ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิธีการทางประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร
2
ค.ศ.3 เพ็ญศรี สมบูรณ์
3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ มี4ขั้นตอน
1. การตั้งประเด็นที่จะศึกษา 2. การรวบรวมข้อมูล 3. การวิเคราะห์และประเมินค่าของหลักฐาน 4.การนำเสนอข้อมูล หรือการสังเคราะห์ข้อมูล
4
อะไรคือโบราณวัตถุ
5
ความหมายในทางประวัติศาสตร์ หมายถึง สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย ผลงานด้านศิลปกรรม อุตสาหกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งเป็นผลงานของบุคคลในอดีต มีอายุไม่น้อยกว่า 100 ปี และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
6
รู้ได้อย่างไรว่าเหตุการณ์หรือเรื่องราวใดเป็นประวัติศาสตร์
7
1. เหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นได้เกิดขึ้น และสิ้นสุดลงในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรซึ่งนักประวัติศาสตร์มีทัศนะว่า เป็นว่า 10 ปีขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ได้
8
2. เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นจริง มีหลักฐานยืนยันมาอ้างอิงได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
** มหาวีรกรรมการทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี **เรื่องราวเที่ยวกับพระราชกรณียกิจของอดีตพระมหากษัตริย์ไทยในด้านต่างๆ อาทิ การปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
9
พงศาวดารคืออะไร
10
พงศาวดาร คือ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นและได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลำดับตามวัน เดือน ปี ที่เกิดขึ้นไม่มีการอธิบายประกอบเพิ่มเติมมากไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
11
โบราณสถานคืออะไร
12
ความหมายทางประวัติศาสตร์นั้น หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรสถาน เคลื่อนย้ายไม่ได้ มีความเก่าแก่กว่า100ปีและให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์
13
จดหมายเหตุคืออะไร
14
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 289 จดหมายเหตุ หมายถึงหนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น จดหมายเหตุมีข้อมูลรายละเอียดมากว่าพงศาวดารมีการอธิบายเพิ่มเติมในเนื้อหาสาระบางเรื่องบางเหตุการณ์
15
อะไรคือหลักฐานทางประวัติศาสตร์
16
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงและพิสูจน์เรื่องราวต่างๆของประวัติศาสตร์ ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ
17
หลักฐานทางประวัติศาสตร์มี 2 ประเภท
1. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุและโบราณสถาน โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์เรียกรวมว่า โบราณคดี 2. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่มีการจารึก บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตบนแผ่นศิลา บนผนังถ้ำ บนกระดาษข่อย บนใบลาน บนหนังสัตว์ และบนแผ่นโลหะ ฯลฯ ด้วยตัวอักษร
18
เราใช้อะไรพิสูจน์เรื่องราวทางประวัติศาสตร์
19
1. บุคคล แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รู้ หมายถึงกลุ่มคนหรือบุคคลที่ได้เห็นด้วยตนเองในเรื่องราวนั้นๆ อีกกลุ่ม คือ กลุ่มวิเคราะห์ พิสูจน์จากหลักฐานต่างๆที่มีอยู่หรือค้นพบใหม่ ซึ่งคนกลุ่มนี้ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายประวัติศาสตร์ ฝ่ายโบราณคดี ฝ่ายมานุษยวิทยาฝ่ายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น 2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นลายลักษณ์อักษร
20
เราสามารถแปลความหมายจากหลักฐานทางโบราณคดีได้อย่างไร
การแปลความหมายโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และผู้เชียวชาญ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการตรวจสอบงานโบราณคดี มีดังนี้
21
การใช้ X-Rayในงานโบราณคดี
Dr.Wilhelm Rontgen เป็นผู้ค้นพบรังสีเอกซเรย์นักโบราณคดีได้นำเอกซเรย์มาใช้ในการถ่ายภาพกระดูก ไม้และโลหะ เพื่อศึกษารูปร่างของโบราณวัตถุที่อยู่ภายใน การเอกซเรย์สามารถแสดงรายละเอียดของวัตถุที่ถูกห่อหุ้มนั้นได้
