ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวัดและประเมินผลการศึกษา
ความหมาย การวัดและประเมินผลการศึกษา
2
การวัดผล (Measurement)
คือการกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฎการณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ หรืออาจใช้เครื่องมือไปวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขแทนคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ใช้ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ 3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรอบรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน เป็นต้น
3
มาตรการวัด
4
มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่มหรือประเภท อย่างน้อยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม (Dichotomous) เป็นหรือมากกว่า ต้องแยกอย่างเด็ดขาด(Mutually exclusive) และครอบคลุมข้อมูลทั้งหมด (Exhausive) ตัวเลขหรือค่าต่างๆ ที่กำหนดให้ ไม่มีความหมายเชิงปริมาณ ตัวเลขนำมาบวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้ แต่นำมาหาค่าความถี่ เช่น เพศ ศาสนา หมายเลขห้อง หมายเลขหนังสือห้องสมุด
5
ตัวอย่างตัวแปรระดับ NOMINAL มาตราวัด
เพศ ชาย หญิง ศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม สถานภาพสมรส แต่งงาน แยกกันอยู่ หม้าย โสด ระบบการปกครอง ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาขาวิชา บริหารงานบุคคล นโยบายสาธารณะ วิชาเอกที่สำเร็จ รัฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ พลศึกษา อาชีพ ข้าราชการ ธุรกิจเอกชน เกษตรกร เชื้อชาติ ไทย จีน อเมริกา เบอร์นักกีฬา 11, 10, 17, 1, 2 ชื่อถนน พหลโยธิน อังรีดูนังต์ จังหวัด อยุธยา สงขลา เชียงใหม่ อำเภอ สารภี ฮอด แม่ริม
6
มาตรเรียงอันดับ (Ordinal Scale)
เป็นการวัดโดยกำหนดอันดับให้แก่สิ่งต่างๆ ดังนั้นมีลักษณะเหมือนการประเมินค่า เช่น ประเมินเป็นสูงปานกลาง หรือเห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่บอกไม่ได้มากกว่าหรือน้อยกว่ากันเท่าใด ข้อมูลประเภทนี้นอกจากจะจำแนกกลุ่มหรือประเภทแล้ว ยังสามารถเรียงอับดับได้ด้วย
7
ตัวอย่างตัวแปรระดับ ORDINAL
มาตราวัด ทัศนคติ เห็นด้วย เฉยๆ ไม่เห็นด้วย รายได้ มาก ปานกลาง น้อย ลำดับที่สมัคร คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 ลูกคนที่ คนแรก สอง สาม ความสูง สูงมาก ปานกลาง เตี้ย ขนาดชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด สถานะทางเศรษฐกิจ สูง กลาง ต่ำ ระบบการให้เกรด A B C D F การประกวดนางงาม อันดับ 1, 2, 3, 4,.... อันดับเพลงยอดนิยม อันดับที่ 1, 2, 3, ....
8
มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
ช่วงห่างระหว่างหน่วยจะต้องเท่ากัน เช่น 1 ถึง 2 ต้องเท่ากับ 2-3 หรือจาก นั่นคือ 2 - 1 = 3 - 2 = อาจกำหนดตัวเลขแทนสิ่งของหรือวัตถุหรือพฤติกรรมได้และความแตกต่างระหว่างตัวเลขจะแทนความแตกต่างของกลุ่มหรือสิ่งที่วัดได้ ไม่มีค่าศูนย์แท้หรือ "ศูนย์สมบูรณ์" (Absolute Zero) แต่เป็นศูนย์สมมติ เช่นนักศึกษาสอบได้ศูนย์ไม่หมายความว่าไม่มีความรู้เลย ศูนย์องศาเซลเซียสไม่ได้หมายความว่าไม่มีความร้อนเลย แสดงปริมาณมากน้อย คือนำมาบวก ลบได้ แต่คูณหารไม่ได้ เช่น คะแนนจากแบบทดสอบ อุณหภูมิ ปีปฏิทิน
9
ตัวอย่างตัวแปรระดับ INTERVAL
มาตราวัด ทัศนคติจากสเกลการวัด เช่น Likert เห็นด้วยอย่างมาก = 5, เห็นด้วย = 4, เป็นกลาง = 3, ไม่เห็นด้วย = 2, ไม่เห็นด้วยอย่างมาก = 1 อุณหภูมิ (บางมาตรา) 25 องศาเซลเซียส, 0o c (ศูนย์สมมติ) GPA 3.3, 2.94, 3.8 0.00 (ศูนย์สมมติ) คะแนน I.Q 110, 145, 93, 0 (ศูนย์สมมติ) คะแนนจากการสอบ 40, 70, 95,...
10
มาตราอัตราส่วน (Ratio Scale)
แบ่งช่วงตัวแปรเหมือนกับการวัดอันตรภาค แต่มีศูนย์แท้ คือไม่มีอะไรเลย เปรียบเทียบเชิงอัตราส่วนได้
11
ตัวอย่างตัวแปรระดับ Ratio
มาตราวัด น้ำหนัก 50 กิโลกรัม, 30.7 ปอนด์ ความสูง 170 เซนติเมตร, เซนติเมตร, 6 ฟุต 5 นิ้ว ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความยาว 5.4 ฟุต 4 นิ้ว 8 กิโลกรัม รายได้ 4,000 บาท, 79.50 บาท $ 250 จำนวนข้าราชการ 1 ล้านคน, 2,047 คน
12
ประเภทของการวัดผล วัดทางตรง วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Ratio Scale วัดทางอ้อม วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมอง เช่น วัดความรู้ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale
13
การวัดทางอ้อม ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วัดเชาวน์ปัญญา วัดความถนัดทางการเรียน วัดความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ ด้านความรู้สึก (Affective Domain) เช่น วัดความสนใจ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ วัดความวิตกกังวล วัดจริยธรรม ฯลฯ ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain) เช่น การเคลื่อนไหว การปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือ ฯลฯ
15
การประเมินผล (Evaluation)
หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น
16
ประเภทของการประเมิน การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
17
ข้อแตกต่าง การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับคะแนนของคนอื่น ๆ 2. นิยมใช้ในการสอบแข่งขัน 3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของร้อยละหรือคะแนนมาตรฐาน 4. ใช้แบบทดสอบเดียวกันทำหรับผู้เรียนทั้งกลุ่มหรืออาจใช้แบบทดสอบคู่ขนาน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ 5. แบบทดสอบมีความยากง่ายพอเหมาะ มีอำนาจจำแนกสูง 6. เน้นความเที่ยงตรงทุกชนิด การประเมินแบบอิงเกณฑ์ 1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ 2. สำหรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนหรือเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน 3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของผ่าน-ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4. ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันกับผู้เรียนทั้งชั้น 5. ไม่เน้นความยากง่าย แต่อำนาจจำแนกควรมีพอเหมาะ 6. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.