งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นิยามศัพท์ทางเภสัชวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นิยามศัพท์ทางเภสัชวิทยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นิยามศัพท์ทางเภสัชวิทยา

2 Sensitivity Test (In vitro) คือการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อหายาที่มีความไวจำเพาะ กับ เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเพื่อเป็นการคาดคะเนผลที่จะใช้ยาชนิดนั้นในการรักษาสัตว์ (In vivo) ยาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด

3 วิธีการหา MIC และ MBC MIC คือ ปริมาณยาต่ำสุดที่ป้องกันไม่ให้เกิดการเจริญของแบคทีเรีย ในหลอดทดลอง MBC คือ ปริมาณยาต่ำสุดจากหลอดทดลองที่นำมาเพาะเชื้อต่อใน agar plate ที่ไม่มียาต้านจุลชีพแล้วสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการเจริญของเชื้อได้ ค่าที่ใช้เป็นหลักคือ MIC

4 Minimal Inhibitory Concentration (MIC) คือ ความเข้มข้นของยาในระดับต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย หาได้จากการเจือจางยางให้มีความเข้มข้นต่างกัน ใส่ลงไปในเชื้อที่กำลังเจริญเติบโตในอาหารเลี้ยงเชื้อ ปกติยาที่มีประสิทธิภาพ คือยาที่มีความสามารถกระจายตัวใน body fluid โดยมีความเข้มข้นเป็น 2-10 เท่า ของ MIC

5 Minimal Effective Concentration (MEC) คือ ความเข้มข้นของยาในเลือดในระดับต่ำสุด ที่ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ทำให้อาการไม่สบายนั้นหายไป)

6 Resistance • ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา (ทนยา) ได้โดยที่ทำให้เกิดการผ่าเหล่าและมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ทนยา สามารถมีชีวิตรอดจากการทำลายของยา และเมื่อโฮสต์นั้นอยู่ในสภาพอ่อนแอลง ทำให้สายพันธุ์เหล่านี้สามารถทวีจำนวนและเกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ยีนส์ที่ผ่าเหล่า สามารถถ่ายทอดสายพันธุ์ได้อีกด้วย การดื้อยานี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ • 1. การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียโดยธรรมชาติ • 2. การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่พัฒนาขึ้นภายหลังการใช้ยา

7 กลไกการดื้อยาของแบคทีเรีย
เป็นกลไกทางชีวเคมี สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 1. รบกวนการซึมผ่านของยาเข้าเซลล์ 2. สร้างเอนไซม์มาทำลายยา 3. เกิดการเปลี่ยนแปลงของเป้าหมายที่จับกับยาต้านจุลชีพ 4. เพิ่มการสร้างสารเพื่อมาทำลายยา

8 Mutational resistance
มักเป็นการดื้อต่อยาเพียงชนิดเดียว Plasmid resistance ทำให้เกิดการดื้อยาหลายชนิดพร้อมๆกันได้ การดื้อยาปัจจุบัน มักเกิดจากแบบที่มีการถ่ายทอดทาง plasmid นิยามศัพท์

9 ปัญหาที่เกิดจากเชื้อดื้อยา
เกิดจากมีการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อและใช้อย่างไม่ถูกต้อง (ไม่ตรงกับโรค, ไม่ถูก dose, ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด) ทำให้เชื้อดื้อยาต้องใช้ยาแรงขึ้น มีผลข้างเคียง ทำให้โรคกระจายเพราะยาที่ใช้ไม่ได้ผล ไม่สามารถควบคุมโรคและเชื้อที่ติดต่อถึงคนได้ การงดใช้ยาภายหลังที่เกิดปัญหาดื้อยา มีผลลดปริมาณที่ดื้อยาได้น้อย เนื่องจากการดื้อยาถ่ายทอดผ่านยีนส์ไปได้อย่างกว้างขวาง

10 Quantal effect รูปบน การตอบสนองต่อการรักษา เมื่อให้ยาโดยเพิ่มขนาดยา ครั้งละ 0.2 mg/kg แล้วดูจำนวนผู้ป่วยที่ตอบสนองมีอาการดีขึ้น รูปล่าง เมื่อนำกราฟข้างบนมา plot ในลักษณะความถี่สะสม ทำให้สามารถทราบค่า Effective dose (ED) ขนาดต่างๆ ได้

11 ขอบเขตความปลอดภัยและดรรชนีในการรักษาโดยใช้ยา
(Safety margin & Therapeutic index) ED100 LD50 LD100 ED0 ED50 LD0 ED0 = Effective dose 0 หมายถึงปริมาณยาที่ใช้ในการรักษา แต่ไม่มีสัตว์หายป่วย ED50 = ปริมาณยาที่ให้ผลในการรักษา 50% ของจำนวนสัตว์ ED100 = ปริมาณยาต่ำสุดที่ให้ผลในการรักษา 100% ของจำนวนสัตว์ (หายทุกตัว) LD0 = Lethal dose 0 หมายถึงปริมาณยาสูงสุดที่ใช้รักษาโดยที่ไม่มีสัตว์ตัวใดตายเนื่องจากความเป็นพิษของยา LD50 = Lethal dose 50 หมายถึงปริมาณยาที่เป็นพิษ ทำให้สัตว์ตาย 50% ของทั้งหมด LD100 = Lethal dose 100 หมายถึงปริมาณยาที่เป็นพิษ ทำให้สัตว์ตายทั้งหมด

12 Therapeutic index (Safety margin) คือ ดัชนีในการรักษา ใช้บอกถึงความปลอดภัยของยานั้น
LD50 Therapeutic index = ED50


ดาวน์โหลด ppt นิยามศัพท์ทางเภสัชวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google