22
คอมพิวเตอร์กับงานโบราณคดี
2. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานโบราณคดีหลายลักษณะ เช่น การวางแผนก่อนขุดค้น ในขณะกำลังขุดค้น งานพิพิธภัณฑ์ การจัดการระบบฐานข้อมูล การนำเสนอข้อมูลทางโบราณคดี รูปแบบโครงสร้าง ฯลฯ
23
เราศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้จากแหล่งใดบ้าง
24
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ สามารถศึกษาค้นคว้าได้จากหลายแหล่ง เช่น ที่หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ทั้งสมุดไทย คัมภีร์ใบลาน สำเนาจารึกรวมทั้งหนังสือตัวเขียนบนกระดาษสมัยใหม่ที่เรียกว่า กระดาษฝรั่ง หรือ สมุดฝรั่ง จารึกลานทองเก็บไว้ที่หอสมุดวชิรญาณ
25
ประวัติศาสตร์ไทยมีการนับศักราชอย่างไรบ้าง
1. พุทธศักราช พ.ศ. เป็นศักราชทางพระพุทธศาสนานิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยไทยเริ่มนับพุทธศักราชที่1 (พ.ศ.1) เมื่อพระพุทธเจ้าเสร็จดับขันธปริ-นิพานไปแล้ว 1 ปี พม่า ศรีลังกา ได้เริ่มนับพุทธศักราชที่1 ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสร็จดับขันธปรินิพาน สำหรับช่วงเวลาก่อนพุทธศักราชที่1 เรียกว่า สมัยก่อนพุทธกาล
26
ทั้งนี้ ไทยได้เริ่มใช้การนับศักราชแบบพุทธศักราชในสมัยพระนารายณ์มหาราช และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นแบบอย่างของทางราชการตั้งแต่ พ.ศ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา
27
2. มหาศักราช (ม.ศ.) มีพบหลายแห่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักรสุโขทัยและสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้น การนับมหาศักราชนี้ พระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณกษัตริย์ผู้ครองรัฐคันธาระของอินเดียทรงตั้งขึ้นเริ่มภายหลังพุทธศักราช 621 ปี
28
3.จุลศักราช (จ.ก.) ผู้ตั้งคือ โปปะสอระหัน หรือ บุปผะอรหันต์ หรือบุพโสรหัน ซึ่งภายหลังได้ลาสิกขาออกมาเป็นกษัตริย์ขึ้นครองแผ่นดินพม่า จุลศักราชเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1,181ปี พบมากในศิลาจารึกและพงศาวดารต่างๆทั้งของล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น
29
4. รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เริ่มนับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาบางบอกขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ของอาณาจักรไทยนามว่า กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกใน พ.ศ กลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 และเลิกใช้เมื่อ พ.ศ ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
30
การนับศักราชแบบสากลที่นิยมใช้กันมีอะไรบ้าง
31
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นศักราชทางคริสต์ศาสนาซึ่งมีผู้นิยมใช้กันเป็นจำนวนมากทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชที่ 1 เริ่มนับจั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ (ตรงกับ พ.ศ.544 คำว่า คริสต์ศักราช ใช้อักษรย่อว่า ค.ศ. หรือ A.D. เป็นภาษาละติน แปลว่า ปีแห่งพระเป็นเจ้า) ระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไปเรียกว่า สมัยก่อนคริสต์ศักราช หรือก่อนคริสตกาล ใช้อักษรย่อว่า ก่อน ค.ศ. หรือ B.C. (Before christ)
32
ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม โดยยึดปีที่ท่านบีมุฮัมมัด ทรงกระทำฮัจญ์ ( Hajj : การมุ่งไปสู่ การอพยพโยกย้าย ) คือ อพยพจากนครมัก-กะฮ์ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจในเดือนซุลฮิจญะ คือ เดือนที่ 12 ตามปฏิทินอิสลาม ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ ต่อมาคลาดเคลื่อนเร็วขึ้น คือ 32ปีครึ่ง จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ปีไปเรื่อยๆ ปัจจุบันจะเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราชต้องเอา 1122 ไปบวกหรือลบ
33
หลักเกณฑ์การเทียบศักราช
ม.ศ = พ.ศ. พ.ศ = ม.ศ. จ.ศ = พ.ศ. พ.ศ = จ.ศ. ร.ศ = พ.ศ. พ.ศ = ร.ศ.
34
ค. ศ. + 543 = พ. ศ. พ. ศ. - 543 = ค. ศ. ฮ. ศ. + 621 = ค. ศ. ค. ศ
ค.ศ = พ.ศ. พ.ศ = ค.ศ. ฮ.ศ = ค.ศ. ค.ศ = ฮ.ศ. ฮ.ศ = พ.ศ. พ.ศ = ฮ.ศ.
