ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
คำกริยา
2
คำกริยา คำกริยา คือ คำแสดงอาการ การกระทำ และบอกสภาพของนามหรือสรรพนาม เพื่อให้รู้ว่านามหรือสรรพนามนั้นๆ ทำอะไรหรือเป็นอย่างไร หากขาดคำกริยาจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ คำกริยาจึงเป็นคำสำคัญ ในประโยค ซึ่งอาจจะเป็นคำแสดงอาการคำเดียวหรือเป็นกลุ่มคำ ก็ได้ เช่น เดิน เดินเล่น ร้อง ร้องเรียก ร้องเพลง นั่งร้องเพลง ฯลฯ
3
ประเภทของคำกริยา แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
ประเภทของคำกริยา แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้ ๑. คำกริยาไม่มีกรรม (อกรรมกริยา) คือ คำกริยาที่มีใจความสมบูรณ์ ไม่ต้องมีกรรมมารับข้างท้าย เป็นคำที่บอกอาการแล้วผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ทันที เช่น น้องร้องไห้ ไฟดับ
4
และอาจมีคำขยายกริยาหรือมีคำบุพบทประกอบประโยคก็ได้
เช่น เขาร้องเพลงในสวน เรยาเดินเล่นที่ชายหาด
5
๑.๒ กริยามีกรรม (สกรรมกริยา)
๑.๒ กริยามีกรรม (สกรรมกริยา) คือ คำกริยาที่มีใจความไม่ครบในตัวเอง ต้องมีกรรมมารับข้างท้ายจึงจะได้ความสมบูรณ์ เช่น - ภารโรงเปิด(หน้าต่าง) แม่ไป(ตลาด)
6
สินทุบ(กระจก) แมวกิน(ปลาย่าง)
7
๑.๓ คำกริยาส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา)
คือ กริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ต้องมีคำนามหรือสรรพนามมารับข้างท้ายจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ ได้แก่คำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่า แปลว่า หมายความว่า เท่ากับ ราวกับ คือ เช่น พ่อของอารีเป็นนายแพทย์ หล่อนคือแม่ฉัน
8
แมวคล้ายเสือ เธอวางท่าราวกับนางพญา
9
๑.๔ คำกริยาช่วย (กริยานุเคราะห์) เป็นกริยาที่
๑.๔ คำกริยาช่วย (กริยานุเคราะห์) เป็นกริยาที่ ไม่สำคัญตัดทิ้งได้โดยไม่ทำให้ประโยคเสียความ กริยาช่วย มีขึ้นเพื่อช่วยขยายกริยาหลักให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นคำที่บอกความรู้สึก การคาดคะเน การขอร้อง บังคับ เช่น คืนนี้ฝนอาจจะตก เราต้องขยันเรียนให้มากกว่าเดิม สายใจกำลังร้องเพลง ลูกควรนอนได้แล้ว มิฉะนั้นพรุ่งนี้จะตื่นสาย ครูคงตีฉัน ถ้าฉันไม่ทำการบ้าน
10
๒. หน้าที่ของคำกริยา มีดังนี้
๒.๑ เป็นคำที่แสดงหรือบอกสภาพของประธาน เช่น ไก่จิกข้าวที่ตากบนลาน นกอินทรีบินร่อนบนท้องฟ้า
11
๒.๒ คำกริยาทำหน้าที่ขยายนาม เช่น
๒.๒ คำกริยาทำหน้าที่ขยายนาม เช่น ยายทำอาหารถวายพระทุกวัน (ทำอาหาร เป็นกริยาสำคัญ ถวาย เป็นกริยาขยายนาม พระ)
12
- พี่ชวนฉันไปทะเล (ชวน เป็นกริยาสำคัญ
ไป เป็นคำกริยาขยายนาม ทะเล)
13
๒.๓ คำกริยาที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
๒.๓ คำกริยาที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น - พูดดีเป็นศรีแก่ตัว (พูดดี เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เหมือนคำนาม) - สูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อชีวิต เป็นพิษต่อคนใกล้เคียง (สูบบุหรี่ เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.