonia )
2
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยและ/หรือญาติที่ป่วยเป็นโรคปอด อักเสบ
ผู้สอน เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม สถานที่สอน/ระยะเวลาที่สอน หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม / 5-10นาที
3
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วย และ / หรือ ญาติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค สาเหตุและสาเหตุส่งเสริม อาการ อาการแสดง การรักษาพยาบาล และการป้องกันโรคเรื่องปอดอักเสบอย่างถูกต้องและนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำ
4
สาเหตุและสาเหตุส่งเสริม
เนื้อหา สาเหตุและสาเหตุส่งเสริม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก แบคทีเรีย รองลงมา คือ ไวรัส
5
สาเหตุส่งเสริม 1. การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของ
ขนกวัดลดลง 2. ภาวะภูมิต้านทานต่ำ การได้รับยากดการสร้างภูมิ คุ้มกัน เช่น ยาต้านมะเร็ง ยาสเตียรอยด์ ภาวะขาด สารอาหาร ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
6
3. การมีระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ เช่น บาดเจ็บทางศีรษะ
ได้รับยาระงับความรู้สึกเกินขนาด โรคลมชัก 4. การนอนนานๆ หรือ ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ทำให้เสมหะคั่งค้าง 5. การกลืนผิดปกติ
7
6. การเจาะคอ หรือ การใส่ท่อช่วยหายใจ ทำให้การทำ
งานของขนกวัด เสียไป 7. การเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง เบาหวาน ผู้ป่วยเหล่านี้จะมี ภูมิต้านทานต่ำ
8
พยาธิสภาพ เมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างโดยการหายใจ การสำลัก หรือ เชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนลุกลามเข้าสู่ปอดจะมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว หลอดเลือดจะขยายตัว ทำให้เกิดการคั่งของเลือดบริเวณที่มีการอักเสบ
9
และมี สารคัดหลั่ง เข้าไปในถุงลม ซึ่งอาจมีการทำลาย
ผนังถุงลม ทำให้การระบายอากาศและการแลกเปลี่ยน ก๊าซลดลง
10
อาการและอาการแสดง ไข้สูง อาจถึง 40 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ไอ เสมหะ ตอนแรกอาจเป็นสีสนิมต่อมาเป็นสีเหลืองขุ่น ปนหนองหรือเขียว เจ็บหน้าอกคล้ายถูกทิ่มแทงจะเป็นมากเมื่อหายใจเข้าหรือมีการเคลื่อนไหวของทรวงอก อาจร้าวไปที่ไหล่ ท้อง บั้นเอว
11
2. อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด คลื่นไส้
อาเจียน 3. ผู้ป่วยมักนอนตะแคงทับปอดข้างที่เกิดการอักเสบ
12
เสมหะแรกๆมีสีสนิม ต่อมาเป็นสีเหลืองปนหนอง
4. ในระยะแรกๆ ไอแห้งๆ สั้นๆ เจ็บหน้าอกมาก ไอมี เสมหะแรกๆมีสีสนิม ต่อมาเป็นสีเหลืองปนหนอง 5. ฟังปอดจะมีเสียงกรอบแกรบบริเวณที่มีการอักเสบ การขยายของปอดน้อยทำให้ได้ยินเสียงลมเข้าปอด เบาลง
13
การรักษาพยาบาล 1. ผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะครบตามจำนวนที่แพทย์สั่ง 2. การดูแลและบำบัดระบบทางเดินหายใจ เช่น - ส่งเสริมให้ทางเดินหายใจโล่ง : การไออย่างมีประสิทธิ ภาพ การดูดเสมหะ ในกรณีที่มีเสมหะมาก - การให้ออกซิเจน การใช้เครื่องช่วยหายใจ
14
3. การให้กายภาพบำบัดทรวงอก เช่น การเคาะปอด
ผู้ป่วยปอดอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักสูญเสียน้ำ และโซเดียม จากเหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ไข้สูง ดังนั้นควรดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอิเล็กโตรไลท์อย่าง เพียงพอ
15
อาหาร ควรให้อาหารที่มีโปรตีนสูง แคลอรี่และวิตามิน
อย่าง เพียงพอ 6. ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ 7. เมื่อไข้สูงควรให้ยาลดไข้ก่อนเมื่อยาเริ่มออกฤทธิ์เหงื่อออก ค่อยเช็ดตัวลดไข้
16
8. ให้ความช่วยเหลือเมื่อท้องอืดเช่น ให้อาหารที่มีกากใยมาก
การดื่มน้ำมากๆ หรือการให้ยาระบาย เป็นต้น เพราะเมื่อ ท้องอืดจะทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย ท้องดันกระบังลมขึ้นเบียด ปอด ปอดจะขยายตัวไม่เต็มที่ทำให้หอบเหนื่อยมากขึ้น
17
การป้องกัน จัดท่าผู้ป่วยที่หมดสติให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการสูดสำลัก เช่น การนอนกึ่งตะแคงกึ่งคว่ำในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ สมองและผู้ป่วยที่ดมยาสลบ หลีกเลี่ยงการให้อาหาร น้ำ ยา ทางปากแก่ผู้ป่วยที่หมดสติ หรือมีปัญหาในการกลืน
18
3. พลิกตัวให้ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้บ่อยๆ
กระตุ้นให้หายใจลึกๆ และไอเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ รักษาทางเดินหายใจให้โล่ง
19
5. หลีกเลี่ยงการใช้ยากล่อมประสาท ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ
มากหรือบ่อยเกินไป จะทำให้กดการหายใจทำให้เสมหะ คั่งค้าง 6. ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อทางระบบทางเ ดินหายใจ
20
ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจหรือเจาะคอ ต้องป้องกันการ
ติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลโดยใช้หลักปลอดเชื้อ
21
เกณฑ์การประเมินผล ผู้ป่วยและ / หรือญาติ สามารถบอกพยาธิสภาพของโรค ได้ถูกต้อง ผู้ป่วยและ / หรือญาติ สามารถบอกถึงสาเหตุและสาเหตุส่ง เสริมของโรคอย่างสังเขปได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย 4 ข้อ
22
ผู้ป่วยและ / หรือญาติ สามารถบอกอาการและอาการแสดง
ได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย 4 ข้อ ผู้ป่วยและ / หรือญาติ สามารถบอกการรักษาพยาบาลได้ อย่างถูกต้องอย่างน้อย 4 ข้อ
23
ผู้ป่วยและ / หรือญาติ สามารถบอกการป้องกันโรคได้
อย่างถูกต้องอย่างน้อย 4 ข้อ
24
the end
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.