35
ปัจจุบันศักราชที่ใช้กันมาก คือ คริสต์ศักราชและพุทธศักราช เมื่อเปรียบเทียบศักราช ทั้งสองต้องใช้ 543 บวกหรือลบแล้วแต่กรณี ถ้าเทียบได้คล่องจะทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย หรือสากลได้ง่ายขึ้น
36
ยุคมีความหมายว่าอย่างไร
37
ในทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาหนึ่งไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งช่วงเวลาที่ยาวนานเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้น อาจเป็นทศวรรษ (10ปี) ศตวรรษ (100ปี) สหัสวรรษ (1000ปี) หมื่นปี แสนปี หรือล้านปีก็ได้
38
ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความหมายอย่างไร
39
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ( Prehistory ) มีนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ได้แสดงทัศนะในหลายลักษณะไว้ดังต่อไปนี้ จอห์น ลุบบอค นักโบราณคดี ชาวอังกฤษ ได้กล่าวว่า เป็นช่วงระยะเวลาก่อนที่จะมีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้เขียนเป็นตัวหนังสือ
40
ยุคก่อนประวัติสาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่นับถอยหลังไปในอดีต ตั้งแต่มนุษย์ได้เริ่มรู้จักนำวัสดุธรรมชาติ มาใช้หรือดัดแปลงวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างง่ายๆ เพื่อยังชีพอยู่ได้ ซึ่งมีความแตกต่างไปจากสัตว์ปกติทั่วไป ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์เพื่อใช้ในการอ้างอิงได้ มีเพียงร่องรอยทางโบราณสถานโบราณวัตถุ หรือฟอสซิลเท่านั้น
41
ประวัติศาสตร์ไทยใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งยุค
42
โดยหลักเกณฑ์ทางประวัติศาสตร์สากลนั้นได้กำหนดให้ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเริ่มขึ้นเมื่อมนุษยชาติเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษร เมื่อประมาณ 5500 ปีล่วงมาแล้ว โดยเรียกว่า สมัยประวัติศาสตร์ สำหรับช่วงเวลาก่อนที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ตัวอักษรเรียกว่า สมัยก่อนประวัติศาสตร์
43
นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และนักมานุษยวิทยาแบ่งยุคประวัติศาสตร์ไว้อย่างไรบ้าง
44
จอห์น ลุบบอด ( John Lubbock ) นักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงมากได้แบ่งประวัติศาสตร์ เป็น 5 ยุค ดังต่อไปนี้ 1. ยุคหินหินเก่า ( Paleolithic Age ) มนุษย์กะเทาะหินหน้าเดียวเป็นเครื่องมือ 2. ยุคหินกลาง ( Mesolithic Age ) มนุษย์กะเทาะหินประณีตกว่าเดิม
45
3. ยุคหินใหม่ ( Neolithic Age ) มนุษย์พัฒนารูปแบบเครื่องมือให้เหมาะแก่การใช้งาน
4. ยุคสัมฤทธิ์ หรือ ยุคบรอนซ์ ( Bronze Age ) มนุษย์รู้จักใช้เทคโนโลยีการถลุงทองแดงและตะกั่วผสมกัน เพื่อทำเครื่องมือเครื่องใช้ 5. ยุคเหล็ก ( Iion Age ) มนุษย์รู้จักใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นในการถลุงและหลอมเหล็กเพื่อทำเครื่องมือเครื่องใช้
46
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย มีการแบ่งอย่างไร
47
แบ่งเป็น 2 ยุค
48
1. ยุคหิน 1.1 ยุคหินเก่า ( ประมาณ 500,000 - 10000 ปีมาแล้ว )
1.2 ยุคหินกลาง ( ประมาณ – 6000 ปีมาแล้ว ) 1.3 ยุคหินใหม่ ( ประมาณ 6000 – 2500 ปีมาแล้ว )
49
2. ยุคโลหะ 2.1 ยุคสัมฤทธิ์ (ประมาณ 4000 – 2500 ปีมาแล้ว)
2.2 ยุคเหล็ก (ประมาณ 2500 – 1500 ปีมาแล้ว)
50
2. สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
51
1.แบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี
52
2. แบ่งตามลักษณะการปกครอง
2.1 สมัยสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์ (พ.ศ – พ.ศ. 2475) 2.2 สมัยประชาธิปไตย (พ.ศ – ปัจจุบัน)
53
3.แบ่งตามหลักสากล 3.1 สมัยโบราณ (พ.ศ. 1792 – 2394)
3.2 สมัยใหม่หรือสมัยปรับปรุงประเทศ (พ.ศ – 2475) 3.3 สมัยปัจจุบันหรือสมัยประชาธิปไตย (พ.ศ.2475 – ปัจจุบัน)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.